Home > 2016 > มีนาคม (Page 3)

สายสัมพันธ์ชาวเกาะ

 Column: AYUBOWAN การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองของศรีลังกาในช่วงหนึ่งขวบปีที่ผ่านมา ดูเหมือนว่ากำลังผลิดอกออกผลไปในทิศทางที่ทำให้ศรีลังกาทวีความน่าสนใจสำหรับนานาประเทศไม่น้อย ไม่เฉพาะในมิติของความสามารถในการจัดการและเรียนรู้กระบวนการประชาธิปไตยเท่านั้น หากยังประกอบส่วนด้วยศักยภาพทางเศรษฐกิจที่พร้อมจะพัฒนาไปได้อีกไกล รายงานข่าวการเยือนศรีลังกาอย่างเป็นทางการของ John Key นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ เมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เป็นตัวอย่างและประจักษ์พยานที่ดีในกรณีที่ว่านี้ อีกทั้งยังสร้างแรงกระตุ้นสำหรับพัฒนาการทางสังคมครั้งใหม่ให้กับดินแดนแห่งนี้ด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีลักษณะร่วมทางภูมิศาสตร์ในฐานะที่เป็นเกาะของทั้งสองประเทศนี้ แม้จะเกี่ยวเนื่องกันมายาวนานทั้งในมิติที่ต่างก็อยู่ในเครือจักรภพ (Commonwealth) และ John Key ก็เคยเดินทางมาร่วมประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศในเครือจักรภพ ซึ่งศรีลังกาเป็นเจ้าภาพ เมื่อปี 2013  แต่การเดินทางเยือนครั้งล่าสุดของ John Key นับเป็นจังหวะก้าวครั้งใหม่ในความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีของสองประเทศ พร้อมกับการส่งสัญญาณการสานสัมพันธ์ทางธุรกิจอย่างหลากหลายและรอบด้านจากนิวซีแลนด์เข้าสู่ศรีลังกา “ศรีลังกาคือแสงที่เจิดจรัสของภูมิภาคเอเชีย” เป็นคำกล่าวสรุปของ John Key ที่บ่งบอกนัยความหมาย และทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายของนิวซีแลนด์ต่อประเทศที่อุดมด้วยโอกาสและพร้อมจะรองรับการลงทุนจากนิวซีแลนด์แห่งนี้ ข้อสังเกตที่น่าสนใจประการหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงคาบเกี่ยวกับกำหนดการเยือนศรีลังกาโดยผู้นำนิวซีแลนด์ครั้งนี้ก็คือ การสื่อโฆษณาทั้งโดยนิวซีแลนด์และออสเตรเลียผ่านโซเชียลมีเดีย ว่าด้วยการเปิดรับสมัครและคัดสรรชาวศรีลังกาที่มีทักษะและความสามารถเฉพาะทาง ทั้งวิศวกร แพทย์ พยาบาล รวมถึงผู้มีความสามารถด้านคอมพิวเตอร์และไอทีให้เข้าไปทำงานและพำนักในประเทศทั้งสอง ขณะเดียวกันสถานศึกษาจากทั้งสองประเทศก็พยายามสื่อสารถึงโอกาสใหม่ๆ สำหรับผู้ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาระดับ O Level และ A Level ในศรีลังกาให้มาศึกษาต่อในนิวซีแลนด์และออสเตรเลียด้วย อาจเรียกได้ว่าเป็นการนำการศึกษาและโอกาสใหม่ในชีวิตมาผูกให้เกิดเป็นกระแสสำนึกและความตระหนักรู้ ที่สามารถต่อยอดไปสู่ความนิยมในแบรนด์ “นิวซีแลนด์” ไปในคราวเดียวกัน ภารกิจสำคัญประการหนึ่งของ John Key ในการเดินทางเยือนศรีลังกาครั้งนี้อยู่ที่กำหนดการเปิดศูนย์เกษตรกรรมสาธิต Fonterra

