Home > Supapim Mancel (Page 3)

Pyramide du Louvre พีระมิดแก้วพระราชวังลูฟวร์

Column: From Paris ในปี 1989 กลับไปปารีสครั้งแรกหลังจากเรียนจบ สิ่งหนึ่งที่รีบไปดูคือ พีระมิดแก้วที่พระราชวังลูฟวร์ (Louvre) เมื่อฟรองซัวส์ มิตแตรองด์ (François Mitterrand) ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในปี 1981 เขามีดำริให้ปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ โดยจะให้หน่วยงานทั้งหลายที่ตั้งในพระราชวังแห่งนี้ เช่น กระทรวงการคลัง ย้ายออกไป เพื่อให้พิพิธภัณฑ์ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของพระราชวัง จึงเกิดโครงการ Grand Louvre ทั้งนี้ โดยไม่มีการเรียกประกวดราคาและเสนอรูปแบบสถาปัตยกรรม ฟรองซัวส์ มิตแตรองด์เลือกสถาปนิกชาวอเมริกันเชื้อสายจีน Ieoh Ming Pei เป็นผู้ออกแบบการปรับปรุงลูฟวร์ ซึ่งเสนอให้ใช้พื้นที่ตรงลานนโปเลอง (cour Napoléon) ซึ่งเป็นที่ตั้งของรูปทรงม้าของกษัตริย์หลุยส์ 14 (Louis 14) เพื่อทำเป็นทางเข้าใหญ่สู่พิพิธภัณฑ์ อันที่จริงการเสนอให้สร้างพีระมิดตรง cour Napoléon มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เพื่อรำลึกถึง 100 ปีของการปฏิวัติฝรั่งเศส นอกจากนั้น ยังพบพันธะสองอย่างที่ต้องทำในบันทึกของ Bernard François Balzac

Read More

ไปรษณีย์ฝรั่งเศส

Column: From Paris ชอบใจบริการไปรษณีย์ฝรั่งเศสมาก บุรุษ (สตรี) ไปรษณีย์แถวบ้านจะขี่จักรยานมาส่ง ที่รถจะมีกระเป๋าใส่จดหมายและเอกสาร รวมทั้งพัสดุเล็กๆ แต่ในบางย่านเห็นบุรุษไปรษณีย์เดินเข็นรถไปตามอาคารต่างๆ เพราะให้บริการในย่านที่ไม่ไกลจากสำนักงานไปรษณีย์ La Poste ไปรษณีย์ฝรั่งเศสเริ่มมีในปี 1441 สมัยกษัตริย์หลุยส์ที่ 11 เพื่อส่งหนังสือของราชสำนัก ทว่ารูปแบบการบริหารการไปรษณีย์แบบในปัจจุบันเริ่มในศตวรรษที่ 17 ให้บริการส่งจดหมาย ผู้ได้รับจดหมายเป็นผู้จ่ายค่าบริการ รัฐเป็นผู้ริเริ่มการให้บริการสำหรับการติดต่อภายใน และการส่งต่อคำสั่งและรายงานระหว่างหน่วยงาน ในปี 1879 ได้รวมกิจการไปรษณีย์และโทรเลขเข้าด้วยกัน ได้ชื่อใหม่ว่า La Poste, Télégraphes et Téléphones (PTT) ขึ้นกับกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม (Ministère des Postes et Télécommunications) ในปี 1946 ได้แบ่งออกเป็น 2 หน่วยงาน คือ การไปรษณีย์ (Direction de la Poste) และการโทรคมนาคม (Direction

