Home > ประเทศศรีลังกา

บทเรียนการท่องเที่ยว กรณีศึกษาศรีลังกาสู่ไทย

เหตุระเบิดถล่มเมืองหลายจุดที่ศรีลังกาในช่วงเทศกาลอีสเตอร์เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา นอกจากจะสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิตของผู้คนจำนวนมากแล้ว ในอีกด้านหนึ่ง แรงระเบิดยังได้ทำลายและสร้างความเสียหายต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจของศรีลังกาที่พึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างหนักอีกด้วย ผลกระทบจากแรงระเบิดและเหตุวุ่นวายที่เกิดขึ้น ได้ฉุดให้การท่องเที่ยวของศรีลังกาตกอยู่ในภาวะชะงักงัน และถูกผลักให้หวนสู่ภาวะซบเซาไม่ต่างจากเมื่อครั้งที่ประเทศเกาะเล็กๆ ในมหาสมุทรอินเดียแห่งนี้ต้องเผชิญกับสงครามกลางเมืองที่ยาวนานกว่า 3 ทศวรรษอีกครั้ง ทั้งที่ก่อนหน้านี้ นิตยสารท่องเที่ยว Lonely Planet ได้ยกให้ศรีลังกาเป็นจุดหมายในการเดินทางท่องเที่ยวที่น่าสนใจและน่าท่องเที่ยวที่สุดในปี 2019 ด้วยเหตุปัจจัย 3 ประการ ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายทางวัฒนธรรมและศาสนาที่ผสมผสานกันในลักษณะของสังคมพหุวัฒนธรรม (multi-cultural society) ประกอบกับทรัพยากรธรรมชาติที่งดงามและเข้าถึงได้ไม่ยาก และนิสัยใจคอของประชาชนในพื้นถิ่นที่พร้อมให้การต้อนรับอาคันตุกะจากต่างแดน ข้อสังเกตของ Lonely Planet ดังกล่าวเกิดขึ้นจากฐานของข้อเท็จจริงที่ว่าภายหลังการสิ้นสุดสงครามกลางเมืองระหว่างรัฐบาลกับกองกำลังติดอาวุธชาวทมิฬที่ยืดเยื้อยาวนานมากว่า 3 ทศวรรษ ศรีลังกาได้เร่งฟื้นฟูระบบการคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะรถไฟอย่างขนานใหญ่ ซึ่งทำให้กิจกรรมทางการท่องเที่ยวเพิ่มปริมาณขึ้นด้วยอัตราเร่งควบคู่กับการเกิดขึ้นของโรงแรมที่พักที่เพิ่มจำนวนขึ้นตามไปด้วย การฟื้นคืนขึ้นมาของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวศรีลังกาในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สามารถประเมินได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้าสู่ศรีลังกาจากจำนวน 4.5 แสนคนในปี 2009 มาสู่ที่ระดับ 2.33 ล้านคนในปี 2018 และมีแนวโน้มเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ควบคู่กับยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของรัฐบาลศรีลังกาที่มุ่งหมายให้การท่องเที่ยวเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้ได้ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของศรีลังกามีมูลค่ารวม 4.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.4 แสนล้านบาท และมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ

Read More

ศรีลังกา: จากจินตภาพสู่ความเป็นจริง??

จังหวะก้าวของการพัฒนาประเทศศรีลังกาในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังสิ้นสุดสงครามกลางเมืองดูจะดำเนินไปท่ามกลางอัตราเร่ง ซึ่งแม้ว่าจะเผชิญกับภาวะชะงักงันอยู่บ้างในช่วงของการเปลี่ยนผ่านอำนาจทางการเมือง แต่ต้องยอมรับว่ากรอบโครงสำหรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมของศรีลังกายังดำเนินต่อไปอย่างมีเป้าหมายและน่าสนใจติดตามอย่างยิ่ง ความสามารถของ Mahinda Rajapaksa ในการสร้างเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศด้วยการยุติสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อยาวนานกว่า 3 ทศวรรษได้สำเร็จในปี 2009 ควบคู่กับการประกาศแนวทางในการพัฒนาศรีลังกาให้ฟื้นคืนจากบาดแผลของประวัติศาสตร์สู่อนาคตใหม่ ภายใต้แนวนโยบายที่ได้รับการเรียกขานว่า “Mahinda Chintana: Vision for the Future” ประกอบกับการดำรงอำนาจทางการเมืองที่ยาวนานนับสิบปีของเขา ในด้านหนึ่งได้กลายเป็นความท้าทายการดำรงอยู่ของกลุ่มการเมืองดั้งเดิมของสังคมศรีลังกา และทำให้ Mahinda Rajapaksa ต้องถูกผลักให้พ้นจากตำแหน่งไปโดยปริยายจากผลของการเลือกตั้งเมื่อต้นปี 2015 หากแต่มรดกทางความคิดและนโยบายว่าด้วยวิสัยทัศน์แห่งอนาคต หรือ “จินตภาพแห่งมหินทะ” ที่ประกอบส่วนไปด้วยแนวความคิดที่จะพัฒนาและสร้างให้ศรีลังกาเป็น Regional 5 Hub หรือศูนย์กลางของกิจกรรม 5 ประการของภูมิภาค ไล่เรียงตั้งแต่การเป็นศูนย์กลางของการเดินสมุทร ศูนย์กลางของการเดินอากาศ ศูนย์กลางของความรู้ ศูนย์กลางด้านพลังงาน และศูนย์กลางทางพาณิชยกรรม (Maritime, Aviation, Knowledge, Energy and Commerce) ไม่ได้ถูกทิ้งร้าง หากยังเป็นต้นทางของกรอบโครงแนวนโยบายในการพัฒนาประเทศศรีลังกาในช่วงที่ผ่านมาด้วย การเบียดแทรกเพื่อขยายบทบาทเข้ามาของมหาอำนาจทั้งจีน อินเดีย ญี่ปุ่น และนานาประเทศในการช่วยสนับสนุนความจำเริญครั้งใหม่ของศรีลังกา

