Home > ศรีลังกา

150 ปีโคลัมโบ

 ตลอดทั้งเดือนธันวาคม ต้องถือว่าเป็นช่วงเวลาที่อุดมไปด้วยกิจกรรมมากมายและหลากหลายมิติให้ได้ร่วมรำลึกและเฉลิมฉลองจริงๆ นะคะ ไม่เว้นแม้แต่ผู้คนในสังคมศรีลังกาโดยเฉพาะชาวกรุงโคลัมโบ ที่มีเหตุให้ได้เฉลิมฉลองด้วยเช่นกัน เพราะในปีนี้ถือเป็นปีที่ 150 ของการก่อตั้ง Colombo Municipal Council ที่นอกจากจะมีมิติของการรำลึกร่องรอยอดีตเมื่อครั้งยังอยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษแล้ว โคลัมโบยังถือให้ปีนี้เป็นประหนึ่งหลักไมล์เริ่มต้นสำหรับการพัฒนาที่อุดมด้วยพลวัตไปสู่หมุดหมายใหม่ที่ไกลออกไปข้างหน้า ภายใต้คำขวัญที่ว่า “Colombo marvel of cohesion” ไม่เพียงแต่สะท้อนการยอมรับความหลากหลายที่ดำเนินอยู่ในพหุสังคมแห่งนี้เท่านั้น หากแต่ยังพยายามนำความแตกต่างที่ซุกซ่อนพลังแห่งการสร้างสรรค์ออกมาอำนวยประโยชน์ช่วยผลักดันบริบทใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นกับสังคมด้วย ภาพตราสัญลักษณ์เฉลิมฉลอง 150 ปีของโคลัมโบ ซึ่งดูเรียบง่ายแฝงไว้ด้วยนัยความหมายที่สังคมศรีลังกามุ่งหวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการก้าวไปสู่อนาคตครั้งใหม่ที่เต็มไปด้วยโอกาสที่เรืองรองและสันติภาพความสงบสุขของสังคมที่เป็นประเด็นฉุดรั้งความจำเริญของศรีลังกามาอย่างยาวนาน การเฉลิมฉลองที่หน้าอาคารที่ทำการของเมืองโคลัมโบ หรือ Colombo Town Hall ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องนับสัปดาห์ในช่วง 9-15 ธันวาคมที่ผ่านมา ท่ามกลางการดูแลรักษาความปลอดภัยไม่ให้เกิดเหตุร้ายไม่พึงประสงค์ ควบคู่กับเวทีสันทนาการและการประกาศวิสัยทัศน์เพื่อการพัฒนาโคลัมโบไปสู่อนาคต ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ ในช่วงเวลา 3-5 ปีที่ผ่านมา โคลัมโบเติบโตด้วยอัตราเร่งที่ทำให้หลายฝ่ายต่างเฝ้ามองด้วยสายตาที่ทั้งฉงนฉงายระคนกับการแสวงหาโอกาสในการเข้าเป็นส่วนหนึ่งในพัฒนาการที่ว่านี้อย่างไม่ลดละ การเกิดขึ้นของกลุ่มอาคารสูงและโครงการพัฒนาที่ดินขนาดใหญ่ ผุดพรายเข้าเบียดแทรกไม่เฉพาะกับพื้นที่รกร้างที่ถูกทิ้งอย่างไร้ประโยชน์ในช่วงก่อนหน้านี้เท่านั้น หากยังรุกคืบเข้าสู่ย่านชุมชนเก่าที่ถูกเรียกขานว่าสลัมเมือง ที่ย่อมต้องมีผลต่อการบริหารจัดการและจัดหาที่อยู่ใหม่ให้กับกลุ่มประชากรเหล่านี้ไปพร้อมกันด้วย การผนึกผสานพัฒนาการครั้งใหม่ดำเนินไปท่ามกลางความพยายามเก็บรักษาและอนุรักษ์ความรุ่งเรืองครั้งเก่าได้อย่างลงตัว ซึ่งสะท้อนหลักคิดในมิติของรากวัฒนธรรมที่ดำเนินสืบเนื่องผ่านการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลาได้เป็นอย่างดี ในช่วงระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมาโคลัมโบได้เปิดรับโครงการลงทุนและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่หลากหลายโครงการ ซึ่งแต่ละโครงการก็ล้วนมีเข็มมุ่งที่จะเป็นสุดยอดแห่งโครงการไม่เฉพาะในบริบทของศรีลังกาเท่านั้น หากแต่ยังวางเป้าให้เป็นที่สุดแห่งโครงการในระดับภูมิภาคเอเชียใต้อีกด้วย แม้ว่าความเป็นไปของโคลัมโบในด้านหนึ่งจะผูกพันกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของรัฐบาลศรีลังกาในภาพรวมอย่างยากที่จะแยกออก แต่นั่นก็มิได้หมายความว่าปรากฏการณ์เหล่านี้จะสำเร็จลุล่วงได้หากปราศจากศักยภาพของโคลัมโบและการบริหารจัดการในระดับท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพในการแบกรับภารกิจสำคัญนี้ ความทะเยอทะยานของนักลงทุนที่ประกอบส่วนกับวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การจัดวางตำแหน่งของศรีลังกาในระดับภูมิภาคของผู้นำ ส่งผลให้โคลัมโบและศรีลังกาโดยรวมกลายเป็นจุดสนใจในการพัฒนาและคงความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ในระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง ทิศทางที่กำลังดำเนินไปของโคลัมโบ จึงไม่ได้ถูกจำกัดให้อยู่ท่ามกลางรากฐานที่อุดมด้วยสีสันแห่งประวัติศาสตร์ที่ยาวนานเท่านั้น หากโคลัมโบ กำลังก้าวสู่บริบทใหม่ของการพัฒนาที่พร้อมจะเป็นศูนย์กลางแห่งอนาคตครั้งใหม่ ที่น่าจับตาดูไม่น้อย ฉากแห่งความเรืองรองและมั่งคั่งที่กำลังรอคอยโคลัมโบอยู่เบื้องหน้ากำลังเป็นประหนึ่งความท้าทายครั้งใหม่ว่า

