“หวานเป็นลม ขมเป็นยา” ภาพสะท้อนธุรกิจเวชภัณฑ์ไทย
สถานการณ์ว่าด้วย การเข้าไม่ถึงยาจำเป็น ของสังคมไทย ดูจะเป็นประเด็นใหญ่ที่น่ากังวลมิใช่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยในโรคที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง และเป็นปัญหาสำคัญในระบบสาธารณสุขของไทย ท่ามกลางความเป็นไปของตลาดยาในประเทศไทยที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 5-6 ต่อปี และมีมูลค่าการตลาดรวมกว่า 1.8 แสนล้านบาท ปัจจัยหนุนเสริมที่ทำให้ตลาดยาในไทยขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความเจ็บป่วยที่เพิ่มขึ้นของคนไทย โดยเฉพาะจำนวนผู้ป่วยจากโรคเฉพาะทาง ทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง ขณะที่จำนวนประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยซึ่งคาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นไปสู่ระดับ 10.3 ล้านคนในปี 2562 ก็เป็นปัจจัยเสริมให้มีความต้องการใช้ยาเพิ่มขึ้นด้วย กรณีดังกล่าวส่งผลให้รัฐมีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า ดังจะเห็นได้จากข้อมูลรายจ่ายสวัสดิการผู้สูงอายุซึ่งอยู่ที่ระดับ 2.81 แสนล้านบาทในปี 2559 และจะเพิ่มเป็น 4.64 แสนล้านบาทในปี 2564 ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้สะท้อนผ่านความต้องการใช้ยาเฉพาะทางและบริการทางการแพทย์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แม้ว่าค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศไทย ซึ่งมีมูลค่านับแสนล้านบาทต่อปี จะถือเป็นค่าใช้จ่ายในสัดส่วนมากถึง 1 ใน 3 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ แต่ปัญหาการเข้าไม่ถึงยาจำเป็น ยังทวีความรุนแรงมากขึ้นในระบบสุขภาพไทย โดยเฉพาะการเข้าไม่ถึงยาในความเจ็บป่วยที่มีความรุนแรงและเฉพาะทางที่ยังเป็นปัญหาหลัก ประเด็นที่น่าสนใจจากเหตุดังกล่าวในด้านหนึ่งอยู่ที่ข้อเท็จจริงที่ว่า ค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศไทยดำเนินไปในทิศทางที่สูงกว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ท่ามกลางความไม่ชัดเจนในเชิงนโยบายว่าด้วยการกำหนดราคายา การขาดระบบควบคุมราคายาที่มีประสิทธิภาพ ไม่มีหน่วยงานที่กำกับดูแลการกำหนดราคายาให้เหมาะสมและเป็นธรรม ซึ่งกรณีเช่นว่านี้ก่อให้เกิดปัญหาการเข้าถึงยา โดยเฉพาะยาที่มีราคาแพงและยาที่ผูกขาดตลาดโดยเจ้าของรายเดียวหรือน้อยรายไปโดยปริยาย ข้อเท็จจริงแห่งความเป็นไปของยา
Read More