Read More

ศรีลังกา: บนสมการถ่วงดุล มหาอำนาจจีน-อินเดีย

ในขณะที่สังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลไกภาครัฐพยายามเร่งหาผู้ลงทุนรายใหม่ๆ ด้วยการเดินสายขายโครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ EEC: Eastern Economic Corridor ด้วยหวังว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นประหนึ่งผลงานสำคัญ และช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยสามารถไถลตัวออกจากอาการติดหล่ม รวมถึงช่วยกู้ภาพลักษณ์ด้านผลงานการดำเนินงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่เข้ามายึดครองอำนาจการบริหารประเทศเป็นเวลากว่า 3 ปี ล่วงไปแล้ว หากแต่ในอีกฟากฝั่งหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ดินแดนที่เพิ่งฟื้นจากสงครามกลางเมืองและได้สัมผัสกับความสงบสันติมาได้ไม่ถึงทศวรรษกำลังต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหม่ สำหรับการพัฒนาในอนาคต โดยเฉพาะการเลือกและรักษาสมดุลแห่งอำนาจ จากการเข้ามามีบทบาททั้งในมิติของเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน โดยเอกชนและภาครัฐจากทั้งจีน อินเดีย และญี่ปุ่น ที่ต่างพร้อมแสดงตัวในการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ เพื่อก้าวสู่อนาคตที่สดใสร่วมกัน ศรีลังกา ซึ่งมีภูมิรัฐศาสตร์เป็นเกาะอยู่ทางตอนปลายของประเทศอินเดีย ถือเป็นพื้นที่ที่อินเดียเคยมีบทบาทนำมาตลอดในช่วงหลายทศวรรษแห่งประวัติศาสตร์ ก่อนที่จะสูญเสียพื้นที่และโอกาสให้กับจีน ในช่วงปี 2005 ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญก่อนที่รัฐบาลศรีลังกาจะเผด็จศึกและยุติสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อมากว่า 3 ทศวรรษลงได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดในปี 2009 รัฐบาลจีนแทรกเข้ามามีบทบาทในศรีลังกาด้วยการให้ความช่วยเหลือทางการทหารมูลค่ากว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2005 ซึ่งนับเป็นจังหวะก้าวที่สอดรับกับสถานการณ์ความต้องการของรัฐบาลศรีลังกาภายใต้การนำของ Mahinda Rajapaksa และเป็นจุดเริ่มต้นของทั้งการสานสายสัมพันธ์และการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ใหญ่ว่าด้วย String of Pearls และ One Belt, One Road (OBOR) ที่มีศรีลังกาประกอบส่วนอยู่ในยุทธศาสตร์นี้ด้วย การลงทุนของจีนในโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของศรีลังกาในยุคหลังสงครามกลางเมือง ดำเนินไปท่ามกลางอัตราเร่ง

