Home > การวิจัย

สกสว.จับมือภาคีขยายผลท่องเที่ยววิถีคลอง เจียระไนเป็นเพชรเม็ดงามของท่องเที่ยวไทย

ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดการประชุมหน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้องด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อรับฟังแนวคิดและสรุปการดำเนินงานเพื่อการขยายผลการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีคลองในประเทศไทย ภายใต้โครงการวิจัย “การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยววิถีคลองในประเทศไทยและขยายผลการศึกษาวิจัย” ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลลาดพร้าว กรุงเทพฯ ทั้งนี้ โครงการวิจัยได้ศึกษาศักยภาพของแม่น้ำลำคลองในประเทศไทยรวม 25 ลุ่มน้ำ เพื่อสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ วิเคราะห์และประเมินศักยภาพของวิถีคลอง เพื่อจัดทำฐานข้อมูลและเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีคลองที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจาก สกสว. ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานและนักวิจัยจากหลายมหาวิทยาลัย ซึ่งผู้อำนวยการ สกสว. คาดหวังว่าการประชุมในครั้งนี้จะได้รับข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงโครงการวิจัยและขยายผลต่อยอด สู่การพลิกโฉมการท่องเที่ยววิถีคลองตามวิสัยทัศน์ของนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โฮชา ที่ต้องการผลักดันให้ลุ่มน้ำต่าง ๆ เป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจด้วยเสน่ห์และอัตลักษณ์ของชุมชนที่ไม่แพ้ชาติอื่น นายอนันต์ วงศ์เบ็ญจรัตน์ รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวระหว่างการเสวนา “ทิศทางการนำผลการวิจัยศักยภาพการท่องเที่ยววิถีคลองในประเทศไทย สู่การขยายผลและการใช้ประโยชน์” ว่าเราต้องพยายามหาผลงานวิจัยและสนับสนุนการพัฒนาเพื่อกำหนดนโยบายการทำงานของส่วนราชการ สิ่งสำคัญอย่างมากคือ แผนงานและโครงการที่มีแผนงบประมาณชัดเจนเพื่อจะได้ไปสานต่อ ทำอย่างไรจึงจะให้องค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวกลั่นกรองทิศทางในอนาคต 5-10 ปีข้างหน้า เพื่อให้ไทยเป็น ‘พี่เบิ้ม’ ใคร ๆ ต้องมาเรียนรู้จากเรา

Read More

งานวิจัยระบุ “กรอบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มแข็ง มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย”

งานวิจัยระบุ “กรอบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มแข็ง มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย” ประเทศไทยจำเป็นต้องยกระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อก้าวสู่ระบบเศรษฐกิจบนฐานความรู้ ผลการวิจัยของเจนีวา เน็ตเวิร์ค พบว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศกลุ่มอาเซียนที่จำต้องยกระดับกรอบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property rights - IPR) รวมถึงกลไกการบังคับใช้กฏหมายให้สอดคล้องกับมาตรฐานโลกเพื่อให้ประเทศสามารถก้าวสู่กลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง การวิจัยดังกล่าวชื่อ “ความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการพัฒนา: สาระสำหรับการปฏิรูปของประเทศในกลุ่มอาเซียน” ระบุว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับปรุงในหลายๆ ด้าน อาทิ การตรวจสอบสิทธิบัตรและการปกป้องสิทธิบัตรเพื่อผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ และเพื่อไม่ให้ติดกับดักรายได้ปานกลาง รวมทั้งสามารถก้าวสู่เศรษฐกิจที่มีรายได้สูงขึ้น เจนีวา เน็ตเวิร์ค ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยและสนับสนุนนโยบายรัฐจากประเทศอังกฤษกล่าวว่า ประเด็นการพัฒนานวัตกรรม การค้าและการพัฒนา รวมถึงกรอบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มแข็งเป็นตัวผลักดันที่สำคัญให้ประเทศก้าวสู่เศรษฐกิจบนฐานความรู้ และยังมีความสำคัญมากต่อการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ สร้างงานที่มีมูลค่าสูง และขยายธุรกิจในประเทศ กฏหมายคุ้มครองสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าที่เข้มแข็งขึ้นเป็นสิ่งที่ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมที่ให้ความสำคัญกับเครื่องหมายทางการค้ามีส่วนสำคัญต่อ GDP ของประเทศถึงร้อยละ 22 ในขณะที่อุตสาหกรรมที่เน้นความคิดสร้างสรรค์จำต้องอาศัยการปกป้องลิขสิทธิ์เพื่อให้อยู่รอด กราฟแสดงการจัดอันดับประเทศตามคะแนนด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา   รายงานดังกล่าวยังระบุว่า ประเทศไทยสามารถปรับปรุงอันดับในดัชนีกรรมสิทธิ์ทางทรัพย์สิน (ซึ่งปัจจุบันอยู่ต่ำกว่ามาตรฐานทั่วไปของโลก) ด้วยการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้เข้มแข็งขึ้น เร่งระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจสอบสิทธิบัตรให้เร็วขึ้น และลดช่องว่างในการปกป้องลิขสิทธิ์และกฏหมายด้านเครื่องหมายการค้าให้น้อยลง การสำรวจยังพบว่า ประเทศไทยใช้เวลา 14 ปีโดยเฉลี่ยในการตรวจสอบสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับชีววิทยาศาสตร์ และสิทธิบัตรมักจะผ่านการอนุมัติเพียงไม่กี่เดือนหรือไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่สิทธิบัตรนั้นจะหมดอายุ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยได้สนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนสำคัญๆ หลายส่วนเช่น การจัดการกับการโจรกรรมข้อมูลออนไลน์ และการปลอมแปลง

