Home > Sasiphattra Siriwato (Page 2)

กักตัวอยู่บ้าน ความรุนแรงในครอบครัวก็เพิ่มมากขึ้น

Column: Women in wonderland การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่รุนแรงและแพร่กระจายไปทั่วโลกนั้น เกือบทุกประเทศมีนโยบายป้องกันการแพร่ระบาดด้วยการขอความร่วมมือให้ประชาชนงดออกจากบ้าน ไปในพื้นที่ชุมชน งดการรวมกลุ่ม สนับสนุนให้ work from home เมื่อมาตรการนี้ไม่ได้ผล เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในแต่ละประเทศมีจำนวนมากขึ้น รัฐบาลหลายประเทศจึงประกาศล็อกดาวน์หรือการปิดเมืองหรือรัฐที่มีคนติดเชื้อไวรัส COVID-19 เพิ่มมากขึ้น เป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อโควิด-19 แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว หลายประเทศพร้อมใจจะล็อกดาวน์ด้วยเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป บางประเทศให้งดเดินทางเข้าออกทุกช่องทาง บางประเทศแค่ปิดสนามบินเท่านั้น ส่วนการควบคุมประชาชน รัฐบาลสั่งให้ทุกคนอยู่แต่ในบ้าน ออกจากบ้านได้ในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น ห้างสรรพสินค้าและร้านค้าปิดบริการทั้งหมด เหลือเพียงแค่ร้านขายยา ร้านอาหารที่อนุญาตให้ซื้อกลับบ้านเท่านั้น ธนาคาร และซูเปอร์มาร์เก็ต มีเวลาเปิดทำการสั้นลงกว่าช่วงเวลาปกติ เพื่อเป็นการลดการแพร่กระจายเชื้อโรค ถึงแม้ว่าวิธีนี้จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศถดถอยลงจากก็ตาม เพราะหากมีอัตราการติดเชื้อ COVID-19 เพิ่มสูงขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว อย่างสหรัฐอเมริกา อิตาลี และสเปน อาจทำให้โรงพยาบาลที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษา อย่างอิตาลีที่โรงพยาบาลและเตียงมีไม่พอต่อจำนวนผู้ป่วย ทำให้หมอต้องตัดสินใจเลือกรักษาผู้ที่มีโอกาสหายสูงกว่า หรือประเทศเอกวาดอร์ ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวนมากจนโรงพยาบาลไม่สามารถรองรับผู้ป่วยได้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก จนห้องเก็บศพและสถานที่เก็บศพต่างๆ เต็มหมด

Read More

ทัศนคติในด้านลบต่อผู้หญิง

Column: Women in Wonderland ปีนี้เป็นปีครบรอบ 25 ปีการประกาศใช้ Beijing Declaration and Platform for Action (Beijing+25) ซึ่งได้พูดถึงแนวทางการยุติช่องว่างระหว่างเพศ และส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในสังคม แต่จากสถานการณ์ปัจจุบันเห็นได้ว่า ทุกประเทศไม่สามารถทำให้ความเท่าเทียมกันทางเพศเกิดขึ้นได้ และแน่นอนว่าทุกประเทศไม่สามารถทำตามเป้าหมายที่วางไว้ว่า ปี ค.ศ. 2030 จะมีความเท่าเทียมกันทางเพศในทุกประเทศ และจากการวิเคราะห์ขององค์การสหประชาชาติพบว่า จากรายงานเรื่องความไม่เท่าเทียมกันทางเพศในด้านของสุขภาพ การศึกษา และสถานะทางการเงินในสังคมนั้น จากข้อมูลปัจจุบันสามารถคาดเดาได้ว่า เราต้องรออีก 257 ปี ความเท่าเทียมกันทางเพศในสังคมถึงจะเกิดขึ้นในทุกประเทศ โดยเฉพาะเรื่องช่องว่างของรายได้ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nation Development Programme หรือเรียกสั้นๆ ว่า UNDP) ได้จัดทำรายงานเรื่องการแก้ปัญหาเรื่องความเชื่อของคนในสังคม (Tackling Social Norms) โดยรายงานฉบับนี้ทำการสำรวจความเชื่อและทัศนคติของคนในสังคมเกี่ยวกับเรื่องของเพศ (Gender Social Norms Index) ว่าประชาชนส่วนใหญ่ทั้งผู้ชายและผู้หญิงมีความเชื่อและทัศนคติด้านลบต่อเรื่องเพศอย่างไร รายงานฉบับนี้ตีพิมพ์และเผยแพร่เมื่อวันที่

