Content

โครงข่ายศูนย์การค้า CPN ตั้งหลัก-ปักหมุดดูดเงิน AEC

 เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ทุกต้นปี “กลุ่มเซ็นทรัล” และแต่ละกลุ่มธุรกิจในเครือเซ็นทรัลจะทยอยออกมาแถลงผลประกอบการและทิศทางการดำเนินงานต่อสื่อมวลชน สำหรับปีนี้ ทิศทางของกลุ่มเซ็นทรัลดูจะมุ่งเน้นไปที่ความตื่นตัวในการรองรับการเปิดตัวของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ดังจะเห็นได้จากหัวข้อการเสวนาที่ถูกจัดขึ้นพร้อมกับการแถลงประจำปีครั้งนี้ นั่นคือ “AEC Challenge”  “ภูมิภาคอาเซียนจะเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ เพราะกลุ่ม AEC มี GDP ทั้งหมด 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ มีประชากร 600 ล้านคน ถือเป็นกลุ่มที่จะมีศักยภาพมาก สำหรับทิศทางในการลงทุนของเรา ก็ยังคงจะเน้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากประเทศจีนและอิตาลีที่ลงทุนไปแล้ว เราก็คงจะเน้นขยายในภูมิภาคนี้เป็นหลัก” สุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มเซ็นทรัล เกริ่น สำหรับกลุ่มเซ็นทรัลพัฒนา หรือ CPN ดูเหมือนกลยุทธ์สำคัญในการเตรียมพร้อมเข้าสู่ AEC ของกลุ่มคงอยู่ที่การเร่งเปิดศูนย์การค้าให้ครอบคลุมทุกภูมิภาค โดยเฉพาะเข้าไปจับจองพื้นที่ในจังหวัดที่อยู่ติดหรืออยู่ใกล้กับชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อรองรับการหลั่งไหลมาของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้นอีกมากภายหลังเปิด AEC อย่างเป็นทางการ ในปี 2558  ณ ชายแดนทางด้านเหนือ กลุ่ม CPN ได้ปักหมุดในจังหวัดเหนือสุดของสยามด้วย การเปิดตัว “เซ็นทรัลพลาซา เชียงราย” ตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2554

Read More

บุญชัย เบญจรงคกุล “ผมเป็นผู้เกื้อกูลศิลปะ ไม่ใช่คนเสพศิลปะ”

ชื่อของ “บุญชัย เบญจรงคกุล” กลับมาสู่ความสนใจและเป็นประเด็น ทอล์คออฟเดอะทาวน์ของผู้คนในทุกสังคมอีกครั้ง จากการประกาศแต่งงานครั้งใหม่กับว่าที่ภรรยาคนที่ 6 ซึ่งเป็นดารานักแสดงผู้โด่งดังนาม “ตั๊ก บงกช คงมาลัย”แต่ชีวิตของ บุญชัย เบญจรงคกุล มีเรื่องราวที่น่าสนใจมากกว่าที่เห็นและเป็นอยู่แม้ว่า เขาจะมีบุคลิกนิ่มนวล ประนีประนอม แต่ชีวิตที่ผ่านมาของเขา กลับต้องเผชิญความยากลำบากทางความคิดมาแล้วหลายครั้ง ซึ่งภายใต้นิยามของคำว่า “พี่ใหญ่” ที่ต้องรับผิดชอบ ดูแลและแก้ปัญหาหนี้สิน รวมถึงการสืบทอดกิจการของตระกูล ถือเป็นความท้าทายที่เขาต้องเผชิญในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เขาเกิดในย่านคนจีน ซอยตรอกโรงเลี้ยงเด็ก เป็นช่วงของการก่อร่างสร้างตัวของ ครอบครัวที่เริ่มต้นจากการค้าขายและต่อมา ขยายกิจการในแนวราบออกไปมากมาย ประสบการณ์ในวัยเด็ก ที่ได้จากการทำธุรกิจ ของพ่อและแม่จึงมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของ เขาโดยตรง บุญชัย เคยกล่าวถึงพ่อของเขาอย่างน่าสนใจว่า “พ่อจะไม่สอนพวกเราแบบตรงๆ อย่างเวลาที่ท่านไปไหน ไปค้าขาย หรือไปคุย ธุรกิจกับใคร ท่านจะพาพวกเราไปหมด ตอน เด็กๆ ก็คิดว่าเป็นส่วนเกิน แต่เป็นสิ่งที่ทำให้ เราได้เรียนรู้มาตลอด” แต่ในขณะเดียวกัน วิธีการของพ่อ ซึ่งดำเนินไปในแบบที่บุญชัย เรียกว่า hard knock คือ

