Home > Supapim Mancel (Page 2)

เส้นทางของ Didier Raoult

Column: From Paris Covid-19 ทำให้รู้จักชื่อ Didier Raoult ศาสตราจารย์นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อ ผู้พบว่ายา chloroquine และ hydroxychloroquine สามารถใช้กับผู้ที่ติดเชื้อ Covid-19 จนสร้างความแตกแยกในวงการแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ของฝรั่งเศส Didier Raoult เกิดที่เมือง Dakar ประเทศเซเนกัล (Sénégal) พ่อเป็นแพทย์ทหาร พื้นเพชาวนอร์มองดี (Normandie) ผู้ก่อตั้งสถาบันวิจัยอาหารในแอฟริกา ส่วนแม่เป็นพยาบาล ครอบครัวย้ายกลับฝรั่งเศส ตั้งรกรากที่เมืองมาร์เซย (Marseille) ขณะที่เขาอายุ 10 ขวบ เขาเรียนไม่ดี พออายุ 17 ปี ลาออกจากโรงเรียนเพื่อไปทำงานในเรือพาณิชย์เป็นเวลา 2 ปี ในปี 1972 เขากลับมาสอบมัธยมปลายด้านวรรณคดี และเข้าเรียนในคณะแพทยศาสตร์ของมาร์เซย เพราะเป็นวิชาเดียวที่พ่อจะออกค่าใช้จ่ายให้ ผลการเรียนขณะเป็นอินเทิร์นทำให้ไม่ได้เรียนสาขาที่อยากเรียน จึงต้องมาเรียนด้านโรคติดเชื้อเฉกเช่นเดียวกับตา เขาพูดเสมอว่าต้องการเป็นคนเก่งที่สุดในโลก เขาเดินทางไปศึกษาต่อในสหรัฐอเมริกาจนได้รับปริญญาเอก ผลการเรียนดีเลิศจนสถาบันแพทย์แห่งหนึ่งต้องการให้เขาร่วมทีมด้วย แต่เขาเลือกเดินทางกลับฝรั่งเศส ได้เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยเมืองมาร์เซย Didier Raoult

Read More

ผลกระทบจาก Covid-19

Column: FROM PARIS ยุคที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเฟื่องฟู นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเต็มกรุงปารีส แล้วก็มาถึงยุคจีนเปิดประเทศ และเศรษฐกิจเติบโต ชาวจีนพ้นจากความยากจน เริ่มอยากใช้เงิน จึงสรรหาสินค้าต่างประเทศ แล้วพัฒนาไปถึงสินค้าแบรนด์เนม นักท่องเที่ยวจีนคลาคล่ำเต็มห้างสรรพสินค้าในกรุงปารีส และบูติกแบรนด์เนมทั้งหลาย แรกทีเดียว บรรดาแบรนด์เนมรังเกียจนักท่องเที่ยวชาวจีน หลุยส์ วุตตง ถึงกับขายสินค้าให้นักท่องเที่ยวจีนคนละหนึ่งชิ้นเท่านั้น เพราะเกรงชาวจีนซื้อไปก๊อบปี้ออกมาขาย ทำเอานักท่องเที่ยวจีนมองหาใครก็ได้ที่จะอนุเคราะห์ซื้อให้ เคยได้รับการทาบทามขณะเดินเล่นในห้างกาเลอรีส์ ลาฟาแยต แต่ปฏิเสธไป กาลเวลาผ่านไป จำนวนนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นผู้มีกำลังซื้ออย่างแท้จริง แบรนด์เนมทั้งหลายจึงเปิดกว้าง ซื้อได้ไม่อั้น ตามห้างสรรพสินค้า ชาวจีนเข้าแถวรอซื้อแบรนด์เนม ยี่ห้อยอดนิยมคือ หลุยส์ วุตตง ชาแนล กุชชี รองลงมาคือลงชองป์ นอกจากสินค้าแฟชั่นแล้ว การหลั่งไหลมาของนักท่องเที่ยวจีนยังประโยชน์แก่ธุรกิจโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงแรมและร้านอาหาร เมื่อเกิดโรคระบาด Covid-19 จีนปิดประเทศ ห้ามชาวจีนเดินทางออกนอกประเทศ นั่นย่อมกระทบเศรษฐกิจโลก ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวจีน เมื่อไร้ซึ่งชาวจีนแล้ว ห้างร้านเงียบเหงา เศรษฐกิจฝรั่งเศสเสียหายถึงสองพันล้านยูโร ห้างสรรพสินค้ากาเลอรีส์ ลาฟาแยตรับทัวร์เป็นหลัก จึงเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวจีนในทุกแผนก มากจนต้องจัดแผนกรับลูกค้าชาวจีนโดยเฉพาะ ในวันนี้กาเลอรีส์ ลาฟาแยตหาหน้าเอเชียแทบไม่ได้เลย ห้างจึงค่อนข้างร้างจนน่าตกใจ

