Home > มัทชะรูปแบบใหม่

รอใช้ใบเตยรักษาเบาหวาน

Column: Well – Being บางครั้งใบเตยถูกขนานนามว่า “วานิลลาแห่งโลกตะวันออก” เพราะกลิ่นอันหอมหวานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของมัน และอยู่คู่ครัวของอินเดีย มาเลเซีย เวียดนาม ศรีลังกา และไทย มานานหลายร้อยปีแล้ว นิตยสาร GoodHealth รายงานความคืบหน้าว่า เมื่อไม่นานมานี้ใบเตยได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ไนเจลลา ลอว์สัน ถึงกับตั้งฉายาให้ใบเตยว่าเป็น “มัทชะรูปแบบใหม่” ตอนนี้มัทชะซึ่งเป็นชาเขียวที่แทบจะไม่เคยมีใครรู้จัก ได้กลายเป็นส่วนประกอบยอดนิยมที่พบในเค้ก ชา สมูทตี้ และไอศกรีมในทั่วโลก ได้ไฟเขียว ดูเหมือนว่าใบเตยเริ่มเดินตามรอยเท้าของมัทชะมาติดๆ แล้ว เตยมีประมาณ 750 สายพันธุ์ มีรูปลักษณ์ภายนอกคล้ายต้นปาล์ม โดยใบที่แตกช่อออกมาเป็นรูปคล้ายพัดนั้น มีลักษณะยาว แคบเป็นรูปใบมีด เตยพบได้ทั่วไปในประเทศเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน เช่น อินเดีย เมียนมา เวียดนาม และไทย แต่บางสายพันธุ์ก็พบได้ในเขตนอร์ทเทิร์นเทอร์ริทอรีของออสเตรเลีย เตยเป็นแหล่งอาหารและยาที่สำคัญของชนพื้นเมืองออสเตรเลียมานานหลายชั่วคน เตยยังถูกนำมาวิจัยและเป็นที่ยอมรับในทั่วโลกถึงศักยภาพทางยาและสรรพคุณในการเยียวยาของมัน ต้นเตยและใบเตยมีสารพฤกษเคมีที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างครอบคลุม ที่อินเดียมีการนำใบเตยมาแช่ในน้ำมันมะพร้าว และนำน้ำมันนั้นมาถูตามร่างกาย เพื่อบรรเทาอาการปวดจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า แพทย์วิถีธรรมชาติใช้วิธีเคี้ยวใบเตยเป็นทางเลือกแทนการไปหาหมอฟัน และช่วยรักษาให้ช่องปากมีสุขภาพดี รวมทั้งการนำใบเตยสดมาแช่ในน้ำเย็นสำหรับอาบ เพื่อรักษาอาการแดดเผาจนผิวไหม้เกรียมได้ นักวิจัยมหาวิทยาลัยมาเลเซียยังยกย่องเตย ว่ามีศักยภาพในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ต่อสู้กับโรคต่างๆ เพราะในใบเตยมีสารโพลีฟีนอลที่ช่วยชะลอการพัฒนาของโรคร้ายต่างๆ เช่น

Read More