Read More

นักวิจัยมช.พบพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ของโลก ‘พรหมจุฬาภรณ์’ รอต่อยอดยาต้านมะเร็ง

นักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลกในสกุลมหาพรหม ได้รับพระราชทานนาม “พรหมจุฬาภรณ์” จากป่าดิบแล้งบนเขาหินปูนขนาดเล็กในนครศรีธรรมราช พร้อมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเพื่อขยายพันธุ์ให้มากขึ้นและพัฒนาเป็นยาต้านมะเร็งต่อไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการแถลงข่าวพืชชนิดใหม่ของโลกในสกุลมหาพรหม (Mitrephora (Blume) Hook.f. & Thomson) ซึ่งได้รับพระราชทานนาม “พรหมจุฬาภรณ์” จากศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาค ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ อาคาร ๔๖ ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.คมกฤต เล็กสกุล รองผู้อำนวยการภารกิจจัดสรรงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมแถลงข่าว คณะนักวิจัยนำโดย ดร.ธนวัฒน์ เชาวสกู สังกัดภาควิชาชีววิทยา

Read More

เปิดผลงาน 2 นักวิจัยสตรีหญิงไทย ตอบโจทย์การพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2562

เปิดผลงาน 2 นักวิจัยสตรีหญิงไทย ตอบโจทย์การพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2562 พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ ผ่านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการวิเคราะห์ปะการัง และวิเคราะห์เกล็ดเลือดเพื่อรักษาผู้ป่วยเกล็ดเลือดพร่อง วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ กำลังจะกลับมาอีกครั้งในวันที่ 18 สิงหาคมนี้ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” ควบคู่ไปกับเผยแพร่ผลงานวิจัยและพัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในประเทศและนานาชาติ โดยหนึ่งในกิจกรรมสำคัญคือ งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติขึ้น โดยในปีนี้จัดขึ้น ภายใต้แนวคิด “จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม” มุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเน้นย้ำประเด็นการเปลี่ยนแปลงของวิกฤตโลก ซึ่งรวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ลอรีอัลนับเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากโครงการ “ทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” โดย บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด และการสนับสนุนของสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จึงเป็นโครงการที่มุ่งมั่นเดินหน้าพัฒนานักวิจัยสตรีไทยสู่ระดับนานาชาติมาอย่างต่อเนื่องกว่า 17 ปี ภายใต้แนวคิดหลักของสัปดาห์วิทยาศาสตร์ในปีนี้ที่มุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับผลงานของนักวิจัยสตรีทั้ง

Read More

สกสว.ชวนคนไทยชมผลงานบัณฑิตศึกษา ‘ก้าวทันเทคโนโลยีเปลี่ยนโลกด้วยงานวิจัย’

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เตรียมจัดงาน “การประชุมวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา สกสว. ปี 2562 (TSRI Congress 2019)” ภายใต้หัวข้อ “ก้าวทันเทคโนโลยีเปลี่ยนโลกด้วยงานวิจัย” (Disruptive Technology for World Society)” ในวันที่ 8 สิงหาคม 2562 ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ 3 ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการวิจัยของนักศึกษาที่ได้รับทุนของ สกสว. ประชาสัมพันธ์เผยแพร่งานวิจัยของนักศึกษาสู่สาธารณะ และเป็นเวทีสำหรับนักศึกษา นักวิจัยและนักวิชาการในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และสร้างความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนางานวิจัยของนักศึกษาให้ดียิ่งขึ้น ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวว่า การประชุมวิชาการครั้งนี้จะทำให้นักศึกษาทุกคนพร้อมที่จะก้าวไปสู่การเป็นนักวิจัยที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ สามารถตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ สร้างองค์ความรู้ที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ตลอดจนสร้างนวัตกรรมบนฐานความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานวิจัยที่จะตอบสนองกับการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศทั้ง 12

