เดือนแห่งการเกษียณ อนาคตของผู้สูงอายุไทย
เมื่อถึงเดือนกันยายนของแต่ละปี ดูเหมือนว่าบรรยากาศการทำงานของหน่วยงานและองค์กรจำนวนไม่น้อยจะดำเนินไปด้วยท่วงทำนองที่เร่งเร้า ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเพราะต้องเร่งใช้จ่ายงบประมาณที่คงค้าง หากยังต้องเร่งจัดวางและเตรียมแผนงานสำหรับการเสนอของบประมาณรอบใหม่ ขณะที่การเปลี่ยนผ่านและพ้นไปของบุคลากรที่กำลังจะเกษียณอายุในวัย 60 ปี ก็ดูจะทำให้บรรยากาศของแต่ละหน่วยงานระคนไปด้วยความรื่นเริงและเศร้าโศกไปพร้อมกัน การเปลี่ยนผ่านของบุคลากรเข้าสู่วัยเกษียณ เป็นประเด็นที่สร้างความกังวลใจต่อสังคมไทยไม่น้อย เพราะกรณีดังกล่าวส่งผลต่อระบบกลไกทางสังคมที่เคยปลูกสร้างขึ้นจากฐานประชากรแบบพีระมิด และอาจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในอดีต แต่การขยายตัวอย่างรวดเร็วของกลุ่มประชากรผู้สูงอายุที่ดำเนินอยู่นี้กำลังท้าทายรูปแบบการบริหารจัดการและมาตรการทางสังคมใหม่ๆ ซึ่งกลไกภาครัฐที่เล็งผลในระยะสั้นและระยะยาว ได้นำเสนอสู่สาธารณะควบคู่กับความพยายามในการปฏิรูประบบและกฎระเบียบทางราชการเพื่อรองรับกับกรณีดังกล่าวด้วย ข้อมูลจากกรมอนามัยระบุว่าปัจจุบันผู้สูงอายุไทยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีจำนวนถึงร้อยละ 17.52 ซึ่งคาดว่าภายใน 3 ปีประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุ (Aged Society) โดยสมบูรณ์ หรือมีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไปอยู่ในระดับร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ซึ่งผู้สูงอายุที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป มีจำนวน 4.6 ล้านคน หรือร้อยละ 42.9 ของประชากรสูงอายุทั้งหมด และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 5.6 ล้านคนในปี พ.ศ. 2564 การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคมโดยรวม เพราะจากการคาดประมาณประชากรของประเทศไทยปี 2553-2583 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่า
Read More