Read More

อิมเพรสชั่นนิสต์ที่ลอนดอน

Column: From Paris Paris Plages เป็นกิจกรรมฤดูร้อนที่เทศบาลกรุงปารีสจัดระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคมถึงสิ้นเดือนสิงหาคม เป็นการแปลงริมแม่น้ำแซน (Seine) ช่วงหนึ่งให้เป็นชายหาด สำหรับคนที่ไม่มีโอกาสไปพักร้อน และเป็นสีสันสำหรับนักท่องเที่ยว แต่เดิมจะนำทรายมาเท ตั้งเก้าอี้ผ้าใบและร่มกันแดด บางหาดก็ปูหญ้าเทียม มีกิจกรรมสำหรับเด็กๆ สระว่ายน้ำ หน้าศาลากลางกรุงปารีส (Hôtel de ville) เททราย ขึงเน็ตสำหรับกีฬาวอลเลย์บอลชายหาด ทว่านั่นกลายเป็นอดีตไปแล้ว เพราะนายกเทศมนตรีกรุงปารีสคนปัจจุบันลดกิจกรรมหมดทุกอย่าง ยกเว้นการตั้งเก้าอี้ผ้าใบและร่มกันแดด มีกิจกรรมสำหรับเด็กเล็ก ผลก็คือ ผู้คนบางตา ไปเดินริมแม่น้ำแซนบ่อยๆ วันหนึ่งเห็นบอร์ดติดรีโปรดักชั่นภาพเขียนของจิตรกรอิมเพรสชั่นนิสต์ (impressionniste) หลายภาพด้วยกัน จึงได้ทราบว่ากำลังมีนิทรรศการอิมเพรสชั่นนิสต์ที่เปอติต์ ปาเลส์ (Petit Palais) Petit Palais เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับงานเอกซ์โปนานาชาติปี 1900 ต่อมาเป็นพิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์ ขึ้นอยู่กับเทศบาลกรุงปารีส Musée des beaux-arts de la Ville de Paris มีงานศิลป์มากมาย

Read More

Sex shop

Column: From Paris สมัยที่ไปเรียนที่เมืองนีซ (Nice) นักเรียนไทยกลุ่มใหญ่เลี้ยวเข้าไปในเซ็กซ์ชอป รุ่นเด็กดูไม่รู้เรื่อง แต่รุ่นใหญ่กิ๊กกั๊กกันสนุกสนาน นั่นเป็นครั้งแรกที่ไปเข้าไปในสถานที่ “อโคจร” ครั้งหนึ่งไปเที่ยวโคเปนเฮเกน เจ้าถิ่นพาเดินถนนที่มีการค้าประเวณี ไปเดินเล่นแถวปิกาล (Pigalle) เพราะอยากเห็นคาบาเรต์ที่ชื่อ Moulin Rouge รู้สึกเป็นอะไรที่ต้องดู ในอดีตย่านนี้เต็มไปด้วยคาบาเรต์และ music hall และแน่นอนย่อมมีหญิงบริการด้วย ผู้จำลองวิถีชีวิตของย่านปิกาลลงบนผืนผ้าใบคือ อองรี เดอ ตูลูซ-โลเทรก (Henri de Toulouse-Lautrec) ซึ่งใช้ชีวิตยามราตรีตามสถานที่เหล่านี้ แต่สิ่งที่ได้เห็นพร้อมกับคาบาเรต์ในปิกาลคือบรรดาเซ็กซ์ชอป เต็มสองฟากถนน แต่เมื่อใดที่เดินลัดเลาะตามซอกซอย พบว่าเป็นย่านที่น่าอยู่มาก เต็มไปด้วยเสน่ห์ อาคารสวย ที่แม้บางครั้งจะมีคุณผู้หญิงแต่งตัวสวยยืนรอแขกก็ตาม ปิกาลอยู่ในเขต 18 (18ème arrondissement) ซึ่งเป็นเขตที่หนุ่มสาวยุคใหม่นิยมมาพำนัก เทศบาลปรับปรุงเพื่อรองรับชุมชนใหม่เหล่านี้ด้วย เช่น โรงเรียนและสวนหย่อม ย่านชาตเลต์ (Châtelet) และเลส์ อาลส์ (Les Halles) รวมทั้งย่านโบบูรก์ (Beaubourg)

