Home > ฝรั่งเศส (Page 2)

Paris School of Economics

Column: FROM PARIS ฝรั่งเศสภูมิใจมากที่ Esther Duflo ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 2019 นี้ เพราะเธอเป็น “ผลผลิต” ของฝรั่งเศส Esther Duflo เกิดที่ปารีสในปี 1972 บิดาเป็นนักคณิตศาสตร์ ส่วนมารดาเป็นกุมารแพทย์ที่ไปร่วมทำงานด้านมนุษยธรรมอยู่เนืองๆ Esther Duflo จึงได้รับความบันดาลใจจากมารดา และเป็นจิตอาสาสำหรับ NGO หลายแห่ง เธอสอบเข้า Ecole normale supérieure ได้เป็นที่ 4 ได้ปริญญาโทด้านประวัติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ เพื่อนร่วมชั้นคือ Thomas Piketty แนะนำให้เธอเรียนเศรษฐศาสตร์ เธอได้ diplôme d’études approfondies จาก Ecole des hautes études en sciences sociales (EHESS) ได้ agrégation de sciences économiques

Read More

วิวาทะเรื่องดาวมิชแลง

Column: From Paris Michelin เป็นบริษัทผลิตยางรถยนต์ของฝรั่งเศส และยางสำหรับพาหนะอื่นๆ ด้วย รวมทั้งเครื่องบิน พนักงานขายของ Michelin ต้องเดินทางไปทั่วประเทศ จึงคิดทำแผนที่สำหรับการขับรถ และทำหนังสือคู่มือสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีปกสีเขียว จึงเรียกว่า Guide vert แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในแต่ละเมือง และไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว พนักงานเหล่านี้ต้องไปพักแรมและรับประทานตามเมืองต่างๆ ที่เดินทางไป จึงเกิด Guide Michelin หรือที่เรียกกันว่า Guide rouge เพราะปกสีแดง แนะนำร้านอาหารตามหมู่บ้าน ตำบลหรือจังหวัดต่างๆ ของฝรั่งเศส และที่พัก ทั้งนี้ โดยแสดงความคิดเห็นด้วย กลายเป็นคู่มือของบรรดานักชิมอาหาร นับตั้งแต่ปี 1900 ถึง 2007 ขายได้ถึง 35 ล้านเล่ม ต่อมามีการให้ดาว Michelin สำหรับร้านอาหารอร่อย บรรยากาศดี การบริการยอดเยี่ยมในฝรั่งเศสและโมนาโก เฉพาะในปี 2016 มีร้านสามดาว 25

Read More

สิ้นรัฐบุรุษที่ชื่อฌาคส์ ชีรัก

Column: FROM PARIS คืนวันที่ 25 ต่อวันที่ 26 กันยายน 2019 ฝรั่งเศสได้สูญเสียรัฐบุรุษ 1 คน คือ ฌาคส์ ชีรัก (Jacques Chirac) อดีตประธานาธิบดี ครอบครัวได้แจ้งข่าวแก่ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง (Emmanuel Macron) ซึ่งยกเลิกกำหนดการทั้งมวลในหลายวันข้างหน้าเพื่อเตรียมการรัฐพิธีศพของรัฐบุรุษผู้นี้ ฌาคส์ ชีรักเป็นนักการเมืองฝ่ายขวา เริ่มชีวิตการเมืองจากการเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดกอแรซ (Corrèze) แล้วในปี 1967 ได้เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี ประธานาธิบดีวาเลรี จิสการด์ เดสแตง (Valéry Giscard d’Estaing) แต่งตั้งให้เขาเป็นนายกรัฐมนตรีในปี 1974 ระหว่างดำรงตำแหน่ง ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีกรุงปารีสในปี 1977 เขาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 1979 เพราะไม่ลงรอยกับประธานาธิบดี แล้วตั้งพรรคการเมือง Rassemblement pour la République ฌาคส์ ชีรักลงเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 1981

