รังไข่ … อวัยวะจิ๋วสุดเจ๋งของคุณผู้หญิง
Column: Well – Being นิตยสาร Prevention เสนอบทความว่าด้วยรังไข่ อวัยวะในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงที่มีขนาดเล็กแต่ทรงพลังมหาศาลต่อร่างกายทั้งระบบของคุณได้อย่างไม่น่าเชื่อ รังไข่เป็นต่อมไร้ท่อรูปทรงลูกมะเดื่อ ตั้งอยู่ที่อุ้งเชิงกราน 2 ข้างของมดลูก นอกจากจะมีความสำคัญต่อระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง รังไข่ยังมีบทบาทสำคัญอื่นๆ ในร่างกายเช่นกัน รังไข่ทำอะไร หน้าที่ของรังไข่ที่รู้จักกันมากที่สุด คือ ผลิตไข่ของผู้หญิง ซึ่งมีขนาดเล็กจิ๋วมาก และเต็มไปด้วย DNA (ครึ่งหนึ่งเป็น DNA ของฝ่ายหญิง และถ้าไข่ใบนั้นได้ผสมกับสเปิร์มที่นำ DNA ของผู้ชายอีกครึ่งหนึ่ง ก็สามารถสร้างตัวอ่อนขึ้นมาได้) ในแต่ละเดือนรังไข่สร้างไข่ราวกว่าสิบใบ แต่มีไข่เพียงหนึ่งหรือสองใบ (ในกรณีลูกแฝด) ออกจากรังไข่ แล้วเดินทางผ่านท่อนำไข่ไปยังมดลูก ที่ที่ไข่อาจหรืออาจไม่ได้ผสมกับสเปิร์มก็เป็นได้ รังไข่ยังทำหน้าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่นอกเหนือจากการเป็นที่เก็บไข่ในระยะยาว นั่นคือ ผลิตฮอร์โมน ส่วนใหญ่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน ควบคู่กับการควบคุมอนามัยการเจริญพันธุ์ของผู้หญิง รังไข่ยังผลิตฮอร์โมนเทสทอสเทอโรนบางส่วนด้วยเช่นกัน ฮอร์โมนทั้งหมดนี้ออกจากรังไข่และไหลเวียนไปทั่วร่างกายของคุณผ่านทางกระแสเลือดนั่นเอง ฮอร์โมนไม่เพียงคอยรักษาให้ระบบสืบพันธุ์แข็งแรง แต่ยังส่งผลต่อการพัฒนากระดูก กล้ามเนื้อ และสมองด้วย ในรังไข่มีไข่มากน้อยแค่ไหน คุณเกิดมาพร้อมรังไข่ที่มีไข่ราว 1–2 ล้านใบ เมื่อย่างเข้าสู่วัยแตกเนื้อสาว ไข่จะค่อยๆ ลดจำนวนลงเหลือ 300,000 ใบ
Read More