ภาระหนี้ครัวเรือน แผลเรื้อรังสังคมไทย
ปัญหาว่าด้วยภาระหนี้ครัวเรือนของสังคมไทยเป็นประเด็นที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งติดตามมาด้วยภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจซึ่งส่งผลให้รายได้ของแต่ละครัวเรือนหดหาย ท่ามกลางค่าใช้จ่ายปกติและภาระหนี้ที่ยังดำรงอยู่ทำให้เกิดการสั่งสมของปัญหากลายเป็นบาดแผลที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ บาดแผลทางเศรษฐกิจของไทยที่เกิดขึ้นจากผลของการแพร่ระบาด COVID-19 นอกจากจะอยู่ที่ประเด็นว่าด้วยประสิทธิภาพของมาตรการภาครัฐแล้ว ข้อเท็จจริงว่าด้วยโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่พึ่งพาสัดส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวและการส่งออก ได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำนวนมากต้องทยอยปิดหรือเลิกกิจการ ก่อให้เกิดการเลิกจ้างแรงงานจำนวนมาก และนำไปสู่ปัญหาการว่างงานติดตามมาอย่างไม่อาจเลี่ยง และจะส่งผลต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศในอนาคต ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังจะต้องเผชิญกับบาดแผล จากปัญหาหนี้ครัวเรือนในระดับสูงที่ได้สะสมมาก่อนหน้า และกลายเป็นบาดแผลเรื้อรังที่ยังไม่ได้รับการรักษาเยียวยาอย่างจริงจัง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจ ก็คือหนี้ครัวเรือนไม่ใช่ปัญหาใหม่ของเศรษฐกิจไทย เพราะก่อนการแพร่ระบาด COVID-19 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยก็อยู่ที่ระดับร้อยละ 80.2 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่สูงที่สุดในบรรดากลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอยู่แล้ว และเมื่อมีการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ในไตรมาสที่ 2 สัดส่วนของหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP จึงได้ปรับตัวสูงขึ้นไปสู่ระดับที่ร้อยละ 83.8 ซึ่งถือเป็นสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ในระดับสูงสุดของประเทศไทยเท่าที่เคยมีมา หลังจากเคยเร่งตัวต่อเนื่องในช่วงปี 2552 จนถึง 2558 จนไปสู่ระดับร้อยละ 81.2 ในไตรมาสที่ 4 ปี 2558 ก่อนจะปรับลดลงเล็กน้อยและค่อนข้างทรงตัวในช่วง 4
Read More