Home > สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

นักวิชาการเตือนอย่าประมาทสึนามิ มุ่งสร้างความปลอดภัยในพื้นที่เสี่ยง

ฮับแผ่นดินไหวจับมือผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ ร่วมรำลึก 20 ปีสึนามิ และหามาตรการรับมือภัยพิบัติผ่านความร่วมมือทางวิชาการ โดยเฉพาะการปรับปรุงระบบเตือนภัยและซักซ้อมอพยพ หวังสร้างความปลอดภัยแก่ชุมชนในพื้นที่เสี่ยง ด้าน สว. กระตุ้นรัฐให้ความสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้และเตรียมพร้อมด้านต่าง ๆ เพื่อลดผลกระทบจากการสูญเสีย ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดงานรำลึก 20 ปี ภัยพิบัติสึนามิ และการประชุมสัมมนางานวิจัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย ครั้งที่ 2 ณ จังหวัดพังงา พร้อมกับนำคณะวิจัยและผู้เชี่ยวชาญทั้งไทยและต่างประเทศลงพื้นที่ร่วมเรียนรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติผ่านการบรรยายและกิจกรรมเชิงปฏิบัติแก่นักเรียนที่เน้นการใช้เครื่องมือจริงและการเล่นเกมเพื่อเสริมสร้างความรู้และความตระหนักในเรื่องความปลอดภัยจากภัยพิบัติ ตลอดจนสำรวจสถานที่สำคัญที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิในมหาสมุทรอินเดียปี 2547 รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับความพยายามส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนที่ได้รับผลกระทบ และการบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวและสึนามิที่ครอบคลุมการวิจัยตลอด 20 ปีที่ผ่านมา พร้อมถอดบทเรียน หาแนวทางการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติในอนาคต และสร้างความร่วมมือระหว่างไทยกับญี่ปุ่นเพื่อพัฒนาความปลอดภัยจากสึนามิ น.ส.รัชนีกร ทองทิพย์ สมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า ประเด็นสำคัญในการรับมือกับภัยพิบัติสึนามิ คือระดับนโยบายของไทยยังมุ่งเน้นการเยียวยาเป็นหลัก แต่ขาดการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติเพื่อบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้ประสบภัยให้น้อยที่สุด ทั้งนี้ประเทศญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างที่ดีของการเตรียมพร้อมรับมือ ไทยจึงต้องสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสึนามิ ทั้งการตระหนักรู้ ป้องกัน เตือนภัย และซักซ้อมจริง โดยการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินควรจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนภัยพิบัติต่าง ๆ ให้กับนักเรียน

Read More

วช.ปักธง Soft Power กระตุ้นเศรษฐกิจไทย หนุนตั้งฮับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร

วช.ปักธง Soft power หนุนจัดตั้งศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญทางด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร มุ่งใช้ “อาหารเป็นตัวช่วยสร้างการท่องเที่ยวระดับท้องถิ่น” ภายใต้ 4 เสาหลัก พร้อมจัดฝึกอบรมและการทดสอบแก่ผู้สัมผัสอาหาร หวังกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยให้แข่งขันได้ในตลาดโลก รศ. ดร.พรรณี สวนเพลง ผู้บริหารจัดการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญทางด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร เปิดเผยว่า สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้เปิดตัวโครงการ ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร (Hub of Talent Gastronomy Tourism) ในงาน อว.แฟร์: SCI POWER FOR FUTURE THAILAND มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. มุ่งใช้ “อาหารเป็นตัวช่วยสร้างการท่องเที่ยวระดับท้องถิ่น” ทั้งนี้ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการลิ้มลองอาหารเท่านั้น แต่เป็นการเดินทางเพื่อสัมผัสประสบการณ์ทางด้านอาหารในแต่ละพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ ความบันเทิงและสันทนาการ ทั้งการรับประทานอาหาร เยี่ยมชมสถานที่ทำอาหาร เทศกาลอาหาร ตลาด งานแสดงและสาธิตการทำอาหาร หรือกิจกรรมการท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับอาหาร

Read More

‘อนุทิน’นำทัพใช้ ‘ววน. แก้จน’ ลดน้ำแล้งน้ำท่วมในระดับพื้นที่

อนุทินนำทัพ มท. และ อว. ใช้ “ววน. แก้จน” บริหารจัดการน้ำเพื่อลดปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วมในระดับพื้นที่เป็นครั้งแรก โดยมี ‘สกสว.’ เป็นโซ่ข้อกลาง น้อมน้ำแนวพระราชดำริร่วมกับระบบและองค์ความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรม พร้อมยกระดับอาชีพให้ชุมชน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “แนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วมในระดับพื้นที่” ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาน้ำแล้งและน้ำท่วมในระดับพื้นที่ โดยมีนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ รศ. ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้ลงนาม ความร่วมมือดังกล่าวทั้งสองกระทรวงได้น้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ร่วมกับการใช้ระบบและองค์ความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรม สู่การบริหารจัดการน้ำและยกระดับอาชีพให้กับชุมชน อันนำไปสู่การจัดทำแผนปฏิบัติการน้ำท่วม น้ำแล้ง และแผนหลักด้านน้ำระดับพื้นที่ ผ่านองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และจังหวัดต่อไป เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท

Read More