Home > ไร่อ้อย

มิตรผล ส่งคาถารักษ์โลก “นะโม ตัดสด” ชาวไร่อ้อยคึกคัก ตอบรับเริ่มฤดูกาลผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

มิตรผล ส่งคาถารักษ์โลก “นะโม ตัดสด” ชาวไร่อ้อยคึกคัก ตอบรับเริ่มฤดูกาลผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตัดอ้อยสดสะอาด เพิ่มรายได้ สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี กลุ่มมิตรผล ปลุกกระแสการสื่อสารรณรงค์ตัดอ้อยสดในช่วงฤดูหีบอ้อย 2567/2568 ด้วยแคมเปญการสื่อสาร “นะโม ตัดสด” เน้นกระตุ้นให้เกษตรกรหันมาตัดอ้อยสด พร้อมเจาะลึกถึงประโยชน์เชิงเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ชูจุดเด่นสร้างรายได้ พลังงานทดแทนจากใบอ้อย และสิ่งแวดล้อมที่ดี พร้อมตอกย้ำจุดยืนในการเป็นผู้นำด้านการทำเกษตรสมัยใหม่เพื่อความยั่งยืน แคมเปญดังกล่าว ใช้กลยุทธ์การสื่อสารเชิงรุกที่มุ่งให้เกษตรกรตระหนักถึงความสำคัญของการตัดอ้อยสด ด้วยแนวคิดที่แปลกใหม่ ผ่านการนำเสนอคาถารักษ์โลก “นะโม ตัดสด” ท่องก่อนตัด เพื่อเรา เพื่อไร่ เพื่อโลก ที่จดจำง่ายและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด พร้อมเชิญชวนให้เกษตรกรนำใบอ้อยที่เหลือจากการตัดอ้อยสดมาขาย รวมถึงการนำใบอ้อยบางส่วนไปใช้คลุมดินเพื่อเป็นปุ๋ยอินทรีย์และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินตามธรรมชาติ โดยกลุ่มมิตรผลเป็นผู้ริเริ่มการรับซื้อใบอ้อยมานานกว่า 7 ปี ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกรแล้ว ยังช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้นจากการลดการเผาในภาคเกษตร และนำใบอ้อยที่รับซื้อจากเกษตรกรมาใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าชีวมวล ซึ่งเป็นพลังงานทดแทนจากภาคเกษตรของไทย ถอดรหัสแคมเปญ “นะโม ตัดสด” พลังแห่งการเริ่มต้นที่ยั่งยืน “นะโม ตัดสด” ไม่ใช่เพียงแค่คำโปรยเก๋ๆ แต่เป็นไอเดียและแคมเปญการสื่อสารที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของกลุ่มมิตรผลที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยได้ตระหนักถึงความสำคัญของการตัดอ้อยสดและเริ่มต้นฤดูกาลหีบอ้อยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งโจทย์หลักของกลุ่มมิตรผลคือจะทำอย่างไรให้การรณรงค์และส่งเสริมการตัดอ้อยสดให้เป็นที่รับรู้อย่างน่าสนใจ อีกทั้งเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยทั้งการให้ความรู้ความเข้าใจ การส่งเสริมเครื่องจักรกลการเกษตร เทคโนโลยี และการปรับมุมมองของเกษตรกรให้สามารถปรับเปลี่ยนแนวทางการทำไร่แบบเดิมสู่การทำไร่สมัยใหม่ที่มีความทันสมัย