Read More

ผลกระทบจาก Brexit ต่อผู้หญิงในเรื่องความรุนแรงในครอบครัว

Column: Women in wonderland ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 ประเทศสหราชอาณาจักรจะออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ ระหว่างนี้จะเป็นช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน (Transition Period) เป็นเวลา 11 เดือน ซึ่งจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2020 ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านนี้สหราชอาณาจักรจะยังอยู่ภายใต้กฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ของสหภาพยุโรป แต่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับรัฐสภายุโรป (European Parliament) อีกต่อไป สมาชิกรัฐสภาของยุโรปมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของพลเมืองประเทศสมาชิก โดยผู้มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจึงจะมีสิทธิ์เลือกตั้ง ในรัฐสภาจะประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งหมด 751 คน และตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา สมาชิกรัฐสภาจะปรับลดจำนวนลงเหลือเพียง 705 คน หลังจากที่รัฐสภามีมติเห็นชอบเรื่อง Brexit เพราะจำนวนประชากรภายใต้สหภาพยุโรปลดลงจากการออกจากการเป็นประเทศสมาชิกของสหราชอาณาจักร แน่นอนว่าหลังจากสหราชอาณาจักรออกสมาชิกของสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ นักวิชาการจำนวนมากทำนายทิศทางเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรไปในทิศทางเดียวกันว่า สหราชอาณาจักรจะมีสภาพเศรษฐกิจย่ำแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด และแน่นอนว่าคนที่ได้รับผลกระทบสูงที่สุดก็คือ ผู้หญิง เพราะผู้หญิงคือกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ทำงานและมีรายได้น้อย ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อสภาพเศรษฐกิจย่ำแย่ลง ผู้หญิงจะกลายเป็นคนกลุ่มแรกที่อาจต้องตกงาน หรือหางานได้ยากขึ้น ผลกระทบที่จะเกิดกับผู้หญิงหลังจากสหราชอาณาจักรออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปไม่ได้มีเพียงแค่อาจตกงานหรือหางานได้ยากขึ้นเท่านั้น แต่กฎหมายของสหภาพยุโรปซึ่งปกป้องและคุ้มครองผู้หญิงในการทำงาน