Read More

คลื่นความถี่ไม่มีพรมแดน

 ข่าวการประมูลคลื่นความถี่ในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ คงต้องถือเป็นข่าวใหญ่ประจำปี ซึ่งอาจจะมีผลต่อเนื่องไปสู่การปรับภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคมของไทยในอนาคตไม่น้อย แต่สำหรับศรีลังกาประเทศที่มีประชากรประมาณ 21 ล้านคนบนพื้นที่ 6.56 หมื่นตารางกิโลเมตรแห่งนี้ ประเด็นว่าด้วยเทคโนโลยี 2G หรือ 3G ดูจะเป็นสิ่งที่โพ้นไปจากความสนใจในการสนทนามานานแล้ว โดยศรีลังกานับเป็นประเทศแรกๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้ที่ได้รับบริการจากระบบ 4G-LTE มาตั้งแต่เมื่อปี 2012-2013 แล้ว ตัวเลขที่น่าสนใจจากการสำรวจในช่วงปีที่ผ่านมาก็คือ ศรีลังกามีจำนวนคู่สายของโทรศัพท์ติดตั้งตามบ้าน (fixed landline) อยู่เพียง 2.6 ล้านเลขหมาย ซึ่งถือเป็นความเข้มข้น (teledensity) ในสัดส่วน 13: 100 หลังคาเรือนซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างน้อยมาก หากแต่จำนวนหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ของศรีลังกากลับมีมากถึง 22 ล้านเลขหมาย ซึ่งทำให้สัดส่วนของประชากรต่อจำนวนผู้ใช้บริการมีสัดส่วนเป็น 100:107 ซึ่งสะท้อนภาพการเติบโตของตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของศรีลังกาได้เป็นอย่างดี ความเป็นไปของตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือโทรศัพท์มือถือในศรีลังกาในด้านหนึ่งเป็นภาพสะท้อนการแข่งขันของผู้ประกอบการระดับภูมิภาคที่มีนัยความหมายกว้างไกลชวนให้สนใจติดตาม เพราะด้วยขนาดของตลาดที่ดูเหมือนจะจำกัดอยู่ด้วยประชากร 20 ล้านคนนี้ กลับปรากฏว่าสมรภูมิโทรศัพท์มือถือของศรีลังกากลายเป็นสนามแข่งขันที่มีผู้สนใจเข้าลงทุนอย่างต่อเนื่อง Sri Lanka Telecom ซึ่งมีสถานะวิสาหกิจของรัฐและเป็นผู้ดูแลโครงข่ายโทรคมนาคมหลักของประเทศ เป็นผู้ให้บริการที่ครอบคลุมทั้ง fixed line และโทรศัพท์เคลื่อนที่ในนาม Mobitel ซึ่งถือเป็นผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายแรกๆ ของศรีลังกา มาตั้งแต่เมื่อปี