Read More

ยันม่าร์สนับสนุนชาวไร่อ้อย ตัดอ้อยสด ลดการเผา เดินหน้าผลิตเครื่องสางใบอ้อย

ยันม่าร์สนับสนุนชาวไร่อ้อย ตัดอ้อยสด ลดการเผา เดินหน้าผลิตเครื่องสางใบอ้อย หวังเป็นตัวช่วยเกษตรกรในการเพิ่มผลผลิต บริษัทยันม่าร์ เอส.พี. จำกัด ผู้นำเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรในประเทศไทยเปิดตัวชุดอุปกรณ์ใหม่ “เครื่องสางใบอ้อย” สนับสนุนให้เกษตรกรตัดอ้อยสดตามนโยบายภาครัฐ เพิ่มรายได้ ลดปัญหาการเกิดมลพิษ PM2.5 อีกทั้งเป็นการเพิ่มผลผลิต (Productivity) อ้อยที่ได้ลำต้นใหญ่ คงความหวานได้ราคาดีกว่าอ้อยเผา ใบอ้อยยังนำไปใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าชีวมวลสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอีกด้วย นายธัชพล ชวินธนโชติ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ให้ความเห็นว่าหากเกษตรกรยังใช้วิธีเผาใบอ้อยก่อนเก็บเกี่ยว ผลเสียโดยตรงนอกจากจะทำให้ได้น้ำหนักอ้อยลดลงแล้ว คุณภาพความหวานที่ลดลงยังส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกรอีกด้วย การเผายังทำลายอินทรียวัตถุในดิน ทำให้ดินสูญเสียความชื้น เกิดวัชพืชได้ง่าย ซึ่งวัชพืชจะมาแย่งอาหาร ทำให้อ้อยตอแคระแกร็น และเมื่อปลูกอ้อยใหม่ในปีถัดมา เกษตรกรต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาอ้อยตอเพิ่มขึ้น ต้นทุนก็เพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อเทียบระหว่างเกษตรกรที่ใช้วิธีเผา และเกษตรกรที่ใช้เครื่องสางใบอ้อย แน่นอนว่าแปลงที่ใช้เครื่องสางใบอ้อยย่อมได้ผลผลิตดีกว่า จึงอยากแนะนำและสนับสนุนให้เกษตรกรเลือกใช้เครื่องสางใบอ้อยก่อนตัดอ้อย และไถกลบใบอ้อยที่เหลือเพื่อช่วยถนอมหน้าดินไม่ให้ธาตุอาหารในดินถูกทำลาย และช่วยลดมลพิษทางอากาศอีกด้วย และด้วยเหตุผลต่าง ๆ เหล่านี้ ยันม่าร์ได้ให้ความสำคัญ จึงพัฒนาผลิตภัณฑ์รองรับการปลูกอ้อยทุกขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดิน การปลูก และการเก็บเกี่ยว ด้วยแทรกเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงที่หลากหลาย ประกอบกับการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกอ้อยสไตล์ยันม่าร์ ซึ่งเป็นการใช้อุปกรณ์เพื่อลดขั้นตอนการปลูก ช่วยประหยัดเวลา อาทิ

Read More

สวทช. และสถาบันวิจัยไอบีเอ็ม จับมือนำปัญญาประดิษฐ์พลิกโฉมการทำไร่อ้อยในประเทศไทยร่วมกับกลุ่มมิตรผล

สวทช. และสถาบันวิจัยไอบีเอ็ม จับมือนำปัญญาประดิษฐ์พลิกโฉมการทำไร่อ้อยในประเทศไทยร่วมกับกลุ่มมิตรผล คาดโครงการวิจัยที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) อินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์ การสำรวจระยะไกลผ่านดาวเทียม และข้อมูลพยากรณ์อากาศแบบเจาะจงพื้นที่ ช่วยเพิ่มผลผลิตไร่อ้อย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประกาศความร่วมมือในงานวิจัยระยะเวลาสองปีร่วมกับไอบีเอ็ม เพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยในประเทศไทย โดยสวทช. และไอบีเอ็ม ร่วมด้วยกลุ่มมิตรผล ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่เป็นอันดับสามของโลกและรายใหญ่ที่สุดในเอเชียที่ให้การสนับสนุนความรู้เฉพาะทางในการวิจัยครั้งนี้ จะนำร่องพัฒนาแดชบอร์ดอัจฉริยะและแอพพลิเคชันบนมือถือ เพื่อช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสุขภาพของอ้อย ความชื้นของดิน ความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีจากโรคและศัตรูพืช การคาดการณ์ผลผลิต และดัชนีค่าคุณภาพความหวานของอ้อย (ซีซีเอส) โดยอาศัยเทคโนโลยีเอไอชั้นนำของโลกและข้อมูลสภาพอากาศที่แม่นยำที่สุดในโลกจากเดอะเวเธอร์คอมแพนี (The Weather Company) รวมถึงเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์และอนาไลติกส์ อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่ใช้ในการผลิตน้ำตาลและพลังงานชีวภาพในประเทศไทยและทั่วโลก ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับสองของโลก และมีบทบาทสำคัญในการป้อนน้ำตาลสู่ตลาดโลกโดยมีส่วนแบ่งตลาด 9.4% ในปี 2560 มีการคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะสามารถผลิตน้ำตาลได้ 14.1 ล้านเมตริกตันในช่วงปี 2561-2562 โดยเพิ่มขึ้น 3% จากปีที่ผ่านมา ปัจจุบันนักวิจัยไอบีเอ็มกำลังพัฒนา “อโกรโนมิคอินไซต์แอสซิสแทนท์” (Agronomic Insights Assistant) ซึ่งใช้แพลตฟอร์มไอบีเอ็มวัตสันดีซิชันสำหรับการเกษตร (IBM Watson Decision Platform for

Read More