Read More

ขยะ: ปัญหาที่รอการจัดการ

ทุกครั้งที่สังคมไทยดำเนินผ่านช่วงเวลาพิเศษไม่ว่าจะเป็นเทศกาลตามประเพณีนิยม หรือแม้กระทั่งช่วงวันหยุดยาวที่ทำให้ผู้คนในสังคมไทยหลั่งไหลและสัญจรเดินทางไปในถิ่นต่างๆ ดูเหมือนว่าข่าวคราวว่าด้วยสถิติจำนวนผู้ประสบภัยหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจะเป็นข่าวสารที่ตอกย้ำความน่าสะพรึงกลัวของถนนหลวงเมืองไทยได้ดีไม่น้อย และทำให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนต้องรณรงค์ป้องกันอุบัติภัยกันเป็นระยะประหนึ่งเป็นสิ่งที่ควบคู่กันในทุกช่วงเทศกาลเลยทีเดียว นอกเหนือจากปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากการสัญจรเดินทางในช่วงเทศกาลนี้แล้ว ดูเหมือนว่าประเด็นว่าด้วยความสะอาด ที่มีปัญหาขยะและสิ่งปฏิกูลตกค้างจำนวนมากจากเทศกาลต่างๆ ที่ทั้งรอคอยการจัดเก็บและจัดการจะเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ไม่เพียงแต่จะเป็นปัญหาในระดับจิตสำนึกทั่วไป หากยังเป็นประเด็นที่ต้องการการถกแถลงในระดับชาติว่าจะดำเนินการหรือมีนโยบายอย่างไรด้วย ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา มาตรวัดว่าด้วยเรื่องขยะในแต่ละท้องที่ดูจะมีนัยความหมายที่แตกต่างกันออกไปไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นในเขตพื้นที่ถนนข้าวสารที่ถือเป็นไฮไลต์ในการเล่นสงกรานต์ของ กทม. ที่มีปริมาณขยะลดลงจากปีที่ผ่านมา ซึ่งมีปริมาณขยะมากถึง 73.5 ตันเหลือเพียง 34 ตัน ขณะที่ถนนสีลมมีปริมาณขยะลดลง 40.06 ตัน จากที่ปีที่ผ่านมามีขยะรวม 73.19 ตันเหลือเพียง 33.13 ตันในปีนี้ หากประเมินจากเพียงสองจุดที่ว่านี้ อาจให้ภาพที่ดูประหนึ่งสมือนว่าสถานการณ์ขยะในช่วงเทศกาลสงกรานต์มีแนวโน้มดีขึ้น แต่หากประเมินจากมิติของจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงหรือบรรยากาศโดยรวมที่ค่อนข้างซบเซาจากปีก่อน ปริมาณขยะที่ว่านี้อาจสะท้อนภาพมุมกลับของภาวะเศรษฐกิจ มากกว่าที่จะเป็นดัชนีชี้วัดจิตสำนึกหรือความสามารถในการบริหารจัดการขยะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ เพราะในขณะที่ข้าวสารและสีลมมีปริมาณขยะลดลง ข้อเท็จจริงอีกด้านกลับพบว่าปริมาณขยะที่ย่าน RCA ได้พุ่งทะยานขึ้นจากที่มีขยะ 34.1 ตันในปีที่ผ่านมา มาเป็น 120 ตันในปีนี้ หรือเพิ่มขึ้น 85.9 ตัน ส่วนที่สยามสแควร์ ก็มีปริมาณขยะเพิ่มขึ้น 3.6 ตันจาก 4.8 ตันในปีที่ผ่านมา เป็น 8.4 ตันในปีนี้ ตัวเลขปริมาณขยะโดยรวมจึงไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด หากแต่ในความเป็นจริงกลับมีปริมาณและตัวเลขเพิ่มขึ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องบริหารจัดการอีกด้วย อย่างไรก็ดี กรณีของขยะไม่เพียงแต่จะเป็นประเด็นปัญหาให้สังคมไทยบริหารจัดการเท่านั้น

