การรุกคืบของทุนญี่ปุ่นในสยาม ทางรอดหรือทางเลือก
การลดจำนวนลงของประชากรเกิดใหม่ทำให้ประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบันกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เมื่อกำลังการซื้อส่วนใหญ่ผูกติดอยู่กับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มคนรุ่นใหม่และกลุ่มคนในวัยทำงาน ที่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในระบบเศรษฐกิจของดินแดนอาทิตย์อุทัย ภาวะการชะลอตัวของกำลังซื้อในญี่ปุ่นส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นไม่เติบโตเท่าที่ควร โดยที่ก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นใช้ระบบเศรษฐกิจแบบ Abenomics ภายใต้การนำของ Shinso Abe อดีตนายกรัฐมนตรีที่เพิ่งประกาศยุบสภาไปเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยโตเกียวได้ประกาศขึ้นภาษีการค้าจาก 5 เปอร์เซ็นต์เป็น 8 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ประชาชนชะลอการจับจ่าย ผลพวงจาก Abenomics นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลใหม่ของญี่ปุ่นที่มาจากการเลือกตั้งวันที่ 14 ธันวาคม 2557 จะต้องเร่งหาทางออกในเรื่องนี้ให้กับบรรดานักธุรกิจและนักลงทุนภายในประเทศ อีกทั้งยังต้องเรียกความน่าเชื่อถือให้กับประเทศเมื่อ Moody’s สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ได้ปรับลดความน่าเชื่อถือของประเทศญี่ปุ่นลงจาก ‘Aa3’ เหลือ ‘A1’ (เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2557) นับเป็นการปรับลดหนึ่งขั้น หลังจากภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเริ่มเข้าสู่สภาวะถดถอยในช่วงไตรมาส 3 การขาดดุลระยะกลางอย่างต่อเนื่องของประเทศญี่ปุ่น และการหดตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ 0.4% ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน (เมษายน – มิถุนายน) ที่ 1.9% ทั้งที่ในไตรมาสแรกของปี ตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 1.6%
Read More