Home > Sasiphattra Siriwato (Page 3)

ความไม่เท่าเทียมกันทางเพศในเทคโนโลยีการสั่งงานด้วยเสียง

Column: Women in Wonderland ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตเราอย่างมาก หากย้อนกลับไปในอดีตเมื่อ 20 ปีก่อน อาจจะไม่คาดคิดว่าเราสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกับบุคคลอีกซีกโลกหนึ่งได้เพียงในเวลาไม่กี่วินาที หรือแม้กระทั่งสามารถพูดคุยกับบุคคลที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่งโดยเห็นหน้ากันไปด้วยระหว่างพูดคุย ดังนั้น เราจึงเห็นได้ว่า เทคโนโลยีมีการพัฒนาแบบก้าวกระโดดและเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ทำให้ชีวิตของเราสะดวกสบายขึ้น ทุกวันนี้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นด้านการสื่อสาร อย่างโทรศัพท์ การพูดคุยกันใน Social Network เป็นต้น ด้านการศึกษาที่สามารถเรียนได้จากที่บ้าน หรือที่ประเทศอื่น หรือแม้กระทั่งด้านการเงินที่ไม่จำเป็นต้องพกเงินสดอีกต่อไป เราสามารถจ่ายเงินผ่านทางโทรศัพท์ได้ และแน่นอนว่าทางด้านภาคธุรกิจเอง ก็ปรับเปลี่ยนวิธีการขายของ ทุกคนสามารถสั่งซื้อของออนไลน์ได้ ไม่จำเป็นต้องมาที่ร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าอีกต่อไป หรือแม้กระทั่งภาคการเกษตรก็มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเพิ่มผลผลิต หนึ่งในเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันคือ การสั่งงานด้วยเสียง หรือการพูดคุยตอบโต้กับหุ่นยนต์ ในปี 2011 ค่ายโทรศัพท์ Apple ได้เปิดตัว Siri ซึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือนผู้ช่วยหรือเลขานุการของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ โดย Siri ถือว่าเป็น Artificial Intelligence (AI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ที่ทำให้คอมพิวเตอร์หรือหุ่นยนต์สามารถทำทุกอย่างที่มนุษย์ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับมนุษย์ แต่ไม่มีอารมณ์เหมือนกับมนุษย์ ดังนั้น Siri จึงสามารถเข้าใจภาษาพูดของคนและสามารถตอบสนองได้เหมือนคนจริงๆ

Read More

กฎหมายใหม่ของไอซ์แลนด์เพื่อยุติปัญหาช่องว่างระหว่างรายได้ของผู้ชายและผู้หญิง

Column: Women in wonderland ปัญหาช่องว่างระหว่างรายได้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกประเทศ รวมถึงประเทศที่พัฒนาแล้ว คำว่า ช่องว่างระหว่างรายได้ของผู้หญิงผู้ชาย หรือที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Gender Pay Gap” นั้นหมายถึง การที่ผู้หญิงผู้ชายเข้าทำงานในเวลาพร้อมกัน มีคุณสมบัติเหมือนกัน รับผิดชอบหน้าที่เหมือนกัน แต่กลับได้รับรายได้ไม่เท่ากันเพียงเพราะ “เพศ” แตกต่างกัน ปัญหาที่ดูเหมือนจะได้รับการแก้ไขและได้รับความสนใจจากรัฐบาลประเทศต่างๆ มีการผ่านกฎหมาย Equal Pay Act ในหลายๆ ประเทศ เช่น อเมริกา อังกฤษ และสหภาพยุโรป เป็นต้น และยังมีการกำหนดวัน Equal Pay Day ซึ่งจะมีประชาชนและนักเรียกร้องสิทธิออกมาเดินบนถนนเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลให้ความสนใจ ซึ่งวัน Equal Pay Day นี้ในแต่ละประเทศจะไม่เหมือนกัน อย่างที่เยอรมนี เป็นวันที่ 18 มีนาคม ขณะที่อังกฤษคือวันที่ 10 พฤศจิกายน อย่างในปีนี้ เมื่อวันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา

Read More

ความเท่าเทียมทางเพศในอวกาศยังมีอยู่หรือไม่

Column: Women in wonderland นักบินอวกาศเป็นอาชีพที่หลายคนใฝ่ฝัน แต่การจะเป็นนักบินอวกาศว่ายากแล้วการเป็นนักบินอวกาศหญิงยากยิ่งกว่า วันที่ 28 มีนาคม 2019 องค์การ National Aeronautics and Space Administration หรือ NASA ประกาศยกเลิกการเดินในอวกาศโดยนักบินอวกาศหญิงทั้งหมดเป็นครั้งแรก NASA เคยประกาศว่าวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2019 จะมีการเดินในอวกาศโดยนักบินอวกาศหญิง และครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่เป็นนักบินอวกาศหญิงล้วน ทำให้ประชาชนทั่วโลกตื่นเต้น รวมถึงนักสิทธิสตรีที่รู้สึกยินดีที่ผู้หญิงจะได้แสดงศักยภาพให้ทุกคนได้เห็น กว่าจะมาเป็นนักบินอวกาศหญิงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย อาชีพนักบินอวกาศเป็นอาชีพหนึ่งที่ถูกมองว่าเป็นอาชีพของผู้ชายและไม่เหมาะกับผู้หญิง นักบินอวกาศของ NASA ส่วนใหญ่จะเป็นทหารมากกว่าบุคคลทั่วไป เนื่องจากต้องมีร่างกายที่แข็งแรงมาก และต้องผ่านการฝึกมากมาย ทำให้บุคคลส่วนใหญ่ที่ผ่านการคัดเลือกเป็นอดีตทหารมากกว่าคนที่ประกอบอาชีพอื่น ดังนั้น ผู้หญิงที่สามารถผ่านการฝึกและเข้าไปเป็นนักบินอวกาศได้จึงมีน้อยมาก NASA กำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครไว้ว่าจะต้องเป็นคนที่ถือสัญชาติอเมริกัน และเรียนจบในสาขาวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์กายภาพ หรือคณิตศาสตร์เท่านั้น สาขาอื่นที่ถือว่าเป็นสาขาใกล้เคียงไม่สามารถที่จะสมัครได้ และยังต้องมีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับสายงานที่เรียนจบมาอย่างน้อย 3 ปี หรือมีชั่วโมงการบินในเครื่องบินเจ็ตอย่างน้อย 1,000 ชั่วโมง ที่สำคัญจะต้องมีค่าสายตาปกติ มีความดันไม่เกิน 140/90