Read More

ปักหมุดทั่วโลกแก้เกมภาษีนำเข้า

การตั้งงบไล่ซื้อห้างค้าปลีกทั้งในและต่างประเทศปีละ 20,000 ล้านบาท โดยเฉพาะดีลประวัติศาสตร์ที่ซีอาร์ซีกลายเป็นกลุ่มทุนค้าปลีกไทยเจ้าแรกที่บุกไปไกลถึงยุโรปอย่าง “ลา รีนาเซนเต” ขณะนี้เปิดแล้ว 11 สาขาและล่าสุดตกลงซื้อตึกขนาดใหญ่พื้นที่ 17,000 ตารางเมตร ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี มูลค่า 8,000 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงเป็นห้างค้าปลีกและจะเปิดให้บริการภายใน 3 ปีข้างหน้าการซื้อกิจการห้างสรรพสินค้า ลา รีนาเซนเต ในอิตาลีครั้งนั้น ซีอาร์ซีต้องการก้าวสู่ความเป็นผู้นำธุรกิจห้างสรรพสินค้าระดับโลกและก้าวสู่ “โกลบอล คอมปะนี”  โดยขยายแบรนด์ห้างสรรพสินค้าในกลุ่มเซ็นทรัลรีเทล จากเดิม 3 แบรนด์ เป็น 4 แบรนด์ ประกอบด้วย เซ็นทรัล เซน โรบินสัน และ ลา รีนาเซนเต ครอบคลุมการทำตลาดทุกระดับ โดยวางให้ “เซ็นทรัล” เป็นแบรนด์ ท็อปออฟเอเชีย ส่วน “ลา รีนาเซนเต” เป็นแบรนด์ท็อปออฟเวิลด์ รองรับการขยายสาขาทั้งประเทศไทยและทั่วโลกในจีนเอง ซีอาร์ซีใช้เวลาในการขยายตลาดค่อนข้างนานเพราะไม่ใช่ตลาดที่ง่าย

Read More

ทศ จิราธิวัฒน์ รุกเร็วและร้อนแรง

“รุกเร็วอย่างเดียวไม่ได้ ทุกอย่างต้องเรียบร้อยและเร็วด้วย ที่เน้นมากที่สุด คือ คุณภาพและการเติบโต” ปี 2555 ทศ จิราธิวัฒน์ เปิดเกมรุกธุรกิจค้าปลีกแบบรัวกระสุนเข้าเป้า เติบโตก้าวกระโดด ข่มขวัญคู่แข่งอย่างร้อนแรง และไม่ใช่แค่เกมในตลาดไทย แต่เร่งขยายอาณาจักร “เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น” หรือ “ซีอาร์ซี” ทั้งในอาเซียน เอเชีย ยุโรป และทุกแห่งทั่วโลกที่มีโอกาสโดยเฉพาะ “บิ๊กดีล” ที่ทศวางยุทธศาสตร์การควบรวบกิจการในช่วงเวลาไม่ถึงปี การซื้อกิจการห้างหรูอันดับ 1 ของอิตาลี “ลา รีนาเซนเต” อายุกว่า 150 ปี มูลค่ากว่า 260 ล้านยูโร หรือกว่า 10,000 ล้านบาท การเซ็นสัญญากับบริษัท พีที แกรนด์ อินโดนีเซีย เช่าพื้นที่ฝั่งตะวันออกของศูนย์การค้าแกรนด์ อินโดนีเซีย ช้อปปิ้งคอมเพล็กซ์ระดับไฮเอนด์ ใจกลางกรุงจาการ์ตา จำนวน 4 ชั้น 21,000

