100 ปี “สถานีรถไฟกรุงเทพ” สุดสายปลายทางของหัวลำโพง?
ในห้วงยามที่ไทยกำลังเร่งพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานภายในปี ค.ศ. 2020 โดยเน้นไปที่กระทรวงคมนาคม ที่มุ่งหวังให้เกิดศักยภาพด้านการคมนาคมภายในประเทศ ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างเส้นทางโลจิสติกเพื่อเชื่อมประสานไทยกับประเทศอื่นๆ ด้วยเส้นทางตามแนวระเบียงเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีเป้าประสงค์จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งหลังการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งนี้โครงการที่นับเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของกระทรวงคมนาคมและสร้างให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศได้ในระดับหนึ่ง คือโครงการรถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ รถไฟฟ้า ถนนทางหลวง ถนนทางหลวงชนบท นโยบายต่างๆ ที่ประกาศออกมาดูเหมือนว่าการให้น้ำหนักของรัฐบาลแต่ละชุดที่เข้ามาบริหารประเทศจะมุ่งเน้นไปที่การขนส่งระบบราง ทั้งนี้ก็เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค และคาดหวังให้ประชาชนสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายค่าครองชีพในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งคงเป็นไปได้ยากเมื่อในบางพื้นที่การขนส่งระบบรางไม่มีจุดที่สามารถเชื่อมต่อกับการขนส่งมวลชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนบางส่วนจำต้องใช้บริการรถรับจ้างเอกชน นำมาซึ่งภาระค่าครองชีพที่มากขึ้น กระนั้นการพัฒนาที่กำลังเกิดขึ้นทำให้คาดหวังถึงผลสำเร็จที่จะตามมาในไม่ช้าไม่นาน ซึ่งหากกำหนดการก่อสร้างรถไฟสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต เสร็จสมบูรณ์ตามกำหนดในปี พ.ศ. 2560 การรถไฟแห่งประเทศไทยมีแผนที่จะย้ายการเดินรถจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปยังสถานีกลางบางซื่อ ทั้งนี้มีการคาดการณ์เบื้องต้นว่าภายในปี พ.ศ. 2563 จะใช้สถานีกลางบางซื่อเป็นชุมทางรถไฟหลักแทนสถานีรถไฟกรุงเทพ ซึ่งจะทำให้สถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีที่มีรถไฟ 4 ระบบ ทั้งรถไฟทางไกล รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง และรถไฟใต้ดิน ซึ่งจะทำให้สถานีรถไฟกรุงเทพมีขบวนรถไฟที่วิ่งเข้ามาน้อยลงไปประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ โดยจะเหลือเฉพาะรถไฟดีเซลท่องเที่ยว และรถไฟที่มาจากชานเมืองอย่างรถไฟสายใต้จากแม่กลอง-นครปฐม ทั้งนี้ในปัจจุบันสถานีรถไฟกรุงเทพรองรับรถไฟประมาณ 200 ขบวนต่อวัน ทั้งจากรถไฟสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ สายใต้ และแม้ว่าปัจจุบันสถานีรถไฟกรุงเทพจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร หรือรถไฟใต้ดินสายสีน้ำเงินและส่วนต่อขยายใหม่ก็ตาม หากแต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตคือ
Read More