Home > สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

บีโอไอ และ เอชเอสบีซี ประเทศไทย ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ร่วมสร้างโอกาสการลงทุนในไทย

บีโอไอ และ เอชเอสบีซี ประเทศไทย ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ร่วมสร้างโอกาสการลงทุนในไทย ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนภูมิภาคอาเซียน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อผลักดันประเทศไทยสู่ศูนย์กลางการลงทุนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของทั้งสององค์กร ผ่านการให้คำปรึกษาด้านการลงทุนในไทยอย่างครบวงจร โดยอาศัยความแข็งแกร่งของเครือข่ายธุรกิจของธนาคารเอชเอสบีซีใน 62 ประเทศและเขตการปกครอง ความเชี่ยวชาญในการสนับสนุนองค์กรข้ามชาติในการขยายธุรกิจระหว่างประเทศ พร้อมทั้งแพลตฟอร์มด้านการเงินดิจิทัลของธนาคารเอชเอสบีซี เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้นักลงทุนต่างชาติเข้าถึงโอกาสในการลงทุนและขยายธุรกิจในประเทศไทย นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า “ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีความโดดเด่นมากที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคอาเซียน ด้วยศักยภาพและความพร้อมหลายด้านที่เอื้อต่อการลงทุน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ดี บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและทักษะขั้นสูง รวมทั้งมีมาตรการสนับสนุนเชิงรุกจากภาครัฐ ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยที่ผ่านมารัฐบาลและบีโอไอได้เดินหน้าออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนด้านต่างๆ รวมถึงกิจกรรมชักจูงการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการลงทุนในโครงการสำคัญของบริษัทรายใหญ่จากต่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีตัวเลขการลงทุนทำสถิติสูงสุดในรอบ 9 ปี ด้วยมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนกว่า 8.48 แสนล้านบาท เติบโตร้อยละ 43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) กว่า 6.63 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ

Read More

นักวิจัยถอดบทเรียนแผ่นดินไหวญี่ปุ่น ไทยอย่าประมาทสึนามิอันดามันยังเสี่ยง

นักวิจัยศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติถอดบทเรียนแผ่นดินไหวญี่ปุ่น เตือนประเทศไทยต้องเตรียมรับมือ ห่วงชายฝั่งทะเลอันดามันยังเสี่ยงต่อการเกิดสึนามิซ้ำรอยปี 2547 ทั้งระบบเตือนภัยสึนามิและแผนที่หลบภัยสึนามิ รวมถึงมาตรการผลกระทบต่อการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ขณะที่ประชาชนควรเรียนรู้เทคนิคการหลบภัยทั้งแผ่นดินไหวและสึนามิ ศ. ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย และนักวิจัยศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ เผยถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.6 ที่จังหวัดอิชิกาวะ บนเกาะฮอนชู ทางตอนกลางของประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 1 ม.ค.2567 ที่ผ่านมา ว่าเป็นธรณีพิบัติที่รุนแรงมากและอยู่ในระดับตื้นมาก เพียง 10 กิโลเมตร ทำให้เกิดความเสียหายกับอาคารบ้านเรือน โครงสร้างพื้นฐาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนเป็นจำนวนมาก ทั้งยังทำให้เกิดคลื่นสึนามิความสูง 1.2 เมตร ซัดเข้าหาชายฝั่งเมืองวาจิมะ จังหวัดอิชิกาวะ ซึ่งผลของแผ่นดินไหวดังกล่าวจะยังคงเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกหลายวัน อย่างไรก็ตาม ด้วยระยะห่างจากประเทศไทย 4,000-5,000 กิโลเมตร จึงไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมีนาคม 2554 ได้เคยเกิดแผ่นดินไหวโตโฮคุขนาด 9.0-9.1 นอกชายฝั่งด้านตะวันออกของคาบสมุทรโอชิกะในเขตโตโฮคุ ประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดคลื่นสึนามิมีความสูงถึง 40 เมตร พัดเข้าชายฝั่งจังหวัดเซ็นได เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตราว 20,000 คน และสูญหายอีกประมาณ

Read More