Read More

ความแนบแน่นระหว่างมาครงและซาร์โกซี

Column: From Paris เอ็มมานูเอล มาครง (Emmanuel Macron) เข้าสู่เวทีการเมืองในยุคประธานาธิบดีฟรองซัวส์ โอลลองด์ (François Hollande) ด้วยการแนะนำของฌาคส์ อัตตาลี (Jacques Attali) ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของฝ่ายหลัง และเป็นผู้ค้นพบความปราดเปรื่องของฝ่ายแรกเมื่อได้ทำงานด้วยกัน โดยฟรองซัวส์ โอลลองด์แต่งตั้งให้เอ็มมานูเอล มาครงเป็นรองเลขาธิการทำเนียบเอลีเซ (Palais de l’Elysée) อันเป็นทำเนียบประธานาธิบดี และเมื่อตำแหน่งรัฐมนตรีงบประมาณว่างลง ฟรองซัวส์ โอลลองด์ไม่ยอมแต่งตั้งเอ็มมานูเอล มาครงตามความปรารถนาของเจ้าตัว จึงเป็นที่มาของการลาออก หลังจากว่างานอยู่ไม่กี่เดือน ก็ถึงคราวปรับคณะรัฐมนตรี เอ็มมานูเอล มาครงได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีเศรษฐกิจ อันเป็นตำแหน่งที่ใหญ่กว่าที่เคยปรารถนา ฟรองซัวส์ โอลลองด์จึงถือเอ็มมานูเอล มาครงเป็นเด็กสร้างของตน แต่แล้วเด็กสร้างก็ลาออกไปเพื่อเตรียมตัวลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2017 แรกทีเดียวประธานาธิบดีฟรองซัวส์ โอลลองด์ไม่เชื่อว่าเอ็มมานูเอล มาครงจะทาบรอยเท้า มิไยที่บรรดาคนสนิทจะเตือนก็ตาม และเมื่อเอ็มมานูเอล มาครงประกาศอย่างเป็นทางการจะลงสมัครรับเลือกตั้ง และมีทีท่าว่าจะได้รับการสนับสนุนมาก ประธานาธิบดีในตำแหน่งมักจะลงสมัครเป็นวาระที่สอง ทว่าคนสนิทของฟรองซัวส์ โอลลองด์แนะนำว่าไม่ควรลง เพราะความปราชัยมองเห็นชัด เมื่อคำนึงถึงคะแนนนิยมที่ตกต่ำมาก เมื่อเอ็มมานูเอล มาครงได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี

Read More

Pyramide du Louvre พีระมิดแก้วพระราชวังลูฟวร์

Column: From Paris ในปี 1989 กลับไปปารีสครั้งแรกหลังจากเรียนจบ สิ่งหนึ่งที่รีบไปดูคือ พีระมิดแก้วที่พระราชวังลูฟวร์ (Louvre) เมื่อฟรองซัวส์ มิตแตรองด์ (François Mitterrand) ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในปี 1981 เขามีดำริให้ปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ โดยจะให้หน่วยงานทั้งหลายที่ตั้งในพระราชวังแห่งนี้ เช่น กระทรวงการคลัง ย้ายออกไป เพื่อให้พิพิธภัณฑ์ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของพระราชวัง จึงเกิดโครงการ Grand Louvre ทั้งนี้ โดยไม่มีการเรียกประกวดราคาและเสนอรูปแบบสถาปัตยกรรม ฟรองซัวส์ มิตแตรองด์เลือกสถาปนิกชาวอเมริกันเชื้อสายจีน Ieoh Ming Pei เป็นผู้ออกแบบการปรับปรุงลูฟวร์ ซึ่งเสนอให้ใช้พื้นที่ตรงลานนโปเลอง (cour Napoléon) ซึ่งเป็นที่ตั้งของรูปทรงม้าของกษัตริย์หลุยส์ 14 (Louis 14) เพื่อทำเป็นทางเข้าใหญ่สู่พิพิธภัณฑ์ อันที่จริงการเสนอให้สร้างพีระมิดตรง cour Napoléon มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เพื่อรำลึกถึง 100 ปีของการปฏิวัติฝรั่งเศส นอกจากนั้น ยังพบพันธะสองอย่างที่ต้องทำในบันทึกของ Bernard François Balzac