Read More

สกว.จับมืออุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือกระตุ้นการวิจัยสู่สตาร์ทอัพ

สกว.จับมืออุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือกระตุ้นการวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ หวังต่อยอดสู่สตาร์ทอัพ ทุ่มงบวิจัยต่อยอดรวม 10 ทุน ด้านผู้บริหาร มช. ย้ำนักวิจัยมีบทบาทสำคัญในการร่วมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับสังคมและยกระดับมหาวิทยาลัยเคียงบ่าเคียงไหล่นานาประเทศ ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมงานสัมมนากระตุ้นการวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ภายใต้โครงการ “การแปลงงานวิจัยและยกระดับสู่การใช้ประโยชน์” และการศึกษาการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จากงานวิจัยพื้นฐานภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจาก สกว. และเยี่ยมชมการดำเนินงานของอุทยานฯ และโรงงานต้นแบบ-บริษัทสตาร์ทอัพภายใต้การผลักดันของอุทยานฯ ผู้อำนวยการ สกว. กล่าวระหว่างการบรรยายโครงสร้างและระบบวิจัยใหม่ ว่าอยากให้ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะผู้บริหารและนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีช่วยกันจัดทำแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยแลลำนวัตกรรมของประเทศ โดยใช้กลไกสนับสนุนทุนวิจัย งบประมาณ และการติดตามประเมินผล เป็นตัวขับเคลื่อนงานวิจัยภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ดีแบบมีส่วนร่วมผ่านกองทุนในระดับหน่วยงานในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในประเทศ สำหรับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นั้นน่าจะทำการวิจัยด้านปฏิกิริยานิวเคลียร์เป็นอย่างมาก เพราะเป็นแหล่งพลังงานที่น่าลงทุน ขณะที่ รศ. ดร.สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศบนฐานนวัตกรรมในยุคประเทศไทย 4.0 บทบาทของนักวิจัยในมหาวิทยาลัยจะทวีความสำคัญมากขึ้น เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่านอกจากการสอนและทำวิจัยแล้วยังต้องสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับสังคมด้วย มิฉะนั้นจะถูกดิสรัป ถ้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไม่ก้าวสู่มหาวิทยาลัยวิจัยก็จะไปไม่รอด เราจึงต้องยกระดับมหาวิทยาลัยให้เคียงบ่าเคียงไหล่ประเทศต่าง ๆ ที่พัฒนาไปไกลแล้ว เช่น

Read More

ผวจ.แม่ฮ่องสอนเร่งเพิ่มผลผลิต-ผู้ซื้อ วอนสกว. ช่วยหลุดพ้นจากความยากจน

พ่อเมืองแม่ฮ่องสอนยินดีร่วมขับเคลื่อน “แม่ฮ่องสอนโมเดล” สู่ความยั่งยืนพร้อมทีม สกว. ชี้ทางแก้ปัญหาให้ชาวบ้านมีรายได้และหลุดพ้นจากความยากจนต้องช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและผู้ซื้อ ขณะที่ชาวบ้านห่วงภูมิคุ้มกันและการจัดการระบบในพื้นที่เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลง รศ. ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล รองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ด้านการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ นำคณะนักวิจัยเดินทางไปสำรวจพื้นที่บูรณาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนจังหวัดแม่ฮ่องสอนและเข้าพบนายสิริรัฐ ชุมอุปการ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อหารือเรื่องการขับเคลื่อน “แม่ฮ่องสอนโมเดล” สู่ความยั่งยืน ภายใต้เครือข่ายวิจัยและองค์ความรู้จากการวิจัยที่ สกว. ให้การสนับสนุน โดยเชื่อมโยงกับความต้องการในบริบทใหม่ของประเทศและจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อให้ตอบโจทย์เป้าหมายอย่างแท้จริง เบื้องต้น สกว.ได้สรุปประเด็นการขับเคลื่อนในพื้นที่ประกอบด้วย สิทธิในที่ทำกิน โครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน และโลจิสติกส์ การจัดการเมือง ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชิงนิเวศ การค้าชายแดน ความมั่นคงอาหาร การจัดการภัยพิบัติ และการศึกษาทั้งในและนอกระบบ โดยความร่วมมือจากภาคประชาชน ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาครัฐ อาทิ สภาพัฒน์ภาค หน่วยงานต่างๆ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนกล่าวว่า อยากให้เพิ่มเติมเรื่องการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยปัญหาสำคัญคือ ขาดผู้ซื้อ รวมถึงยังเชื่อมโยงกับปัญหาที่ดินทำกินและเอกสารสิทธิ์การครอบครองที่ดิน เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าทำให้มีพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตน้อย จึงถูกกดราคา รวมถึงขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญทั้งถนนและไฟฟ้า ไม่มีใครอยากมาลงทุนสร้างโรงงานผลิตใหญ่ๆ ในพื้นที่

