Home > manager360 (Page 352)

วิบากกรรมเศรษฐกิจไทย ค่าเงินผันผวนท่ามกลางปัจจัยลบ

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงครึ่งปีหลัง ดูจะไม่สดใสอย่างที่หลายฝ่ายคาดหมายไว้ก่อนหน้านี้มากนัก หลังจากที่การประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายทางการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) และธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (federal funds rate) ตามการคาดหมายอีก 0.25% สู่ระดับ 1.00-1.25% ท่ามกลางค่าเงินบาทที่ผันผวนและแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจหลายสำนักต่างประเมินว่า การประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจนำไปสู่การกระตุ้นให้เกิดการไหลออกของเงินทุนจากประเทศไทย ซึ่งจะยิ่งส่งผลให้เกิดความผันผวนในตลาดเงินและค่าเงินบาทมากขึ้นไปอีก และการป้องกันความเสี่ยงเรื่องค่าเงินจะเป็นประเด็นที่นักลงทุนและผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดครั้งล่าสุดมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.00-1.25 เกิดขึ้นท่ามกลางการคาดหมายว่า เฟดจะประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในรอบปีนี้ เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยขยับไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.25-1.50 ในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยของเฟดอยู่ในระดับเดียวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่ร้อยละ 1.50 และมีแนวโน้มที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกในรอบปีหน้า ซึ่งเป็นประหนึ่งแรงกดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องดำเนินมาตรการหรืออาจประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อตอบสนองกับท่าทีของเฟดไปโดยปริยาย ข้อกังวลใจเกี่ยวกับช่องว่างและส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยที่เบียดใกล้กันเข้ามานี้ ในด้านหนึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุน และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่ปรากฏข้อเท็จจริงแล้วในหลายประเทศ โดยผู้ประกอบการส่งออกดูจะเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่ได้รับผลจากกรณีดังกล่าวอย่างไม่อาจเลี่ยง ขณะที่รายงานของสภาอุตสาหกรรมในช่วงที่ผ่านมา ได้สะท้อนความกังวลใจของผู้ประกอบการ และเรียกร้องให้กลไกภาครัฐเข้ามาดูแลค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือปรับตัวอย่างมีเสถียรภาพด้วย ขณะเดียวกันโอกาสที่เงินทุนจากภายนอกจะไหลเข้าประเทศไทย จากผลของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในช่วงปี 2547-2549 มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจากการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังคงขยายตัวในระดับเพียงร้อยละ 3-4 น้อยกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่สามารถขยายตัวได้ร้อยละ 5-6 ประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลักทั้งสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น มีความชัดเจนมากขึ้น

