ทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา โครงการเพื่อพัฒนา-เพื่อใคร?
“ท่ามกลางกระแสการพัฒนาเมืองทั่วโลกมุ่งเสริมสร้างเมืองให้น่าอยู่และยั่งยืนสำหรับประชาชน ที่ผ่านมาประชาชนคนไทยสามารถเข้าถึงแม่น้ำเจ้าพระยาได้อย่างจำกัด ขณะที่นับวันแม่น้ำเจ้าพระยาจะเสื่อมโทรมเป็นที่ทิ้งขยะ น้ำเสียจากโรงงานและชุมชน มีการบุกรุกแม่น้ำคูคลอง คุณภาพชีวิตของชุมชน โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาหรือทางเดิน-ปั่นเลียบแม่น้ำ มาจากหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูทรัพยากรและพัฒนาพื้นที่สาธารณะริมฝั่งแม่น้ำสำหรับประชาชนทุกคนทุกระดับ สามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน เพื่อคุณภาพชีวิต เสริมศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการก้าวสู่สังคมสูงวัยในอนาคตอันใกล้ด้วย” นั่นคือเนื้อหาที่เป็นใจความที่มาของโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา หรือในชื่อใหม่ที่มีความสวยงามฉาบหน้าว่า “Chao Phraya For All” หรือ “เจ้าพระยาเพื่อทุกคน” และหากพินิจจากชื่อของโครงการนี้ด้วยความรวดเร็ว อาจเข้าใจได้ว่าภาครัฐกำลังเข้ามาพัฒนาชุมชนที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งในเชิงการสร้างศักยภาพความแข็งแกร่ง และความสวยงามปลอดภัยของพื้นที่ เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานที่ดีสำหรับการรองรับการท่องเที่ยวเชิงลึกเข้าถึงวิถีชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับแคมเปญของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงมหาดไทยมอบหมายให้สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร จัดทำแผนแม่บทพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทางรวม 57 กิโลเมตร จากสะพานพระราม 7 ถึงสุดเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีโครงการนำร่อง 14 กิโลเมตร จากสะพานพระราม 7 ถึงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เพื่อเป็นโครงการตัวอย่างในการพัฒนาเจ้าพระยาในพื้นที่อื่นๆ ในอนาคต โดยมีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เป็นที่ปรึกษาการสำรวจออกแบบ และจัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ระยะเวลาดำเนินการ 210 วัน หากแต่เมื่อมีการพิจารณาอย่างลึกซึ้งถึงทิศทางความเป็นไปของโครงการที่กำลังจะปักเสาเข็มลงแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงต้นปีหน้า (พ.ศ. 2560)
Read More