Read More

อาหารประจำชาติ

   กระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าด้วย พริกแกง ดูจะเป็นไปอย่างคึกคักหนักหน่วงอย่างยิ่งไม่เฉพาะในโลกโซเชียลมีเดีย หากแต่ดูเหมือนบรรดานักวิจารณ์ภาพยนตร์จำนวนไม่น้อยต่างก็แสดงทัศนะด้านลบต่อภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวอย่างเผ็ดร้อนไปตามชื่อเรื่อง ความเป็นไปของวัฒนธรรมอาหารในด้านหนึ่งคือความลื่นไหลของทั้งประสบการณ์และการแลกเปลี่ยนสัมพันธ์ที่สามารถไล่เรียงตั้งแต่ระดับปัจเจกชนไปถึงระดับชุมชนหมู่บ้าน กระทั่งก่อรูปเป็นกระแสสำนึกในระดับประเทศชาติ ให้เก็บรับกลายเป็นวัฒนธรรมอาหารและการบริโภคไปโดยปริยาย ความพยายามที่จะผูกขาดยึดโยงแบบเหมารวมทั้งในมิติของวิธีการปรุงก็ดีหรือแม้กระทั่งเครื่องเคราวัตถุดิบในการปรุงอย่างกำหนดตายตัวในเมนูอาหารหลากหลายจึงเป็นเรื่องที่สวนทางกับข้อเท็จจริงของวัฒนธรรมอาหาร  ยิ่งเมื่อผูกสานผสมรวมเข้ากับวิถีคิดแบบชาตินิยมคับแคบยิ่งทำให้คำว่า อาหารประจำชาติ กลายเป็นเพียงเรื่องขบขันที่น่าเสียดาย ชนิดที่หัวเราะไม่ออกร้องไห้ก็ไม่ได้ และอาจทำให้เมนูอาหารประจำชาติที่ว่าถูกทิ้งร้างให้จมปลักอยู่ในเงามืดของมุมห้องครัว และปรากฏเหลือเพียงชื่อให้ได้กล่าวถึงแต่ไร้สรรพรสที่จะหยิบยื่นให้สัมผัส หากสำหรับครัวศรีลังกาซึ่งวิวัฒน์ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมหลากหลายทั้งจากการที่เป็นสถานีการค้าสำคัญตั้งแต่ครั้งอดีต หรือแม้กระทั่งการเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก ทำให้อาหารพื้นถิ่นของศรีลังกาอุดมด้วยเรื่องราวและรากฐานทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ที่ผสานเข้ากับภูมิปัญญาและวัตถุดิบประจำถิ่นที่กอปรส่วนเข้ามาเป็นอาหารของศรีลังกาในปัจจุบัน แม้ว่าอาหารจานหลักของศรีลังกาจะอยู่บนพื้นฐานที่มีข้าว มะพร้าวและเครื่องเทศหลากหลายเป็นองค์ประกอบหลัก โดยเฉพาะเครื่องเทศที่มีประวัติศาสตร์เกี่ยวพันกับศรีลังกาทั้งในฐานะผู้ผลิตสำคัญและการเป็นสถานีการค้าที่มีเครื่องเทศจากทุกภูมิภาคของโลกเคลื่อนตัวผ่าน ทำให้อาหารของศรีลังกาเต็มไปด้วยสีสันและรสชาติที่หลากหลายตามแต่จะปรับเข้าหารสนิยมของผู้บริโภคและสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นถิ่นด้วย สำรับอาหารของศรีลังกานอกจากจะมีข้าวสวยที่ผ่านการหุงสุกประกอบส่วนด้วยเครื่องแกง ที่ถือเป็นสำรับอาหารที่มีต้นทางและเป็นประหนึ่งวัฒนธรรมร่วมอยู่ในอนุภูมิภาคเอเชียใต้ หากมีความหลากหลายทั้งในมิติของรสชาติที่ไล่ระดับความเผ็ดร้อน หรือแม้กระทั่งเนื้อสัตว์แหล่งโปรตีนที่จะเติมเต็มคุณค่าสารอาหาร ทั้งปลา ปู กุ้ง หมู ไก่ หรือแม้กระทั่งเนื้อแพะ วัฒนธรรมอาหารที่ลื่นไหลและอบอวลคละคลุ้งในลักษณะเช่นว่านี้ ทำให้ศรีลังกายากที่จะระบุให้อาหารสำรับใดหรือจานใดจานหนึ่งเป็นอาหารประจำชาติของศรีลังกาแต่โดยลำพัง หากเมื่อกล่าวถึงอาหารยอดนิยมของศรีลังกาแล้วล่ะก็ คงได้ลิสต์รายชื่อออกมาเป็นหางว่าวอย่างแน่นอน ยังไม่นับรวมการผสมผสานทางวัฒนธรรมที่เป็นมรดกจากยุคอาณานิคมเช่น Lamprais หรือข้าวห่อใบตองซึ่งมีต้นทางมาจากวัฒนธรรมอาหารของพวก Dutch Burgher ที่มีลักษณะเฉพาะด้วยการนำข้าวหุงสุกคลุกเคล้าเข้ากับเครื่องเทศและเครื่องแกงควบคู่ด้วยเนื้อสัตว์ ก่อนจะห่อด้วยใบตองแล้วนำไปอบ ซึ่งก็คือการหุงปรุงรอบที่สอง มรดกของอาหารสำรับดังกล่าวนี้ อาจกล่าวได้ว่า Lamprais เป็นประหนึ่งต้นทางของการห่อข้าวให้เป็น Lunch Packett สำหรับวิถีชีวิตในเมืองใหญ่ในปัจจุบัน แม้ว่าจะมีการย่อส่วนโดยตัดใบตองและการอบครั้งที่สองออกไปให้เหลือเพียงข้าวกับเครื่องแกงและเครื่องเคียงที่อุดมด้วยสารอาหารและความสะดวกในการพกพา ขณะเดียวกัน การนำข้าวมาแปรรูปเป็นแป้งข้าวเจ้าผสมเข้ากับกะทิมะพร้าวและเครื่องเทศ ก่อนจะนำไปหมักเพื่อให้เกิดเป็น Hoppers หรือแป้งทอดในกระทะเพื่อให้เกิดเป็นรูปทรงคล้ายแพนเค้กที่มีขอบสูงก็เป็นอีกหนึ่งในทางเลือกสำหรับการเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรต หรือเพิ่มรสชาติด้วยการทำเป็น Egg

Read More

เมื่อยักษ์ไทยบุกกรุงลงกา

  แวดวงอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปในศรีลังกาในห้วงยามนับจากนี้ดูจะอุดมด้วยรสชาติหลากหลายเพิ่มขึ้น หลังจากที่ปรากฏข่าวยักษ์ใหญ่และผู้นำในอุตสาหกรรมอาหารจากเมืองไทยในนาม เจริญโภคภัณฑ์ ตัดสินใจเคลื่อนทัพเข้าเติมเต็มสีสันด้วยการครอบกิจการของ Norfolk Foods เมื่อกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ความเคลื่อนไหวของเครือเจริญโภคภัณฑ์เข้าสู่ตลาดศรีลังกาในครั้งนี้ดำเนินการโดยผ่านกลไกของ CPF Investment ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในโครงสร้างของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (CPF) ด้วยการซื้อหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 80 ของบริษัท Norfolk Foods  โดยเป็นการซื้อหุ้นจากทั้งที่ถือครองโดย Expolanka Holdings ร้อยละ 50 และส่วนที่เหลือจาก Mohamed Ziauddin ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนประมาณ 4 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 140 ล้านบาท การรุกคืบของ CPF ในครั้งนี้ถือเป็นการเปิดแนวรุกใหม่ครั้งสำคัญในอุตสาหกรรมอาหารของศรีลังกา เพราะแม้ว่า Norfolk Foods ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 1994 โดยมี “Crescent” เป็นแบรนด์สำคัญจะอยู่ในฐานะผู้ประกอบการลำดับที่ 3-4 ในอุตสาหกรรมนี้  แต่หากพิจารณาจากความชำนาญการและช่องทางการจัดจำหน่ายของ Norfolk โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มธุรกิจ HoReCa ที่กำลังขยายตัวเติบโตอย่างรวดเร็วควบคู่กับธุรกิจท่องเที่ยวของศรีลังกาแล้ว  นี่อาจเป็นข้อต่อทางธุรกิจที่สำคัญมากสำหรับ CPF ในอนาคตและสอดรับกับยุทธศาสตร์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์อาหารที่ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการผลิตเพื่อค้าปลีก หากแต่ยังให้ความสำคัญกับธุรกิจค้าส่งในกลุ่ม