Read More

มิเชล เลอกรองด์

Column: From Paris ถ้ารู้จักเพลง I will wait for you และ The windmills of your mind ต้องรู้จักมิเชล เลอกรองด์ (Michel Legrand) มิเชล เลอกรองด์ เกิดในครอบครัวที่มีแต่เสียงดนตรี พ่อและลุงเป็นนักดนตรี เขาเล่นเปียโนได้ตั้งแต่อายุ 3 ขวบ โดยไล่โน้ตตามเสียงเพลงที่ได้ยินทางวิทยุ แม่จึงพาไปเรียนเปียโนอย่างเป็นกิจจะลักษณะ เมื่อครูไปทำงานที่ Conservatoire de Paris ก็พามิเชล เลอกรองด์ไปด้วย เขาจึงได้เรียนที่นี่ตั้งแต่อายุ 9 ขวบ นอกจากเปียโนแล้วยังไปหัดเล่นดนตรีชนิดอื่นๆ ซึ่งมีส่วนช่วยมากในการแต่งเพลงในภายหลัง เขาพบว่าดนตรีเป็นทางออกของเด็กหงอยเหงาอย่างเขา มิเชล เลอกรองด์ออกจาก Conservatoire de Paris เมื่ออายุ 20 ปี เขาเล่นเปียโนสำหรับการร้องเพลง “หน้าม่าน” ในยุคนั้นจะมีการแสดงดนตรีคั่นระหว่างข่าวและภาพยนตร์ หรือช่วงพักครึ่งเวลา เขาได้ทำงานกับนักร้องดังหลายคน

Read More

ลูร์ดส์ เมืองพระแม่มารี

Column: From Paris แบร์นาแดต ซูบีรูส์ (Bernadette Soubirous) เกิดที่มูแลง เดอ โบลี (Moulin de Boly) ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1858 ไปเก็บใบไม้แห้งในป่าพร้อมกับพี่และเพื่อน สองคนหลังเดินไปที่อื่น แบร์นาแดตได้ยินเสียงลม จึงเดินไปที่ถ้ำมัสซาเบียล (Grotte de Massabielle) และได้เห็นสตรีสวมชุดขาวผู้หนึ่ง คลุมผมด้วยผ้าขาวเช่นกัน คาดเอวด้วยผ้าสีฟ้า ที่เท้าแต่ละข้างมีดอกกุหลาบสีเหลือง เธอจึงทำเครื่องหมายไม้กางเขนและเริ่มสวดมนต์ พอสวดจบ สตรีผู้นั้นก็หายไป ต่อมาในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ แบร์นาแดตกลับไปที่ถ้ำอีก และสวดมนต์ไปได้สิบกว่าจบ สตรีในชุดขาวปรากฏให้เห็นอีก เธอพรมน้ำมนต์ไปที่ร่างของสตรีผู้นั้น ซึ่งยิ้มและพยักหน้ารับรู้ ก่อนที่จะหายตัวไป ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ แบร์นาแดตขอให้สตรีชุดขาวเขียนชื่อบนกระดานชนวน ก็ได้รับคำตอบว่าไม่จำเป็น และกล่าวว่า ข้าไม่ขอสัญญาว่าจะทำให้เจ้ามีความสุขในชาตินี้ แต่ในชาติอื่นๆ และขอให้แบร์นาแดตมาที่ถ้ำอีกเป็นเวลา 15 วัน แบร์นาแดตจึงกลับไปในวันที่ 19

