กฎ กติกา มารยาท ข้อพึงปฏิบัติก่อนออกไปปั่น
เหตุการณ์ที่นักปั่นชาวชิลีผู้กำลังสร้างสถิติโลก ด้วยการเดินทาง 5 ทวีปในเวลา 5 ปี กลับต้องหยุดสถิติลงและเสียชีวิตในประเทศไทย อีกทั้งยังมีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับนักปั่นจักรยานไทยอีกหลายราย ภาพเหตุการณ์เหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการที่ผู้ขับขี่รถยนต์ไม่มีความรับผิดชอบต่อชีวิตผู้ร่วมทาง การไม่เคารพกฎหมายจราจร รวมถึงความประมาทขณะขับขี่รถยนต์ ในแต่ละปีประเทศไทยมีสถิติคดีอุบัติเหตุจราจรทางบกสูงติดอันดับต้นๆ ของโลก และเป็นเหตุเกี่ยวกับจักรยาน 300-400 คดี ยังไม่นับรวมอุบัติเหตุที่ไม่เป็นคดี กรณีดังกล่าวส่งผลให้บรรดานักปั่นออกมารวมตัวเรียกร้องให้ภาครัฐกำหนดมาตรการและบทลงโทษอย่างจริงจัง ล่าสุดนักปั่นจักรยานกลุ่มต่างๆ จัดกิจกรรมรณรงค์ในชื่อ “เมา+ขับ=ฆาตกร” นับเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ที่หวังว่าจะช่วยเรียกสติผู้ขับขี่รถยนต์และลดจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ดี การจะลดอุบัติเหตุบนท้องถนนไทยคงต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ขับขี่รถทุกประเภท ในห้วงเวลาที่กระแสจักรยานยังคงวิ่งวนอยู่ในสังคมไทย คนไทยควรต้องเริ่มที่จะเรียนรู้กฎข้อบังคับเกี่ยวกับจักรยานเช่นเดียวกัน พ.ร.บ.จราจรทางบก ปี พ.ศ. 2522 มีข้อกำหนดในเรื่องจักรยานว่า 1. ขี่ในทางที่จัดไว้ให้ ตามมาตรา 79 ในกรณีที่ถนนมีเส้นทางจักรยานจัดเอาไว้ให้ผู้ขี่จักรยานต้องใช้ช่องทางดังกล่าวอย่างเคร่งครัด 2. กรณีถนนที่ไม่ใช่เส้นทางจักรยาน ตามกฎหมายระบุว่า ให้รถจักรยานใช้ช่องทางทางด้านไหล่ทางเป็นสำคัญ ตามระเบียบในมาตรา 80 และรถจักรยานที่ขี่ต้องจัดให้มีสิ่งของจำเป็นดังนี้ - กระดิ่งที่สามารถส่งสัญญาณเตือนได้ในระยะ 30 เมตร - เครื่องห้ามล้อหรือเบรกที่ใช้งานได้ - ต้องมีโคมไฟติดหน้ารถ 1 ดวง และส่องสว่างในระยะ 15 เมตร ติดตั้งในระดับต่ำกว่าสายตาผู้ขับขี่รถยนต์ -
Read More