Read More

ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าสูงกว่าผู้ชาย

Column: Women in Wonderland โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวช สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย อาการอาจคล้ายคนที่มีอาการเศร้าหรือเสียใจทั่วไป เพียงแต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นรุนแรงและเกิดขึ้นยาวนานกว่า โดยที่เจ้าตัวหรือคนรอบข้างอาจไม่ทันสังเกตเห็น ปัญหาหลักคือ ไม่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคซึมเศร้า กว่าจะรู้ก็ขั้นรุนแรงส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันไปแล้ว โรคซึมเศร้าไม่มีสาเหตุแน่ชัด คาดการณ์ว่าน่าจะมีสาเหตุจากจิตใจ สภาพสังคม ปัญหาชีวิต ปัญหาครอบครัว การงาน การเงิน หรือเผชิญกับความล้มเหลว ความสูญเสียในชีวิตอย่างรุนแรง และความผิดปกติด้านชีววิทยาคือ ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ที่สารเคมีบางตัวลดน้อยลงไปทำให้เสียสมดุลและเกิดความบกพร่องในการทำงานร่วมกัน ปัญหาเหล่านี้น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า แม้ว่าโรคซึมเศร้าจะเป็นโรคทางจิตเวช แต่ผู้ที่ป่วยโรคซึมเศร้าไม่ได้เป็นคนบ้า เพียงมีอาการป่วยทางอารมณ์ ซึ่งต้องได้รับการรักษา หากไม่ได้รับการรักษาอาจมีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง หรือสุดท้ายฆ่าตัวตายได้ โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยที่สุด ดังนั้น จัดว่าเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญ โดยเฉพาะทุกวันนี้มีข่าวฆ่าตัวตายบ่อยครั้งเพราะเป็นโรคซึมเศร้า และโรคนี้ก็เกิดกับคนในทุกช่วงอายุ และทุกอาชีพ ปัจจุบันมีคนป่วยโรคซึมเศร้าจำนวนมาก องค์การอนามัยโลกเปิดเผยว่า มี 300 ล้านคน ที่เป็นโรคซึมเศร้าจากทั่วโลก และในกรณีที่แย่ที่สุดคือ ฆ่าตัวตาย ในแต่ละปีมีคนฆ่าตัวตายประมาณ 800,000 คนต่อปี และสาเหตุหลักๆ การตายของคนช่วงอายุ 15 – 29 ปี

Read More

ผลกระทบต่อผู้หญิงอังกฤษจาก Brexit

Column: Women in wonderland Brexit มาจากคำว่า Britain คือประเทศสหราชอาณาจักร รวมกับคำว่า exit ซึ่งหมายถึง ออกหรือจากไป ดังนั้น คำว่า Brexit หมายถึง ประเทศสหราชอาณาจักรออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (EU) โดยเมื่อ 23 มิถุนายน 2016 คนอังกฤษลงประชามติว่าสหราชอาณาจักรควรจะเป็นสมาชิกของ EU ต่อหรือควรออกจากการเป็นสมาชิก EU ผลปรากฏว่า คนอังกฤษตัดสินใจให้รัฐบาลนำสหราชอาณาจักรออกจากการเป็นสมาชิก EU ด้วยผลโหวต 51.9% หรือประมาณ 17.4 ล้านคน ในขณะที่ผลโหวตให้สหราชอาณาจักรอยู่เป็นสมาชิก EU ต่อไป 48.1% หรือประมาณ 16.1 ล้านคน การที่คนอังกฤษตัดสินใจที่จะออกจาก EU หลายฝ่ายมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจเท่าไรนัก เนื่องจากคนอังกฤษถกเถียงเรื่องนี้มานาน เพราะคนอังกฤษมีความเป็นชาตินิยมสูง มองประเทศตัวเองว่าเป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่ และเป็นประเทศมหาอำนาจเหมือนกับเยอรมนีและฝรั่งเศส แต่การที่สหราชอาณาจักรเข้าเป็นสมาชิกของ EU ทำให้บทบาทของสหราชอาณาจักรในสหภาพยุโรปลดน้อยลงเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าสหราชอาณาจักรจะสนับสนุนเงินงบประมาณให้กับ EU