Read More

ศรีลังกา: บนสมการถ่วงดุล มหาอำนาจจีน-อินเดีย

ในขณะที่สังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลไกภาครัฐพยายามเร่งหาผู้ลงทุนรายใหม่ๆ ด้วยการเดินสายขายโครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ EEC: Eastern Economic Corridor ด้วยหวังว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นประหนึ่งผลงานสำคัญ และช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยสามารถไถลตัวออกจากอาการติดหล่ม รวมถึงช่วยกู้ภาพลักษณ์ด้านผลงานการดำเนินงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่เข้ามายึดครองอำนาจการบริหารประเทศเป็นเวลากว่า 3 ปี ล่วงไปแล้ว หากแต่ในอีกฟากฝั่งหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ดินแดนที่เพิ่งฟื้นจากสงครามกลางเมืองและได้สัมผัสกับความสงบสันติมาได้ไม่ถึงทศวรรษกำลังต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหม่ สำหรับการพัฒนาในอนาคต โดยเฉพาะการเลือกและรักษาสมดุลแห่งอำนาจ จากการเข้ามามีบทบาททั้งในมิติของเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน โดยเอกชนและภาครัฐจากทั้งจีน อินเดีย และญี่ปุ่น ที่ต่างพร้อมแสดงตัวในการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ เพื่อก้าวสู่อนาคตที่สดใสร่วมกัน ศรีลังกา ซึ่งมีภูมิรัฐศาสตร์เป็นเกาะอยู่ทางตอนปลายของประเทศอินเดีย ถือเป็นพื้นที่ที่อินเดียเคยมีบทบาทนำมาตลอดในช่วงหลายทศวรรษแห่งประวัติศาสตร์ ก่อนที่จะสูญเสียพื้นที่และโอกาสให้กับจีน ในช่วงปี 2005 ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญก่อนที่รัฐบาลศรีลังกาจะเผด็จศึกและยุติสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อมากว่า 3 ทศวรรษลงได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดในปี 2009 รัฐบาลจีนแทรกเข้ามามีบทบาทในศรีลังกาด้วยการให้ความช่วยเหลือทางการทหารมูลค่ากว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2005 ซึ่งนับเป็นจังหวะก้าวที่สอดรับกับสถานการณ์ความต้องการของรัฐบาลศรีลังกาภายใต้การนำของ Mahinda Rajapaksa และเป็นจุดเริ่มต้นของทั้งการสานสายสัมพันธ์และการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ใหญ่ว่าด้วย String of Pearls และ One Belt, One Road (OBOR) ที่มีศรีลังกาประกอบส่วนอยู่ในยุทธศาสตร์นี้ด้วย การลงทุนของจีนในโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของศรีลังกาในยุคหลังสงครามกลางเมือง ดำเนินไปท่ามกลางอัตราเร่ง

Read More

รัฐมุ่งหน้าเร่ขายฝัน หวังฉุดเศรษฐกิจไทยฟื้น

ข่าวการเดินทางเพื่อเชิญชวนนักลงทุนญี่ปุ่นให้เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนของไทยในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ของสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ในด้านหนึ่ง ถือเป็นความพยายามที่ไม่สิ้นสุดของรัฐบาลไทยที่จะผลักดันโครงการลงทุนและกระตุ้นภาพรวมทางเศรษฐกิจของไทยให้ดำเนินไปตามถ้อยแถลงว่าด้วยเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวแล้ว แม้ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ตรงหน้าจะไม่สอดรับกับคำเอ่ยอ้างและวาทกรรมว่าด้วยความมั่นใจของนักลงทุนต่างชาติ และในบางกรณีอาจดำเนินสวนทางไปในทิศทางตรงข้ามก็ตาม ความพยายามที่จะสถาปนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาผ่านปาฐกถาในงานสัมมนา “Thailand towards Asian Hub” ถือเป็นข้อเน้นย้ำถึงมายาคติที่บีบอัดเป็นมิติมุมมองของทั้งผู้นำระดับสูงในรัฐบาลและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่จ่อมจมอยู่กับวาทกรรมและความเชื่อว่าด้วยความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ของไทยแบบดั้งเดิม โดยละเลยบริบทของการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ ขณะที่การเน้นย้ำประเด็นว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 และการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในแผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี ดูจะเป็นการเน้นย้ำที่ไม่ต่างจากแผ่นเสียงที่ตกร่อง เพราะนอกจากจะยังไม่มีความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมใหม่ๆ ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบของพัฒนาการเชิงนโยบายในสองเรื่องนี้อย่างจริงจังเลย ประเด็นว่าด้วย EEC หรือการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ที่ดำเนินไปภายใต้ความคาดหวังว่าจะช่วยเปลี่ยนผ่านภาคการผลิตของไทย และเป็นโครงการที่จะต้องมีการพัฒนาในโครงสร้างพื้นฐานมูลค่ารวมกว่า 4.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ กลายเป็นเงื่อนไขสำคัญถึงความเป็นไปได้ของโครงการนี้ว่าจะแสวงหาเม็ดเงินและนักลงทุนจากที่ใดเข้ามาเติมเต็มความฝันครั้งใหม่ของรัฐบาลไทยนี้ “หากขาดนักลงทุนจากญี่ปุ่น EEC คงพัฒนาไม่สำเร็จ จึงได้เชิญประธาน JETRO มาเป็นที่ปรึกษาเพื่อติดต่อกับนักลงทุนญี่ปุ่น ซึ่งหวังว่าไทย-ญี่ปุ่นจะร่วมมือทางการค้าและลงทุนได้เพิ่มขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะการนำแนวคิดร่วมจัดทำยุทธศาสตร์ของกลุ่มประเทศ CLMVT เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ขยายไปยังกลุ่มต่างๆ ด้วย” สมคิดระบุในตอนหนึ่งของปาฐกถา การอ้างถึงความพยายามเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาเข้ากับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านทั้งกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์และเวียดนาม หากเป็นในอดีตก็คงดำเนินไปในลักษณะที่ไทยเป็นศูนย์กลางที่จะหนุนนำพัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคมไปสู่มิตรประเทศเหล่านี้ หากแต่ในปัจจุบันความพยายามผนวกรวมยุทธศาสตร์ CLMVT กลับกลายเป็นเพียงการขอมีส่วนร่วมให้เกิดความน่าสนใจในมิติของการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวจากต่างประเทศเท่านั้น ก่อนหน้านี้ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้พยายามที่จะนำเสนอ หรือหากกล่าวอย่างชัดเจน