Read More

ฟรองซัวส์ โอลลองด์ หลังหมดวาระ

Column: From Paris เมื่อลิโอเนล โจสแปง (Lionel Jospin) ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยประธานาธิบดี ฟรองซัวส์ มิตแตรองด์ (François Mitterrand) ผู้มาแทนเขาในตำแหน่งเลขาธิการพรรคสังคมนิยมคือ ฟรองซัวส์ โอลองด์ (François Hollande) ตั้งแต่ปี 1997 จนถึง 2008 ในฐานะเลขาธิการพรรคสังคมนิยม ฟรองซัวส์ โอลลองด์สามารถสมัครเป็นตัวแทนพรรคลงเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2007 แต่เนื่องจากเซโกแลน รัวยาล (Ségolène Royal) คู่ชีวิตที่กำลังระหองระแหง หาเสียงจนได้รับเลือกเป็นตัวแทนพรรคในปีนั้น แต่พ่ายแพ้แก่นิโกลาส์ ซาร์โกซี (Nicolas Sarkozy) พรรคสังคมนิยมมีตัวเลือกมากมายที่มุ่งหมายตำแหน่งประธานาธิบดีที่โดดเด่นมากคือ โดมินค สโตรส-กาห์น (Dominique Strauss-Kahn) ซึ่งเป็นผู้อำนวยการ IMF ในขณะนั้น แต่ต้องสะดุดขาตัวเองเสียก่อนด้วยความมักมากในกามคุณ ถูกตำรวจนิวยอร์กจับและขึ้นศาล เป็นโอกาสให้ฟรองซัวส์ โอลลองด์เดินหน้าหาเสียงเพื่อเป็นตัวแทนพรรค คราวนี้เขาไม่พลาด จนได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีในปี 2012 ฟรองซัวส์ โอลลองด์เป็นประธานาธิบดีที่ชาวฝรั่งเศสไม่ปลื้มที่สุด ถูกวิพากษ์ว่าไม่กล้าตัดสินใจ ไม่ดำเนินนโยบายตามที่หาเสียงไว้

Read More

สเต๊กเนื้อ

Column: From Paris บ้านคนจีนทั่วไป เนื้อวัวเป็นอาหารต้องห้าม ไม่ทราบว่าทำไมเป็นอย่างนั้น เพื่อนบางคนที่มีเชื้อสายจีนไม่ยอมกินเนื้อวัวมาจนทุกวันนี้ นัยว่าเนื้อวัวมีกลิ่นเหม็น แม่ไม่ปรุงอาหารที่เป็นเนื้อวัว จวบจนเมื่อพวกเราเข้าโรงเรียน ต้องรับประทานอาหารที่โรงเรียน ของกินมีเพียงไม่กี่อย่าง อย่างหนึ่งคือก๋วยเตี๋ยวเนื้อ จำได้ว่าเริ่มกินเพราะแถวสำหรับก๋วยเตี๋ยวหมูยาวเกินไป จำต้องไปที่แผงก๋วยเตี๋ยวเนื้อ และเป็นครั้งแรกที่กินเนื้อวัว กลับบ้านเล่าให้แม่ฟัง แม่ไม่เห็นว่าอย่างไร ในภายหลังแม่ทนเสียงรบเร้าของลูกๆ ไม่ได้ ซื้อเนื้อมาปรุงอาหารให้ลูกกินด้วย จานเด็ดคือคะน้าเนื้อน้ำมันหอย เนื้อวัวจึงเป็นอาหารอร่อยที่พวกเราหากิน แถมข้างบ้านมีก๋วยเตี๋ยวเนื้อแสนอร่อย เป็นร้านที่มีมาจนทุกวันนี้ที่ท่าช้างวังหลวง ไปทางท่าน้ำนั่นแหละ เหล่าจีนที่มาพึ่งบารมีปู่มีฝีมือการทำอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อตุ๋น นานๆ เข้าครัวสักทีเพื่อปรุงเนื้อตุ๋นหม้อใหญ่ เป็นอาหารสำหรับผู้ใหญ่ในบ้าน เด็กๆ ได้แต่สูดดมกลิ่นหอม ถ้าให้เลือกระหว่างก๋วยเตี๋ยวเนื้อและก๋วยเตี๋ยวหมู ขอเลือกก๋วยเตี๋ยวเนื้อ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสด เนื้อตุ๋นและลูกชิ้น รู้สึกว่าได้รสชาติมากกว่า สมัยทำงาน แถวโรงไม้ข้างโรงเรียนอัสสัมชัญ ซึ่งปัจจุบันรื้อไปหมดแล้วเพื่อสร้างตึกเรียน มีร้านก๋วยเตี๋ยวเนื้อนายปาน เป็นร้านเชลล์ชวนชิม ไม่เคยเข้าไปกินเลยจนกว่า 20 ผ่านไป เพื่อนร่วมงานชักชวนกันไปชิมหลังจากเดินผ่านมานาน ได้ก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋นหม้อดินมา ปรากฏว่าอร่อยมาก จนต้องซื้อกลับบ้าน ชี้ชวนให้แม่และน้องๆ รวมทั้งหลานกิน พร้อมกับบอกว่าอร่อยที่สุดในประเทศไทย ทุกครั้งที่ไปร้านนายปาน