Read More

ผู้หญิงมักถูกทำร้ายจิตใจระหว่างคลอดในโรงพยาบาล

Column: Women in Wonderland   เดือนที่แล้วเขียนถึงสิทธิของนักโทษหญิงระหว่างตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรไปแล้ว ครั้งนี้จะเขียนถึงปัญหาที่คล้ายคลึงกัน เพียงแต่เป็นปัญหาของผู้หญิงทั่วไป ที่เมื่อไปคลอด ลูกที่โรงพยาบาลกลับได้รับการปฏิบัติจากบุคลากรทางการแพทย์ที่แย่มาก หรือในกรณีที่แย่กว่านั้น ถูกทำร้ายจิตใจในช่วงเวลาที่ควรจะเป็นเวลาแห่งความยินดีและความทรงจำที่ดี เป็นเรื่องที่น่าตกใจมาก ที่มีผู้หญิงจำนวนมากทั่วโลกได้รับการปฏิบัติที่แย่มาก หรือถูกทำร้ายจิตใจในขณะที่คลอดลูก และเรื่องนี้ก็เกิดขึ้นในทุกประเทศ รวมถึงประเทศที่พัฒนาแล้ว เรื่องนี้ถูกเปิดเผยขึ้นเมื่อหนังสือพิมพ์ The Guardian รายงานว่า มีผู้หญิงจำนวนมากกลัวที่จะพูดเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติ การทำร้ายร่างกายและจิตใจระหว่างที่คลอดลูกในโรงพยาบาล มีหญิงคนหนึ่งให้สัมภาษณ์กับ The Guardian เกี่ยวกับประสบการณ์อันเลวร้ายนี้ เธอเล่าว่า เมื่อเธอตั้งครรภ์ลูกคนแรกและจำเป็นต้องผ่าคลอด เธอตื่นขึ้นมาบนเตียงผ่าตัด และรู้สึกเจ็บมากเพราะหมอและพยาบาลกำลังกรีดมีดลงบนท้องของเธอ ตอนแรกสติของเธอยังไม่ค่อยสมบูรณ์ดีนัก เธอคิดว่าตายไปแล้วและกำลังถูกทรมาน แต่เมื่อผ่านไปสักพัก เธอเริ่มมีสติมากขึ้นและรับรู้ว่าเธออยู่ในห้องผ่าตัด และรู้สึกเจ็บ เธอคิดว่าหมอและพยาบาลให้ยาชาไม่เพียงพอทำให้ยังรู้สึกเจ็บ ถึงแม้ว่าตั้งแต่ช่วงเอวลงมาจะถูกฉีดยาทำให้ไม่สามารถขยับได้ก็ตาม ที่สำคัญเธอไม่สามารถบอกหมอหรือพยาบาลได้ว่า เจ็บมากเพราะยาชาไม่เพียงพอหรือยายังไม่ออกฤทธิ์แบบเต็มที่ เพราะในปากมีท่อสอดอยู่ ระหว่างที่พวกเขากำลังผ่าคลอดให้เธอ หมอและพยาบาลก็ได้พูดเป็นภาษาเยอรมันว่า ตอนนี้เธอสามารถได้รับยาทั้งหมดสำหรับการผ่าตัดได้ แต่เธอฟังที่หมอและพยาบาลพูดออก เพราะเคยอาศัยอยู่ที่เยอรมนีมาก่อน แน่นอนหลังจากได้ยินเธอก็หมดสติ เธอตื่นขึ้นมาอีกทีในห้องพักฟื้น พยายามที่จะพูดกับพยาบาลคนที่เธอจำได้ว่าอยู่ในห้องผ่าตัดเป็นภาษาเยอรมัน เพื่อซักถามสิ่งที่เธอได้ยินในห้องผ่าตัด แต่พยาบาลทำเป็นไม่เข้าใจ พยาบาลเพียงแค่ตบมือเธอเบาๆ และเรียกสามีของเธอเข้ามาในห้องพักฟื้นพร้อมกับลูกของเธอ ไม่มีใครพูดหรืออธิบายให้เธอฟังเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นและสิ่งที่ได้ยินมาในห้องผ่าตัด ทุกคนทำเหมือนว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น

