มลภาวะในออฟฟิศ มลพิษทำร้ายคนทำงาน
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สังคมไทยถูกกระตุ้นเตือนว่าด้วยกระแสรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกันอย่างเอิกเกริก ในด้านหนึ่งจากผลของวันสิ่งแวดล้อมโลกเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ต่อเนื่องด้วย วันทะเลโลก 8 มิถุนายน ซึ่งในปีนี้เรื่องราวของวันทั้งสองดังกล่าวดูจะเกี่ยวเนื่องและเชื่อมโยงถึงกัน เมื่อปรากฏว่าขยะพลาสติกไม่เพียงแต่ทำลายสภาพแวดล้อมทางทะเล หากยังเป็นภัยคุกคามต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลอย่างหนักอีกด้วย ความเป็นไปของสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในช่วงที่ผ่านมา อาจส่งผลให้เกิดความตื่นตัวและจุดประกายความสนใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและการบริหารจัดการเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้พอสมควร หน่วยงานและองค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน ต่างแสดงออกถึงความห่วงกังวลในเรื่องดังกล่าวควบคู่กับกิจกรรมทางสังคมภายใต้ความมุ่งหวังที่ว่ากิจกรรมดังกล่าวจะช่วยปลุกจิตสำนึกให้กับผู้คนได้พอสมควร หากแต่การรักษาสิ่งแวดล้อมย่อมไม่ใช่การเดินทางไกลไปปลูกป่าหรือเก็บขยะริมทะเล โดยที่สภาพแวดล้อมในสถานประกอบการหรือสำนักงานของแต่ละหน่วยงาน ยังมีสภาพไม่ต่างจากการนั่งทำงานอยู่บนกองปฏิกูลที่ขาดระเบียบและการบริหารจัดการที่เหมาะสม ภาพสำนักงานของหน่วยงานในสังกัดของระบบราชการไทยทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ที่อัดแน่นด้วยกองเอกสารจำนวนมหาศาล และวัสดุเหลือใช้จำนวนมากที่ถูกขึ้นบัญชีให้เป็นครุภัณฑ์ทำให้ไม่สามารถจำหน่ายหรือขจัดออกไปเพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับการใช้สอยอย่างมีประสิทธิภาพ กลายเป็นประเด็นที่สะท้อนระบบวิธีคิดของหน่วยราชการไทยมาช้านาน แม้ว่าขณะปัจจุบันจะมีการพูดถึงการก้าวเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 และเศรษฐกิจดิจิทัลก็ตาม ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 โดยระบุคำกำหนดนิยามไว้ในมาตรา 4 ความว่า “ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน” หมายความว่า การกระทำหรือสภาพการทำงานซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดการประสบอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย อันเนื่องจากการทำงานหรือเกี่ยวกับการทำงาน โดยที่ “นายจ้าง” หมายความว่า นายจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและให้หมายความรวมถึง ผู้ประกอบกิจการซึ่งยอมให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมาทำงานหรือทำผลประโยชน์ให้แก่หรือในสถานประกอบกิจการ ไม่ว่าการทำงานหรือการทำผลประโยชน์นั้นจะเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการนั้นหรือไม่ก็ตาม ขณะที่ “ลูกจ้าง” หมายความว่า ลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับความยินยอมให้ทำงานหรือทำผลประโยชน์ให้แก่หรือในสถานประกอบกิจการของนายจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม และ “สถานประกอบกิจการ” หมายความว่า
Read More