Read More

ปรากฏการณ์ KABALI

 Column: AYUBOWAN สันทนาการหลักๆ ของชนชาวศรีลังกานอกจากจะออกมาหย่อนใจในสวนสาธารณะ หรือรวมกลุ่มเล่นกีฬากันอย่างสนุกสนานแล้ว ดูเหมือนว่าโรงภาพยนตร์ ก็เป็นแหล่งสันทนาการใหญ่ที่ดึงดูดผู้ชมได้อย่างหนาแน่น ความเป็นไปของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ศรีลังกา ในด้านหนึ่งก็คงคล้ายและใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียใต้อีกหลากประเทศที่ถูกบดบังไว้ด้วยภาพยนตร์จาก Bollywood ของอินเดียอยู่เป็นด้านหลัก โดยเฉพาะจากข้อเท็จจริงที่ว่า อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของศรีลังกาซึ่งเริ่มต้นขึ้นในปี 1947 หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เกิดขึ้นจากผลของผู้อำนวยการสร้างจากอินเดียใต้ ที่ทำให้ภาพยนตร์ศรีลังกาในยุคบุกเบิก ดำเนินไปท่ามกลางมิติของเทคนิควิธีการเล่าเรื่อง การถ่ายทำตามขนบแบบภาพยนตร์อินเดียไปโดยปริยาย แม้ว่าภาพยนตร์ศรีลังกาที่ผลิตขึ้นในช่วงที่ผ่านมาส่วนใหญ่ก็ผลิตภายใต้สื่อภาษาสิงหล ซึ่งเป็นภาษาหลักและเป็นภาษาของชนหมู่มากของศรีลังกา แต่ภาพยนตร์ภาษาฮินดีจากอินเดียก็ได้รับความสนใจและครองความนิยมในหมู่ผู้ชมได้เสมอ ประเมินในมิติที่ว่านี้ก็คงไม่แตกต่างจากแฟนหนังชาวไทยที่พร้อมจะซื้อบัตรเข้าชมภาพยนตร์จาก Hollywood มากกว่าที่จะสนับสนุนภาพยนตร์ไทยดีๆ สักเรื่อง หรือในความเป็นจริงภาพยนตร์ไทยดีๆ ยังไม่ค่อยมีให้สนับสนุนก็เป็นได้ แต่เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาพยนตร์ภาษาทมิฬจากฐานของอุตสาหกรรมภาพยนตร์อีกแห่งที่เมือง Kodambakkam ในเขต Chennai รัฐ Tamil Nadu ที่ได้รับการเรียกขานว่าเป็น Kollywood ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ที่ไม่จำกัดเฉพาะในบริบทของเมือง Chennai หรือในและอาณาเขตแว่นแคว้นของรัฐ Tamil Nadu ทางตอนใต้ของอินเดียเท่านั้น หากยังแผ่ข้ามมาสู่ศรีลังกาอีกด้วย ภาพยนตร์ภาษาทมิฬในนาม Kabali กลายเป็นหัวข้อสนทนาที่สร้างความตื่นตาตื่นใจอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะจากข้อเท็จจริงที่ว่า Kabali สร้างสถิติใหม่เป็นภาพยนตร์อินเดียที่ทำรายได้สูงสุดจากการฉายทั้งในโรงภาพยนตร์ 3,200 แห่งในอินเดียและอีกจำนวนหนึ่งในต่างประเทศในช่วงสัปดาห์แรก ด้วยมูลค่ารวมมากถึง 33 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื้อหาของ