Read More

สิทธิของผู้ต้องขังหญิงในรัฐ New York

Column: Women in Wonderland องค์กร Prison Policy Initiative ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร มุ่งเน้นที่จะผลิตผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมที่มีผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ และต้องการรณรงค์โครงการต่างๆ เพื่อให้สังคมดีขึ้น เปิดเผยจำนวนนักโทษของทุกประเทศในปี 2017–2018 Annual Report พบว่า ประเทศที่มีจำนวนผู้ต้องขังสูงที่สุดคือสหรัฐอเมริกา ผู้ต้องขังทั้งชายและหญิงประมาณ 698 คน จะถูกคุมขังต่อประชากรทุกๆ 100,000 คน ขณะที่ผู้ต้องขังหญิงประมาณ 133 คนจะถูกคุมขังต่อประชากรทุกๆ 100,000 คน ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงมาก แม้ในภาพรวมจำนวนผู้ถูกคุมขังในสหรัฐฯ จะเริ่มลดลง แต่จำนวนผู้ต้องขังหญิงกลับยังสูงอยู่มาก องค์กร Prison Policy Initiative ยังอธิบายเพิ่มเติมเรื่องผู้ต้องขังหญิงในสหรัฐฯ ว่า มีประชากรหญิงอาศัยอยู่ในประเทศเพียงแค่ 4% เท่านั้นเมื่อเทียบสัดส่วนประชากรจากทั้งโลก แต่สหรัฐฯ กลับมีจำนวนผู้ต้องขังหญิงถึง 30% เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ต้องขังหญิงทั่วโลก แสดงให้เห็นว่าผู้ต้องขังหญิงในสหรัฐฯ มีจำนวนสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ โดย 2 รัฐที่มีผู้ต้องขังหญิงสูงสุดคือรัฐ Oklahoma

Read More

บทบาทของผู้หญิงในแวดวงการเมือง

Column: Women in Wonderland ในช่วงเกือบหนึ่งปีที่ผ่านมา มีการจัดการเลือกตั้งทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศเกิดขึ้นในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งในมาเลเซีย นิวซีแลนด์ และภูฏาน เป็นต้น และในช่วงสิ้นปีนี้จนถึงต้นปีหน้าก็ยังจะมีอีกหลายประเทศที่จะมีการจัดการเลือกตั้ง อย่างเช่นสหรัฐอเมริกาที่เพิ่งจัดการเลือกตั้งกลางเทอมไป และในปีหน้าก็จะมีการจัดการเลือกตั้งในฟิลิปปินส์ อินเดีย ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย เป็นต้น ประเทศไทยเองก็อาจจะมีการเลือกตั้งในช่วงต้นปีหน้าด้วยเช่นกัน แน่นอนว่าในช่วงของการเลือกตั้งเราจะได้เห็นสีสันต่างๆ ของการหาเสียง การบอกเล่านโยบายของพรรค และการโต้วาทีที่แต่ละหัวข้อประชาชนให้ความสนใจโดยหัวหน้าพรรค และปัจจุบันแต่ละพรรคการเมืองไม่ได้มีเพียงแค่ผู้สมัครที่เป็นผู้ชาย แต่ผู้สมัครที่เป็นหญิงก็เข้ามามีบทบาททางการเมืองมากขึ้น และได้รับความไว้วางใจให้ทำงานมากขึ้นเช่นกัน ในหลายประเทศมีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่ชนะการเลือกตั้งทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ และก็ได้ทำงานการเมืองแบบจริงจัง บางครั้งผู้หญิงได้รับความไว้วางใจจากพรรคจนได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรค และยังนำพาพรรคให้ได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้ง และได้รับเลือกเป็นผู้นำในการบริหารประเทศ อย่างเช่น Angela Merkel นายกรัฐมนตรีของประเทศเยอรมนี ที่นำพาพรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน (Christian Democratic Union-CDU) ชนะการเลือกตั้ง ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศเยอรมนี และยังนำพาพรรค CDU ชนะการเลือกตั้งมาแล้วถึง 4 สมัยด้วยกัน ปัจจุบันผู้หญิงเข้ามามีบทบาทในทางการเมืองมากขึ้น โดยเห็นได้ชัดเจนจากการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ ในครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายนที่ผ่านมา การเลือกตั้งกลางเทอมนี้จะถูกจัดขึ้นเมื่อประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดำรงตำแหน่งมาได้ 2

