Home > ซีบีอาร์อี

ซีบีอาร์อีเผยเทรนด์อสังหาริมทรัพย์ไทยน่าจับตาในปี 2566

ประเทศไทยเริ่มต้นปี 2566 ด้วยแนวโน้มที่ดีทั้งในด้านเศรษฐกิจและตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยรวม ซีบีอาร์อี ประเทศไทย ที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำระดับโลก ได้เผยถึงเทรนด์สำคัญที่น่าจับตามองในตลาดที่พักอาศัย ตลาดอาคารสำนักงาน ตลาดพื้นที่ค้าปลีก ตลาดพื้นที่อุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ และตลาดโรงแรมของไทย นางสาวรุ่งรัตน์ วีระภาคย์การุณ กรรมการผู้จัดการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย กล่าวว่า “ปี 2566 เริ่มต้นด้วยทิศทางบวกมากกว่าปีก่อน ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 ซึ่งมีผลให้ความเชื่อมั่นของตลาดและนักลงทุนปรับตัวดีขึ้น ทั้งตลาดที่พักอาศัยและตลาดพื้นที่สำนักงานมีความชัดเจนมากขึ้นในเรื่องของความต้องการพื้นที่มากขึ้น นอกจากนี้ ผู้พัฒนาโครงการสามารถตอบสนองความต้องการใหม่ ๆ ของลูกค้าได้เป็นอย่างดี ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงการได้ใช้เวลาทำความเข้าใจเทรนด์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในตลาดที่พักอาศัยและตลาดอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ และได้มีการปรับตัวโดยนำกลยุทธ์และนโยบายที่เหมาะสมที่สุดมาใช้กับธุรกิจของตนเอง” “ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ในปี 2566 ที่ระดับ 3.6% เพิ่มขึ้นจาก 3.2% ในปี 2565 ตัวเลขจะเป็นไปตามการคาดการณ์หรือไม่นั้นจะขึ้นอยู่กับจำนวนนักท่องเที่ยวและผลการดำเนินงานของภาคการส่งออกเป็นหลัก อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ คือ รัฐบาลจะสร้างความสมดุลระหว่างความจำเป็นที่จะลดมาตรการกระตุ้นทางการคลังโดยไม่กระทบต่อการเติบโตด้านการบริโภคโดยรวมอย่างไร ในขณะที่หนี้ส่วนบุคคลยังสูงอยู่” นางสาวโชติกา ทั้งศิริทรัพย์ หัวหน้าแผนกวิจัยและที่ปรึกษาการพัฒนาโครงการ

Read More

การเว้นระยะห่างทางสังคมกำหนดอนาคตร้านค้านอกห้างสรรพสินค้า

ร้านค้าปลีกเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จากมาตรการต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งเริ่มในช่วงต้นปี 2563 ซีบีอาร์อี ที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำระดับโลก เผยว่า มาตรการต่าง ๆ เพื่อการเว้นระยะห่างทางสังคม เช่น การปิดห้างสรรพสินค้าชั่วคราว การลดเวลาให้บริการลงในช่วงเคอร์ฟิว ไปจนถึงข้อกำหนดอื่น ๆ โดยเฉพาะสำหรับร้านอาหารที่ต้องลดเวลาให้บริการ กำลังเป็นตัวแปรในการกำหนดแนวโน้มการเจริญเติบโตของร้านค้านอกห้างสรรพสินค้า นางสาวจริยา ถ้ำตรงกิจกุล หัวหน้าแผนกพื้นที่ค้าปลีก ซีบีอาร์อี ประเทศไทย ให้ความเห็นว่า “ผู้ค้าปลีกกำลังมองหาทางเลือกที่หลากหลายในการขยายแบรนด์ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การตั้งสาขาใหม่ในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่เพื่อดึงดูดลูกค้ามากขึ้นเท่านั้น ปัจจุบันผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่มกำลังปรับเปลี่ยนรูปแบบร้านที่ตั้งอยู่นอกห้างสรรพสินค้า เช่น ร้านแบบคีออสก์และป๊อปอัปในสถานีขนส่งมวลชน ฟู้ดทรัค ร้านสแตนด์อโลนชั่วคราว จุดรับสินค้าในจุดแวะพักระหว่างทางหรือปั๊มน้ำมัน ทำเลที่ตั้งร้านที่ไม่ใช่ในห้างสรรพสินค้า เช่น ย่านค้าขายที่มีร้านค้าเรียงกันเป็นแถบ (Strip Mall) และตลาดนัดกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ จากบรรดาร้านค้าปลีกที่มีการตื่นตัว และพยายามปรับตัว การย้ายร้านค้าไปนอกห้างสรรพสินค้าสามารถช่วยลดข้อจำกัดจากมาตรการที่กำหนดไว้เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่น การปิดห้างสรรพสินค้า ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ เราต่างได้เรียนรู้แล้วว่า ไม่มีใครรู้ว่าสถานการณ์จะเลวร้ายลงหรือไม่ หรือจะเกิดขึ้นนานแค่ไหน “ทำเลที่ตั้งนอกห้างสรรพสินค้าอาจเป็นหนึ่งในกลยุทธ์พื้นที่เป้าหมายของร้านค้าปลีก เนื่องจากแบรนด์ที่เลือกใช้สถานที่ประเภทนี้จะสามารถเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการเฉพาะในตลาดนั้น ร้านค้ารูปแบบนี้มักจะมีความยืดหยุ่นกว่า และสามารถทำสัญญาเช่าระยะสั้นกว่าได้ ช่วยให้ผู้ค้าปลีกสามารถปรับเปลี่ยนและบริหารจัดการสภาพคล่องทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Read More

