Home > 2015 > พฤษภาคม (Page 3)

ระวัง 3 ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ

 Column: Well – Being แม้ผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์จะยอมรับว่า การระบุให้ชัดเจนถึงสาเหตุการเกิดโรคหัวใจนั้น ไม่สามารถทำกันได้ง่ายๆ แต่ Giovanni Campanile อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือดแห่ง Rutgers New Jersey Medical School เตือนให้พึงระวังเกี่ยวกับปัจจัยซ่อนเร้นในชีวิตประจำวัน ที่ทำให้คุณเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้อย่างไม่คาดคิด กาเฟอีน สำหรับคนทั่วไปแล้ว การดื่มชาหรือกาแฟที่มีคาเฟอีนถือว่าเป็นคุณต่อหัวใจด้วยซ้ำ แต่ถ้าคุณดื่มมากกว่าหนึ่งถ้วย แล้วมีอาการใจสั่น คุณอาจจัดอยู่ในประเภท “เผาผลาญกาเฟอีนได้ช้า” ในกรณีนี้ การดื่มชาหรือกาแฟเพียงวันละ 2–3 ถ้วย สามารถเป็นตัวเร่งให้คุณเสี่ยงต่ออาการหัวใจวายได้ ! คุณป้องกันได้ด้วยการขอให้แพทย์เจาะเลือดเพื่อตรวจดูว่า ร่างกายคุณสามารถเผาผลาญสารกระตุ้นคือกาเฟอีนได้เร็วแค่ไหน หรือถ้าคุณรู้ตัวว่าเป็นคนไวต่อกาเฟอีน ต้องยึดหลักปลอดภัยไว้ก่อน โดยจำกัดการดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนเพียงหนึ่งถ้วยต่อวันเท่านั้น นอกจากนี้ ให้หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชูกำลัง ซึ่งมักมีกาเฟอีนเป็นส่วนประกอบมากเกินไป ทั้งยังมีสารกระตุ้นสังเคราะห์และน้ำตาลที่ล้วนเป็นโทษต่อร่างกาย จากสถิติพบว่า ทุก 1 ใน 5 คนที่ดื่มเครื่องดื่มชูกำลังเหล่านี้ ล้วนเกิดอาการใจสั่นทั้งสิ้น ไขมันทรานส์ที่แฝงในอาหาร แม้อาหารที่มีฉลากโภชนาการระบุว่า มีไขมันทรานส์ (trans fat) 0 กรัมนั้น จริงๆ แล้วอาจมีไขมันร้ายตัวนี้เป็นส่วนประกอบในปริมาณเล็กน้อยก็ได้ แต่มีผลทำให้ระดับไขมันเลว (LDL)

Read More

ปั่นตามกระแส ดันตลาดจักรยานโต

 การออกกำลังกายไม่ใช่เพียงกิจกรรมที่แสดงออกถึงการเป็นคนใส่ใจและรักสุขภาพเท่านั้น ในปัจจุบันการออกกำลังกายกำลังเป็นเทรนด์แฟชั่นที่คนรุ่นใหม่วิ่งตามจนกลายเป็นกระแสสังคม ไล่เรียงตั้งแต่โยคะ พิลาทิส T25 กระทั่งล่าสุด จักรยาน พาหนะสองล้อที่อาศัยแรงมนุษย์ คือเทรนด์ใหม่ที่มีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก และยังมีนักปั่นหน้าใหม่เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างต่อเนื่อง จักรยานเริ่มได้รับความสนใจเมื่อ 10 ปีก่อน แต่ช่วงเวลาที่พีคสุดคือเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา จักรยานที่เรียกกันว่าฟิกเกียร์เริ่มเป็นที่นิยมจากกลุ่มเซเลบ ศิลปินนักแสดง และขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ กระทั่งปัจจุบันรูปแบบของจักรยานถูกพัฒนาและปรับเปลี่ยนไปตามไลฟ์สไตล์ความชอบของแต่ละบุคคล โดยจักรยานในตลาดไทยแบ่งได้เป็นสองประเภท 1. จักรยานบ้าน 2. จักรยานทางเลือก ซึ่งประเภทหลังนี่เองที่มีส่วนทำให้ตลาดจักรยานในไทยโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด เพราะจักรยานทางเลือกสามารถแบ่งย่อยได้อีก 5 กลุ่ม 1. จักรยานเสือภูเขา 2. จักรยานเสือหมอบ  3. จักรยานทัวริ่ง  4. จักรยานซิตี้ไบค์  5. จักรยานแบบพับได้  ความหลากหลายของจักรยานในปัจจุบันและกระแสความชื่นชอบของนักปั่นส่งผลให้ตลาดจักรยานในไทยมีมูลค่าการตลาดสูงถึง 6,500 ล้านบาท โดย 70 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าตลาดมาจากภูมิภาค 30 เปอร์เซ็นต์เป็นของตลาดจากภาคกลาง และธุรกิจนี้ยังเติบโต 10 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2558 แม้กระแสความนิยมจะยังไม่ตกและยังได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐที่มีการจัดสร้างเลนจักรยานรอบเกาะรัตนโกสินทร์