Read More

แบร์นารด์ กาซเนิฟ ความหวังของพรรคสังคมนิยม

Column: From Paris เมื่อครั้งเกิดการก่อร้ายในกรุงปารีสในเดือนพฤศจิกายน 2015 ซึ่งเกิดในหลายจุด จุดแรกที่สนาม Stade de France ซึ่งกำลังมีการแข่งฟุตบอลกระชับมิตรระหว่างฝรั่งเศสและเยอรมนี ประธานาธิบฟรองซัวส์ โอลลองด์ (François Hollande) ไปชมด้วย เห็นภาพเจ้าหน้าที่ไปกระซิบฟรองซัวส์ โอลลองด์ ซึ่งลุกไปรับฟังสถานการณ์ และกลับมานั่งชมการแข่งขันต่อจนจบ เพื่อไม่ให้เป็นที่ผิดสังเกต ระหว่างการแข่งขันมีเสียงระเบิดนอกสนาม แต่ผู้คนในสนามเข้าใจว่ามีการจุดประทัด อันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยๆ หากมีการแข่งฟุตบอลนัดสำคัญ จึงไม่ได้เอะใจ ฟรองซัวส์ โอลลองด์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเลือกที่จะไม่ประกาศเลิกการแข่งขัน เพราะเกรงจะเกิดความโกลาหล และอาจเกิดวามเสียหายถึงชีวิตก็ได้ ความตื่นตกใจอาจทำให้เหยียบกันตายได้ ในตัวกรุงปารีสเองผู้ก่อการร้ายบุกเข้าไปยิงผู้ที่กำลังชมคอนเสิร์ต Eagles of Death Metal ในโรงมหรสพ Bataclan อีกทั้งร้านอาหารในบริเวณใกล้เคียง เป็นการก่อร้ายที่รุนแรงมาก มีผู้เสียชีวิตนับ 100 คน อีกทั้งผู้บาดเจ็บอีกมากมาย ชาวฝรั่งเศสชื่นชมการบริหารวิกฤตการณ์ของประธานาธิบดีฟรองซัวส์ โอลลองด์ และรัฐมนตรีมหาดไทย แบร์นารด์ กาซเนิฟ (Bernard Cazeneuve) เป็นครั้งแรกที่ได้เห็นความเงียบ สุขุมของรัฐมนตรีผู้นี้ และคิดว่าแบร์นารด์