Read More

ชะตาชีวิตท่านผู้นำสตรี

 Column: AYUBOWAN ข่าวความเป็นไปในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าสังคมรอบข้างจะให้ความสำคัญกับจังหวะก้าวของ “ผู้นำสตรี” ที่อาจจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สื่อแสดงให้เห็นอนาคตครั้งใหม่ในเมียนมา หรือแม้กระทั่ง “ผู้นำสตรี” ที่อาจถูกพิจารณาคดีจากผลแห่งนโยบายในอดีต ขณะเดียวกัน ถ้อยความในลักษณะ “คนคำนวณหรือจะสู้ฟ้าลิขิต” ก็อาจวาบแวบเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งที่บ่งบอกชะตาชีวิตว่าช่างไม่มีสิ่งใดแน่นอน และอาจกลับดำเป็นขาว เปลี่ยนความสว่างให้กลายเป็นความมืดบอด ได้อย่างง่ายดาย ราวกับการพลิกฝ่ามือของพระเป็นเจ้าที่มีอำนาจเหนือสรรพสิ่งทั้งปวง ซึ่งความเป็นไปของ Sirimavo Bandaranaike (17 เมษายน 1916-10 ตุลาคม 2000) ก็คงเป็นไปในท่วงทำนองที่ว่านี้ ในช่วงทศวรรษ 1960 ชื่อของ Sirimavo Bandaranaike ถือเป็นประหนึ่งแม่เหล็กที่ดึงดูดความสนใจของผู้คนทั่วโลก เมื่อเธอก้าวเข้าสู่เส้นทางการเมืองและก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของศรีลังกาและของโลก เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 1960  แม้ว่า Sirimavo Bandaranaike จะเกิดในครอบครัวชนชั้นนำของศรีลังกาและมีความเกี่ยวพันกับการเมืองและความเป็นไปของศรีลังกามาอย่างยาวนาน หากแต่ภายใต้บทบาทสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง ในฐานะภริยาท่านนายกรัฐมนตรี ดูเหมือนจะเพียงพอและเป็นที่พึงใจสำหรับเธอแล้ว แต่พลันที่ Solomon West Ridgeway Dias (S.W.R.D.) Bandaranaike (8 มกราคม 1899-26 กันยายน

Read More

DIWALI: เทศกาลแห่งความสว่าง

 Column: AYUBOWAN หลังจากผ่านพ้นวันออกพรรษาช่วงเวลาหนึ่งเดือนก่อนถึงคืนเพ็ญวันลอยกระทง สำหรับประเทศไทยก็คงเต็มไปด้วยงานบุญงานกุศลในนามของการทอดกฐิน ที่มีระดับชั้นให้เรียกขานตามแต่ลำดับขั้นของเจ้าภาพผู้จัดกฐินว่าเป็นคณะหรือบุคคลที่มีสถานะทางสังคมเช่นไร สำหรับศรีลังกา ซึ่งนับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาท และดำเนินตามรอยทางแห่งพระไตรปิฎก การตั้งกองกฐินหลังวันออกพรรษาก็ถือเป็นกิจกรรมทางศาสนาที่มีนัยความหมายต่อสังคมศรีลังกาไม่น้อยไปกว่าวันสำคัญทางศาสนาวันอื่นๆ แม้ว่าในวันนี้ ศรีลังกาอาจจะไม่มีขบวนแห่กฐินอย่างยิ่งใหญ่ดังที่ปรากฏในประวัติศาสตร์เหมือนเมื่อครั้งอดีตที่รุ่งเรืองของทั้งราชอาณาจักรอนุราธปุระ หรือแม้ในราชอาณาจักรแคนดี้ที่ผ่านเลยไปแล้วก็ตาม กิจกรรมที่ครอบคลุมตลอดทั้งช่วงเวลาหนึ่งเดือน ทำให้แต่ละอารามสงฆ์และชุมชนที่แวดล้อมศรัทธาสามารถเลือกกำหนดวันที่เหมาะสมกันได้เอง ซึ่งหากมองในมิติของความสะดวกก็ต้องถือว่าก้าวหน้าและเป็นการกระจายโอกาสในการทำบุญอยู่ไม่น้อยเช่นกัน แต่อีกฝั่งฟากของสังคมศรีลังกาที่เป็นพหุสังคมที่หลากหลายและมีประชากรชาวฮินดูร่วมอยู่ด้วย ช่วงเดือนพฤศจิกายนถือเป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองครั้งใหญ่ในเทศกาล Diwali หรือ Deepavali ที่ต่อเนื่องยาวนานรวมกว่า 5 วันกันเลยทีเดียว และถือเป็นเทศกาลแห่งความสุข ที่สุกสดใสสว่างไสวที่สุดของชาวฮินดูก็ว่าได้ เพราะเทศกาล Diwali หรือ Deepavali ที่ว่านี้เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองชัยชนะของความสว่าง เหนืออนธกาลแห่งความมืดมน ทุกอาคารบ้านเรือนจึงประดับประดาไปด้วยดวงโคม เทียน และตะเกียงน้ำมัน (deepa) เพื่อเป็นตัวแทนแห่งแสงสว่างทางปัญญาเหนืออวิชชาทั้งปวง และยังมีการเฉลิมฉลองด้วยดอกไม้ไฟ ซึ่งทำให้ Diwali หรือ Deepavali เป็นเทศกาลที่เต็มไปด้วยแสง สี เสียง อย่างคึกคัก ต้นทางของเทศกาล Diwali หรือ Deepavali สามารถสืบย้อนกลับไปได้ไกลถึงยุคสมัยแห่งอินเดียโบราณ โดยเทศกาลนี้ถือเป็นงานรื่นเริงฉลองการเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ในฤดูร้อน ก่อนที่จะเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง ในเดือน Kartika ตามปฏิทินฮินดู ที่จะอยู่ในช่วงกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนพฤศจิกายน

Read More

ดื่มเพื่อสุขภาพ!!

 Column: AYUBOWAN บรรยากาศช่วงปลายฝนต้นหนาวหลังวันออกพรรษาคงทำให้ผู้คนในสังคมไทย เตรียมกายเตรียมใจเข้าสู่โหมดแห่งการเฉลิมฉลองหลังงานบุญใหญ่ไม่น้อยเลยนะคะ เพราะนอกจากจะมีงานกฐิน ลอยกระทง และวันคริสต์มาส ปีใหม่ ทยอยมาเข้าคิวรอแล้ว ดูเหมือนพี่ไทยของเราก็พร้อมจะร่วมสนุกได้ในทุกเทศกาลกันเลย ความสนุกสนานบันเทิงเริงใจ ดูจะเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์ทุกชาติพันธุ์ศาสนาเลยก็ว่าได้นะคะ เพียงแต่จะดำเนินไปในรูปแบบและด้วยท่วงทำนองสูงต่ำหนักเบาอย่างไรเท่านั้น และดูเหมือนว่าเครื่องดื่มที่มีดีกรีจะเป็นอีกปัจจัยที่ซึมแทรกเป็นส่วนหนึ่งในเกือบทุกวัฒนธรรมก็ว่าได้ ความเป็นไปของเครื่องดื่มที่ประกอบด้วยดีกรีนี้ หากพิจารณามองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ก็คงพบว่าเครื่องดื่มนี้มีบทบาททางสังคมมาอย่างยาวนานย้อนหลังกลับไปได้ตั้งแต่ยุคหินหรือกว่า 10,000 ปีกันเลยทีเดียว  พัฒนาการของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เริ่มจากการหมัก มาสู่การบ่มและกลั่น กลายเป็นส่วนหนึ่งที่บ่งชี้ความก้าวหน้าในวิทยาการแขนงหนึ่งของมนุษยชาติ และผู้คนในแต่ละสังคมส่วนใหญ่ก็จะอาศัยพึ่งพาวัตถุดิบหรือผลผลิตที่มีอยู่ในพื้นถิ่นนั้นมาเป็นต้นทางในการหมัก บ่ม ให้ได้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ใจต้องการ แม้ว่าแรกเริ่มเดิมทีกิจกรรมหมักบ่มเพื่อประกอบเป็นสุราเมรัย อาจจะกำเนิดเกิดขึ้นและเป็นกิจกรรมในครัวเรือน แต่ด้วยเหตุที่สังคมขยายใหญ่และรัฐจำเป็นต้องแสวงหารายได้ กิจกรรมหมักบ่มสุราเมรัยในหลายประเทศจึงกลายเป็นอุตสาหกรรมผูกขาดที่ปิดกั้นและลดทอนคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ล่มสลายไปโดยปริยาย ภายใต้เหตุผลและเงื่อนไขว่าด้วยการดูแลสุขภาพ ควบคุมคุณภาพและจำกัดการบริโภคแอลกอฮอล์ของประชากร ซึ่งฟังดูน่าขัน ควบคู่กับการรณรงค์ลดละเลิกที่ดำเนินไปอย่างเอิกเกริก ไม่นับรวมถึงกรณีหน่วยงานที่นำเงินภาษีสรรพสามิตจากอุตสาหกรรมสุรา ซึ่งถูกเรียกรวมว่า เงินภาษีบาป มาใช้รณรงค์ในกิจกรรมหลากหลายและกำลังเป็นกรณีวิพากษ์ในความถูกต้องโปร่งใสและเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ สำหรับศรีลังกาซึ่งมีศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักและมีหลักเกณฑ์ว่าด้วยการงดจำหน่ายสุราทุกชนิดในวันอุโบสถ Poya หรือวันที่พระจันทร์เต็มดวงในแต่ละเดือน รวมถึงวันสำคัญทางศาสนาของศาสนาอื่นๆ ในสังคมไม่ว่าจะเป็นฮินดู อิสลาม คริสต์ แต่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประจำถิ่นของศรีลังกาที่เป็นประหนึ่งสัญลักษณ์ของประเทศในนาม Arrack กลับมีท่วงทำนองและความเป็นไปที่น่าสนใจไม่น้อยเลย เพราะแม้ Arrack จะเป็นสุราที่มีการผลิตอยู่ในพื้นที่ถิ่นอื่น ทั้งในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ แต่กรรมวิธีและวัตถุดิบตั้งต้นก็แปลกแตกต่างกันออกไป โดยในบางพื้นที่ อาจใช้กากน้ำตาล หรืออ้อย มาบ่มกลั่น ซึ่งก็จะทำให้มีความใกล้เคียงกับเครื่องดื่มแบบ