Read More

ตลาดน้ำดำ ระอุเดือดแข่งความซ่าส์

 ท่ามกลางอากาศร้อนระอุ ถ้าได้ดื่มน้ำอัดลม ซ่าส์ๆ เย็นๆ จะช่วยให้ดับกระหายคลายร้อนได้เกือบทันที จึงไม่แปลกใจว่าในช่วงหน้าร้อนถึงร้อนมากนี้ สินค้าที่ขายดิบขายดีคงหนีไม่พ้นน้ำอัดลม ไม่ว่าจะเป็นโค้ก เป๊ปซี่ หรือน้องใหม่อย่างเอส และรวมถึงผู้เล่นรายเล็กอื่นๆ อีกก็ตาม ขณะที่ผู้บริโภคเองก็สามารถดื่มได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องมีคำเตือน “ห้ามกินเกินวันละ 2 ขวด”   ตลาดเครื่องดื่มน้ำอัดลมในประเทศไทยปี 2557 มีมูลค่า 47,330 ล้านบาท มีการเติบโต 3% จากปีก่อนหน้า โดยกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่าฯ เป็นผู้นำตลาด ด้วยส่วนแบ่ง 58% โดยในปีนี้ก็คาดว่าตลาดน่าจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยสภาพอากาศและเศรษฐกิจ และด้วยมูลค่าการตลาดที่สูงและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง บรรดาค่ายน้ำดำหน้าใหม่ หน้าเก่า  ต่างงัดกลยุทธ์การตลาดพร้อมแคมเปญมาช่วงชิงตลาด ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนที่เอื้ออำนวย  ประเดิมด้วยเบอร์หนึ่ง แบรนด์โคคา-โคล่า หรือโค้ก ที่เน้นให้ความสดชื่น ที่ครองส่วนแบ่งตลาดกว่าครึ่ง ซึ่งในปีนี้โค้กฉลอง 100ปี โค้กขวดแก้วร่วมกับโค้กทั่วโลก ด้วยการออกแคมเปญ “100 ปี โค้กขวดแก้ว อร่อยซ่าตัวจริง” โดยทุ่มงบด้านการตลาดสูงถึง 450 ล้านบาท โดยมี key

