ยานยนต์อาเซียน ถึงจุดเปลี่ยนผ่านครั้งใหม่?
การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 34 (34th ASEAN Summit) ซึ่งประเทศไทยในฐานะประธานอาเซียนและเจ้าภาพจัดการประชุมได้เสร็จสิ้นลงไปแล้ว ท่ามกลางภาพรวมที่กลไกภาครัฐพยายามโหมประโคมถึงความสำเร็จและเรียบร้อยของการจัดการ หากแต่ในอีกด้านหนึ่งการประชุมดังกล่าวดูจะห่างไกลจากทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชนและการรับรู้ถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต ไม่นับรวมถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงท่วงทำนองและสถานะของคณะผู้แทนไทยในการประชุมครั้งนี้ด้วย ท่ามกลางแนวคิดว่าด้วย “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” (Advancing Partnership for Sustainability) ที่รัฐไทยพยายามนำเสนอควบคู่กับภารกิจสำคัญว่าด้วยการผลักดันการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ให้สามารถบรรลุบทสรุปสำเร็จลุล่วงภายในปี 2562 ดูเหมือนว่าบริบทแห่งความเป็นไปของเพื่อนบ้านอาเซียนที่แวดล้อมดูจะก้าวไกลไปกว่าพัฒนาการของสังคมไทยอย่างน่าสนใจ ข่าวการเปิดตัว VinFast รถยนต์สัญชาติเวียดนามในช่วงเวลาไม่กี่วันก่อนหน้าการประชุมสุดยอดอาเซียน ดูจะเป็นประหนึ่งการส่งสัญญาณเตือนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยและหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งเชื่อว่าประเทศไทยมีศักยภาพและเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนี้อยู่ไม่น้อย แม้ว่า VinFast จะไม่ใช่แบรนด์รถยนต์จากประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนแบรนด์แรกที่เกิดขึ้นก็ตาม ก่อนหน้านี้ Proton จากมาเลเซียได้ถือกำเนิดและเข้าสู่ตลาดรถยนต์มาตั้งแต่ปี 1983 ก่อนที่ในปี 1993 หรืออีก 10 ปีถัดมามาเลเซียจะมี Perodua เป็นอีกแบรนด์หนึ่งที่ออกมาโลดแล่นบนถนนอาเซียนมากว่า 3 ทศวรรษ แม้ว่าพัฒนาการที่ยาวนานของแบรนด์ยานยนต์จากมาเลเซียทั้งสอง อาจไม่ได้ส่งผลต่อความเป็นไปของอุตสาหกรรมยานยนต์ในระดับภูมิภาคมากนักในช่วงที่ผ่านมาก็ตาม ความเชื่อมั่นที่ว่าประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่แข็งแกร่งและอุดมด้วยศักยภาพในการบริโภคที่เป็นประหนึ่งเบ้าหลอมทัศนะในการประเมินสถานการณ์รอบข้างของทั้งผู้ประกอบการและกลไกที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง เพราะท่ามกลางกำแพงภาษีนำเข้ารถยนต์ที่สูงถึงร้อยละ 80 และร้อยละ 60
Read More