ซีบีอาร์อีเผยคอนโดมิเนียมหรูในกรุงเทพฯ ดีมานด์ยังสตรอง ขณะโครงการบ้านเปิดตัวเพิ่มขึ้น

ซีบีอาร์อี บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำระดับโลก เผยว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 โครงการคอนโดมิเนียมระดับซูเปอร์ลักซ์ชัวรี่ในกรุงเทพมหานครมียอดจองเฉลี่ยสูงสุดที่ 76.3% และตลาดยังคงเป็นที่สนใจของนักลงทุน ขณะที่ตลาดบ้านแนวราบมีการเปิดตัวโครงการใหม่เพิ่มขึ้น 26.8% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากผู้ซื้อที่ต้องการมีพื้นที่ใช้สอยที่กว้างขึ้น นางสาวอาทิตยา เกษมลาวัณย์ หัวหน้าแผนกซื้อขายที่พักอาศัยโครงการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย กล่าวว่า “จากวิกฤตการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน ทำให้ตลาดที่พักอาศัยโดยรวมของกรุงเทพฯ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดระรอกใหม่ที่เกิดขึ้น ซัพพลายจากการเปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมใหม่จึงลดลงมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2563 และจากตัวเลขในไตรมาส 2 ปี 2564 ของซีบีอาร์อี พบว่า การเปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมใหม่ลดลงจากไตรมาสแรก 11.4% โดยผู้พัฒนาโครงการให้ความสำคัญกับการขายยูนิตที่สร้างเสร็จและพร้อมเข้าอยู่มากกว่า โดยมีข้อเสนอพิเศษเป็นตัวเร่งการตัดสินใจของลูกค้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการให้ส่วนลด 5 - 10%” จากสถิติของแผนกวิจัย ซีบีอาร์อี พบว่า ณ ไตรมาส 2 ปี 2564 คอนโดมิเนียมทั้งหมดในกรุงเทพฯ มีจำนวนทั้งสิ้น 828,549 ยูนิต

Read More

อสังหาฯ ลอนดอนกลับมาได้รับความสนใจจากนักลงทุน

ในขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของไทยในหลายภาคธุรกิจต้องดิ้นรนจากผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นอีกระลอก ผู้ซื้อในตลาดระดับบนที่ไม่มีภาระหนี้สินกลับกำลังขยายพอร์ตอสังหาริมทรัพย์ไปสู่ตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซีบีอาร์อี บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ระดับโลก พบว่า จากการที่โรงเรียนและสถาบันการศึกษาในอังกฤษจะกลับมาเปิดอีกครั้งในเดือนกันยายนนี้ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในลอนดอนจึงกลับมาได้รับความสนใจจากผู้ซื้ออีกครั้ง โดยปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการตัดสินใจของผู้ซื้อ ได้แก่ ความสะดวกสบายของครอบครัว การเติบโตของราคาที่อยู่อาศัย มาตรการยกเว้นภาษีอากรแสตมป์ และแนวโน้มที่กลุ่มลูกค้าระดับบนต้องการบ้านที่สองมากขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกในภาวะวิกฤต นางสาวปพิณริยา พึ่งเขื่อนขันธ์ หัวหน้าแผนกซื้อขายที่พักอาศัยรายย่อย ซีบีอาร์อี ประเทศไทย ให้ความเห็นว่า “ตลาดที่พักอาศัยในลอนดอนในช่วงไตรมาส 1 และไตรมาส 2 ของปี 2564 นั้นประสบความสำเร็จเกินกว่าที่คาดไว้มากจากนโยบายของรัฐบาลอังกฤษที่สนับสนุนการซื้ออสังหาริมทรัพย์ทั้งในด้านการให้สินเชื่อจากธนาคารและอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำสำหรับคนอังกฤษ ดังนั้น ในปี 2564 ราคาบ้านในลอนดอนจึงปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 6%และเป็นที่คาดการณ์ว่าราคาที่พักอาศัยจะเพิ่มขึ้นสูงสุด 18% ในอีก 5 ปีข้างหน้า อีกปัจจัยหนึ่งคือความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากการที่ผู้อยู่อาศัยต้องการพื้นที่ใช้สอยขนาดใหญ่ขึ้นและพื้นที่กลางแจ้งเพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตแบบทำงานจากบ้าน หรือ Work from Home โครงการบ้านจัดสรรในโซน 2 โซน 3 และชานเมืองจึงได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้มาตรการหยุดพักชำระภาษีอากรแสตมป์ หรือ Stamp

Read More

ภูเก็ต แซนด์บอกซ์: ได้ผล หรือ พลาดเป้า?