Read More

สัมพันธ์ฉัน “พี่-น้อง” ระหว่างเวียดนาม-ลาว

 ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับลาวลึกซึ้งขนาดไหนดูได้จากเนื้อหาที่แกนนำของทั้ง 2 ประเทศนำมาแลกเปลี่ยนกัน ระหว่างการผลัดกันเยือน เนื่องในโอกาสครบรอบ 35 ปี วันลงนามสนธิสัญญามิตรภาพความร่วมมือ และครบรอบ 50 ปี วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตวันที่ 17 กรกฎาคมที่ผ่านมา เล โห่ง อาญ สมาชิกกรมการเมือง/ประจำคณะกรรมการเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม นำคณะผู้แทนระดับสูงของพรรคและรัฐบาลเวียดนาม ไปเยือน สปป.ลาวอย่างเป็นทางการตามคำเชิญของพรรคประชาชนปฏิวัติลาวและรัฐบาล สปป.ลาว รวมทั้งได้เข้าร่วมงานชุมนุมรำลึกวันลงนามสนธิสัญญามิตรภาพความร่วมมือ ครบรอบ 35 ปี และวันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเวียดนาม-ลาว ครบรอบ 50 ปีผู้ร่วมเดินทางมีหว่าง บิ่ญ เกวิน กรรมการกลางพรรค/หัวหน้าคณะกรรมการ ต่างประเทศกลางด่าว เหวียต ตรุง กรรมการกลางพรรค/ผู้อำนวยการสำนักงานประธานประเทศหว่าง เตวิ๊น อาญ กรรมการกลางพรรค/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวหวู ตร่อง กิม กรรมการกลางพรรค/รองประธานและเลขาธิการคณะกรรมการกลางแนวร่วมปิตุภูมิเวียดนาม/ประธานสมาคมมิตรภาพเวียดนาม-ลาว และยังเป็นเอกอัครราชทูตเวียดนามประจำ สปป.ลาวทันทีที่ไปถึงกรุงเวียงจันทน์ เล โห่ง อาญได้เข้าพบกับทองสิง ทำมะวง นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว ที่สำนักงานรัฐบาลลาวนายกรัฐมนตรีทองสิงแสดงความยินดีที่เล

Read More

Grabone ความสำเร็จจากการเชื่อมผู้ขายรายย่อยกับผู้บริโภค

 ช่วงนี้ประเด็นร้อนของฝ่ายค้านนิวซีแลนด์ในการโจมตีรัฐบาลคือ การที่รัฐบาลกำลังจะขายธุรกิจหลายอย่างของรัฐที่ไม่ค่อยจะทำเงินให้กับต่างชาติ  ซึ่งคนนิวซีแลนด์ที่หวงแหนทรัพย์สมบัติของรัฐก็เห็นว่า นี่เหมือนเป็นการขายชาติ แต่ในขณะที่ธุรกิจใหญ่ๆ ทั้งของรัฐในนิวซีแลนด์กำลังทยอยขายธุรกิจให้ต่างชาติกันไม่หยุดหย่อน ก็มีธุรกิจของคนนิวซีแลนด์ที่ไม่ได้เป็นบริษัทที่มีเงินทุนมหาศาล