Read More

ภาษีผ้าอนามัย

Column: Women in wonderland ช่วงปลายปี 2019 ที่ผ่านมา มีข่าวลือเรื่องการจัดเก็บภาษีผ้าอนามัยในอัตราที่สูงขึ้น ซึ่งได้รับการยืนยันแล้วว่าไม่เป็นความจริง ในประเทศไทยนั้นผ้าอนามัยถูกจัดให้เป็นสินค้าควบคุมราคา หมายความว่าหากต้องการปรับราคา จะต้องแจ้งต่อกรมการค้าภายในล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน ผ้าอนามัยเป็นสินค้าควบคุมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 และยังจัดเก็บภาษีในอัตราปกติคือ 7% เหมือนสินค้าประเภทอื่นๆ ในตอนแรกที่มีข่าวว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราการเก็บภาษีผ้าอนามัย ทำให้เกิดความตื่นตระหนกในสังคมอย่างมากว่าผ้าอนามัยจะกลายเป็นภาระหนักของผู้หญิง และบางคนอาจจะไม่สามารถหาซื้อผ้าอนามัยมาใช้ได้ หากว่ามีการปรับราคาขึ้นจริง BBC ไทยรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ผ้าอนามัยว่า เพื่อสุขอนามัยที่ดีจะต้องเปลี่ยนทุก 2-3 ชั่วโมง เฉลี่ยวันละประมาณ 7 แผ่น ประจำเดือนจะมาประมาณ 4-7 วัน ดังนั้นแต่ละเดือนจะใช้ผ้าอนามัยประมาณ 30 กว่าแผ่น คิดเป็นรายจ่ายประมาณ 2,160 บาทต่อปี จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าผู้หญิงทุกคนมีค่าใช้จ่ายในการใช้ผ้าอนามัยเป็นจำนวนไม่น้อยเลย ดังนั้น ภาครัฐจึงควรทำให้ผ้าอนามัยมีราคาถูกและทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ปัญหาการเข้าถึงผ้าอนามัยของผู้หญิงและเด็กหญิงนั้นเป็นปัญหาใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกาด้วย เพราะประเทศเหล่านี้เก็บภาษีผ้าอนามัยเท่ากับภาษีแอลกอฮอล์และบุหรี่ และบางประเทศยังจัดผ้าอนามัยเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ทำให้มีราคาสูงมาก ผู้หญิงและเด็กหญิงหลายคนจึงไม่มีเงินเพียงพอที่จะหาซื้อผ้าอนามัยมาใช้ได้ ยกตัวอย่างประเทศอินเดีย ผ้าอนามัยถือเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย จัดเก็บภาษีในอัตรา 12% ทำให้ผู้หญิงและเด็กหญิง 4

Read More

นักบินอวกาศ อาชีพที่ถูกมองว่าไม่เหมาะสำหรับผู้หญิง

Column: Women in Wonderland นักบินอวกาศเป็นอาชีพหนึ่งที่หลาย คนใฝ่ฝัน ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายต่างก็สามารถเป็นนักบินอวกาศได้ หากสิ่งที่เกิดขึ้นในความเป็นจริง การจะเป็นนักบินอวกาศจะต้องผ่านการทดสอบมากมาย รวมถึงการทดสอบสมรรถภาพร่างกายให้พร้อมสำหรับการฝึกอย่างหนักในอนาคตเพื่อไปอาศัยอยู่ในอวกาศ ดังนั้น คนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าไปเป็นนักบินอวกาศในแต่ละปีจึงมักจะเป็นผู้ชายมากกว่า องค์กร National Aeronautics and Space Administration หรือ NASA จะคัดเลือกคนที่จะเข้าไปเป็นนักบินอวกาศจากเกณฑ์เบื้องต้น ดังนี้ (1) ผู้สมัครจะต้องถือสัญชาติอเมริกัน (2) เรียนจบในสาขาวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์กายภาพ หรือคณิตศาสตร์เท่านั้น สาขาอื่นๆ ที่ถือว่าเป็นสาขาใกล้เคียงไม่สามารถสมัครได้ (3) ต้องมีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับสายงานที่เรียนจบมาอย่างน้อย 3 ปี หรือมีชั่วโมงการบินในเครื่องบินเจ็ตอย่างน้อย 1,000 ชั่วโมง (4) จะต้องมีค่าสายตาปกติ (5) มีค่าความดันไม่เกิน 140/90 และ (6) มีความสูงระหว่าง 157.5-190.5 เซนติเมตร แม้ NASA จะกำหนดคุณสมบัติไว้มากมาย ก็มีผู้ที่สนใจจะเป็นนักบินอวกาศยื่นใบสมัครเป็นจำนวนมาก NASA