โครงการภูเก็ต แซนด์บอกซ์ได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ในฐานะต้นแบบสำหรับการเปิดประเทศของไทย แต่โครงการนี้ก็มาพร้อมกับกฎเกณฑ์ต่าง ๆ หลายประการ ซึ่งถ้าการปฎิบัติและผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่ภาครัฐกำหนดไว้ โครงการก็จะถูกยกเลิก ซีบีอาร์อี ที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำระดับโลก ให้ความเห็นว่า ข้อกำหนดที่มีความซับซ้อนสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามา เช่น การขอหนังสือรับรองการเดินทางเข้าประเทศ (Certificate of Entry: COE) ขั้นตอนการตรวจสอบเรื่องวัคซีน และข้อกำหนดในการตรวจหาเชื้อแบบ PCR ที่ต้องตรวจหลายครั้ง อาจส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางเข้ามาลดลง นายรัฐวัฒน์ คูวิจิตรสุวรรณ หัวหน้าแผนกวิจัยและที่ปรึกษาการพัฒนาโครงการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย รายงานว่า ในปี 2562 เฉพาะภูเก็ตเพียงจังหวัดเดียวมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมากกว่า 10 ล้านคน ซึ่งสร้างรายได้ให้กับเกาะแห่งนี้ราว 3.93 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 89% ของรายได้จากการท่องเที่ยวในภูเก็ต ในปี 2563 จำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเยือนภูเก็ตมีทั้งหมดราว 4 ล้านคน ขณะที่ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ภูเก็ตจะมีนักท่องเที่ยวน้อยกว่า

Read More

สรุปภาพรวมตลาดอาคารสำนักงานและตลาดโรงแรมในกรุงเทพฯ ไตรมาส 1 ปี 2564

หลังจากผ่านไปหนึ่งปีเต็มภายใต้แรงกดดันทางการเงินที่เกิดจากโควิด-19 และสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ได้ฟื้นตัวขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ซีบีอาร์อี บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำระดับโลก พบว่า ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2564 ตลาดอาคารสำนักงานในกรุงเทพมหานครต้องเผชิญกับภาวะซัพพลายที่กลับเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้นจากการลดพื้นที่ของผู้เช่า ส่วนตลาดโรงแรมในกรุงเทพฯ มีอัตราการเข้าพักโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับที่มีความท้าทายเป็นอย่างมาก ตลาดอาคารสำนักงาน ตลาดอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ ยังคงต้องเผชิญกับความท้าทาย เนื่องจากผู้เช่าพิจารณาใช้พื้นที่ลดลงเพื่อลดค่าใช้จ่ายและมีการใช้นโยบายให้พนักงานบางส่วนทำงานจากที่บ้าน แผนกวิจัย ซีบีอาร์อี พบว่า ปริมาณพื้นที่สำนักงานในกรุงเทพฯ ในไตรมาสแรกของปี 2564 เพิ่มขึ้น 25,000 ตารางเมตร เป็น 9.26 ล้านตารางเมตร จากอาคารดับบลิวเอชเอ ทาวเวอร์ (WHA Tower) ในย่านบางนา – ตราด โดยพื้นที่ส่วนหนึ่งในอาคารเป็นการใช้พื้นที่ของเจ้าของอาคารเอง ซึ่งทำให้ซัพพลายในย่านนี้คิดเป็นเพิ่ม 13% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่ผ่านมา และในย่านดังกล่าวมีอัตราการใช้พื้นที่สำนักงานโดยรวมอยู่ที่ 80.4% ณ ไตรมาส 1 ปี 2564 ในด้านการใช้พื้นที่สำนักงานที่เพิ่มขึ้นใหม่ในไตรมาส 1 ปี 2564 นั้น แผนกวิจัย ซีบีอาร์อี พบว่า