ไม่ได้ทำธุรกิจข้ามชาติแต่กลับขยายธุรกิจไปถึงออสเตรเลียและไอร์แลนด์เรียบร้อยแล้ว ภายในเวลาไม่ถึง 2 ปีก็คือ Grabone ซึ่งเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่เป็นธุรกิจประเภทออนไลน์ที่มีไอเดียธุรกิจที่ไม่เคยมีใครคิดได้มาก่อน และสามารถทำให้เว็บไซต์ที่ไม่เคยมีใครรู้จักกลายเป็นเว็บไซต์ที่คน จำนวนมากต้องเข้าไปดูทุกวันว่าจะซื้ออะไรได้บ้างนิวซีแลนด์เป็นหนึ่งในประเทศที่คนนิยมใช้อินเทอร์เน็ตกันมาก สถิติปัจจุบันคือประชากรร้อยละ 83 ของนิวซีแลนด์ถือว่าอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งจำเป็นใน การดำรงชีวิตประจำวัน ซึ่งถือว่าสูงเป็นอันดับ 8 ของโลกเลยทีเดียว โรงเรียนในนิวซีแลนด์หลายโรงเรียนตอนนี้ เวลานักเรียนทำการบ้านส่งครูก็เปิดไฟล์ใหม่ ทำเสร็จแล้วก็บันทึกไฟล์แล้วส่งไฟล์ทางออนไลน์แทนการทำการบ้านลงสมุด และครูก็จะตรวจการบ้านทาง ออนไลน์ด้วยตัวพิมพ์สีแดง แล้วส่งไฟล์กลับมาให้นักเรียน ตัวผมเวลาทำงาน อินเทอร์เน็ตก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ การติดต่องานกับหน่วยงานราชการกับสำนัก งานทนายความอื่น หรือการติดต่อพูดคุยกับลูกความ ใช้อีเมลในการติดต่อเป็นส่วนใหญ่ คดีความและมาตรา กฎหมายส่วนใหญ่ตอนนี้ก็เปิดอ่านทางอินเทอร์เน็ต จนกระทั่งว่าถ้าวันไหนที่ออฟฟิศไม่มีอินเทอร์เน็ตสัก 3 ชั่วโมง ผมเริ่มรู้สึกว่าชีวิตที่ไม่มีอินเทอร์เน็ตเหมือน ขาดอะไรไปสักอย่าง อยากให้เน็ตกลับมาเร็วๆผมเชื่อว่าคนนิวซีแลนด์ส่วนใหญ่ก็คิดแบบที่ผมคิด หลังจากมีเว็บไซต์ Trademe ที่คนนิวซีแลนด์ ให้ความนิยมกันอย่างสูงในการซื้อขายสินค้าออนไลน์1 ทำให้นักธุรกิจรู้ว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะทำให้ธุรกิจ ของเขาเป็นที่รู้จักในชุมชนที่เขาอยู่โดยสื่ออินเทอร์เน็ต ปัญหาคือธุรกิจเล็กๆ ส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรให้ คนรู้จักธุรกิจของพวกเขาโดยสื่ออินเทอร์เน็ต เนื่องจากพวกเขาเป็นเจ้าของธุรกิจเล็ก การลงทุนมหาศาลในการโฆษณาทีวีหรือวิทยุก็เป็นไปไม่ได้ เพราะพวกเขาไม่ได้มีธุรกิจระดับประเทศที่จะทำรายได้คุ้มค่ากับการ