Read More

อนุราธปุระ: ปฐมอาณาจักรแห่งลังกาทวีป

 Column: AYUBOWAN  หลังจากที่ได้กล่าวถึง Mahavamsa หรือมหาวงศ์ ให้ท่านผู้อ่านได้ร่วมเดินทางย้อนประวัติศาสตร์ลังกาทวีปไปก่อนหน้านี้ หากจะไม่กล่าวถึงความเป็นไปแห่งอาณาจักรอนุราธปุระ ซึ่งถือเป็นอาณาจักรแรกๆ บนแผ่นดินลังกานี้เสียเลยก็ดูกระไรอยู่นะคะ อนุราธปุระได้ชื่อว่าเป็นอาณาจักรเริ่มแรกของศรีลังกา ที่สถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าปานฑุกาภัย (Pandukabhaya) ในช่วง 377 ปีก่อนคริสตกาล ท่ามกลางเขตอาณาของเจ้าครองแคว้นน้อยใหญ่ที่ต่างพยายามขยายบทบาทอิทธิพลเหนือดินแดน แต่อาณาจักรแห่งอนุราธปุระก็ถือเป็นอาณาจักรที่ทรงพลานุภาพและได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ปกครองสูงสุดของลังกาทวีปในช่วงนั้น ความรุ่งเรืองของอนุราธปุระดำเนินไปท่ามกลางความจำเริญของพุทธศาสนาอย่างยากจะแยกออกทั้งในมิติของวัฒนธรรม รูปแบบการปกครอง รวมถึงระบบกฎหมาย ซึ่งกรอบโครงความเชื่อและศรัทธาในพุทธศาสนาเช่นว่านี้ มีผลต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบและปฏิสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วมาประดิษฐานที่ลังกา ที่เป็นประหนึ่งสัญลักษณ์ในอำนาจบารมีของกษัตริย์แห่งอนุราธปุระไปโดยปริยาย แต่การดำรงอยู่ของอนุราธปุระไม่ได้ดำเนินอยู่ท่ามกลางสุญญากาศแห่งอำนาจ หากอนุราธปุระต้องเผชิญกับการรุกรานจากอาณาจักรข้างเคียง โดยเฉพาะจากอาณาจักรในอินเดียใต้ ที่พยายามรุกคืบเข้ามามีอิทธิพลเหนือดินแดนแห่งนี้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งกษัตริย์ของอนุราธปุระสามารถรบพุ่งมีชัยชนะเหนือกองกำลังจากอาณาจักรอินเดียใต้และฟื้นฟูอำนาจเหนือดินแดนได้หลายครั้ง แม้จะต้องดำเนินผ่านห้วงเวลายากลำบากแห่งสงครามกับผู้รุกราน แต่อาณาจักรอนุราธปุระก็สามารถจำเริญและดำรงอยู่ยาวนานนับเนื่องได้กว่า 1,500 ปี (377 ปีก่อนคริสตกาลถึงคริสต์ศักราชที่ 1017) ซึ่งห้วงเวลาที่ยาวนานดังกล่าวนี้เปิดโอกาสให้อาณาจักรอนุราธปุระผลิตสร้างและส่งผ่านมรดกหลากหลายประการให้กับสังคมในยุคหลัง ความเป็นไปของอนุราธปุระซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางสังคมเกษตรกรรม ทำให้การก่อสร้างระบบชลประทาน กลายเป็นสิ่งสื่อแสดงให้เห็นความสำเร็จและก้าวหน้าของอาณาจักรโบราณแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี โดยอ่างเก็บน้ำและระบบคลองส่งน้ำที่ช่วยให้พื้นที่แห้งแล้งสามารถทำการเพาะปลูกได้ ส่งผลให้สังคมภายในอนุราธปุระเป็นไปในลักษณะที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคงพอควร เพราะนอกจากจะเพาะปลูกข้าวได้ถึงสองครั้งต่อปีแล้ว ยังเพาะปลูกอ้อย งา และข้าวฟ่าง โดยเฉพาะในเขตแห้งแล้ง ไว้สำหรับเป็นแหล่งอาหาร ขณะเดียวกันก็สามารถเพาะปลูกฝ้ายเพื่อรองรับความต้องการเรื่องเครื่องนุ่งห่ม โดยผลผลิตส่วนเกินสามารถส่งออกเป็นสินค้าควบคู่กับอัญมณี ไข่มุก เครื่องเทศ แลกเปลี่ยนกับการนำเข้าเครื่องถ้วยเซรามิก เครื่องหอม ไวน์ และผ้าไหม ที่มาจากทั้งตะวันออกกลางและตะวันออกไกล ปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งทำให้อาณาจักรอนุราธปุระสามารถสถาปนาความสำคัญในฐานะที่เป็นศูนย์กลางการค้าขายระหว่างประเทศเชื่อมโยงโลกตะวันออกและตะวันตกได้อย่างไม่ลำบากนัก

