Home > มั่นคงเคหะการ

เปิดมุมมองผู้ประกอบการโรงงาน พื้นที่ Free Zone มั่นใจปักหลักประเทศไทยต่อเพราะอะไร

แนวโน้มภาคอุตสาหกรรมและวัฏจักรการผลิตของไทยในวันนี้กำลังเผชิญหน้าความท้าทายครั้งใหญ่ จากข้อมูลตัวเลขภาพรวมโรงงานที่ปิดตัวลง โดยเฉพาะส่วนต่างระหว่างการเปิดโรงงานที่มากกว่าปิด เฉลี่ยลดลงมาอยู่ไม่ถึง 100 โรงงานต่อเดือน อย่างไรก็ตาม หากมองในมิติของขนาดโรงงานยังพบตัวเลขการเปิดโรงงานขนาดใหญ่ที่เพิ่มขึ้น ช่วง 7 เดือนแรกของปี 2567 มีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมเปิดกิจการเพิ่มขึ้น 25.9% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งสัญญาณเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเร่งให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมมือกันในการถอดบทเรียนและกำหนดทิศทางของภาคอุตสาหกรรมให้หยัดยืนต่อไปได้ นโยบายภาครัฐ: ตัวแปรตั้งต้นแห่งศักยภาพภาคโรงงานไทย ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยปัจจัยกระทบเชิงลบรอบด้านอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในพื้นที่สำหรับประกอบการอุตสาหกรรมหลักของไทย ที่กำลังพิสูจน์ศักยภาพของประเทศในการเป็นฐานที่ตั้งโรงงานของเหล่าผู้ประกอบการจากทั่วโลก คือ พื้นที่ Free Zone หรือเขตปลอดอากร เพื่อการสนับสนุนธุรกิจนำเข้า-ส่งออก พื้นที่ Free Zone เป็นพื้นที่ภายใต้การดูแลของกรมศุลกากร ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ทางอากรศุลกากรในการประกอบอุตสาหกรรม หรือกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ โดยผู้ที่จะเข้ามาประกอบกิจกรรมในพื้นที่ Free Zone นี้ ต้องยื่นขอรับใบอนุญาตเพื่อดำเนินการ ในปัจจุบัน ผู้ให้บริการโครงการพื้นที่ Free Zone เบอร์ 1 ของประเทศ คือ พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ (PD) ในเครือ บมจ.มั่นคงเคหะการ ผู้นำโครงการคลังสินค้าและโรงงานให้เช่า ภายใต้ชื่อ โครงการบางกอกฟรีเทรดโซน

Read More

บำรุงราษฎร์ ปักธงผู้นำด้าน Medical & Wellness Tourism เปิดตัวโครงการรักษ ศูนย์บูรณาการสุขภาพและการแพทย์แบบองค์รวม

ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ปักธงผู้นำด้าน Medical & Wellness Tourism ชูบริการใหม่ ไวทัลไลฟ์ @บางกระเจ้า ผนึกความร่วมมือกับ มั่นคงเคหะการ - ไมเนอร์ เปิดตัวโครงการรักษ ศูนย์บูรณาการสุขภาพและการแพทย์แบบองค์รวมแห่งแรกในเอเชีย ตามที่รัฐบาลมีนโยบายพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์นานาชาติ หรือ Medical Hub เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคตและยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน รวมไปถึงการมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพในระดับสากลนั้น ปัจจุบัน มีการขยายนโยบายดังกล่าวให้ครอบคลุมถึงการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพ (Medical and Wellness Tourism) ถือเป็นโอกาสอันดีในการยกระดับด้านการท่องเที่ยวผสมผสานกับด้านการแพทย์ ซึ่งเป็นจุดเด่นและข้อได้เปรียบของประเทศไทย สอดคล้องกับข้อมูลการจัดอันดับของ Global Wellness Institute รายงานว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทยติดอันดับ 13 ของโลก สามารถสร้างรายได้มากกว่า 9.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ The International Healthcare Research Center (IHRC) ระบุว่า อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ของประเทศไทยติดอันดับ 6 ของโลก

Read More