Read More

สกว.-มจธ.โชว์ฐานข้อมูลวิศวกรรมโบราณสถาน หวังไทยเป็นผู้นำด้านการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม

สกว.จับมือ มจธ. จัดกิจกรรมสื่อสัญจรโชว์การจัดทำฐานข้อมูลทางวิศวกรรมของโบราณสถาน เพื่อใช้ในการอนุรักษ์และบูรณะโบราณสถานให้ใกล้เคียงของเดิม และคำนวณได้อย่างแม่นยำ พร้อมจัดทำต้นแบบฐานข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้องหรือคนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ ด้านรองปลัดกระทรวงวัฒนธรรมหวังสร้างองค์ความรู้และบุคลากรเพื่อให้ไทยเป็นผู้นำภูมิภาคในการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดกิจกรรมสื่อสัญจร “การจัดทำฐานข้อมูลทางวิศวกรรมของโบราณสถาน” ณ ห้องประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อรายงานความก้าวหน้าของโครงการวิจัย ‘การพัฒนาฐานข้อมูลทางวิศวกรรมเพื่อการประเมินและติดตามสภาพโครงสร้างโบราณสถานของไทย’ ภายใต้การสนับสนุนของ สกว. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวถึงแถลงถึงความร่วมมือในการสนับสนุนการวิจัย ตลอดจนการใช้นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์และบูรณะโบราณสถานโดยกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ต่อไปว่ามูลค่าของมรดกวัฒนธรรม ไม่มีระบบการจัดเก็บที่คนสามารถเข้าไปสืบค้นและนำมากล่าวอ้างทางวิชาการได้ สกว. นอกจากช่วยเก็บฐานข้อมูลวิศวกรรมของประเทศแล้วจะช่วยให้กรมศิลปากรและคนทั่วไปสามารถเข้าไปดูข้อมูลอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการใช้โบราณสถานเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม และจะขยายผลได้อีกต่อไป “แม้ว่าปัจจุบันบิ๊กดาต้าจะมีข้อมูลโบราณคดีและประวัติศาสตร์ทั่วไปที่สามารถเข้าไปดูได้ แต่ยังไม่มีข้อมูลที่ช่วยในการบูรณะอย่างถูกต้อง เรามองไปไกลกว่านั้นว่าจะมีบทบาทในกลุ่มภูมิอินโดจีนซึ่งมีลักษณะโครงสร้างใกล้เคียงกับประเทศไทย จึงอยากให้ไทยมีบทบาทนำและใช้ศักยภาพของประเทศในการสร้างเกียรติภูมิ ทั้งนี้สิ่งที่จะทำให้เรามีบทบาทในการเป็นผู้นำหรือจุดศูนย์กลางของภูมิภาคได้นอกจากการมีฐานข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์ได้แล้วยังต้องมีคนจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้ามาร่วมทำงานกับกรมศิลปากร เพื่อเป็นตัวชี้วัดว่าเรามีองค์ความรู้และบุคลากรที่ตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม เพราะการสำรวจ รังวัด ปักหมุดอาจไม่ทันต่อความเจริญของบ้านเมือง จำเป็นต้องใช้นวัตกรรมในการกำหนดขอบเขตพื้นที่เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการประกาศเขตเมืองเก่าและเข้าไปควบคุมดูแลหรืออนุรักษ์ นอกจากนี้ยังนำไปประยุกต์เป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กและเยาวชนได้ ดังนั้นกรมศิลปากรจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้นและพยายายามผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง” ขณะที่ ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกว. ระบุว่างานวิจัยนี้เป็นการเปิดมิติใหม่ของการวิจัยและงานด้านโบราณสถานที่ถ่ายทอดมรดกวัฒนธรรมโดยใช้องค์ความรู้ด้านวิศวกรรมเข้ามาศึกษาในหลายมิติ และเป็นครั้งแรกของไทยที่ได้นำเทคโนโลยีจากงานวิจัยเข้ามาศึกษางานที่มีมานานหลายร้อยปี นอกจากนี้ยังได้ชิ้นงานซึ่งเป็นนวัตกรรมหลายอย่าง

Read More