เสี่ยง “ติดเชื้อ” หรือ “อดตาย” ทางแพร่งของชาวชุมชนคลองเตย
การระบาดระลอกที่สามของ COVID-19 กำลังคุกคามความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของประชาชนคนไทยอย่างหนักหน่วง แม้ว่าจุดเริ่มต้นของการแพร่ระบาดครั้งใหม่นี้จะเกิดขึ้นจากสถานบันเทิงย่านสุขุมวิท ซึ่งถือเป็นแหล่งสันทนาการของบรรดาเหล่าผู้มีรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจ หากแต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นกลับทำให้พื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก กลายเป็นชุมชนแออัดซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยในกรุงเทพฯ ไปโดยปริยาย สถานการณ์ของการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ครั้งล่าสุดนี้ มีปัจจัยที่แตกต่างจากการแพร่ระบาดครั้งที่ผ่านมา โดยการระบาดระลอกแรกเกิดขึ้นจากการติดเชื้อจากสนามมวยซึ่งมีคนเฉพาะกลุ่มไม่กี่คน หรือในครั้งต่อมาที่เกิดจากแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้าเมือง แต่การระบาดครั้งนี้เริ่มจากสถานบันเทิง ซึ่งผู้คนที่อาศัยอยู่ในชุมชนรอบข้างทั้งชุมชนคลองเตย ชุมชนบ่อนไก่ และชุมชน 70 ไร่ จำนวนไม่น้อยทำงานอยู่ในสถานบันเทิงย่านสุขุมวิท ซึ่งนั่นเป็นเหตุให้การลุกลามของโรคดำเนินไปอย่างรวดเร็วมาก ชุมชนแออัดในเขตคลองเตยมีประชากรรวมกันนับแสนคน โดยสมาชิกของแต่ละครอบครัวอยู่รวมกันในพื้นที่จำกัด ซึ่งภายใต้สภาพพื้นที่ในชุมชนมีความแออัดสูง ทำให้การติดเชื้อโรค COVID-19 เกิดขึ้นอย่างง่ายดายและรวดเร็ว เพราะการที่จะคัดแยกและขอให้คนที่ติดเชื้อแยกกักตัวที่บ้านแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะบ้านหลังหนึ่งมีคนอยู่กันหลายคนในพื้นที่เล็กๆ ขณะที่การส่งตัวผู้ติดเชื้อไปรักษาที่โรงพยาบาลสนามก็ดำเนินไปอย่างยากลำบากเพราะต้องรอรถรับ-ส่งอย่างเนิ่นนาน ซึ่งเมื่อผู้ป่วยต้องรออยู่ในบ้านทำให้สมาชิกในครอบครัวมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อกันหมด โดยในบางกรณีสมาชิกในครอบครัวติดเชื้อกันทั้งบ้าน ผลกระทบจากการระบาดครั้งนี้ยังขยายวงกว้าง เพราะไม่เพียงแต่ผู้ติดเชื้อเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ หากแต่คนในชุมชนที่ไม่ติดเชื้อก็ได้รับผลกระทบไปด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นความกังวลจากผู้คนภายนอกที่ทำให้คนในชุมชนถูกตีตราและกีดกันจากการทำงานเพียงเพราะเป็นผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนแออัด ซึ่งทำให้หลายคนต้องตกงาน ไม่มีรายได้ และไม่รู้ว่าจะได้กลับไปทำงานเมื่อไหร่ หรือจะยังมีงานทำอยู่หรือไม่ การถูกกีดกันจากการทำงานที่เกิดขึ้นกับผู้คนในชุมชนคลองเตย ดำเนินไปทั้งในรูปแบบของการไม่รับเข้าทำงานเลยเพราะพวกเขาถูกประเมินว่าเป็นประชากรกลุ่มเสี่ยง หรือแม้กระทั่งการถูกสั่งพักงานที่ทำอยู่ จากผลของอคติที่มีต่อชาวชุมชนแออัด แม้ว่าพวกเขาจะมีผลตรวจที่ยืนยันว่าไม่ได้เป็นผู้ติดเชื้อก็ตาม ซึ่งกำลังลุกลามไปสู่การส่งผ่านข้อมูลในลักษณะที่ว่าให้งดสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันส่งอาหารต่างๆ เพราะมีคนจากชุมชนแออัดทำงานเป็นคนส่งจำนวนมาก จนเป็นเหตุให้สถานประกอบการหลายแห่งกังวลมาก และก่อให้เกิดอคติว่าคนในกลุ่มนี้ต้องเอาเชื้อมาแพร่แน่ๆ ทั้งที่ในความเป็นจริงอาจไม่ใช่เช่นนั้น การแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ชุมชนแออัด ที่ได้รับการเรียกขานในเวลาต่อมาว่า “คลัสเตอร์คลองเตย” นี้
Read More