Read More

มหัศจรรย์แห่งเอเชีย

 Column: AYUBOWAN ความเป็นไปของศรีลังกาในชั่วโมงนี้ อาจทำให้ผู้คนจากต่างแดนจำนวนมากรู้สึกแปลกใจ ในขณะที่ประชาชนชาวศรีลังกาเองก็เริ่มแอบมองย้อนถึงการตัดสินใจ เมื่อช่วงต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นมีประโยชน์มากน้อยเพียงใด และเป็นสิ่งที่พึงใจต้องการจริงหรือไม่ ปัญหาหลักของศรีลังกาที่เผชิญกับการก่อการร้ายและภาวะสงครามกลางเมืองมาอย่างยาวนานกว่า 3 ทศวรรษอยู่ที่การขาดแคลนเสถียรภาพและความมั่นคงที่จะดึงดูดใจให้ผู้ลงทุนจากต่างประเทศ เข้ามาร่วมลงทุนพัฒนาระบบเศรษฐกิจ ขณะที่การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานก็อยู่ในภาวะชะงักงัน ความพยายามที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของศรีลังกาในช่วงที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งจึงจำเป็นต้องยึดโยงอยู่กับรายได้จากการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างรายได้และนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาหนุนนำระบบเศรษฐกิจของศรีลังกาได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ภายหลังจากที่ Mahinda Rajapaksa สามารถกระชับและครองอำนาจสูงสุดในปี 2004 เรื่อยมาพร้อมกับการดำเนินมาตรการปราบปรามรุนแรง เพื่อยุติสงครามกลางเมืองกับกลุ่มทมิฬ ซึ่งสิ้นสุดลงในปี 2009 เขาได้ประกาศแนวทางในการพัฒนาประเทศไว้อย่างน่าสนใจ ความมุ่งหมายในการพัฒนาภายใต้วลีปลุกเร้าว่าด้วย “The Emerging Wonder of Asia” กลายเป็นถ้อยความที่สื่อสารออกไปทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ เพื่อโหมประโคมประชาสัมพันธ์บริบทใหม่ของศรีลังกาในยุคแห่งการเดินหน้าสู่สังคมสันติสุขและยุคสมัยแห่งการปรองดอง กลไกหลักที่นำถ้อยความนี้ออกสู่สาธารณะและเวทีประชาคมโลก นอกเหนือจากหน่วยงานของรัฐในทุกระดับระนาบแล้ว กระทรวงการท่องเที่ยวของศรีลังกาดูจะเป็นหน่วยงานที่สามารถสื่อสารข้อความนี้ให้เกิดภาพจำและความประทับใจได้อย่างลงตัว ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากประการหนึ่งก็คือ นับตั้งแต่สิ้นสุดเหตุรุนแรงจากสงครามกลางเมืองในปี 2009 จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนศรีลังกาก็เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว จากเดิมที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาถึงศรีลังกาปีละ 4.38-4.48 แสนคนต่อปี ในช่วงปี 2008-2009 แต่ในปี 2010 จำนวนนักท่องเที่ยวทะยานขึ้นสู่ระดับ 6.5 แสนคน และเป็น 8.5 แสนคนในปี 2011 ก่อนที่จะก้าวไปทะลุสู่ระดับ 1