Read More

The three most scenic sports of Japan (1): Matsushima

 ส่วนหนึ่งในหนังสือรวบรวมบทกวี Haiku ชื่อ Oku no Hosomichi ซึ่งเป็นผลงานชิ้นโบแดงของ Matsuo Basho (ชื่อจริง Matsuo Munefusa) กวีเอกในสมัยเอโดะ (ค.ศ.1603-1868) ได้พรรณนาความงดงามของทัศนียภาพหมู่เกาะ Matsushima ที่แต่งขึ้นในปี 1689 เมื่อครั้งเดินเท้าท่องเที่ยวไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นไว้ดังนี้matsushima yaa-a matsushima yamatsushima yaโครงสร้างของกวี Haiku หนึ่งบทประกอบด้วย 17 พยางค์แบ่งออกเป็นสามวรรคในลักษณะ 5-7-5 เป็นกฎเกณฑ์ที่ท้าทายทักษะ การประพันธ์ด้วยคำที่สั้น, กระชับ และเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยปรัชญาซึ่งสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกของกวีต่อสิ่งที่ได้สัมผัสรับรู้ในขณะนั้น ปัจจุบัน กวี Haiku ไม่ได้จำกัดเฉพาะภายในญี่ปุ่นเท่านั้นทว่าเป็นที่นิยมในต่างประเทศซึ่งได้ดัดแปลงการแต่งกวี Haiku เป็นภาษาอังกฤษอีกด้วยความสละสลวยของกวี Haiku บทดังกล่าวข้างต้นนี้อยู่ที่การเลือกเพียงคำลงท้ายคำนาม “ya” กับคำอุทาน “a-a” มาร้อยเรียงกับ “matsushima” ของทุกวรรคซึ่งสะท้อนความประทับใจต่อทิวทัศน์ที่ประจักษ์อยู่เบื้องหน้าอันยากจะสรรหาคำวิเศษณ์ใดๆ มาอรรถาธิบายได้ท้องทะเลภายในอ่าว Matsushima เป็นเสมือนแผ่นผ้าใบสีครามผืนใหญ่ที่ธรรมชาติบรรจงแต่งแต้มสีเขียวเข้มของต้นสนญี่ปุ่นบนเกาะแก่งสีขาว-เทารูปทรงแปลกตาราวกับงานศิลปะชิ้นเอกที่ติดตรึงใจผู้มาเยือนและเป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปินสร้างสรรค์เพลงพื้นบ้าน,โคลงกลอน, ภาพเขียนโบราณซึ่งปรากฏหลักฐานมาแต่สมัยเฮอัน (ค.ศ.794-1192)บริบทความงามของสถานที่แห่งนี้ได้รับการสำทับอีกครั้งในบันทึกการสัญจรทั่วญี่ปุ่น (Nihon Kokujisekikou) ของ Shunsai Hayashi นักปราชญ์ ผู้ศึกษาลัทธิขงจื๊อในต้นสมัยเอโดะซึ่งระบุถึงสถานที่ 3 แห่งที่สวยงามที่สุดในญี่ปุ่นอันได้แก่ Matsushima, Amanohashidate และ Miyajima (ซึ่งอีก 2 แห่งหลังนั้นจะนำเสนอรายละเอียดในฉบับต่อๆ ไป)ในเวลาต่อมา Matsushima เป็นที่รู้จักไปทั่วญี่ปุ่นต่อเนื่องจวบจนทุกวันนี้และยังคงเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวญี่ปุ่นและชาวต่างชาติที่ต่างต้องการพิสูจน์และสัมผัสความงดงามของธรรมชาติตามคำร่ำลืออัศจรรย์ธรรมชาติของหมู่เกาะ Matsushima ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด Miyagi สันนิษฐาน ตามหลักฐานทางธรณีวิทยาว่าเดิมทีเมื่อหลายล้านปีก่อนบริเวณนี้เคยเป็นหน้าผาชายฝั่งทะเลที่เว้าแหว่งในลักษณะคล้ายกับชายฝั่งฟยอร์ด (Fjord) ของประเทศนอร์เวย์ซึ่งค่อยๆ ยุบตัวลงสู่ท้องสมุทรเบื้องล่างทีละน้อย เนื่องด้วยแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวครั้งแล้วครั้งเล่าแปรสภาพจากยอดเขาไปเป็นเกาะเหนือระดับน้ำทะเลซึ่งยืนหยัดรับแรงกัดเซาะของคลื่นและลมเป็นเวลาเนิ่นนานจนกลายเป็นผลงานประติมากรรมลอยตัวหลากรูปทรงสีนวลตา 260 เกาะที่ปกคลุมไปด้วยต้นสนญี่ปุ่น (Matsu) อันเป็นที่มาของชื่อเรียกอาณาบริเวณแถบนี้โดยการสมาสเข้ากับคำว่า Shima ที่แปลว่าเกาะด้วยลักษณะภูมิประเทศเช่นนี้การล่องเรือออกไปชมวิวหมู่เกาะรอบนอกจากท่าเรือใกล้สถานี JR Matsushima Kaikan ซึ่งใช้เวลาราว 1 ชั่วโมงสร้างความตื่นตาตื่นใจท่ามกลางธรรมชาติได้ไม่แพ้วิวพาโนรามา Shitaikan จากเนินเขาที่โอบล้อมอ่าว Matsushima อยู่รอบด้านอันได้แก่ Tomiyama ทางเหนือ, Ootakamori ทางตะวันออก, Ougidani ทางตะวันตก และ Tamonzan ทางใต้ซึ่งเป็นจุดชมหมู่เกาะ Matsushima แบบสามมิติจาก 4

Read More

“ซานไจ้” จาก C&D ถึง R&D (ตอนจบ)