Read More

ไข้เลือดออก

 Column: AYUBOWAN  “อาโรคฺยปรมา ลาภา” ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ เป็นพุทธปรัชญาที่เชื่อว่าท่านผู้อ่านทุกท่านคงตระหนักและเข้าใจเป็นอย่างดี ซึ่งในสังคมศรีลังกาที่ถือพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลักก็คงถือคตินี้ไม่แตกต่างกัน หากแต่ช่วงที่ผ่านมา หลังจากที่ได้รับมรสุมจนเกิดเหตุน้ำท่วมและดินถล่มในหลายพื้นที่ สิ่งที่ติดตามมาก็คือปริมาณน้ำที่ท่วมขังในแต่ละจุดกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยเฉพาะยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำพาโรคไข้เลือดออก หรือ Dengue fever อีกด้วย ภาวะการระบาดของไข้เลือดออกในศรีลังกาโดยปกติจะดำเนินเป็นประหนึ่งวงรอบที่มีการระบาดชุกชุมในช่วงปลายฝนต้นหนาวที่เริ่มมีการระบาดหนาแน่นตั้งแต่เดือนตุลาคมต่อเนื่องมาจนถึงกุมภาพันธ์ โดยมีเดือนธันวาคมและมกราคมเป็นช่วงที่มีการรายงานเกี่ยวกับผู้ป่วยไข้เลือดออกมากที่สุด จากสถิติของสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุขศรีลังการะบุว่า ในช่วงปี 2014 พบว่ามีผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออกสูงมากถึง 47,500 ราย โดยในจำนวนที่ว่านี้เป็นผู้ป่วยในเขตกรุงโคลัมโบมากถึง 15,000 ราย เรียกได้ว่าผู้ป่วยจำนวนกว่า 1 ใน 3 เป็นผู้ป่วยในเขตเมือง ความจริงในเรื่องดังกล่าวนี้อาจแยกพิจารณาได้เป็นสองกรณีคือเขตเมืองเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดกับอีกด้านหนึ่งก็คือผู้คนในเขตเมืองมีโอกาสเข้ารับการรักษาพยาบาลมากกว่าผู้คนในเขตห่างไกล ทำให้สถิติเหล่านี้กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มประชากรชาวโคลัมโบ อย่างไรก็ดี การควบคุมโรคไข้เลือดออกของศรีลังกาในช่วงปีถัดมานับว่าประสบผลสำเร็จพอสมควรเพราะในปี 2015 จำนวนผู้ป่วยด้วยไข้ dengue ลดลงเหลือเพียง 30,000 รายหรือลดลงจากปีก่อนหน้ามากกว่าร้อยละ 30 เลยทีเดียว กระบวนการในการติดตามโรคของศรีลังกานับว่าอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ เพราะนอกจากจะติดตามความคืบหน้าอาการป่วยของผู้ติดเชื้อแต่ละรายผ่านโครงข่ายโรงพยาบาลและเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขแล้ว หน่วยงานเทศบาลในพื้นที่ก็ทำงานประสานเพื่อป้องกันการระบาดอย่างต่อเนื่อง ด้วยการฉีดพ่นสารเคมีเพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในพื้นที่เสี่ยงด้วย แต่สำหรับปี 2016 ดูเหมือนว่าสถานการณ์ไข้ Dengue ในศรีลังกาจะกลับเข้าสู่ภาวะที่ต้องวิตกกังวลมากขึ้นเมื่อปรากฏว่าเพียงระยะเวลา 6 เดือนของครึ่งปีแรกก็มีจำนวนผู้ป่วยไข้ Dengue

