Home > 2014 > เมษายน (Page 2)

AVURUDU Sri Lanka

 ในขณะที่สังคมไทยกำลังเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองรื่นเริงเนื่องในวันสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่แบบไทย ด้วยความรู้สึกระคนกันทั้งความกังวลเรื่องปัญหาทางเศรษฐกิจที่ดูเหมือนจะบีบรัดและเขม็งเกลียวหนักหน่วงขึ้นเป็นลำดับ สอดรับกับสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่สามารถแสวงหาทางออกจากภาวะชะงักงันได้อย่างชัดเจน อีกฟากฝั่งของมหาสมุทรอินเดีย ในดินแดนที่เรียกว่าศรีลังกา ผู้คนที่นี่ก็กำลังเฉลิมฉลอง Aluth Avurudda หรือ Avurudu ซึ่งก็คือเทศกาลขึ้นปีใหม่ของชาวสิงหล (Singhalese) ที่เกี่ยวเนื่องในเชิงวัฒนธรรมกับเทศกาลสงกรานต์และการเถลิงศกใหม่ของทั้งภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามการยึดถือปฏิทินตามแบบสุริยคติไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แต่ที่จะแตกต่างกันไปบ้างสำหรับช่วงเวลาสำคัญแห่งปีนี้ ก็คือ ดูเหมือนว่าชาวศรีลังกาส่วนใหญ่มีโอกาสได้เฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ ท่ามกลางความรู้สึกที่รื่นเริงและเปี่ยมความหวังสำหรับอนาคตที่กำลังจะงอกเงยขึ้น มากกว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ ควบคู่กับความหวังถึงสันติภาพและความจำเริญที่ยั่งยืนไปพร้อมๆ กับโอกาสครบวาระ 5 ปีของการสิ้นสุดสงครามกลางเมืองในเดือนพฤษภาคมที่กำลังจะมาถึงนี้ ภาวะสงครามกลางเมือง (Civil War) ที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ระหว่างรัฐบาลศรีลังกาที่เป็นตัวแทนของเสียงส่วนใหญ่ชาวสิงหล กับชนกลุ่มน้อยชาวทมิฬ ที่ทอดระยะเวลาเนิ่นนานกว่า 3 ทศวรรษนับตั้งแต่ช่วงกลางปี 1983 จนถึงเมื่อรัฐบาลประกาศชัยชนะอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหนือกองกำลังติดอาวุธพยัคฆ์ทมิฬอีแลม (Liberation Tigers of Tamil Eelam: LTTE) เมื่อเดือนพฤษภาคม 2009 ได้สร้างบาดแผลและร่องรอยเจ็บลึกลงไปในสังคมศรีลังกา ซึ่งเป็นพหุสังคมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ไม่น้อยเลย ความสูญเสียในเชิงสังคมตามการประเมินของสหประชาชาติ (UN) ซึ่งนับเป็นจำนวนชีวิตของประชาชนนับแสนคน ทั้งที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐและพลเรือนที่ต้องเสียชีวิตไปในความขัดแย้งที่ยาวนานนี้ ย่อมไม่สามารถคำนวณเป็นมูลค่าใดๆ ได้ หากแต่ย่อมเป็นบทเรียนและกรณีศึกษาที่มีคุณค่าและนัยความหมายอย่างยิ่งสำหรับการก้าวเดินไปข้างหน้าในอนาคต ขณะที่มูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งยาวนานเกือบ 3 ทศวรรษได้รับการประเมินว่ามีมากถึง 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