 พ.ศ.2555 ณ ประเทศไทย ขณะที่แรงงานพม่าหลั่งไหลเข้ามาประกอบอาชีพในดินแดนแห่งนี้นับเป็นล้านๆ คน บริษัทมือถือหัวใสเจ้าหนึ่งก็เล็งเห็นศักยภาพของตลาดผู้บริโภคที่เป็นแรงงานพม่า ออกมือถือรุ่น “อาหม่อง” ที่มีคุณสมบัติในการใช้งาน เหมาะสมกับชาวพม่าที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย เช่น แป้นพิมพ์ระบุภาษาพม่า ความสามารถในการพิมพ์-ส่งข้อความเป็นภาษาพม่ากลางฤดูร้อน พ.ศ.2550 ณ หมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งทางทิศตะวันออกของประเทศอินเดีย กลาง ท้องถนนที่เต็มไปด้วยกรวด หิน ดิน ทราย และก้อนหิน สายตาของ “แจ็ค จาง” หรือ “จาง เหวินเสียว์” ซีอีโอของบริษัทจีอู่ อินเตอร์เนชันแนล เจ้าของบริษัทมือถือยี่ห้อจีอู่ (G’Five) บริษัทมือถือซานไจ้ที่แม้แต่ชาวจีนก็แทบจะไม่รู้จักชื่อเสียงเรียงนาม กลับ ไม่ได้จับจ้องไปที่ทิวทัศน์ของชนบทจีนเหมือนนักท่องเที่ยวทั่วไป สิ่งที่เขาเห็นเป็นภาพชาวอินเดียในหมู่บ้านชนบทแห่งนั้นกำลังต่อแถวยาวอยู่ ณ ท้ายรถจักรยานคันหนึ่งบนท้ายรถจักรยานคันนั้นบรรทุกแบตเตอรี่รถยนต์หนึ่งลูกพร้อมกับเครื่องแปลงไฟ...ชาวบ้านในชนบทของอินเดียพากันมาต่อแถว รอคิวเพื่อเติมไฟให้กับแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือของตัวเองจากรถจักรยานคันนั้น โดยจ่ายเงิน 10 รูปี (ราว 5-6 บาท) เพื่อแลกกับการได้ชาร์จไฟให้กับโทรศัพท์ของตัวเองเป็นเวลาครึ่งชั่วโมง ณ เวลานั้นแจ็ค จางรู้ทันทีว่าหมู่บ้านในเขตชนบทของอินเดียนั้น ไฟกำลังดับ แต่ชาวบ้านยังคงต้องการใช้งานโทรศัพท์ เพื่อติดต่อสื่อสารเช่นปกติสำหรับเขตชนบทของประเทศที่กำลังพัฒนา เช่นอินเดีย เหตุการณ์ไฟดับเป็นครั้งคราวถือเป็นเรื่อง ปกติ และชาวบ้านก็เคยชินเสียแล้วกับชีวิตประจำวัน

Read More

ธุรกิจบริการขุดเจาะน้ำมันรวยเงียบและรุ่ง

ความสำเร็จของ Schlumberger ชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงสมดุลแห่งอำนาจครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมน้ำมันเทคโนโลยีการขุดเจาะน้ำมันแบบ “directional drilling” กำลังเปลี่ยนแปลงสมดุลแห่งอำนาจในธุรกิจพลังงาน เทคโนโลยีที่ว่าสามารถควบคุมทิศทางการขุดบ่อน้ำมันเป็นเส้นตรงได้ลึกหลายกิโลเมตร และสามารถเลี้ยวหักศอกเพื่อขุดต่อไปในแนวนอน ได้อีกไกลถึง 12 กิโลเมตรลองคิดดูเล่นๆ ว่า หาก Schlumberger บริษัทให้บริการขุดเจาะน้ำมัน (oilfield services: OFS) สามารถนำเทคโนโลยีใหม่ นี้ไปประยุกต์สำหรับวางท่อส่งน้ำมันในแนวตั้งตรงดิ่งลงมาจากตึกสูงระฟ้าอย่าง Empire State จากนั้นก็หักเลี้ยวท่อน้ำมันต่อไปในแนวนอน จนไปถึงรถทุกคันที่จอดอยู่ในถนนใกล้เคียงได้ อะไรจะเกิดขึ้นเทคโนโลยีดังกล่าวช่วยขยายการทำงานของแท่นเจาะให้ครอบคลุมพื้นที่ได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่นบ่อน้ำมันที่ Schlumberger ขุดให้แก่บริษัทน้ำมันในแคนาดาแห่งหนึ่งมีความลึก 4,000 เมตร (13,000 ฟุต) บวกกับการเจาะในแนวนอนที่สามารถเจาะไปได้ไกลถึง 2,000 เมตร (6,500 ฟุต) ห่างจากแท่นเจาะนอกจากนี้อุปกรณ์ขุดเจาะที่อยู่ในเครื่องมือที่เรียกว่า drill-string ซึ่งเป็นเหล็กกล้ายังสามารถวัดและอ่านค่าต่างๆ ของสภาพแวดล้อมใต้ดินได้มากขึ้นอีกหลายสิบค่า อย่างเช่น ค่ากัมมันตภาพรังสีในหินที่อยู่โดยรอบ ค่าความต้านทานแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น นี่คือความสามารถและเทคโนโลยีขั้นเอกอุของ บริษัทประเภท OFS ซึ่งยากจะหา บริษัทใดมาเทียบได้บริษัท OFS อย่างเช่น Schlumberger เป็นเสมือนม้าใช้ที่ปิดทองหลังพระตัวจริงในอุตสาหกรรมน้ำมันโลก บริษัทเหล่านี้รับทำงานหนักส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับการสำรวจ ค้นหาและขุดเจาะน้ำมันและก๊าซเกือบทั้งหมดแต่กลับไม่เคยมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก เหมือนกับบริษัทน้ำมันข้ามชาติยักษ์ใหญ่ที่เป็นผู้ว่าจ้าง ซึ่งเรารู้จักกันดีอย่างเช่น Exxon-Mobil หรือ BP อย่างไรก็ตาม บริษัท OFS ก็ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าจากการมีรายได้ที่งดงามและร่ำรวยมหาศาลแบบเงียบๆSchlumberger ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในปารีสและฮุสตันและ มีสำนักงาน 34 แห่งในเมือง Aberdeen เมืองน้ำมันในสกอตแลนด์ มีผลกำไรสุทธิ 5,000 ล้านดอลลาร์ จากรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย 40,000 ล้านดอลลาร์เมื่อปีกลาย (2011)

