“สะพานแห่งศรัทธา” กับการจัดการของภาครัฐ
ข่าวการพังถล่มของสะพานมอญ สะพานไม้สุดคลาสสิก และสัญลักษณ์ของอำเภอสังขละบุรี เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ที่ผ่านมา สร้างความใจหายให้กับหลายๆ คน ทั้งนักท่องเที่ยว คนทั่วไป และโดยเฉพาะกับคนในพื้นที่ พร้อมกับคำถามที่ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ เป็นเพราะภัยธรรมชาติอย่างที่เข้าใจ หรือจริงๆ แล้วเป็นผลพวงจากพฤติกรรมของมนุษย์“สะพานมอญ” มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “สะพานอุตตมานุสรณ์” ตั้งตามชื่อของหลวงพ่ออุตตมะ เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม พระเกจิซึ่งเป็นดังศูนย์รวมจิตใจของทั้งชาวไทย ชาวมอญและชาวกะเหรี่ยงแห่งเมืองสังขละ และเป็นผู้ริเริ่มสร้างสะพานดังกล่าวขึ้น เพื่อเป็นสะพานเชื่อมระหว่างตัวอำเภอสังขละบุรีกับหมู่บ้านชุมชนชาวมอญอีกฝั่งหนึ่งเข้าด้วยกันการสร้างสะพานเริ่มขึ้นตั้งแต่ ปี 2529 แล้วเสร็จในปี 2530 วัสดุที่ใช้สร้างเป็นไม้ทั้งหมด โดยอาศัยเพียงแรงกายและความร่วมแรงร่วมใจของชาวไทยและชาวมอญที่มีศรัทธาต่อองค์หลวงพ่ออุตตมะในการดำเนินการก่อสร้างเท่านั้น จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “สะพานแห่งศรัทธา”สะพานมอญแห่งนี้ มีความยาว 850 เมตร ถือว่าเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย และเป็นสะพานไม้ที่ยาวเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสะพานไม้อูเบ็งในประเทศพม่าเท่านั้น ตัวสะพานทอดข้ามลำน้ำซองกาเลียเชื่อมระหว่างตัวอำเภอสังขละบุรีกับหมู่บ้านชุมชนชาวมอญอีกฝั่งหนึ่งเข้าด้วยกัน ถือเป็นเส้นทางสัญจรหลักของชาวมอญและชาวไทยตามแนวชายแดน แม้ว่าจะมีสะพานคอนกรีตที่ กฟผ. และกรมทางหลวงสร้างข้ามแม่น้ำรันตีเพื่อข้ามไปฝั่งมอญก็ตาม แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังคงใช้สะพานไม้เป็นหลักในการสัญจร “ทุกชีวิตใน อ.สังขละบุรี มีความผูกพันกับสะพานไม้แห่งนี้มาก เพราะทำให้ชาวไทย
Read More