Read More

ดิบ…แต่ไม่เถื่อน

 ท่านผู้อ่านคิดเห็นแบบเดียวกับผู้เขียนไหมคะว่า กิจกรรมในความทรงจำที่เกี่ยวเนื่องกับอาหารถือเป็นประสบการณ์ที่เล่าสู่ และแลกเปลี่ยนกันได้ไม่รู้เบื่อจริงๆ เพราะลำพังแค่เพียงปลาดิบ ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของสังคมญี่ปุ่น ยังมีความหลากหลายในกระบวนการนำเสนอ จนพ้นไปจากการเป็นเพียงชิ้นเนื้อที่ไม่ผ่านการปรุงอย่างที่เราท่านคุ้นเคยไปไกลทีเดียว คนญี่ปุ่นเชื่อว่าการบริโภคปลาดิบมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะนอกจากจะได้สารอาหารครบถ้วนจากเนื้อปลาแล้ว การที่ไม่ผ่านการปรุงไม่ว่าจะเป็นการผัด ทอด หรือแม้แต่ต้ม นึ่ง ย่าง ก็ทำให้โอกาสเสี่ยงที่จะได้รับน้ำมันและสารปนเปื้อนอื่นๆ ในขั้นตอนเหล่านั้นลดลงไปด้วย  การบริโภคปลาดิบ นอกจากจะเป็นความรู้สึกใกล้ชิดธรรมชาติแบบเซนของญี่ปุ่นแล้ว ยังเป็นอาหารเพื่อสุขภาพไปด้วยในตัว ครั้งหนึ่งผู้เขียนมีโอกาสไปทานมื้อกลางวันกับหมู่มิตรชาวญี่ปุ่นในร้านซูชิแบบ Kaiten ที่เป็นสายพานลำเลียงอาหารมาให้เลือกเป็นจานต่างๆ ซึ่งเป็นร้านประจำของพวกเรา เชฟคงเห็นว่าวันนั้นมีสาวๆ มาด้วยกันหลายคน จึงถือโอกาสแนะนำเมนูอาหารพิเศษประจำวันให้ได้ลิ้มลอง อาหารที่ว่าเป็นปลาตัวเล็กใส ซึ่งมีรูปพรรณสัณฐานเหมือนปลาเข็มของไทย ประมาณนั้นนะคะ นับจำนวนได้ ก็สักสิบกว่าตัว ใส่อยู่ในแก้วใสสะอาด ด้วยความสงสัยจึงถามเพื่อนๆ ญี่ปุ่นว่า เมนูที่ว่าดีต่อสุขภาพนั้นดีอย่างไร  เชฟยืนอธิบายสรรพคุณอย่างออกรสว่า เจ้าปลาเป็นๆ ตัวน้อยที่ว่านี้ จะช่วยดูดซึมของเสียหรือพิษในระบบทางเดินอาหาร ทานบ่อยๆ จะทำให้สุขภาพดี หุ่นดี แต่ต้องทานกันสดๆ ค่ะ แล้วให้มันว่ายกระดื๊บๆ อยู่ในท้องของเรา     กลุ่มเพื่อนที่เป็นชาวญี่ปุ่นเอง แม้จะเคยทราบว่ามีเมนูแบบนี้มาก่อน แต่ทุกคนในที่นั้น ก็ยังไม่มีใครเคยทดลองนะคะ เราก็มองหน้ากันไปมา ว่าจะทดลองดูไหม และด้วยความอยากรู้อยากเห็นของทุกคน ในที่สุด...เอ้า.. ลองก็ลอง...   ดื่มเลย...ดื่มเลย