Read More

รถประจำตำแหน่ง

 Column: AYUBOWAN ข่าวใหญ่ในสังคมศรีลังกานับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ดูจะมีแต่เรื่องราวและเหตุร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนในวงกว้างต่อเนื่องหลากหลายเหลือเกิน นับตั้งแต่เหตุพายุฝนฟ้ากระหน่ำแบบไม่มีโอกาสให้หยุดพัก จนเป็นเหตุให้ประชาชนในหลายพื้นที่ของศรีลังกาต้องเผชิญกับภาวะน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากและต้องพลัดถิ่นที่อยู่ ซ้ำร้ายปริมาณน้ำฝนที่ถูกดูดซับไว้ในผืนดินยังเป็นเหตุให้เกิดดินถล่มในหลายพื้นที่ติดตามมา การส่งกำลังบำรุงและหน่วยบรรเทาสาธารณภัยเข้าไปในพื้นที่ ซึ่งกระทำได้อย่างยากลำบากอยู่แล้ว ยิ่งต้องเผชิญกับอุปสรรคและความท้าทายยิ่งขึ้นไปอีก ความวัวว่าด้วยอุทกภัยและแผ่นดินถล่มยังไม่ทันจางหายก็เกิดเหตุคลังแสงสรรพวุธระเบิดราพณาสูรแม้จะมีความพยายามปิดข่าวไม่ให้ตกเป็นประเด็นทางการเมือง แต่ข่าวที่ว่านี้ก็สร้างความประหลาดใจให้กับผู้เกี่ยวข้องไม่น้อย และเชื่อมโยงไปสู่ประเด็นว่าด้วยการก่อวินาศกรรมเพื่อหวังผลทางการเมืองระหว่างกลุ่มการเมืองที่ขัดแย้งกันด้วย ความสูญเสียจากเหตุการณ์ทั้งสองข้างต้น แม้จะได้รับคำยืนยันจากหน่วยงานรัฐว่าจะเร่งเข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทั้งสองกรณี แต่กระบวนการต่างๆ ดูจะวิ่งตามความคาดหวังของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุได้ไม่ดีเท่าที่ควรและกลายเป็นความไม่พึงพอใจว่าด้วยความล่าช้าในการจัดการกับปัญหาไปในที่สุด ประเด็นว่าด้วยความไม่พึงพอใจจากประสิทธิภาพในการบริหารจัดการแก้ไขและบรรเทาความเดือดร้อนจากเหตุภัยธรรมชาติและคลังแสงระเบิด ผสมรวมเข้ากับมูลเหตุเดิมว่าด้วยภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวที่นำไปสู่ความฝืดเคืองระดับครัวเรือนกลายเป็นปัจจัยเร่งความไม่พึงพอใจรัฐบาลในหมู่ประชาชนให้เพิ่มมากขึ้นทุกขณะ สถานการณ์ของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูจะถูกผลักให้ตกต่ำและมีสถานภาพห่างไกลจากความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไปยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อปรากฏข่าวว่าบรรดารัฐมนตรีและข้าราชการในกระทรวงทบวงกรมของศรีลังกา ต่างได้รับการปูนบำเหน็จให้มีรถยนต์ประจำตำแหน่งภายใต้วงเงินงบประมาณรวมกว่า 1.2 พันล้านศรีลังการูปี หรือกว่า 380 ล้านบาท สำหรับสั่งนำเข้ารถยนต์หรูรวมกว่า 30 คัน กรณีดังกล่าวส่งผลให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางถึงความสำคัญจำเป็นในการจัดสรรงบประมาณขนาดใหญ่เช่นว่านี้ เพียงเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเหล่าบรรดาท่านผู้นำและผู้ที่เปี่ยมล้นด้วยบุญญาบารมีในคณะรัฐบาล ในขณะที่ประชาชนยังอยู่ในภาวะทุกข์ยากแสนสาหัส ยังไม่นับรวมถึงภาพที่ขัดกันอย่างสิ้นเชิงของการจัดสรรงบประมาณเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัยเร่งด่วน ที่ดูจะมีความสำคัญจำเป็นมากกว่า และยังขัดต่อหลักธรรมาภิบาลที่รัฐบาลศรีลังกาพยายามประกาศกร้าวและใช้เป็นเครื่องมือนำการลดทอนความน่าเชื่อถือของคณะรัฐบาลชุดก่อนอย่างสิ้นเชิง นอกเหนือจากจังหวะก้าวและห้วงเวลาในการสั่งซื้อ ซึ่งดูจะมีความไม่เหมาะสมอย่างยิ่งในความรู้สึกของประชาชนทั่วไปแล้ว ข้อวิพากษ์วิจารณ์ถึงการสั่งซื้อรถยนต์ประจำตำแหน่งที่แหลมคมมากประการหนึ่งก็คือ ในขณะที่รัฐบาลกำลังออกกฎหมายเพิ่มอัตราภาษีจากประชาชน การสั่งซื้อรถยนต์หรูดังกล่าวจะช่วยเพิ่มพูนศักยภาพทางการผลิตให้กับสังคมศรีลังกาโดยรวมอย่างไร  สิ่งนี้ดูจะส่งผลให้รัฐบาลที่ท่องบ่นเรื่องการปราบกลโกงและคอร์รัปชั่น หรือการดำเนินนโยบายสาธารณะอย่างมีธรรมาภิบาลหม่นหมองและต้องราคีเสียเอง และย่อมไม่ใช่สิ่งที่ประชาชนชาวศรีลังกาคาดหวังจากรัฐบาลของพวกเขาอย่างแน่นอน ท่ามกลางความไม่พึงพอใจที่แผ่กว้างในหมู่ประชาชนจากกรณีที่ว่านี้ เหล่าบรรดารัฐมนตรีและข้าราชการที่รับการปูนบำเหน็จรถยนต์หรูประจำตำแหน่งต่างออกมาให้สัมภาษณ์ในลักษณะใกล้เคียงกันว่า รถยนต์ประจำตำแหน่งที่พวกเขากำลังสั่งซื้อนี้ เป็นไปเพื่อผลประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะทำให้พวกเขาสามารถปฏิบัติภารกิจและนำพานโยบายไปสู่การปฏิบัติให้กับประชาชนได้ดียิ่งขึ้น รัฐมนตรีบางรายถึงกับระบุว่า เนื่องจากถนนหนทางในหลายพื้นที่ของประเทศไม่อยู่ในสภาพที่รถยนต์ทั่วไปจะเข้าถึงได้ ดังนั้นพวกเขาจึงจำเป็นต้องมีรถยนต์ประเภทขับเคลื่อนสี่ล้อและเครื่องยนต์กำลังแรงสำหรับปฏิบัติภารกิจกันเลยทีเดียว ได้ยินได้ฟังคำเอ่ยอ้างจากบรรดาผู้อุตส่าห์เสียสละมาทำประโยชน์เพื่อชาติอย่างนี้ ประชาชนผู้กำลังเดือดร้อนจากปัญหาปากท้องว่าด้วยพิษเศรษฐกิจ และข้อเท็จจริงที่ว่าศรีลังกายังมีหนี้สินสาธารณะอีกเป็นจำนวนมากรอการจ่ายคืน ก็คงอยู่ในภาวะที่ “หัวร่อไม่ออก ร้องไห้ก็ไม่ได้” ในแบบที่ท่านผู้อ่านในเมืองไทยอาจคุ้นเคยกันบ้างไหมคะ กระแสวิพากษ์และไม่พอใจอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้ในเวลาต่อมา Ranil  Wickremesinghe นายกรัฐมนตรีศรีลังกามีคำสั่งระงับการสั่งซื้อรถยนต์ประจำตำแหน่งที่อื้อฉาวนี้เป็นการชั่วคราว จนกว่าการบูรณะฟื้นฟูและช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ดินถล่ม