Read More

Rolex Daytona

Column: From Paris ถึงแม้พอล นิวแมน (Paul Newman) ดารานัยน์ตาสวย จะเสียชีวิตไปในปี 2008 แต่ยังสามารถสร้างปรากฏการณ์ไว้ให้ชนรุ่นหลังทึ่ง นับตั้งแต่แสดงภาพยนตร์เรื่อง Virages ในปี 1969 พอล นิวแมนคลั่งไคล้การขับรถแข่ง เคยเข้าแข่งแบบอาชีพตั้งแต่ปี 1977 เคยเข้าเส้นชัยเป็นอันดับที่ 2 ในปี 1979 ในรายการ 24 Heures du Mans การขับรถแข่งสร้างความหวาดเสียวให้ภรรยา คือ โจแอน วู้ดเวิร์ด (Joanne Woodward) ซึ่งเป็นดาราดังเช่นกัน ในปี 1972 เธอไปที่ห้าง Tiffany’s ซื้อนาฬิกา Rolex Daytona ให้เป็นของขวัญสามี โดยให้ห้างสลักหลังว่า Drive carefully. Me รูปที่ถ่ายในปี 1981 พอล นิวแมนสวมนาฬิกาเรือนนี้นั่งอยู่หลังพวงมาลัยรถสปอร์ต ทำให้นาฬิการุ่นนี้ขายดีในทศวรรษ

Read More

Mai 68

Column: From Paris การเปลี่ยนแปลงใหญ่ในแต่ละครั้ง ย่อมมีการสูญเสีย ฝรั่งเศสมีสถาบันกษัตริย์จนถึงปี 1789 ราษฎรที่กรุงปารีสแร้นแค้น ในขณะที่ราชสำนักที่แวร์ซายส์ (Versailles) ไม่ตระหนัก ชาวปารีเซียงจึงลุกฮือเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 1789 สถาบันกษัตริย์ถูกล้มล้าง กษัตริย์หลุยส์ที่ 16 และ มารี-อองตัวแนต (Marie-Antoinette) รวมทั้งขุนนางผู้ภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ถูกประหารด้วยเครื่องกีโยตีน (guillotine) ถือเป็นการปฏิวัติใหญ่ของฝรั่งเศส หากการปฏิวัติครั้งนั้นใช่ว่าจะจบสิ้นลงในเร็ววัน แต่ยืดเยื้ออยู่หลายปี ผู้นำการปฏิวัติเข่นฆ่ากันเอง ฝรั่งเศสเพิ่งกลับมาเป็นหนึ่งเดียวในยุคนโปเลอง (Napoléon) เป็นยุคจักรวรรดิ (Empire) และแม้จะมีความพยายามรื้อฟื้นสถาบันกษัตริย์ แต่ไม่ได้ใช้ว่า กษัตริย์ของฝรั่งเศส – roi de France แต่เป็นกษัตริย์ของชาวฝรั่งเศส – roi des Français แล้วก็มาถึงยุคสาธารณรัฐ (République) ที่ล้มลุกคลุกคลาน จนมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 1958 การเมืองฝรั่งเศสจึงค่อยมั่นคง ฝรั่งเศสมีการ “ปฏิวัติ” ใหญ่อีกครั้งหนึ่งในปี

Read More