แฟรนไชส์ธุรกิจอาหารเครื่องดื่มเติบโตขึ้นจากข้อเท็จจริงของการเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่ทุกคนต้องบริโภคด้วยการเติบโตของธุรกิจอาหารเครื่องดื่ม ไม่ได้ดำเนินไปโดยมีผู้ประกอบการรายใหญ่ ทั้งไทยเบฟเวอเรจ หรือกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ เป็นผู้แสดงหลักแต่โดยลำพังเท่านั้น หากแต่ในความเป็นจริง ธุรกิจอาหารเครื่องดื่ม ยังเติบโตขึ้นจากข้อเท็จจริงของการเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่ทุกคนต้องบริโภคด้วย นอกจากนี้ การเติบโตขึ้นของธุรกิจอาหารเครื่องดื่ม ยังประกอบส่วนไปด้วยผู้ประกอบการรายย่อยๆ ที่ผันตัวเข้ามาดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ (franchise)ซึ่งมีส่วนหนุนนำให้จักรกลทางเศรษฐกิจในแต่ละระนาบดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง จากผลการสำรวจล่าสุดของสมาคมแฟรนไชส์ไทย ระบุว่า ปัจจุบันมีร้านค้าที่อยู่ในระบบแฟรนไชส์ รวมมากถึงกว่า 85,000 แห่ง โดยมีอัตราการเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ยปีละประมาณร้อยละ 20 หรือมีสาขาเปิดใหม่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละกว่า 7,000-8,000 แห่ง หรือมีร้านค้าแฟรนไชส์เปิดใหม่กว่า 20 แห่งต่อวันเลยทีเดียว การเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจในกลุ่มอาหารเครื่องดื่ม ในด้านหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการที่จะเป็นผู้ประกอบการและเป็นเจ้าของธุรกิจเอง มากกว่าที่จะเป็นลูกจ้างหรือพนักงานบริษัทในแบบเดิม ขณะที่บางส่วนประเมินว่าธุรกิจแฟรนไชส์ สามารถเป็นอาชีพที่ช่วยสร้างรายได้เสริมได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกัน มาตรการส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์จากภาครัฐ ทั้งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมส่งเสริมการส่งออก รวมถึงการสนับสนุนด้านเงินทุนจากสถาบันการเงิน ต่างเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้ธุรกิจแฟรนส์ไชน์ในไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงปีที่ผ่านมา (2555-2556) มูลค่าการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์ มีมูลค่าถึงกว่า 2.38 แสนล้านบาท “กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม นับเป็นกลุ่มที่นักลงทุนให้ความสนใจมากที่สุด รองลงมาเป็นกลุ่มการศึกษา และกลุ่มค้าปลีก ตามลำดับ ซึ่งการลงทุนมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบร้านค้า ด้วยเงินลงทุน 2-3 ล้านบาท
CP AllFranchiseธุรกิจแฟรนไชส์บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) Read More