Read More

“ชาติ จิราธิวัฒน์” ผู้บริหารไฟแรงแห่งเครือเซ็นทรัล

 หนุ่มใหญ่วัย 39 ปี ผู้ได้รับมอบหมายเป็น “หัวเรือใหญ่” ในการดูแลและควบคุมการก่อสร้างโครงการยักษ์ใหญ่อย่าง “เซ็นทรัล เอ็มบาสซี่” ซึ่งเป็นเสมือนศูนย์รวมความหวังครั้งใหม่และเป็นครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของคนตระกูลจิราธิวัฒน์และคนทั้งเครือเซ็นทรัลในช่วงตลอด 4-5 ปีนี้ เขาคือ “ชาติ จิราธิวัฒน์” ผู้บริหารรุ่น 3 ของตระกูล บุตรขายคนโตของสุทธิชาติ รองประธานกรรมการบริษัทในกลุ่มเซ็นทรัล   ว่ากันว่า ชาติได้รับเลือกให้เป็นผู้ดูแลโครงการมูลค่าเกือบ 2 หมื่นล้านนี้ เป็นเพราะมีแรงหนุนของ “กอบชัย จิราธิวัฒน์” อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ของกลุ่ม CPN ซึ่งเคยได้ร่วมงานและเห็นผลงานของหนุ่มคนนี้ เมื่อครั้งที่ชาติถูกเรียกตัวให้ไปช่วยทำงานที่ “เซ็นทรัลเวิลด์”  ชาติไม่เพียงถือเป็นหัวแรงสำคัญในการดึงแบรนด์ดังๆ กว่า 50 แบรนด์ มาอยู่ในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ชาติยังมีส่วนในการโครงการพลิกโฉมเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ เป็น “เซ็นทรัลเวิลด์” เมื่อเกือบ 10 ปีก่อนด้วย  “ตอนนั้น ผมก็ได้ทำหลายอย่าง แต่ก็ติดอยู่ในใจมาตลอดว่า มีบางอย่างที่อยากทำแต่ทำไม่ได้ เพราะติดข้อจำกัดที่ว่าเป็นโครงสร้างที่มีอยู่แล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้มาก ผมก็เลยคิดว่าน่าจะดีนะ ถ้าทำโครงการที่เริ่มจากศูนย์ไม่มีอะไร มีแต่ที่ดินว่างเปล่า

Read More

“Hugz Mall” ส้มหล่น ธุรกิจตบเท้าหนีม็อบรุกอีสาน

 แม้การประกาศเดินหน้าของกลุ่มทุนขอนแก่น “ซีนิทแอสเซท” ทั้งโครงการคอนโดมิเนียมระดับไฮเอนด์ “The Houze Condominium” และคอมมูนิตี้มอลล์ “Hugz Mall” เป็นการท้าทายวิกฤตการเมืองที่ไร้ทางออกและมีสิทธิ์ลากยาวจนถึงปลายปี แต่อีกมุมหนึ่งกลับเป็นเกมพลิก “วิกฤต” เป็น “โอกาส” ในช่วงจังหวะที่หลายๆ ธุรกิจกำลังหาลู่ทางใหม่ เจาะตลาดใหม่ในต่างจังหวัด โดยเฉพาะภาคอีสานและจังหวัดขอนแก่นที่กำลังเติบโตพุ่งพรวดอย่างรวดเร็ว  ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นการขับเคลื่อนครั้งใหญ่ในการต่อสู้กับกลุ่มทุนอสังหาริมทรัพย์และทุนค้าปลีก ทั้งค่ายยักษ์ใหญ่อย่างกลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มสัมมากร รวมถึงทุนต่างชาติที่เตรียมเข้ามายึดหัวหาดธุรกิจหลังการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี) ในปี 2558  พงษ์ศักดิ์ สฤษฎีชัยกุล ประธานบริหาร บริษัท ซีนิท พลาซ่า จำกัด กล่าวว่า ขอนแก่นเป็นจังหวัดที่มีการเปลี่ยนแปลงและเติบโตสูงในทุกๆ ด้าน เพราะตั้งอยู่ใจกลางอีสาน เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์หลังเปิดเออีซี เช่น พม่าจะไปเวียดนามต้องผ่านขอนแก่น จีนจะไปประเทศติดทะเลก็ต้องผ่านขอนแก่น ส่งผลให้ขอนแก่นมีการพัฒนาทั้งด้านการศึกษา เป็นศูนย์ราชการ โรงพยาบาล อสังหาริมทรัพย์ ศูนย์การค้า และพฤติกรรมผู้บริโภคมีการใช้ชีวิตแบบคนรุ่นใหม่มากขึ้น ขณะเดียวกัน ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่า ผลิตภัณฑ์ภาพรวมของจังหวัดขอนแก่นสูงเป็นอันดับ 2 ของภาคอีสานรองจากนครราชสีมา หรือประมาณ 155,000 ล้านบาท

