Home > ผศ. ดร.ภาสกร ปนานนท์

นักวิจัยชี้ระบบเตือนภัยแผ่นดินไหวภาคเหนือทำไม่ได้ ห่วงการรับมือสึนามิยังขาดความตื่นตัว-อพยพไม่ทัน

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศลาวและส่งผลให้หลายจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ จนเกิดกระแสในโลกโซเชียลติดอันดับ 2 ของทวิตเตอร์ประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 โดยส่วนหนึ่งได้กล่าวถึงการมีระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติฉุกเฉินผ่านโทรศัพท์มือถือเช่นเดียวกับในต่างประเทศนั้น ศ. ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย หัวหน้าชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า แผ่นดินไหวมีหลายรูปแบบ บางแบบจะไม่สามารถเตือนภัยได้ แต่บางรูปแบบอาจจะเตือนภัยได้แต่ก็เพียงไม่กี่สิบวินาทีก่อนเกิดการสั่นสะเทือนรุนแรง ในกรณีภาคเหนือของประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ในพื้นที่ ซึ่งส่งผลรุนแรงในระยะใกล้จุดศูนย์กลาง จึงเป็นแผ่นดินไหวในรูปแบบที่ไม่สามารถเตือนภัยได้ ส่วนกรณีของกรุงเทพมหานคร การสั่นสะเทือนจะเกิดจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่มีศูนย์กลางห่างไกลออกไปนับร้อยกิโลเมตร ในกรณีเช่นนี้มีความเป็นไปได้ที่จะสร้างระบบเตือนภัยแผ่นดินไหว ซี่งอาจจะเตือนได้เพียง 10-20 วินาทีก่อนที่คลื่นแผ่นดินไหวจะวิ่งมาถึงกรุงเทพฯ ระยะเวลาเตือนภัยสั้น ๆ นี้จึงอาจไม่เพียงพอที่จะอพยพผู้คนออกจากอาคาร แต่อาจช่วยให้หลบเข้าที่ปลอดภัยได้ หรืออาจนำมาใช้ในการชะลอความเร็วของรถไฟความเร็วสูงที่จะมีในอนาคต เพื่อให้รถวิ่งช้าลงและไม่ตกรางจนเกิดอันตราย สำหรับการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่นมีหลายรูปแบบ แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในเมืองโกเบเมื่อหลายสิบปีก่อน และแผ่นดินไหวที่จังหวัดคุมาโมโตะ เป็นแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางใกล้ตัวเมืองมาก จึงไม่สามารถเตือนภัยได้ เพราะคลื่นแผ่นดินไหววิ่งเร็วมากด้วยความเร็วประมาณ 3-6 กิโลเมตร/วินาที ทำให้คลื่นแผ่นดินไหววิ่งมาถึงตัวเมืองในเวลาเพียงไม่กี่วินาที ทั้งนี้ ประเทศญี่ปุ่นมีความเสี่ยงจากแผ่นดินไหวในอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นคือ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่มาก ๆ ในทะเลที่อยู่ห่างจากชายฝั่งหลายร้อยกิโลเมตร

Read More

สกว.หนุนพัฒนาของที่ระลึกสามมิติสร้างรายได้ชุมชนรอบเมืองมรดกโลก

สกว.สนับสนุนนักวิจัยจาก ม.เกษตรศาสตร์ พัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากแบบจำลอง 3 มิติเสมือนจริง ที่สะท้อนเอกลักษณ์ของโบราณสถานสำคัญในเมืองมรดกโลก สุโขทัย-พระนครศรีอยุธยา หวังสร้างรายได้แก่คนในชุมชน ผศ. ดร.ภาสกร ปนานนท์ หัวหน้าโครงการ “ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากแบบจำลอง 3 มิติ เสมือนจริงของโบราณสถานสำคัญในเมืองมรดกโลก โดยการถ่ายภาพทางอากาศความละเอียดสูง สำหรับกลุ่มโอทอปวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อรองรับตลาดการท่อง เที่ยวแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมของประเทศไทย” เปิดเผยว่า แม้จะมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากมาเที่ยวชมมรดกโลกทางวัฒนธรรมของไทยทั้งเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวารและนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาสร้างรายได้ให้กับภาคธุรกิจท่องเที่ยวและประเทศ แต่กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวกลับได้รับอานิสงส์ไม่มากนัก เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่มาจากการขายผลิตภัณฑ์ของชุมชนในท้องถิ่น หลายพื้นที่ซื้อสินค้าจากที่อื่นมาวางขายอีกทอดหนึ่ง ทำให้ขาดความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนและสถานที่ท่องเที่ยวเหล่านั้น นักวิจัยจาก ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากฝ่ายการวิจัยมุ่งเป้า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อพัฒนาคุณภาพการออกแบบและผลิตของที่ระลึกด้านศิลปะและวัฒนธรรม รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบของที่ระลึกเพื่อจำหน่ายแก่กลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการรายย่อยและชุมชนในระดับครัวเรือน ตลอดจนสะท้อนเอกลักษณ์และคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของสถานที่ท่องเที่ยว นักวิจัยและคณะได้ร่วมกันสืบค้นข้อมูลของโบราณสถานที่สำคัญในเมืองมรดกโลกและคัดเลือกโบราณสถานสำคัญที่มีสถาปัตยกรรมที่สวยงามเป็นที่รู้จักสามารถเป็นตัวแทนหรือแลนด์มาร์คของเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและพระนครศรีอยุธยา รวม 10 แห่ง จากนั้นจึงถ่ายภาพทางอากาศความละเอียดสูงร่วมกับการถ่ายภาพภาคพื้นดินรอบโบราณสถานอย่างละเอียด แล้วสร้างแบบจำลอง 3 มิติต้นแบบให้กับชุมชนท้องถิ่น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการชุมชนและท้องถิ่น เอสเอ็มอีโอทอป เพื่อให้สามารถนำแบบจำลองเหล่านี้ไปใช้และพัฒนาต่อยอดในการออกแบบและผลิตของที่ระลึกและจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้คณะวิจัยยังได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่มีคุณภาพสูง ทั้งของที่ระลึกที่มีลักษณะเป็นสามมิติที่จับต้องได้และแบบอื่นๆ ให้กับชุมชนโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ รวม 2 ครั้ง ทั้งที่ชุมชนรอบเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร และนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา “งานวิจัยนี้เป็นโครงการต้นแบบสำหรับการผลิตของที่ระลึกด้านการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่มีคุณภาพสูง

Read More