Read More

MAHAVAMSA: ตำนานประวัติศาสตร์แห่งลังกาทวีป

 Column: AYUBOWAN เรื่องราวความเป็นไปและเหตุบ้านงานเมืองของแต่ละประเทศ นอกจากจะดำเนินไปท่ามกลางพลวัตแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สิ้นสุดและบ่อยครั้งที่ประวัติการณ์แห่งความเป็นมาจำเริญควบคู่กับเรื่องเล่าและตำนานที่ถือเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ไปในคราวเดียวกันด้วย ต้นทางแห่งประวัติศาสตร์การก่อร่างสร้างประเทศของทั้งชาวสิงหลในศรีลังกา หรือแม้กระทั่งความจำเริญของพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป ก็ดำเนินอยู่ในบริบทที่ไม่ได้แตกต่างจากความข้อนี้มากนัก หากแต่เรื่องเล่าและตำนานความเป็นไปเหล่านี้ได้รับการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างดีให้ผู้คนในยุคหลังได้ศึกษาและสืบค้น ตำนานแห่ง Mahavamsa หรือที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยว่า “มหาวงศ์” ถือเป็นตำนานประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญมากที่สุดฉบับหนึ่งของสังคมศรีลังกา เพราะเป็นการบันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่สมัยพุทธกาลไล่เรียงผ่านห้วงเวลาที่ยาวนานมาสู่ยุคของการสร้างบ้านแปงเมืองในอาณาจักรอนุราธปุระ ที่จำเริญอยู่นับตั้งแต่ 377 ปีก่อนคริสตกาลถึงคริสต์ศักราช 1017 กล่าวสิริรวมก็ถือว่าเป็นการบันทึกเรื่องราวในช่วงกว่า 1,000 ปีของประวัติศาสตร์ศรีลังกายุคต้นไว้เลยทีเดียว ความสำคัญของมหาวงศ์ ในฐานะที่เป็นอภิมหาลำดับเหตุการณ์ (Great Chronicle) ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในมิติที่เล่าขานความเป็นไปของปรากฏการณ์ในยุคต้นของลังกาทวีป ที่ประกอบส่วนด้วยประเด็นทางการเมืองและการทูตกับอาณาจักรรอบข้าง การแข่งขันช่วงชิงในราชสำนัก หากแต่มหาวงศ์ยังเป็นบันทึกว่าด้วยความจำเริญของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท และถือเป็นวรรณคดีประเภทมหากาพย์ที่รจนาขึ้นในภาษาบาลีที่ได้รับการยอมรับว่าสำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดฉบับหนึ่งอีกด้วย ต้นทางแห่งมหากาพย์ มหาวงศ์ ที่ยิ่งใหญ่นี้ เกิดขึ้นจากการรจนาของพระมหาเถระมหานามะแห่งอนุราธปุระ (Mahanama of Anuradhapura) เมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 5 ในยุคสมัยของ Dhatusena ซึ่งเป็นกษัตริย์ปกครองอนุราธปุระในช่วงคริสต์ศักราช 455-473 โดยอาศัยข้อมูลทั้งจากพงศาวดาร และตำราต่างๆ ในวัดมหาวิหาร ซึ่งถือเป็นมหาวิทยาลัยอันยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท มารจนาในรูปแบบคาถา หรือบทกวีที่มีฉันทลักษณ์พรรณนาเหตุการณ์ความเป็นไปกว่า 3,000 โศลก ลำดับของเนื้อหาใจความของ มหาวงศ์ ไล่เรียงตั้งแต่เมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเยือนลังกาทวีป ซึ่งความตอนนี้ถูกถ่ายทอดเป็นอรรถคาถาถึง 84

Read More

Four Four Bravo และ 3 ทศวรรษที่สูญหาย ของ Jaffna

Column: AYUBOWAN หากกล่าวถึงหัวเมืองสำคัญที่อุดมด้วยสีสันและประวัติศาสตร์ความเป็นมาของศรีลังกา เชื่อว่า 1 ในหัวเมืองเหล่านั้นต้องจารึกชื่อของ Jaffna ไว้เป็นส่วนหนึ่งในแผนที่เดินทางของนักสำรวจความเป็นมาและเป็นไปของผืนแผ่นดิน Serendib แห่งนี้ เพราะอดีตกาลของ Jaffna สามารถสืบย้อนหลังกลับไปได้ไกลถึงกว่า 2,000 ปีก่อนคริสตกาล หรือเมื่อกว่า 4,000 ปีล่วงมาแล้ว เรียกได้ว่าพบหลักฐานของการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ในคาบสมุทร Jaffna นี้ก่อนที่ตำนานการสร้างบ้านแปงเมืองของศรีลังกาจะเริ่มต้นขึ้นเสียอีก และหอสมุดแห่งเมือง Jaffna ก็คงเป็นแหล่งที่เก็บรวบรวมหลักฐานข้อมูลทั้งอดีตกาลอันจำเริญ และประวัติศาสตร์ยุคใหม่ที่ขมขื่นไว้ให้ได้ค้นหาอย่างรอบด้าน ความเป็นไปของ Jaffna เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ไม่เฉพาะต่อพัฒนาการในศรีลังกาเท่านั้น หากยังมีรากฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อมโยงไปสู่อินเดีย ซึ่งเป็นดินแดนบนผืนแผ่นดินใหญ่อย่างยากจะแยกออก โดยเฉพาะจากข้อเท็จจริงที่ว่า ราชอาณาจักร Jaffna หรือ Jaffna Kingdom (1215-1624) เกิดขึ้นจากการถอยร่นและรุกรานเข้ามาตั้งถิ่นฐานของกองกำลังที่นำโดย Kalinga Magha จากอินเดีย ก่อนที่จะสถาปนาราชวงศ์ Aryacakravarti ที่มีรากฐานยึดโยงกับประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ของชาวทมิฬ และจักรวรรดิโบราณของชาวทมิฬ 3 ราชวงศ์ทั้ง Chola, Chera และ Pandyan รวมถึงศูนย์กลางใน Tamil