Read More

ทวาย: ความเคลื่อนไหวในสายลมแล้ง กลางสนามประลองของมหาอำนาจ

 ข่าวความคืบหน้าเกี่ยวกับโครงการลงทุนเพื่อพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย กลับมาอยู่ในความสนใจและเป็นประเด็นให้ผู้ที่ติดตามใฝ่ถามหาข้อมูลกันอย่างคึกคัก หลังจากที่ตลอดเวลาที่ผ่านมาโครงการดังกล่าวดูจะอุดมไปด้วยความคลุมเครือและไม่ปรากฏท่วงทำนองในทิศทางที่แจ่มชัด ควบคู่กับความล่าช้าที่ทำให้หลายฝ่ายกังวลและสงสัยว่าโครงการนี้จะเดินหน้าต่อหรือไม่ ย้อนหลังกลับไปอภิมหาโครงการแห่งนี้ ได้รับการประเมินจากหลายฝ่ายว่าเป็นความทะเยอทะยาน และกำลังจะเป็นการวางรากฐานการรุกคืบในเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนาครั้งสำคัญของสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประกอบส่วนกับข้อเท็จจริงที่ว่าโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายมิได้มีนัยความหมายจำกัดอยู่เฉพาะบริบทความเป็นไปในเมียนมาร์ หรือแม้แต่ประโยชน์ของเอกชนรายใดรายหนึ่งแต่เพียงลำพัง หากแต่โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายกำลังปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ทั้งด้านการค้าการลงทุน อุตสาหกรรมและการคมนาคมทั้งในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอาจขยายไปสู่บริบทที่กว้างขวางกว่านั้นด้วย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ด้วยระยะทาง 160 กิโลเมตรของเส้นทางที่เชื่อมโยงระหว่างท่าเรือน้ำลึกทวายกับด่านพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี จะมีสถานะเป็น land bridge เชื่อมโยงการค้าระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิกที่สั้นที่สุด ยังไม่นับรวมเส้นทางที่จะเชื่อมท่าเรือทวาย-กาญจนบุรี-แหลมฉบัง ในลักษณะที่จะเป็นอภิมหาโครงการที่เชื่อมโยงตะวันตก-ตะวันออกของไทย รวมถึงการต่อเชื่อมเข้ากับ Southern Corridor ที่จะมีท่าเรือน้ำลึกปากบาราที่อยู่ในแผนพัฒนาเข้ามารองรับโครงการนี้ กระนั้นก็ดี ด้วยพื้นฐานและความสืบเนื่องของโครงการที่เกิดขึ้นจากรากและผลของการที่บริษัทเอกชนไทย ได้รับสัมปทานในการพัฒนาพื้นที่ ก่อสร้าง และหาแหล่งทุน ที่มีลำดับขั้นและพัฒนาการมาตั้งแต่เมื่อช่วงกลางปี 2551 ก่อนที่จะมีการลงนามในข้อตกลงเรื่องสิทธิในการพัฒนาและดำเนินการบริหารโครงการทวายตามระยะเวลาการเช่าที่ดิน เป็นเวลามากกว่า 75 ปี ในช่วงปลายปี 2553  ทำให้ความเป็นไปของโครงการที่ว่านี้ ได้รับการประเมินในมิติที่โครงการดังกล่าวเป็นเพียงเรื่องราวระหว่างเอกชนไทยรายหนึ่ง ที่ได้เข้าไปเป็นคู่สัญญากับรัฐบาลแห่งเมียนมาร์ โดยที่เอกชนรายที่ว่าก็คงอยู่ในตำแหน่งและบทบาทไม่แตกต่างจาก “นายหน้าที่วิ่งเร่ขายโครงการ” ให้กับผู้ร่วมทุนหรือผู้ประกอบการรายอื่นๆ การดำเนินการของรัฐบาลไทย เพื่อผลักดันโครงการดังกล่าวในช่วงก่อนหน้านี้ จึงถูกประเมินอย่างเคลือบแคลงว่าเป็นไปเพื่อการโอบอุ้มผลประโยชน์ของกลุ่มธุรกิจในเครือข่ายอำนาจหรือไม่ หรือเป็นการเข้าร่วมโครงการอย่างมีวิสัยทัศน์ในเชิงยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะการกำหนดบทบาทและการพัฒนาในระดับภูมิภาค ซึ่งต้องยอมรับว่ากระบวนการสารนิเทศเกี่ยวกับโครงการทวายนี้มีความด้อยประสิทธิภาพและไม่สามารถสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชน หรือแม้แต่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้อย่างชัดเจนว่า รัฐบาลมีแนวทางและกำหนดบทบาทในเชิงยุทธศาสตร์ในเรื่องนี้ไว้อย่างไร และเมื่อ คสช. เข้ายึดอำนาจรัฐอย่างเบ็ดเสร็จ ก็ดูเหมือนว่าโครงการทวายจะเป็นโครงการลำดับต้นๆ ที่