Read More

ยุทธศาสตร์ประเทศไทย ฉบับ “ธนินท์ เจียรวนนท์”

 หากถามว่าใครเป็นนักธุรกิจที่มีอิทธิพลทางความคิดต่อสังคมไทยมากที่สุด เชื่อว่าหนึ่งในนั้นจะต้องมีชื่อของธนินท์ เจียรวนนท์ เป็นหนึ่งในชื่อต้นๆ ที่ทุกคนนึกถึง เพราะเขาเป็นผู้ที่ผลิตสร้างวาทกรรมว่าด้วยยุทธศาสตร์ประเทศไทยมากที่สุดคนหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ เขาได้กล่าวถึงยุทธศาสตร์ประเทศไทยใน การรับมือกับเศรษฐกิจโลกใหม่ว่า ภาคการเกษตรยังถือเป็นภาคเศรษฐกิจสำคัญ เพราะมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตร รวมเกษตรอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ยางสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับหนึ่ง ปีละ 1.67 ล้านล้านบาท และภาคเกษตรของไทย จะมีบทบาทมากกว่านี้ถ้ารัฐบาลให้ความสนใจและมีนโยบายที่ถูกต้อง เพราะไม่ว่าจะเกิดวิกฤติอย่างไร คนทั่วโลกก็ยังต้องบริโภค อาหารภาคเกษตรจึงเต็มไปด้วยโอกาส รองลงมาเป็นเรื่องของการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมยานยนต์“หากรัฐบาลมีนโยบายดูแลธุรกิจจิ๋ว เล็ก กลางที่ชัดเจน ก็จะทำให้ธุรกิจเหล่านี้ก้าวไปได้ไกลพัฒนาเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ต่อไปในอนาคต เป็นพลังสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทย”ยางพาราเป็นตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของประเทศไทย สร้างรายได้เข้าประเทศปีละ 650,000 ล้านบาท เชื่อว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า ไม่มีอะไรมาทดแทน ยางได้ เพราะถ้าน้ำมันยิ่งแพง ยางเทียมก็จะแพงไปด้วย หากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมซึ่งไม่ใช่แค่ปลูกยางพาราอย่างเดียว แต่ส่งเสริมให้คนอยู่ในท้องถิ่นทำยางแท่ง แปรสภาพยางเป็นยางสำเร็จรูป เพิ่มมูลค่าแล้วชวนชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนลดภาษีเงินได้ให้เท่ากับฮ่องกง สิงคโปร์ ใครๆ ก็อยากเข้ามาลงทุนในเมืองไทย“ที่สำคัญเมืองไทยยังมีแรงงาน โดยเฉพาะภาคอีสาน ถ้าส่งเสริมให้มีการปลูกยางพารามากๆ อีสานจะเป็นสีเขียว ฝนจะชุกมาก ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ ทำให้คนอีสานอยู่ในท้องถิ่นมากขึ้นไม่ต้องไปทำงานต่างประเทศ”อ้อยก็เป็นอีกธุรกิจที่ไทยส่งออกนอกเป็นที่สองของโลก

Read More