Read More

ชองป์เซลีเซส์อาดูร

Column: From Paris ถนนชองป์เซลีเซส์ (avenue des Champs-Elysées) เป็นสัญลักษณ์ของกรุงปารีสที่ชาวฝรั่งเศสภาคภูมิใจ จุดเด่นอยู่ที่ประตูชัย (Arc de triomphe) ด้านหนึ่ง ซึ่งข้างใต้มีหลุมฝังศพของทหารนิรนาม และมีเพลิงไฟที่จุดอยู่ตลอดเวลา ณ ที่นี้เป็นสถานที่รัฐบาลฝรั่งเศสประกอบพิธีรำลึกที่เกี่ยวกับทหาร นอกจากนั้นชองป์เซลีเซส์ยังเป็นถนนที่ประธานาธิบดีทุกคนที่เมื่อได้รับมอบตำแหน่งแล้วจะนั่งรถยนต์ออกมาพบปะกับประชาชนที่มารอเฝ้าชมโฉมหน้าประธานาธิบดีคนใหม่ ประธานาธิบดีบางคนลงจากรถเพื่อไปสัมผัสมือกับประชาชน สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าแก่หน่วยรักษาความปลอดภัย เมื่อถึงวันชาติฝรั่งเศส 14 กรกฎาคม จะมีการสวนสนามไปตามถนนชองป์เซลีเซส์ ไปจบสิ้นที่ปลาซ เดอ ลา กงกอร์ด (Place de la Concorde) อันเป็นที่ตั้งปะรำพิธี และเมื่อมีการฉลองที่เป็นความยินดีของชาวฝรั่งเศสทั้งมวล ไม่ว่าจะเป็นวันฉลองปีใหม่ การรวมตัวเพื่อแสดงความยินดีที่ฝรั่งเศสได้เป็นแชมป์บอลโลก หรือการแห่ถ้วยบอลโลกล้วนแต่มาที่ชองป์เซลีเซส์ทั้งสิ้น การแข่งจักรยาน Tour de France จะมาสิ้นสุดที่ชองป์เซลีเซส์ หรือแม้แต่การรวมตัวในวาระต่างๆ ถนนชองป์เซลีเซส์ก่อสร้างในยุคสมัยของกษัตริย์หลุยส์ 14 ที่ประสงค์จะเดินทางจากพระราชวังตุยเลอรีส์ (Palais des Tuileries) ไปยังแวร์ซายส์ (Versailles) ได้สะดวก เพราะกำลังก่อสร้างปราสาทที่แวร์ซายส์อยู่

Read More

Paris School of Economics

Column: FROM PARIS ฝรั่งเศสภูมิใจมากที่ Esther Duflo ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 2019 นี้ เพราะเธอเป็น “ผลผลิต” ของฝรั่งเศส Esther Duflo เกิดที่ปารีสในปี 1972 บิดาเป็นนักคณิตศาสตร์ ส่วนมารดาเป็นกุมารแพทย์ที่ไปร่วมทำงานด้านมนุษยธรรมอยู่เนืองๆ Esther Duflo จึงได้รับความบันดาลใจจากมารดา และเป็นจิตอาสาสำหรับ NGO หลายแห่ง เธอสอบเข้า Ecole normale supérieure ได้เป็นที่ 4 ได้ปริญญาโทด้านประวัติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ เพื่อนร่วมชั้นคือ Thomas Piketty แนะนำให้เธอเรียนเศรษฐศาสตร์ เธอได้ diplôme d’études approfondies จาก Ecole des hautes études en sciences sociales (EHESS) ได้ agrégation de sciences économiques

Read More

วิวาทะเรื่องดาวมิชแลง

Column: From Paris Michelin เป็นบริษัทผลิตยางรถยนต์ของฝรั่งเศส และยางสำหรับพาหนะอื่นๆ ด้วย รวมทั้งเครื่องบิน พนักงานขายของ Michelin ต้องเดินทางไปทั่วประเทศ จึงคิดทำแผนที่สำหรับการขับรถ และทำหนังสือคู่มือสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีปกสีเขียว จึงเรียกว่า Guide vert แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในแต่ละเมือง และไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว พนักงานเหล่านี้ต้องไปพักแรมและรับประทานตามเมืองต่างๆ ที่เดินทางไป จึงเกิด Guide Michelin หรือที่เรียกกันว่า Guide rouge เพราะปกสีแดง แนะนำร้านอาหารตามหมู่บ้าน ตำบลหรือจังหวัดต่างๆ ของฝรั่งเศส และที่พัก ทั้งนี้ โดยแสดงความคิดเห็นด้วย กลายเป็นคู่มือของบรรดานักชิมอาหาร นับตั้งแต่ปี 1900 ถึง 2007 ขายได้ถึง 35 ล้านเล่ม ต่อมามีการให้ดาว Michelin สำหรับร้านอาหารอร่อย บรรยากาศดี การบริการยอดเยี่ยมในฝรั่งเศสและโมนาโก เฉพาะในปี 2016 มีร้านสามดาว 25