Read More

สงคราม “ห้างหรู” ระอุ เซ็นทรัลชิงเปิด “Embassy”

 หลังจากการเปิดตัว Central World ซึ่งถือเป็น “อภิมหาโครงการ” ของกลุ่มเซ็นทรัล เมื่อปี 2549 นับจากนั้นก็ดูเหมือนว่า กลุ่มเซ็นทรัลจะยังไม่มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่โครงการใดที่มีความสำคัญต่ออนาคตของเครือได้มากมายเท่ากับโครงการ “เซ็นทรัล เอ็มบาสซี่” อีกแล้ว  “กลุ่มเซ็นทรัลไม่เคยลงทุนโครงการไหนที่ใช้เม็ดเงินลงทุนต่อตารางเมตรมากเท่าโครงการนี้มาก่อน” ชาติ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ โครงการ เซ็นทรัล เอ็มบาสซี่ ขยายความว่าโครงการนี้มีพื้นที่ทั้งสิ้น 1.44 แสน ตร.ม. โดยงบลงทุนตั้งไว้สูงถึง 1.8 หมื่นล้านบาท  ครั้งหนึ่ง ทศ จิราธิวัฒน์ ในสมัยที่ยังเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของกลุ่ม CRC เคยบอกไว้ว่า “เซ็นทรัล เอ็มบาสซี่” จะเป็นโครงการที่มีความสำคัญกับกลุ่มเซ็นทรัลอย่างมาก เพราะจะมาต่อยอดภาพลักษณ์ความเป็นห้างไฮเอนด์ให้กับกลุ่มต่อจาก “เซ็นทรัล ชิดลม” ซึ่งวางตำแหน่งเป็น “เรือธง (Flagship)” ห้างหรู ในการใช้เจาะกลุ่มลูกค้าชนชั้น Elite และลูกค้าเกรด A ขึ้นไป รวมถึงรุ่นลูกหลานของกลุ่มดังกล่าว เพียงแห่งเดียวมานานร่วม 40 ปี “คนกลุ่มนี้ต้องการอะไรที่เป็นมากกว่าห้างสรรพสินค้า