Read More

วิกฤตช่องว่างระหว่างรายได้ในประเทศสหราชอาณาจักร

Column: Women in Wonderland ปัญหาช่องว่างของรายได้ หรือ Gender Pay Gap เป็นปัญหาที่มีมานาน แต่รัฐบาลในเกือบทุกประเทศยังไม่สามารถลดช่องว่างรายได้ระหว่างผู้หญิงและผู้ชายที่ทำงานเหมือนกันได้ จากการเก็บรวบรวมข้อมูลใน The Global Gender Gap Report 2018 ซึ่งทำการสำรวจเรื่องช่องว่างของรายได้ โดยการใช้แบบสอบถาม พบว่าประเทศที่มีช่องว่างรายได้น้อยที่สุดในโลกคือ ไอซ์แลนด์ จากทั้งหมด 149 ประเทศ ตามด้วยสิงคโปร์เป็นลำดับที่ 2 สหรัฐอเมริกาอยู่ในลำดับที่ 8 ฟิลิปปินส์ลำดับที่ 9 ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 20 สหราชอาณาจักรอยู่ในลำดับที่ 64 และลำดับสุดท้ายคือ ปารากวัย ไม่น่าแปลกใจที่ไอซ์แลนด์จะเป็นประเทศที่มีช่องว่างระหว่างรายได้น้อยที่สุดในโลก เพราะไอซ์แลนด์เพิ่งประกาศบังคับให้ทุกบริษัทต้องจ่ายเงินค่าจ้างทำงานระหว่างหญิงและชายที่ทำงานลักษณะเดียวกัน เท่ากัน โดยบริษัทใดก็ตามที่มีลูกจ้างมากกว่า 25 คน จะต้องแจ้งต่อรัฐบาลว่า ลูกจ้างผู้ชายและผู้หญิงในบริษัททำงานในตำแหน่งใด และได้รับค่าจ้างเท่าไร ถ้าหากบริษัทไม่จ่ายเงินเดือนให้ลูกจ้างที่ทำงานเหมือนกันจำนวนเงินที่เท่ากัน ทางบริษัทจะต้องชำระค่าปรับ กฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562

Read More

การขริบอวัยวะเพศหญิงที่เพิ่มจำนวนขึ้นในทุกปี

Column: Women in Wonderland การขริบอวัยวะเพศหญิง (Female Genital Mutilation หรือเรียกสั้นๆ ว่า FGM) เป็นขนบที่สืบต่อกันมาเป็นเวลานาน เกิดขึ้นในหลายประเทศในทวีป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชีย ยกตัวอย่างเช่น คองโก โซมาเลีย แทนซาเนีย เคนยา อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ศรีลังกา ปากีสถาน อิรัก อิหร่าน โอมาน เยเมน ปาเลสไตน์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นต้น จากการประเมินขององค์การสหประชาชาติเมื่อต้นปี ค.ศ. 2019 พบว่า มีผู้หญิงและเด็กประมาณ 200 ล้านคน หรือ 1 ใน 20 ของผู้หญิงและเด็กจากทั่วโลกตกเป็นเหยื่อการขริบอวัยวะเพศหญิง องค์การอนามัยโลกแบ่งรูปแบบการขริบอวัยวะเพศออกเป็น 4 ประเภท 1. การตัดปุ่มคลิตอริส 2. การตัดปุ่มคลิตอริสและแคมเล็ก 3. การตัดทั้งแคมใหญ่และแคมเล็ก แล้วเย็บปิดอวัยวะเพศให้เหลือเพียงช่องเล็กๆ เท่านั้น 4.