Read More

MEGAPOLIS: 2030

 Column: AYUBOWAN ท่านผู้อ่านเห็นหัวเรื่องคอลัมน์สัปดาห์นี้แล้ว อย่าเพิ่งเข้าใจผิดคิดว่าเป็นชื่อของงานเขียนอีกชิ้นหนึ่งของ Arthur C.Clarke นะคะ และนี่ก็คงมิได้เป็นเพียงโครงการในจินตนาการฝันเฟื่อง หากแต่สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้เป็นเข็มมุ่งในเชิงนโยบายและกรอบโครงแผนพัฒนาที่กำลังจะเกิดขึ้นในศรีลังกานับจากนี้ โครงการพัฒนาเขตเมืองโคลัมโบและพื้นที่โดยรอบซึ่งรวมเรียกว่า Western Province ของศรีลังกาภายใต้ชื่อ Megapolis ที่ว่านี้เป็นโครงการสืบเนื่องที่มีการนำเสนอมาตั้งแต่เมื่อปี 2004 เมื่อครั้งที่พรรค United National Party (UNP) ครองอำนาจและมี Ranil Wickremesinghe ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ต้องถูกพับเก็บไว้หลังจากที่ Mahinda Rajapaksa จากพรรค United People’s Freedom Alliance (UPFA) ขึ้นมามีอำนาจแทนและครองการนำมานานกว่า 10 ปี นับจากนั้น แต่ผลการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2015 ที่ผ่านมา ซึ่ง UNP เป็นฝ่ายครอบครองชัยชนะ และ Ranil Wickremesinghe ได้กลับมาครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีศรีลังกาอีกครั้ง ทำให้โครงการ Megapolis กลายเป็นกรอบโครงนโยบายว่าด้วยการพัฒนาที่พร้อมจะกระตุ้นเศรษฐกิจและกำหนดวางอนาคตของศรีลังกาครั้งใหม่ที่โดดเด่นอย่างยิ่ง เพราะโครงการ

Read More

Sri Lankan Airlines: นกยูงแห่งเอเชียใต้

Column: AYUBOWAN ได้ยินได้ฟังเรื่องราวความเป็นไปของการบินไทย สายการบินแห่งชาติ ซึ่งมีประวัติความเป็นมาครบรอบ 55 ปี ในปี 2015 เมื่อช่วงเดือนเศษที่ผ่านมาแล้ว ก็ให้รู้สึกเห็นใจผู้คนที่อยู่แวดล้อมองค์กรแห่งนี้ ทั้งในส่วนพนักงานที่ยังไม่สามารถกำหนดอนาคตได้แน่ชัด หรือผู้โดยสารที่รอให้กำลังใจด้วยการใช้บริการ และที่สำคัญคือประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของเงินภาษีที่รัฐอาจต้องนำเงินไปอุดหนุนวิสาหกิจแห่งนี้อีกครั้ง แต่กรณีของการบินไทยก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อย่างใดนะคะ เพราะอย่างที่เราท่านคงทราบดีว่า “When State Owns, Nobody Owns. When Nobody Owns, Nobody Cares.” ซึ่งดูเหมือนความเป็นไปของสายการบินแห่งชาติหลายแห่งก็จะดำเนินไปในพิกัดระนาบเช่นที่ว่านี้ จนต้องล้มหมอนนอนเสื่อป่วยไข้ไปด้วยพิษการบริหารที่ล้มเหลวจนถึงกับต้องล้มละลายจากหายไปในที่สุด เรื่องราวของ Sri Lankan Airlines เมื่อครั้งอดีตที่ผ่านมา ก็คงไม่ได้อยู่ในบริบทที่จะได้รับการยกเว้นจากกรณีที่ว่านี้เช่นกันนะคะ เพราะกว่าที่จะมาเป็น Sri Lankan Airlines สายการบินแห่งชาติของศรีลังกาในวันนี้ ต้องเผชิญกับมรสุมและกระแสลมแปรปรวนอยู่หนักหน่วงเช่นกัน จุดเริ่มต้นของสายการบินแห่งชาติศรีลังกา เริ่มขึ้นจากการจัดตั้ง Air Ceylon ในปี 1947 หรือก่อนที่ศรีลังกาจะได้รับเอกราชจากอังกฤษเจ้าอาณานิคม ในปี 1948 เสียอีก โดย Air Ceylon มีสถานะเป็นวิสาหกิจของรัฐ

Read More