มิชลินสตาร์ บนวัฒนธรรมอาหารไทย
ข่าวการประกาศผลและมอบรางวัลมิชลินสตาร์ ให้กับร้านอาหารไทยเมื่อไม่นานมานี้ ดูจะก่อให้เกิดความตื่นตัว และกระแสวิพากษ์อย่างกว้างขวางพอสมควร ทั้งในประเด็นที่มาที่ไปของการมอบรางวัล และมาตรฐานความเป็นไปของอาหารไทยที่ครั้งหนึ่งเคยได้รับการผลักดันให้เป็นครัวของโลก ในระดับนานาชาติไม่น้อยเลย ประเด็นที่น่าสนใจมากประการหนึ่งจากปรากฏการณ์ มิชลินสตาร์ รอบล่าสุดอยู่ที่การกำหนดนิยามความหมายของคำว่า สตรีทฟู้ด หรือร้านอาหารริมทาง ที่ดูจะเลื่อนไหลไปจากความหมายทั่วไปจากเดิมที่สังคมไทยคุ้นชิน ไปสู่มาตรฐานใหม่ และอาจนำไปสู่การบริหารจัดการในอนาคต ก่อนหน้านี้ในปี 2559 ที่ผ่านมา สำนักข่าว CNN เคยจัดอันดับเมืองที่มีอาหารริมทาง หรือสตรีทฟู้ด ที่ดีที่สุดในโลก จาก 23 เมืองของโลก ก่อนที่จะระบุให้กรุงเทพมหานคร เป็นอันดับหนึ่งของเมืองสตรีทฟู้ด ซึ่งทำให้กิจกรรมของร้านอาหารริมทางในสังคมไทยตื่นตัวขึ้นมาระยะหนึ่ง ควบคู่กับความพยายามที่จะจัดระเบียบและวางหลักเกณฑ์ด้านสุขอนามัยควบคู่ไปด้วย ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ก็พยายามหยิบยกกรณีดังกล่าวขึ้นเป็นส่วนหนึ่งในการโฆษณาประชาสัมพันธ์กิจกรรมการท่องเที่ยวไทย เพื่อเพิ่มสีสันและความหลากหลาย ที่ทำให้แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ของไทยเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วทุกมุมโลกมากยิ่งขึ้น และเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่าเมืองไทยอุดมด้วยอาหารการกินตลอด 24 ชั่วโมง สิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือการยอมรับสถานภาพของอาหารริมทาง ในฐานะที่เป็นมากกว่าส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมการบริโภค หากแต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตที่หนุนนำความเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่แวดล้อมไปด้วยแรงงานนอกระบบจำนวนมหาศาล เป็นการค้าและเป็นอาชีพอิสระประเภทหนึ่งในฐานะที่เป็น informal sector ขนาดเล็กที่บางครั้งเรียกว่า “ธุรกิจขนาดจิ๋ว” หรือ Micro-enterprise ที่ช่วยหนุนนำและขับเคลื่อนองคาพยพของกลไกเศรษฐกิจหลักมานานก่อนที่จะเกิดคำศัพท์ยอดฮิตไม่ว่าจะเป็น start-up หรือไทยแลนด์ 4.0 ในปัจจุบัน ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ
Read More