Read More

เจ็ดปีหลังสงครามกับปมในใจ

 Column: AYUBOWAN เดือนพฤษภาคม 2016 ที่ผ่านมา หากเป็นช่วงที่ศรีลังกายังมีผู้นำชื่อ Mahinda Rajapaksa หรือผู้คนในเครือข่ายของเขาอยู่ในอำนาจ เชื่อว่าบรรยากาศภายในของศรีลังกาคงเต็มไปด้วยกระแสข่าวโหมประโคมถึงชัยชนะเมื่อปี 2009 เหนือกลุ่มกองกำลังติดอาวุธพยัคฆ์ทมิฬอีแลม (Liberation Tigers of Tamil Eelam: LTTE) ที่เป็นจุดเริ่มต้นศักราชแห่งการพัฒนาและสันติสุข หากแต่ในวันนี้ผู้ครองอำนาจทางการเมืองในศรีลังกา แม้จะเคยร่วมมีบทบาทในกรณีดังกล่าว แต่ด้วยสถานะการเป็นคู่แข่งขันทางการเมือง การกล่าวถึงคุณความดีของคู่ปฏิปักษ์ คงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ มากนัก  ในทางกลับกันยังต้องพยายามสืบหาจุดอ่อนและบาดแผลจากเหตุการณ์ครั้งนั้นมาเป็นเครื่องมือในการลดทอนความน่าเชื่อถือของฝ่ายตรงข้ามไปในตัวด้วย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากประการหนึ่งก็คือ ภายหลังจากที่รัฐบาลศรีลังกาประกาศชัยชนะเหนือกองกำลังพยัคฆ์ทมิฬ และปิดฉากสงครามกลางเมือง (Civil War) สู่ความสงบเมื่อเจ็ดปีที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งดูเหมือนว่าสถานะของศรีลังกาโดยเฉพาะในมิติของโอกาสทางการค้าการลงทุนแห่งใหม่ก็ฉายโชนออกมาเกือบจะทันที นักธุรกิจและสังคมการเมืองระหว่างประเทศต่างรอคอยจังหวะที่จะเข้ามาเติมเต็มช่องว่างทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่หายไปนานกว่า 3 ทศวรรษ แต่บางส่วนก็ยังหยั่งท่าทีด้วยการตั้งข้อสงวนว่าด้วยการละเมิดสิทธิมนุษยชนและความโปร่งใสทางการเมือง ความเป็นไปของศรีลังกานับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามกลางเมือง ติดตามมาด้วยโครงการพัฒนาหลากหลายและการหลั่งไหลเข้ามาลงทุนของนักลงทุนจากต่างประเทศ ที่ร่วมเสริมให้ภาพลักษณ์ของศรีลังกาในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเป็นประหนึ่งอัญมณีที่พร้อมจะถูกขัดเกลาแต่งเติมสีสันให้สุกสกาวและเจิดจรัสอย่างเต็มที่ เขตบ้านย่านเมืองโดยเฉพาะในโคลัมโบ ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ และการพัฒนาโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่ทำให้เกิดภูมิทัศน์ใหม่ๆ ไม่เว้นในแต่ละเดือน ขณะที่จำนวนรถยนต์ที่สั่งนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อสนองความต้องการและดูดซับปริมาณเม็ดเงินที่เกิดจากภาพรวมเศรษฐกิจที่เติบโตแบบก้าวกระโดด ทำให้ถนนในกรุงโคลัมโบมีสภาพไม่ต่างกับลานจอดรถ หรือโชว์รูมรถยนต์ขนาดใหญ่ ที่มีรถยนต์เบียดแทรกอัดแน่นจนอาจเรียกได้ว่าล้นพื้นที่ก็ว่าได้ การสั่งซื้อและนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศกลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาในการบริหารและจัดการความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และทำให้รัฐบาลศรีลังกาต้องประกาศชะลอการนำเข้ารถยนต์ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศในช่วงที่ผ่านมาอีกด้วย แต่นั่นเป็นเพียงปัญหาทางเศรษฐกิจที่ไม่ต่างจากยอดภูเขาน้ำแข็งที่พ้นระดับน้ำให้ได้เห็นเป็นประจักษ์ ขณะที่ลึกลงไปเบื้องล่างปัญหาว่าด้วยโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับประชาชนคนรากหญ้าที่เป็นฐานล่างของสังคม กำลังเผชิญกับประเด็นปัญหาที่หนักหน่วงกว่ามาก ประเด็นว่าด้วยการกระจายโอกาสและรายได้ ดูจะเป็นคุณลักษณะร่วมที่เกิดขึ้นในเกือบทุกหนแห่งในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งสำหรับสังคมศรีลังกาที่มีฐานประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวสิงหล กรณีที่ว่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งในความไม่พึงพอใจที่ประชาชนมีต่อนโยบายของรัฐมาอย่างต่อเนื่อง เพราะแม้จะเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของประเทศแต่โอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรกลับเป็นไปอย่างจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อภาคธุรกิจขยายตัวอย่างรวดเร็วในระยะหลังจากที่สงครามกลางเมืองสงบลง ชาวสิงหลในท้องถิ่นห่างไกลยิ่งพบว่าพวกเขาถูกละเลยให้ถอยห่างจากกระบวนการพัฒนาที่กำลังโหมประโคมในหัวเมืองใหญ่และพื้นที่ที่ประสบภัยสงครามในช่วงก่อนหน้านี้ด้วย ความไม่สมดุลของการพัฒนาและปัญหาทางเศรษฐกิจ เริ่มส่งผลให้ชาวสิงหลที่เป็นฐานเสียงใหญ่เริ่มแสดงความไม่พึงพอใจต่อกลไกทางการเมือง

Read More