ส่องอนาคตของ EEC บนนโยบายเศรษฐกิจใหม่รัฐไทย
การปรับคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลประยุทธ์ ในช่วงที่ผ่านมาได้จุดประกายของการตั้งคำถามในบริบทว่าด้วยความต่อเนื่องและทิศทางของนโยบายที่กำลังจะมุ่งไปนับจากนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีของอนาคตและความเป็นไปในการพัฒนาโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ EEC ที่เป็นประหนึ่งผลงานน่าพึงใจที่รัฐบาลประยุทธ์พยายามโหมประโคมในฐานะโครงการพัฒนาทางเศรษฐกิจหลักตลอดระยะเวลาของการบริหารรัฐนาวามายาวนานกว่า 6 ปี การพ้นออกจากตำแหน่งไปของรัฐมนตรีที่มีส่วนร่วมผลักดันและโหมโฆษณาโครงการพัฒนา EEC ในช่วงก่อนหน้านี้และแทนที่ด้วยรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบชุดใหม่ทำให้หลายฝ่ายเพ่งมองไปที่แนวทางการพัฒนาและนโยบายที่จะเกิดมีขึ้นว่าจะมีความชัดเจนและรูปธรรมอย่างไร ความกังวลใจของนักลงทุนต่างชาติในมิติของความชัดเจนและแนวทางการพัฒนา EEC ในห้วงเวลานับจากนี้ในด้านหนึ่งสะท้อนความเปราะบางของแผนพัฒนา EEC ที่ดำเนินอยู่ แม้ว่าโครงการดังกล่าวจะดำเนินมานานมากกว่า 5-6 ปี หากแต่โครงสร้างพื้นฐานในการรองรับการพัฒนาในพื้นที่กลับดำเนินไปอย่างเชื่องช้าและในหลายกรณีขาดการบูรณาการที่มีเอกภาพอีกด้วย การเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีที่รับผิดชอบและกำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ในด้านหนึ่งเป็นเพียงการเปลี่ยนหัวรถจักรในการขับเคลื่อนพัฒนาการของ สกพอ. หากแต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ก็คือ สกพอ. มีกรอบกำหนดเป็นประหนึ่งรางให้เคลื่อนไปในทิศทางที่วางไว้ก่อนแล้ว ประเด็นที่น่าสนใจจึงอยู่ที่ว่ารัฐมนตรีที่เข้ามารับผิดชอบครั้งใหม่นี้จะมีวิสัยทัศน์และความสามารถในการเร่งความเร็วหรือกำหนดทิศทางใหม่ของการพัฒนา EEC ไปในรูปแบบใด โดยไม่ทำให้การพัฒนา EEC ต้องสะดุดหรือตกรางไปในที่สุด ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในช่วงที่ผ่านมาในด้านหนึ่งคือการแสวงหาช่องทางของหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย (JFCCT) เพื่อเข้าพบและหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับรัฐมนตรีที่ดูแลงานด้านเศรษฐกิจชุดใหม่ เพื่อสอบถามถึงนโยบายเศรษฐกิจและแผนพัฒนา EEC ที่จะมีขึ้นนับจากนี้ แม้ว่าพวกเขาจะเชื่อว่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ใน EEC จะเดินหน้าต่อเนื่องเพราะมี พ.ร.บ. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 มารองรับอยู่แล้ว และขณะนี้หลายโครงการก็คืบหน้าไปมากทั้งรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา แต่ประเด็นในเชิงนโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนภายหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจและ COVID-19 ที่ทำให้ทุกอย่างชะลอตัวเป็นกรณีที่นักลงทุนต้องการความชัดเจนอย่างยิ่ง ความเชื่อมั่นที่ว่าโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) จะเดินหน้าต่อไปโดยรัฐบาลจะสานต่อโครงการนี้อย่างแน่นอนแม้ว่าจะมีการปรับคณะรัฐมนตรีใหม่
Read More