Read More

เหยื่อคนที่ 100 สร้างความตื่นตัวให้กับรัฐบาลฝรั่งเศส ในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว

Column: Women in wonderland ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เป็นปัญหาที่ไม่มีรัฐบาลไหนประสบความสำเร็จในการแก้ไข ทุกวันนี้มีผู้หญิงจำนวนมากที่ถูกทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจจากสามี อดีตสามี หรือสมาชิกในครอบครัว ความรุนแรงในครอบครัวไม่เหมือนปัญหาอื่นๆ เพราะสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกสังคม ทุกชนชั้น และทุกศาสนา ดังนั้น แม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วผู้หญิงก็ยังคงประสบกับความรุนแรงในครอบครัวเหมือนกัน องค์กร Organization for Security and Co-operation in Europe (OSCE) ได้เปิดเผยข้อมูลสถิติความรุนแรงในครอบครัว ในปี 2016 ว่า ผู้หญิงประมาณ 43,600 คนต่อปีจากทั่วโลกถูกฆาตกรรมโดยคนในครอบครัว 1 ใน 3 ของผู้หญิงทั่วโลกเคยถูกทำร้ายร่างกายหรือจิตใจจากคนในครอบครัวอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต และมีเพียง 11% เท่านั้นที่มีการดำเนินคดีและแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ คำว่า “การฆาตกรรมผู้หญิง” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Femicide ในที่นี้หมายถึงการฆาตกรรมที่ผู้ชายฆ่าผู้หญิงหรือเด็กหญิง เพราะพวกเธอเป็นผู้หญิง การฆาตกรรมนี้มักจะเกิดที่บ้าน ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากความรุนแรงในครอบครัว OSCE ยังได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการฆาตกรรมหญิงว่า เกิดขึ้นในทุกประเทศ ที่เกิดมากคือ ประเทศรัสเซีย เอลซัลวาดอร์

Read More

การปฏิรูปสิทธิผู้หญิงด้วยการยกเลิก Male Guardianship System ในประเทศซาอุดีอาระเบีย

Column: Women in Wonderland อย่างที่ทราบกันดีว่า ซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศหนึ่งที่มีชื่อเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงอย่างรุนแรงไปจนถึงเรื่องไร้สาระ อย่างเช่นกฎหมายที่ผู้หญิงถูกควบคุมทุกอย่างจากผู้ชายในครอบครัว ไม่มีกฎหมายปกป้องผู้หญิงจากการถูกสามีทำร้ายร่างกาย การเป็นพลเมืองของประเทศไม่สามารถสืบทอดจากแม่ได้ และคำให้การของผู้หญิงในชั้นศาลให้ถือว่ามีค่าเท่ากับคำให้การในชั้นศาลของผู้ชายครึ่งหนึ่ง เป็นต้น เรื่องไร้สาระที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนผู้หญิงซาอุฯ คือ ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงขับรถได้ พวกเธอจะต้องมีผู้ชายขับรถให้ ซึ่งกฎหมายนี้เพิ่งถูกยกเลิกไปเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2018 หลังจากที่ซาอุฯ ประกาศกฎหมายนี้ออกมามีผู้หญิงจำนวนมากออกมาขับรถบนท้องถนนเพื่อเฉลิมฉลองสิทธิเสรีภาพที่เพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าผู้หญิงซาอุฯ จะได้รับอนุญาตให้ขับรถเองได้ แต่กฎหมายอื่นๆ ก็ยังคงละเมิดสิทธิของผู้หญิงซาอุฯ อยู่ดี โดยเฉพาะระบบที่ให้ผู้ชายซึ่งเป็นญาติเป็นผู้ปกครองของผู้หญิง (Male Guardianship System) ภายใต้ระบบนี้แม้ผู้หญิงจะบรรลุนิติภาวะแล้วก็ยังต้องได้รับอนุญาตจากสามี พ่อ พี่ชายหรือน้องชาย และลูกชาย ก่อนที่จะเดินทางไปต่างประเทศ จะทำหนังสือเดินทาง แต่งงาน หรือแม้กระทั่งจะออกจากคุก นอกจากนี้ หากผู้หญิงจะทำงานหรือใช้ประกันสุขภาพ บริษัทอาจเรียกร้องขอจดหมายยืนยันว่าได้รับอนุญาตจากสามีหรือพ่อแล้ว ดังนั้น จึงถือได้ว่าเป็นระบบที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงซาอุฯ มากที่สุด เมื่อปีที่แล้วผู้หญิงซาอุดีฯ พยายามเรียกร้องให้มีการแก้ไขและปรับเปลี่ยนกฎหมายข้อบังคับเหล่านี้ พวกเธอเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกระบบ Male Guardianship System นอกจากนี้ UN Committee on Discrimination