Read More

ไปรษณีย์ฝรั่งเศส

Column: From Paris ชอบใจบริการไปรษณีย์ฝรั่งเศสมาก บุรุษ (สตรี) ไปรษณีย์แถวบ้านจะขี่จักรยานมาส่ง ที่รถจะมีกระเป๋าใส่จดหมายและเอกสาร รวมทั้งพัสดุเล็กๆ แต่ในบางย่านเห็นบุรุษไปรษณีย์เดินเข็นรถไปตามอาคารต่างๆ เพราะให้บริการในย่านที่ไม่ไกลจากสำนักงานไปรษณีย์ La Poste ไปรษณีย์ฝรั่งเศสเริ่มมีในปี 1441 สมัยกษัตริย์หลุยส์ที่ 11 เพื่อส่งหนังสือของราชสำนัก ทว่ารูปแบบการบริหารการไปรษณีย์แบบในปัจจุบันเริ่มในศตวรรษที่ 17 ให้บริการส่งจดหมาย ผู้ได้รับจดหมายเป็นผู้จ่ายค่าบริการ รัฐเป็นผู้ริเริ่มการให้บริการสำหรับการติดต่อภายใน และการส่งต่อคำสั่งและรายงานระหว่างหน่วยงาน ในปี 1879 ได้รวมกิจการไปรษณีย์และโทรเลขเข้าด้วยกัน ได้ชื่อใหม่ว่า La Poste, Télégraphes et Téléphones (PTT) ขึ้นกับกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม (Ministère des Postes et Télécommunications) ในปี 1946 ได้แบ่งออกเป็น 2 หน่วยงาน คือ การไปรษณีย์ (Direction de la Poste) และการโทรคมนาคม (Direction

Read More

อิมเพรสชั่นนิสต์ที่ลอนดอน

Column: From Paris Paris Plages เป็นกิจกรรมฤดูร้อนที่เทศบาลกรุงปารีสจัดระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคมถึงสิ้นเดือนสิงหาคม เป็นการแปลงริมแม่น้ำแซน (Seine) ช่วงหนึ่งให้เป็นชายหาด สำหรับคนที่ไม่มีโอกาสไปพักร้อน และเป็นสีสันสำหรับนักท่องเที่ยว แต่เดิมจะนำทรายมาเท ตั้งเก้าอี้ผ้าใบและร่มกันแดด บางหาดก็ปูหญ้าเทียม มีกิจกรรมสำหรับเด็กๆ สระว่ายน้ำ หน้าศาลากลางกรุงปารีส (Hôtel de ville) เททราย ขึงเน็ตสำหรับกีฬาวอลเลย์บอลชายหาด ทว่านั่นกลายเป็นอดีตไปแล้ว เพราะนายกเทศมนตรีกรุงปารีสคนปัจจุบันลดกิจกรรมหมดทุกอย่าง ยกเว้นการตั้งเก้าอี้ผ้าใบและร่มกันแดด มีกิจกรรมสำหรับเด็กเล็ก ผลก็คือ ผู้คนบางตา ไปเดินริมแม่น้ำแซนบ่อยๆ วันหนึ่งเห็นบอร์ดติดรีโปรดักชั่นภาพเขียนของจิตรกรอิมเพรสชั่นนิสต์ (impressionniste) หลายภาพด้วยกัน จึงได้ทราบว่ากำลังมีนิทรรศการอิมเพรสชั่นนิสต์ที่เปอติต์ ปาเลส์ (Petit Palais) Petit Palais เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับงานเอกซ์โปนานาชาติปี 1900 ต่อมาเป็นพิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์ ขึ้นอยู่กับเทศบาลกรุงปารีส Musée des beaux-arts de la Ville de Paris มีงานศิลป์มากมาย

Read More

Sex shop

Column: From Paris สมัยที่ไปเรียนที่เมืองนีซ (Nice) นักเรียนไทยกลุ่มใหญ่เลี้ยวเข้าไปในเซ็กซ์ชอป รุ่นเด็กดูไม่รู้เรื่อง แต่รุ่นใหญ่กิ๊กกั๊กกันสนุกสนาน นั่นเป็นครั้งแรกที่ไปเข้าไปในสถานที่ “อโคจร” ครั้งหนึ่งไปเที่ยวโคเปนเฮเกน เจ้าถิ่นพาเดินถนนที่มีการค้าประเวณี ไปเดินเล่นแถวปิกาล (Pigalle) เพราะอยากเห็นคาบาเรต์ที่ชื่อ Moulin Rouge รู้สึกเป็นอะไรที่ต้องดู ในอดีตย่านนี้เต็มไปด้วยคาบาเรต์และ music hall และแน่นอนย่อมมีหญิงบริการด้วย ผู้จำลองวิถีชีวิตของย่านปิกาลลงบนผืนผ้าใบคือ อองรี เดอ ตูลูซ-โลเทรก (Henri de Toulouse-Lautrec) ซึ่งใช้ชีวิตยามราตรีตามสถานที่เหล่านี้ แต่สิ่งที่ได้เห็นพร้อมกับคาบาเรต์ในปิกาลคือบรรดาเซ็กซ์ชอป เต็มสองฟากถนน แต่เมื่อใดที่เดินลัดเลาะตามซอกซอย พบว่าเป็นย่านที่น่าอยู่มาก เต็มไปด้วยเสน่ห์ อาคารสวย ที่แม้บางครั้งจะมีคุณผู้หญิงแต่งตัวสวยยืนรอแขกก็ตาม ปิกาลอยู่ในเขต 18 (18ème arrondissement) ซึ่งเป็นเขตที่หนุ่มสาวยุคใหม่นิยมมาพำนัก เทศบาลปรับปรุงเพื่อรองรับชุมชนใหม่เหล่านี้ด้วย เช่น โรงเรียนและสวนหย่อม ย่านชาตเลต์ (Châtelet) และเลส์ อาลส์ (Les Halles) รวมทั้งย่านโบบูรก์ (Beaubourg)

