ข้าว: ความมั่นคงทางอาหาร และสังคมไทย
“... ข้าวต้องปลูก เพราะอีก 20 ปีประชากรอาจจะ 80 ล้านคน ข้าวจะไม่พอ ถ้าลดการปลูกข้าวไปเรื่อยๆ ข้าวจะไม่พอ เราจะต้องซื้อข้าวจากต่างประเทศ เรื่องอะไร ประชาชนคนไทยไม่ยอม คนไทยนี้ต้องมีข้าว แม้ข้าวที่ปลูกในเมืองไทยจะสู้ข้าวที่ปลูกในต่างประเทศไม่ได้ เราก็ต้องปลูก...” กระแสพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2536 นอกจากจะเป็นมิ่งขวัญและให้ความสำคัญแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวแล้ว ยังสะท้อนพระวิสัยทัศน์ที่ลุ่มลึกในมิติของความมั่นคงทางอาหารอย่างหาที่เปรียบมิได้ เป็นความมั่นคงในมิติที่แตกต่างออกไปจากความนึกคิดของบรรดาขุนศึกนายพลและผู้มีอำนาจในการบริหารประเทศในปัจจุบัน ซึ่งเติบโตมาท่ามกลางมิติของความมั่นคงแบบเดิม ที่เน้นย้ำเรื่องการมีอาวุธยุทโธปกรณ์ไว้สร้างสมดุลแห่งความหวาดระแวง และอาจจะไม่มีความเข้าใจเลยจนพร้อมจะกล่าวล้อเล่นด้วยการไล่ชาวนาไปขายปุ๋ยแทน เมื่อถูกถามว่าจะแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำแต่ราคาปุ๋ยแพงอย่างไร สติปัญญาในการแก้ปัญหาราคาข้าวที่ดำเนินอยู่ในห้วงเวลาปัจจุบันกลายเป็นการผลิตซ้ำมาตรการที่คณะผู้บริหารชุดปัจจุบันพยายามจะชี้ว่ามีความผิดพลาดในอดีต แต่แล้วในที่สุดก็ด้อยความสามารถที่จะคิดหาวิธีในการแก้ไข เยียวยาให้ไปสู่มิติใหม่ที่ไปไกลกว่าเดิม ข้อเท็จจริงของความคืบหน้าในการแก้ปัญหาว่าด้วยเรื่องข้าวในปัจจุบัน ก็คือ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สั่งการให้ทั้งกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงพาณิชย์ และกลไกของ คสช. ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบโรงสีและโกดังข้าว ควบคู่กับการพบเกษตรกร พร้อมกับมาตรการช่วยเหลือและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว มาตรการที่ว่านี้ประกอบด้วย สินเชื่อชะลอขายข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาตันละ 13,000 บาท จากฐานการคำนวณที่ว่า ข้าวในปัจจุบันมีราคาอยู่ระหว่างตันละ 9,700-12,000 บาท จึงควรมีราคาเฉลี่ยที่ตันละ 11,000 บาท โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
Read More