ชี้ยางไทยยังมีอนาคตแต่ต้องเพิ่มการใช้งานในประเทศ แนะทางรอดปลูกพืชเศรษฐกิจ-ทำเกษตรผสมผสาน
นักวิจัยระบุยางพาราไทยยังมีอนาคตแต่จะต้องมีการบริหารจัดการที่ดีและควบคุมได้ พร้อมกระตุ้นการใช้งานในประเทศเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 40 จากปัจจุบันใช้เพียงร้อยละ 14 โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีโอกาสเติบโตในอนาคต เช่น ถุงมือยาง ล้อเครื่องบิน ถนน แนะทำเกษตรผสมผสาน ปลูกพืชเศรษฐกิจ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม รศ. ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในฐานะหัวหน้าโครงการ การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานยางพาราไทยกับมาลเซีย เพื่อแสวงหาแนวทางปฏิบัติที่ดีและสนองต่อความต้องการของตลาดโลก ปี 2560 ภายใต้การสนับสนุนทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวระหว่างงานแถลงข่าว "วาระแห่งชาติ ยางพาราไทย: อุปสรรคและทางรอด" ณ สภาหอการค้าไทย ว่ายางพาราไทยยังมีอนาคตแต่จะต้องมีการบริหารจัดการที่ดีและควบคุมได้ ทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและตัวเกษตรกรเอง รวมถึงเพิ่มการใช้ยางพาราในประเทศเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 40 หรือ 1.2 ล้านตันต่อปี ในปี 2559 ผลผลิตยางไทยลดลงมาอยู่ที่ระดับ 4.2 ล้านตัน เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งและราคายางที่อยู่ในระดับต่ำ ทำให้เกษตรกรบางส่วนเลิกกรีดยางและเจ้าของสวนยางใหม่ชะลอการเปิดกรีด ปัจจุบันสถานการณ์การผลิตยางพาราไทยกับอาเซียน พบว่าไทยมีพื้นที่ปลูกยางพารา 20.6 ล้านไร่ กรีดยางได้ 19.2 ล้านไร่
Read More