Read More

นิทรรศการโจเซฟีน

 คอลัมน์ From Paris นโปเลอง (Napoléon) เป็นตัวละครในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสที่มีคนพูดถึงมากคนหนึ่งก็ว่าได้ จากนายทหารเล็กๆ จนได้รับการแต่งตั้งเป็นแม่ทัพในการสงคราม แล้วเป็นผู้นำโดยเรียกว่า Premier Consul ต่อมาได้ปราบดาภิเษกเป็นจักรพรรดิ (Empereur) เริ่มต้นยุคจักรวรรดิที่ 1 (Premier Empire) ของฝรั่งเศส เรื่องราวของนโปเลองขาดสีสันหากไม่มีผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวข้อง และผู้หญิงที่เต็มไปด้วยสีสันคนนั้นคือโจเซฟีน (Joséphine) โจเซฟีนเป็นสาวชาวเกาะมาร์ตินิค (Martinique) เกิดในปี 1763 ครอบครัวร่ำรวย มีไร่อ้อยและข้าทาสมากมาย เคยมีหมอดูทำนายว่าเธอจะแต่งงานสองครั้ง ครั้งแรกกับชายที่จะนำเธอไปฝรั่งเศสและจะตายอย่างน่าเวทนา เขาและเธอจะมีลูกสองคน ครั้งที่สองจะแต่งงานกับคนที่ไม่เป็นที่รู้จักและยากจน แต่ในภายหลังจะประสบความรุ่งเรือง โลกจะมาสวามิภักดิ์ เขาจะนำพาเธอไปสู่ตำแหน่งสูงสุดที่ยิ่งใหญ่กว่าตำแหน่งราชินี  อเล็กซองดร์ เดอ โบอาร์เนส์ (Alexandre de Beauharnais) จะต้องแต่งงานกับสาวหนึ่ง แต่เธอเสียชีวิตเสียก่อน จึงมาจับคู่กับมารี โจแซฟ โรส ตาเชร์ เดอ ลา ปาเจอรี (Marie Josèphe Tascher de la

Read More

เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว: ความเชื่อเรื่องสัตว์ และความอัปมงคล

 เหตุการณ์สะเทือนใจจากกรณีแผ่นดินไหวในเนปาล ซึ่งได้รับการเรียกขานว่า Himalayan Earthquake เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากจะส่งผลให้เกิดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งในเบื้องต้นประเมินว่าอาจมีผู้เสียชีวิตรวมกว่า 1 หมื่นราย และคิดเป็นความสูญเสียที่มีมูลค่ารวมกว่า 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ยังไม่นับรวมถึงผลสืบเนื่องที่จะเกิดและเกี่ยวเนื่องไปสู่โอกาสและอนาคตของเนปาลนับจากนี้ เหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.9 ซึ่งสร้างความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สินอย่างใหญ่หลวง เกิดขึ้นเมื่อเวลา 11.56 น. ของช่วงเช้าวันเสาร์ที่ 25 เมษายน และถือเป็นเหตุแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดของประเทศเนปาล นับตั้งแต่เหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศเนปาล-รัฐพิหาร เมื่อ พ.ศ. 2477 ที่พรากชีวิตผู้คนไปหลายหมื่นชีวิต ผลกระทบที่กำลังติดตามมาจากเหตุวิบัติภัยครั้งนี้ ส่งผลให้นานาชาติต่างส่งมอบและยื่นมือเข้าช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก ความห่วงใยและน้ำใจไมตรีที่หลั่งไหลไปช่วยบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยในเนปาล แผ่กว้างทั้งในระดับรัฐ เอกชน และที่ดูเหมือนจะขาดไม่ได้ในยุคสมัยปัจจุบันก็คือ การใช้สื่อสังคมสมัยใหม่ เป็นจักรกลในการเชื่อมโยงและแสดงความรู้สึกผ่าน hashtag หลากหลายเพื่อสื่อสารร่วมแสดงความเสียใจต่อความสูญเสีย ขณะเดียวกัน ความกังวลใจในเรื่องผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในสังคมไทย ได้รับการอธิบายจากนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา รวมถึงผู้เกี่ยวข้องในสาขาอาชีพต่างๆ อย่างหลากหลาย ถึงความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะเกิดเหตุวิปโยคเช่นนี้ และจะเตรียมการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาตินี้อย่างไร ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ เหตุแผ่นดินไหวในหิมาลัยครั้งนี้ เกิดขึ้นในห้วงเวลาที่ภูเขาไฟคัลบูโกทางตอนใต้ของประเทศชิลี กำลังปะทุและระเบิด ปล่อยพ่นหมอกควันและเถ้าลาวาสร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สินและภาวะเศรษฐกิจของชิลี ไม่น้อยเช่นกัน เถ้าถ่านและหมอกควันที่ถูกปล่อยออกมาจากแรงภูเขาไฟระเบิดได้ปกคลุมพื้นที่อาณาบริเวณกว้าง ซึ่งครอบคลุมแหล่งน้ำและพื้นที่เพาะปลูกและทุ่งหญ้าปศุสัตว์ ซึ่งมีการประเมินว่า

Read More