Read More

ปัญหาเรื่องการแต่งงานในค่ายลี้ภัยของชาวซีเรีย

 เมื่อเดือนที่แล้วได้กล่าวถึงปัญหาด้านจิตใจของเด็กซึ่งมีผลกระทบมาจากสงครามในซีเรีย ในฉบับนี้จะขอพูดถึงปัญหาการแต่งงานที่เกิดขึ้นภายในค่ายลี้ภัยของชาวซีเรียในประเทศจอร์แดน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องของการแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย การแต่งงานที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และการหย่าร้างที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว  ที่ค่ายลี้ภัย Zaatari ซึ่งเป็นค่ายลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุดของชาวซีเรียอยู่ในประเทศจอร์แดน ค่ายนี้มีชาวซีเรียตั้งแต่เด็กไปจนถึงคนแก่เป็นจำนวนมากที่ลี้ภัยจากสงครามมาอยู่ที่นี่ และเพราะมีคนจำนวนมากย้ายมาอยู่ที่นี่ จึงไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่ที่พ่อแม่หลายๆ คนต้องการให้ลูกแต่งงานกับคนที่ได้พบเจอกันในค่ายลี้ภัยแห่งนี้ เพราะไม่รู้ว่าตัวเองจะต้องอยู่ที่นี่ไปอีกนานเท่าไหร่การแต่งงานที่เกิดขึ้นในค่ายลี้ภัยแห่งนี้ ทำให้เกิดปัญหาหลักๆ 3 เรื่องด้วยกัน ปัญหาแรกที่เกิดขึ้นคือ การบังคับให้เด็กแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย อย่างที่เราทราบกันดีว่า การแต่งงานตั้งแต่ยังเด็กนั้นเป็นเรื่องที่พ่อแม่บังคับให้เด็กผู้หญิงแต่งงานทั้งๆ ที่พวกเธออาจจะไม่ต้องการแต่งงาน และเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะก็ไม่สามารถตัดสินใจได้เองว่าต้องการที่จะแต่งงานหรือไม่ สิ่งเดียวที่พวกเธอทำได้คือการเชื่อฟังพ่อแม่ ดังนั้นพ่อแม่ส่วนใหญ่จึงบังคับลูกสาวให้แต่งงานเมื่อตัวเองเห็นว่าเป็นเวลาที่เหมาะสมแล้วและได้เลือกคนที่เหมาะสมไว้ให้ การแต่งงานตั้งแต่ยังเด็กเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในประเทศซีเรีย The United Nations Children’s Fund (หรือที่เรียกย่อๆ ว่า UNICEF) ได้มีการเปิดเผยข้อมูลทางสถิติว่า มีเด็กผู้หญิงชาวซีเรียอย่างน้อย 3% ที่แต่งงานตอนอายุ 15 ปี และอีกประมาณ 13 % ที่แต่งงานตอนอายุ 18 ปี ซึ่งการบังคับให้เด็กแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อยอยู่นี้เป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไปในเขตชนบท โดยเฉพาะในเขตชนบททางตอนใต้ซึ่งถือว่า การแต่งงานตั้งแต่ยังเด็กนั้นเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อๆ กันมา ในประเทศซีเรีย เด็กผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไป และเด็กผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่

Read More

New Message “พี่ช้างคืนเงิน”

 แรกเริ่ม บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ถือกำเนิดจากพระราชดำริของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จย่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเล็งเห็นว่า ควรจัดตั้งบริษัทประกันภัยของคนไทยขึ้น เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความความเดือดร้อนให้แก่คนไทยและไม่ให้เงินทองรั่วไหลออกจากประเทศ  เนื่องจากประวัติศาสตร์ของวงการประกันภัย แม้มีการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัทประกันวินาศภัยแห่งแรกในประเทศไทย เมื่อปี 2472  คือ บริษัท ไพบูลย์ประกันภัย จำกัด แต่เป็นของนักธุรกิจชาวจีน ก่อนที่จะไปร่วมอยู่ในเครือ “ไทยประกันชีวิต” ของกลุ่มตระกูลไชยวรรณ เมื่อปี 2511 เปลี่ยนชื่อเป็น “ไทยไพบูลย์ประกันภัย” และในแวดวงธุรกิจประกันวินาศภัยยุคนั้น ส่วนใหญ่เป็นของชาวต่างชาติ ทั้งชาวตะวันตก ชาวจีน จดทะเบียนตั้งบริษัทประกันวินาศภัย รับประกันตึก รับประกันการขนส่งทางทะเล เรียกว่า คนไทยต้องจ่ายเบี้ยประกันให้ชาวต่างชาติทั้งหมด  เมื่อสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกามีพระราชดำริ จึงมีการระดมเงินทั้งจากทุนทรัพย์ส่วนพระองค์และกลุ่มคนชนชั้นสูง ก่อตั้งบริษัท สยามประกันภัย ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2481 ถือเป็นบริษัทประกันวินาศภัยที่มีทุนจดทะเบียนมากที่สุดในเวลานั้น  ปีถัดมา บริษัทเปลี่ยนชื่อเป็น “ไทยประกันภัย” เนื่องจากประเทศไทยเปลี่ยนชื่อจาก “สยาม” เป็น

Read More