Read More

สิ้นรัฐบุรุษที่ชื่อฌาคส์ ชีรัก

Column: FROM PARIS คืนวันที่ 25 ต่อวันที่ 26 กันยายน 2019 ฝรั่งเศสได้สูญเสียรัฐบุรุษ 1 คน คือ ฌาคส์ ชีรัก (Jacques Chirac) อดีตประธานาธิบดี ครอบครัวได้แจ้งข่าวแก่ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง (Emmanuel Macron) ซึ่งยกเลิกกำหนดการทั้งมวลในหลายวันข้างหน้าเพื่อเตรียมการรัฐพิธีศพของรัฐบุรุษผู้นี้ ฌาคส์ ชีรักเป็นนักการเมืองฝ่ายขวา เริ่มชีวิตการเมืองจากการเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดกอแรซ (Corrèze) แล้วในปี 1967 ได้เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี ประธานาธิบดีวาเลรี จิสการด์ เดสแตง (Valéry Giscard d’Estaing) แต่งตั้งให้เขาเป็นนายกรัฐมนตรีในปี 1974 ระหว่างดำรงตำแหน่ง ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีกรุงปารีสในปี 1977 เขาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 1979 เพราะไม่ลงรอยกับประธานาธิบดี แล้วตั้งพรรคการเมือง Rassemblement pour la République ฌาคส์ ชีรักลงเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 1981

Read More

ความแนบแน่นระหว่างมาครงและซาร์โกซี

Column: From Paris เอ็มมานูเอล มาครง (Emmanuel Macron) เข้าสู่เวทีการเมืองในยุคประธานาธิบดีฟรองซัวส์ โอลลองด์ (François Hollande) ด้วยการแนะนำของฌาคส์ อัตตาลี (Jacques Attali) ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของฝ่ายหลัง และเป็นผู้ค้นพบความปราดเปรื่องของฝ่ายแรกเมื่อได้ทำงานด้วยกัน โดยฟรองซัวส์ โอลลองด์แต่งตั้งให้เอ็มมานูเอล มาครงเป็นรองเลขาธิการทำเนียบเอลีเซ (Palais de l’Elysée) อันเป็นทำเนียบประธานาธิบดี และเมื่อตำแหน่งรัฐมนตรีงบประมาณว่างลง ฟรองซัวส์ โอลลองด์ไม่ยอมแต่งตั้งเอ็มมานูเอล มาครงตามความปรารถนาของเจ้าตัว จึงเป็นที่มาของการลาออก หลังจากว่างานอยู่ไม่กี่เดือน ก็ถึงคราวปรับคณะรัฐมนตรี เอ็มมานูเอล มาครงได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีเศรษฐกิจ อันเป็นตำแหน่งที่ใหญ่กว่าที่เคยปรารถนา ฟรองซัวส์ โอลลองด์จึงถือเอ็มมานูเอล มาครงเป็นเด็กสร้างของตน แต่แล้วเด็กสร้างก็ลาออกไปเพื่อเตรียมตัวลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2017 แรกทีเดียวประธานาธิบดีฟรองซัวส์ โอลลองด์ไม่เชื่อว่าเอ็มมานูเอล มาครงจะทาบรอยเท้า มิไยที่บรรดาคนสนิทจะเตือนก็ตาม และเมื่อเอ็มมานูเอล มาครงประกาศอย่างเป็นทางการจะลงสมัครรับเลือกตั้ง และมีทีท่าว่าจะได้รับการสนับสนุนมาก ประธานาธิบดีในตำแหน่งมักจะลงสมัครเป็นวาระที่สอง ทว่าคนสนิทของฟรองซัวส์ โอลลองด์แนะนำว่าไม่ควรลง เพราะความปราชัยมองเห็นชัด เมื่อคำนึงถึงคะแนนนิยมที่ตกต่ำมาก เมื่อเอ็มมานูเอล มาครงได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี

Read More

Origine du monde กำเนิดของโลก

Column: From Paris กุสตาฟ กูร์เบต์ (Gustave Courbet) เป็นจิตรกรชื่อดังชาวฝรั่งเศสของศตวรรษที่ 19 เป็นจิตรกรคนแรกที่ “ขบถ” ต่อกฎเกณฑ์ของราชบัณฑิตสาขาวิจิตรศิลป์ ที่กำหนดให้การเขียนภาพขนาดใหญ่ต้องเป็นเรื่องราวของเจ้านายและศาสนาเท่านั้น เขาเป็นคนแรกที่เขียนภาพขนาดใหญ่เกี่ยวกับวิถีของชาวบ้าน เมื่อนโปเลองที่ 3 (Napoléon III) พ่ายแพ้สงครามกับปรัสเซีย ปรัสเซีย และเยอรมนีจึงกรีธาทัพเข้ายึดฝรั่งเศส ชาวกรุงปารีสยอมรับไม่ได้ จึงลุกขึ้นต่อต้านเป็นเวลา 4 เดือน แต่ในที่สุดก็ต้องยอมแพ้ ฝรั่งเศสจัดการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรที่มีแต่ผู้ชายเท่านั้นที่สามารถลงคะแนนเสียง ได้สมาชิกสภาที่นิยมเจ้าถึง 400 คน และแต่งตั้งผู้นิยมนโปเลองในรัฐบาลหลายคน ชาวกรุงปารีสส่วนหนึ่งที่ต้องการเป็นสาธารณรัฐ ลุกฮือต่อต้านรัฐบาลที่แวร์ซายส์ (Versailles) เป็นยุค Commune de Paris เกิดการต่อสู้ระหว่างปารีสและแวร์ซายส์ พวก Commune ที่เรียกว่า Communard เผาทำลายสถานที่หลายแห่งที่เป็นสัญลักษณ์ของนโปเลองและสถาบันกษัตริย์ รวมทั้งพระราชวังตุยเลอรีส์ (Tuilleries) และเสาวองโดม-Colonne de Vendôme ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ชัยชนะของนโปเลองที่ 1 ในการสงคราม กุสตาฟ

Read More

นิทรรศการ Expressionnisme

Column: From Paris Expressionnisme เป็นศิลปะกระแสหนึ่งซึ่งเกิดในต้นศตวรรษที่ 20 ในยุโรปเหนือ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยอรมัน ทั้งในด้านจิตรกรรม สถาปัตยกรรม วรรณกรรม การละคร ภาพยนตร์ ดนตรี และการเต้นรำ แต่เป็นศิลปะที่พวกนาซีประณาม บ้างก็ว่า Expressionnisme ในจิตรกรรมไม่ใช่กระแสแต่เป็นปฏิกริยาต่อต้าน Impressionnisme ของฝรั่งเศส ซึ่งสะท้อนภาพจริงที่ได้เห็น ทว่า Expressionnisme เขียนภาพอย่างที่ใจของอาร์ทิสต์ต้องการแสดงออก Expressionnisme จึงแรงกว่า Aggressive กว่า ใช้สีแรง เสมือนเป็นกระแสที่สืบต่อจาก Fauvisme ดังอาร์ทิสต์อย่างอองรี มาติส (Henri Matisse) เคส วาน โดนเกน (Kees Van Dongen) อัลแบรต์ มาร์เกต์ (Albert Marquet) จอร์จส์ บราค (Georges Braque) อองเดร เดอแรง

Read More