อัตลักษณ์แห่งชา
ความเป็นไปของชาจากศรีลังกา ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งที่มาหลักของเงินตราต่างประเทศ และหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจศรีลังกาด้วยสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อีกทั้งผูกพันเชื่อมโยงผู้คนทั้งทางตรงและทางอ้อมจากธุรกิจนี้มากกว่า 1 ล้านคน ยังมีมิติที่น่าสนใจและควรบันทึกไว้เป็นข้อมูลอีกนะคะ โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า Ceylon Tea มีคุณภาพหรือคุณลักษณะอย่างไรหรือ ถึงทำให้แปลกแตกต่างจากชาจากแหล่งอื่นๆ และสามารถสร้างเสริมอัตลักษณ์ของชา Ceylon ขึ้นมาได้ หากจะกล่าวอย่างรวบรัด ด้วยเพียงระบุว่า ปัจจัยด้านความชื้น สภาพอากาศที่เย็นสบาย ปริมาณน้ำฝนที่พอเพียง ส่งผลให้ชาซีลอนมีคุณภาพดี ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่เราต้องอธิบายกันให้มากความ แต่ในความเป็นจริงยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่สำคัญมากไปกว่านั้น และอาจเป็นข้อต่อสำคัญที่ทำให้สามารถนำเงื่อนไขทางธรรมชาติมาปรับใช้ได้อย่างลงตัว ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ เมื่อชาเดินทางมาถึงและเริ่มจะปักหลักฐานในศรีลังกานั้น ชาได้แพร่หลายและแตกยอดผลิใบอยู่ทั้งในจีน และอินเดีย โดยเฉพาะการเพาะปลูกเชิงพาณิชยกรรมใน Assam และ Darjeering มาก่อนหน้าแล้ว การเป็นผู้มาทีหลังในอุตสาหกรรมชาของศรีลังกา จึงดำเนินไปท่ามกลางข้อจำกัดทั้งในมิติของขนาดพื้นที่เพาะปลูกและการเบียดแทรกเข้าสู่การรับรู้ของตลาดในฐานะผู้ประกอบรายเล็กเจ้าใหม่ ยังไม่นับรวมถึงการช่วงชิงพื้นที่เพาะปลูกกับพืชเศรษฐกิจดาวรุ่งและกระแสวัฒนธรรมของกาแฟ ที่กำลังถั่งโถมเข้าสู่ยุโรปอีกด้วย ประเด็นและมิติที่ว่านี้ ในด้านหนึ่งต้องยกประโยชน์ให้กับอังกฤษ ผู้เป็นเจ้าอาณานิคม ที่ทำให้วัฒนธรรมแห่งชาแพร่หลายไปทั่วทุกมุมโลก และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายเล็กๆ ผู้มาใหม่อย่างศรีลังกาได้มีโอกาส “ผ่านเกิด” บนสังเวียนชาที่เข้มข้นระดับนานาชาติในเวลาต่อมา เพราะในขณะที่เจ้าอาณานิคมอย่างอังกฤษ กำลังรื่นรมย์อยู่กับรสชาติของชาจากแหล่งผลิตใน Assam Darjeering และแหล่งอื่นๆ อย่างเอิกเกริก พร้อมๆ
Read More