Read More

มิเชล เลอกรองด์

Column: From Paris ถ้ารู้จักเพลง I will wait for you และ The windmills of your mind ต้องรู้จักมิเชล เลอกรองด์ (Michel Legrand) มิเชล เลอกรองด์ เกิดในครอบครัวที่มีแต่เสียงดนตรี พ่อและลุงเป็นนักดนตรี เขาเล่นเปียโนได้ตั้งแต่อายุ 3 ขวบ โดยไล่โน้ตตามเสียงเพลงที่ได้ยินทางวิทยุ แม่จึงพาไปเรียนเปียโนอย่างเป็นกิจจะลักษณะ เมื่อครูไปทำงานที่ Conservatoire de Paris ก็พามิเชล เลอกรองด์ไปด้วย เขาจึงได้เรียนที่นี่ตั้งแต่อายุ 9 ขวบ นอกจากเปียโนแล้วยังไปหัดเล่นดนตรีชนิดอื่นๆ ซึ่งมีส่วนช่วยมากในการแต่งเพลงในภายหลัง เขาพบว่าดนตรีเป็นทางออกของเด็กหงอยเหงาอย่างเขา มิเชล เลอกรองด์ออกจาก Conservatoire de Paris เมื่ออายุ 20 ปี เขาเล่นเปียโนสำหรับการร้องเพลง “หน้าม่าน” ในยุคนั้นจะมีการแสดงดนตรีคั่นระหว่างข่าวและภาพยนตร์ หรือช่วงพักครึ่งเวลา เขาได้ทำงานกับนักร้องดังหลายคน

Read More

ลูร์ดส์ เมืองพระแม่มารี

Column: From Paris แบร์นาแดต ซูบีรูส์ (Bernadette Soubirous) เกิดที่มูแลง เดอ โบลี (Moulin de Boly) ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1858 ไปเก็บใบไม้แห้งในป่าพร้อมกับพี่และเพื่อน สองคนหลังเดินไปที่อื่น แบร์นาแดตได้ยินเสียงลม จึงเดินไปที่ถ้ำมัสซาเบียล (Grotte de Massabielle) และได้เห็นสตรีสวมชุดขาวผู้หนึ่ง คลุมผมด้วยผ้าขาวเช่นกัน คาดเอวด้วยผ้าสีฟ้า ที่เท้าแต่ละข้างมีดอกกุหลาบสีเหลือง เธอจึงทำเครื่องหมายไม้กางเขนและเริ่มสวดมนต์ พอสวดจบ สตรีผู้นั้นก็หายไป ต่อมาในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ แบร์นาแดตกลับไปที่ถ้ำอีก และสวดมนต์ไปได้สิบกว่าจบ สตรีในชุดขาวปรากฏให้เห็นอีก เธอพรมน้ำมนต์ไปที่ร่างของสตรีผู้นั้น ซึ่งยิ้มและพยักหน้ารับรู้ ก่อนที่จะหายตัวไป ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ แบร์นาแดตขอให้สตรีชุดขาวเขียนชื่อบนกระดานชนวน ก็ได้รับคำตอบว่าไม่จำเป็น และกล่าวว่า ข้าไม่ขอสัญญาว่าจะทำให้เจ้ามีความสุขในชาตินี้ แต่ในชาติอื่นๆ และขอให้แบร์นาแดตมาที่ถ้ำอีกเป็นเวลา 15 วัน แบร์นาแดตจึงกลับไปในวันที่ 19

Read More