Read More

การเลือกปฏิบัติ ปัญหาที่ผู้หญิงต้องเจอในที่ทำงาน

Column: Women in Wonderland ช่องว่างของรายได้หรือ Gender Pay Gap เป็นปัญหาที่ผู้หญิงทำงานในทุกประเทศ ทุกวัยต้องพบเจอ เป็นการเลือกปฏิบัติที่เห็นได้ชัดเจน และไม่มีแนวโน้มว่าจะแก้ไขได้ ผู้เขียนเคยเขียนเรื่องนี้มาหลายครั้ง รวมถึงวิธีแก้ปัญหาที่แต่ละประเทศพยายามนำมาใช้เพื่อลดช่องว่างของรายได้ แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ นอกจากประเทศไอซ์แลนด์ที่ผู้เขียนเคยเล่าไปเมื่อไม่นานนี้ เมื่อไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ช่องว่างระหว่างรายได้จึงกลายเป็นเรื่องที่ผู้หญิงรุ่นใหม่ หรือคนที่เพิ่งเรียนจบไม่ได้มองว่ามันเป็นปัญหา แต่มองว่ามันคือเรื่องปกติ เมื่อเริ่มทำงานจะได้รับเงินเดือนน้อยกว่าเพื่อนผู้ชายที่เริ่มทำงานพร้อมกัน ทำงานในลักษณะเดียวกัน และรับผิดชอบงานเหมือนกันในบริษัทเดียวกัน หลายประเทศรู้ว่าปัญหาการเลือกปฏิบัติในที่ทำงานเป็นปัญหาที่มีมายาวนาน แต่ก็ยังไม่มีการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง ดังนั้น ในบทความนี้จะพูดถึงเหตุผลหลักๆ ที่อยู่เบื้องหลังของปัญหานี้ว่า ทำไมปัญหาการเลือกปฏิบัติในที่ทำงานและความเท่าเทียมกันทางเพศในที่ทำงานจึงไม่สามารถทำได้ อย่างที่ทราบกันดีว่า เมื่อผู้หญิงที่เรียนจบระดับปริญญาตรีและทำงานในบริษัทต่างๆ นั้นมีน้อย ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีวุฒิการศึกษาน้อยกว่าผู้ชาย จึงไม่แปลกหากจะมีจำนวนผู้ชายในที่ทำงานมากกว่าและได้รับเงินเดือนมากกว่า นอกจากนี้ ในอดีตผู้หญิงส่วนใหญ่มักจะทำงานไม่นาน เมื่อแต่งงานก็จะลาออกไปอยู่บ้านดูแลลูกและสามี ทำให้บริษัทต่างๆ มองไม่เห็นความสำคัญในการจ้างงานผู้หญิงด้วยค่าจ้างที่สูง เพราะสุดท้ายผู้หญิงก็จะลาออก ดังนั้น แทนที่จะจ้างงานผู้หญิงก็จ้างงานผู้ชาย รวมถึงนำเงินค่าจ้างสูงๆ ไปจ่ายให้ผู้ชาย เพื่อให้ผู้ชายอยู่ทำงานที่บริษัทนานๆ ดีกว่าการจ่ายเงินจ้างผู้หญิงที่มีแนวโน้มจะลาออกสูง แต่ในปัจจุบันเหตุการณ์ที่กล่าวมาแทบจะไม่เกิดขึ้นแล้ว ผู้หญิงส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า Pew Research Global ได้เปิดเผยเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ในสหรัฐอเมริกามีผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี

Read More