Read More

นิยามใหม่ของอนาคตห้างสรรพสินค้าไทย

แม้ว่าห้างสรรพสินค้าจะเป็นสถานที่ที่คนไทยคุ้นเคยกันมานานหลายสิบปี แต่ ซีบีอาร์อี บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ ได้เห็นถึงความนิยมที่ลดลงและมีการเติบโตเพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะในปี 2563 ที่โควิด-19 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจค้าปลีก ซีบีอาร์อีเชื่อว่า นอกจากจะต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับอี-คอมเมิร์ซและสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ห้างสรรพสินค้าในปี 2564 จะต้องปรับรูปแบบการทำธุรกิจในแง่ของการสร้างเสริมประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ รวมไปถึงการจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และบริการเสริม เพื่อรักษาความนิยมจากนักช้อปชาวไทย นางสาวจริยา ถ้ำตรงกิจกุล หัวหน้าแผนกพื้นที่ค้าปลีก ซีบีอาร์อี ประเทศไทย อธิบายว่า “ในขณะที่ห้างสรรพสินค้ามอบความสะดวกสบายให้แก่นักช้อปด้วยการประหยัดเวลา เพราะมีการนำเสนอและจัดกลุ่มสินค้าที่มีความหลากหลายไว้ตามแผนกต่าง ๆ ทำให้ลูกค้าสามารถค้นหา เปรียบเทียบ และเลือกซื้อสินค้าที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย แต่อย่างไรก็ตาม ห้างสรรพสินค้ารูปแบบเดิมไม่อาจตอบสนองกับความต้องการ ไลฟ์สไตล์ และพฤติกรรมของผู้ซื้ออีกต่อไป โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่” จากข้อมูลของแผนกวิจัย ซีบีอาร์อี ณ ไตรมาส 4 ปี 2563 พบว่าพื้นที่ค้าปลีกทั้งหมดในกรุงเทพมหานครมีทั้งสิ้น 7.8 ล้านตารางเมตร เพิ่มขึ้น 1.16% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งจากตัวเลขดังกล่าวนี้ มีเพียงราว 3% เท่านั้นที่เป็นพื้นที่ห้างสรรพสินค้า

Read More

การปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำงาน – ก้าวสำคัญตลาดอาคารสำนักงานปี 64

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกจะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อการใช้พื้นที่สำนักงานอย่างไรนั้นยังคงไม่สามารถทราบได้อย่างชัดเจนท่ามกลางการคาดการณ์ที่เกิดขึ้นมากมายในหลายแวดวงธุรกิจ ซีบีอาร์อี ที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ระดับโลก เผยว่า บริษัทต่างๆ จะพิจารณาทบทวนบทบาทใหม่ของพื้นที่สำนักงานในฐานะที่เป็นสถานที่สำหรับการทำงานร่วมกัน และสร้างวัฒนธรรมขององค์กรโดยต้องมีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยน ที่สำคัญไปกว่านั้น คือ การปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุดจะกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสนใจในช่วงหลายปีต่อจากนี้ นายชาญวิชญ์ พสุวัต หัวหน้าฝ่ายพัฒนาการออกแบบโครงการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย อธิบายว่า “ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตลาดอาคารสำนักงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากมุมมองของบริษัทต่างๆ ในเรื่องพื้นที่ทำงานมีความซับซ้อนมากขึ้น แผนกวิจัย ซีบีอาร์อี พบว่า ในช่วงก่อนปี 2558 ความต้องการของลูกค้าส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่ "การขยายพื้นที่สำนักงาน" โดยใช้งบประมาณเป็นตัวกำหนด ขณะที่ช่วงปี 2558-2562 แนวโน้มได้เริ่มเปลี่ยนไปสู่ “การใช้งบประมาณให้คุ้มค่า” โดยลูกค้า 53% พิจารณาทบทวนว่าจะสามารถรองรับการเติบโตของธุรกิจและจำนวนพนักงานที่เพิ่มขึ้นด้วยพื้นที่สำนักงานที่มีอยู่เดิมแทนการขยายพื้นที่ได้อย่างไร และตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา การควบคุมค่าใช้จ่ายและการลดความเสี่ยงคือปัจจัยสำคัญในการพิจารณาเรื่องการเช่าพื้นที่สำนักงาน บริษัทหลายแห่งในเอเชียแปซิฟิกคาดการณ์ว่าภายในปี 2568 แนวโน้มการทำงานจะเปลี่ยนไป โดยมีการผสมผสานการทำงานนอกพื้นที่สำนักงานรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ในปี 2563 แม้จะมีการตั้งคำถามต่อความจำเป็นของการมีพื้นที่สำนักงานจากการที่พนักงานมีประสบการณ์ในการทำงานนอกสำนักงานครั้งที่ใหญ่ที่สุดในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่เมื่อกลับมาสู่การทำงานตามปกติ ผู้เช่าพื้นที่สำนักงานก็ยังคงไม่ได้ละทิ้งแนวความคิดเรื่องการมีอยู่ของพื้นที่สำนักงาน หากแต่ต้องสร้างความมั่นใจว่าสามารถใช้พื้นที่สำนักงานอย่างมีประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้นไปอีก

Read More