Read More

ศึก “เจฟเฟอร์-ซานตาเฟ่” สเต็กหมื่นล้านร้อนระอุ

  ธุรกิจร้านสเต็กเดือดขึ้นมาทันที เมื่อคู่แข่ง 2 ค่าย “เจฟเฟอร์-ซานตาเฟ่” พร้อมใจเปิดเกมรุกช่วงชิงตลาดที่มีเม็ดเงินมากกว่า 14,000 ล้านบาท โดยเฉพาะ “เจฟเฟอร์สเต็ก” ที่มีแบ็กแข็งแกร่ง ทั้งเงินทุนก้อนใหญ่และตัวผู้บริหารที่เคยปลุกปั้นสินค้าแบรนด์ยักษ์ใหญ่ประสบความสำเร็จมาแล้ว  แน่นอนว่า ชื่อบริษัท เวฟ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ไม่ใช่คนวงในธุรกิจร้านอาหาร ก่อตั้งเมื่อปี 2536 และถือเป็นธุรกิจในกลุ่มครอบครัวมาลีนนท์ โดยเปลี่ยนชื่อจากบริษัท ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)   เริ่มแรกผลิตและจำหน่ายตลับวิดีโอเทปก่อนเข้าสู่ธุรกิจผู้ผลิตและจำหน่ายรายการโทรทัศน์ ธุรกิจจัดแสดงคอนเสิร์ตและกิจกรรมต่างๆ เจ้าของลิขสิทธิ์จำหน่ายละครไทยช่อง 3  จนกระทั่ง ดร.แคทลีน มาลีนนท์ ดึงตัวสามี คือ แมทธิว กิจโอธาน เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เกมขยายไลน์ธุรกิจจึงเริ่มต้นอย่างเข้มข้น  3 ปีที่ผ่านมา เวฟเอ็นเตอร์เทนเมนท์ไล่ซื้อกิจการต่อเนื่อง เริ่มจากซื้อกิจการโรงเรียนสอนภาษาวอลล์สตรีท 100% มูลค่า 800 ล้านบาท ถัดจากนั้น ซื้อกิจการบริษัท เจฟเฟอร์ เรสโตรองต์

Read More

เหงื่อ & กลิ่นตัว … ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป

 Column: Well – Being ตามธรรมชาติแล้วเมื่ออุณหภูมิในร่างกายเริ่มสูงขึ้น เราต้องมีเหงื่อออก ซึ่งตามปกติแล้วถือเป็นสิ่งที่ดี เพราะเหงื่อช่วยระบายความร้อน ทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลง เหงื่อยังทำให้ร่างกายหลั่งสารออกมาตามผิวหนังทั่วร่างกายที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค ทั้งยังช่วยให้เราค้นพบเนื้อคู่ในฝันอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะเราถูกดึงดูดจากกลิ่นของใครบางคน สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากสาร pheromones ที่ร่างกายผลิตออกมาพร้อมเหงื่อนั่นเอง  แต่นิตยสาร GoodHealth กล่าวว่า เหงื่อกลายเป็นปัญหาได้เช่นกัน เพราะบางครั้งร่างกายผลิตเหงื่อมากเกินไปที่เรียกว่า “ภาวะหลั่งเหงื่อมาก” (hyperhidrosis) หรือเมื่อออกเหงื่อแล้วทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่ทางการแพทย์เรียกว่า “กลิ่นตัว” (bromhidrosis) กลิ่นตัวดร.เอชินี เพอเรรา แพทย์แห่งบริสเบนกล่าวว่า หากออกเหงื่อแล้วมีกลิ่นไม่พึงประสงค์บ้างเล็กน้อย ถือว่าปกติ “แต่ถ้ากลิ่นนั้นส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตหรือรุนแรงเป็นพิเศษ ต้องถือว่าเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข ดร.คริส คอลล์เวิร์ท นักวิจัยเกี่ยวกับกลิ่นตัวแห่งมหาวิทยาลัยเกนท์ ประเทศเบลเยียม อธิบายว่า คุณจะมีกลิ่นตัวหรือไม่ขึ้นอยู่กับชนิดแบคทีเรียที่เจริญเติบโตบริเวณใต้รักแร้ แบคทีเรียบางชนิดสามารถย่อยสลายไขมันในเหงื่อจนก่อให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ กลิ่นเหงื่อหรือกลิ่นตัวของคุณจะรุนแรงแค่ไหน ขึ้นอยู่กับปริมาณของแบคทีเรียแต่ละชนิดว่ามีมากเพียงใด ดังนั้น การกำจัดกลิ่นตัวจึงเกี่ยวข้องกับการลดปริมาณแบคทีเรียใต้รักแร้โดยตรง และ/หรือการลดปริมาณเหงื่อที่เป็นอาหารของแบคทีเรียเหล่านี้นั่นเอง สารระงับเหงื่อ vs สารระงับกลิ่น ทั้งสองชนิดเป็นผลิตภัณฑ์มุ่งกำจัดกลิ่นตัวเหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่วิธีทำงาน สารระงับเหงื่อ (antiperspirant) ทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของต่อมเหงื่อ ทำให้ร่างกายหลั่งเหงื่อน้อยลง ขณะที่สารระงับกลิ่น (deodorant) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสารต้านจุลชีพที่มุ่งกำจัดแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดกลิ่นตัว ดร.คอลล์เวิร์ทแนะนำว่า

Read More