Read More

ชีวิตหลังตกเป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศ

Column: women in wonderland ทุกปีจะมีการประกาศรางวัลโนเบล หรือ Nobel Prize ให้กับผู้ที่มีผลงานโดดเด่น มีความเชี่ยวชาญ หรือสร้างคุณประโยชน์ให้กับมนุษยชาติในด้านต่างๆ โดยรางวัลโนเบลจะแบ่งออกเป็น 6 สาขาด้วยกัน คือ สาขาฟิสิกส์ เคมี การแพทย์ วรรณกรรม สันติภาพ และเศรษฐศาสตร์ ซึ่งผู้ที่จะได้รับรางวัลในแต่ละสาขาอาจเป็นบุคคลที่มีผลงานเดี่ยว ผลงานคู่ หรือทำงานเป็นทีมก็ได้ โดยทีมหนึ่งมีได้สูงสุดแค่ 3 คนเท่านั้น และผู้ที่ได้รับรางวัลก็ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลเสมอไป อาจจะเป็นองค์กรก็ได้เช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross หรือเรียกสั้นๆ ว่า ICRC) ก็เคยได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพมาแล้วถึง 3 ครั้ง ในขณะเดียวกัน ถ้าในปีนั้นคณะกรรมการไม่สามารถหาบุคคลเหมาะสมที่ควรจะได้รับรางวัลในสาขานั้นๆ ก็จะไม่มีการมอบรางวัล ปี 2018 รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประกาศชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลไปเมื่อวันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา และผู้ที่ได้รับรางวัลทุกคนจะขึ้นรับรางวัลพร้อมกันในวันที่

Read More

การตายของเด็กทารกในประเทศสหรัฐอเมริกาสูงที่สุดในประเทศที่พัฒนาแล้ว

Column: Women in Wonderland The Black Infant Remembrance Memorial เป็นโครงการของประเทศสหรัฐอเมริกาที่รณรงค์ให้ทุกคนคิดถึงเด็กทารก โดยเฉพาะเด็กทารกที่เกิดในครอบครัวของคนดำหรือคนที่มีผิวดำที่เสียชีวิต โครงการนี้เป็นโครงการที่ถูกจัดขึ้นทางสังคมออนไลน์ ระหว่างวันที่ 3–9 กันยายน ซึ่งปีนี้ได้ถูกจัดขึ้นเป็นปีแรก พร้อมๆกับการรณรงค์ให้คนผิวดำหรือคนดำเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งเป็นการรณรงค์ตลอดทั้งสัปดาห์เช่นเดียวกันกับโครงการ The Black Infant Remembrance Memorial โดยโครงการและการรณรงค์นี้ได้เกิดขึ้นทั่วทั้งประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อหวังจะเป็นส่วนหนึ่งให้คนในสังคมกลับมาให้ความสำคัญกับเรื่องอัตราการตายของเด็กทารก ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีอัตราการตายของเด็กทารกสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับ 27 ประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในระดับดีมาก อัตราการตายของเด็กทารกในประเทศสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่เป็นเด็กที่เกิดในครอบครัวคนดำ แม้อัตราการตายจะลดลงจากในปี 2005 ที่อยู่ที่ 6.87 ต่อเด็กที่เกิดมา 1,000 คน และในปี 2011 อัตราการตายของเด็กทารกก็ลดลงเหลือ 6.07 ต่อเด็กที่เกิดมา 1,000 คน แต่ก็ยังคงสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วประเทศอื่นๆ อัตราการตายของเด็กทารกเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลจะละเลยไปไม่ได้ เนื่องจากอัตราการตายของเด็กทารกเป็นตัวบ่งชี้ถึงสุขภาพของคนในประเทศ เพราะอัตราการตายของเด็กทารกจะเป็นตัวชี้วัดถึงเรื่องสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ คุณภาพด้านการแพทย์ การเข้าถึงบริการด้านการแพทย์ของคนในประเทศ และการได้รับความรู้ ข่าวสารต่างๆ ทางการแพทย์

Read More