Read More

Future Energy บนทางเลือกพลังงานไทย

บทบาทของกระทรวงพลังงานในบริบทของสังคมไทยในช่วงที่ผ่านมา ดูจะมีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจติดตามไม่น้อย เพราะนอกจากจะมีประเด็นร้อนว่าด้วย ความพยายามจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ (NOC) ไว้ในส่วนหนึ่งในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก่อนที่การประชุมสนช. เมื่อช่วงปลายมีนาคมจะมีมติให้กระทรวงพลังงานจัดตั้งคณะกรรมการศึกษาการจัดตั้ง NOC ภายใน 60 วันและต้องรู้ผลภายใน 1 ปี การมองหารูปแบบของ NOC ที่เหมาะสมและเป็นไปได้อย่างสอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย ทำให้คณะของเจ้ากระทรวงพลังงานไทยต้องเดินทางไปศึกษาดูงานด้านพลังงานไกลถึงนอร์เวย์และเดนมาร์กเมื่อช่วงกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ภารกิจหลักของการดูงานที่นอร์เวย์และเดนมาร์กดังกล่าว แม้ด้านหนึ่งจะเน้นหนักไปที่การหาต้นแบบหรือโมเดลของ NOC ในการบริหารจัดการทรัพยากร และสัมปทานปิโตรเลียม แต่อีกมิติหนึ่งก็คือการแสวงหาหนทางและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพื่อเติมเต็มและพัฒนาไปสู่ทางเลือกของพลังงานทดแทนอื่นๆ ทั้งพลังงานลม ขยะ พลังงานความร้อน ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ นับตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน-10 กันยายน กระทรวงพลังงานกำลังจะไปแสดงศักยภาพการพัฒนาพลังงานชีวภาพของประเทศไทย ในงาน Astana Expo 2017 ณ กรุงอัสตานา สาธารณรัฐคาซัคสถาน ที่จัดขึ้นภายใต้หัวข้อหลัก “พลังงานแห่งอนาคต” (Future Energy) และหัวข้อย่อยว่าด้วย “Solutions for Tackling Humankind’s Greatest

Read More

50 ปี ASEAN กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการท่องเที่ยว

ปี 2560 ดูจะเป็นปีที่มีความสำคัญไม่น้อยสำหรับสมาคมประชาชาติอาเซียน (ASEAN) เพราะนอกจากจะเป็นปีแห่งการครบรอบการสถาปนา ASEAN ครบ 50 ปีแล้ว การดำรงอยู่ของอาเซียนในบริบทของเศรษฐกิจการเมืองสังคมโลกในปัจจุบัน ยังอยู่ในภาวะที่ท้าทายจังหวะก้าวในอนาคตไม่น้อยเลย ภายใต้แนวความคิดการรวมกลุ่มประเทศในภูมิภาค หรือ Regional Integration ที่กำลังถูกท้าทายจากกรณีการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร ในนาม BREXIT ที่ส่งแรงกระเทือนไปสู่การรวมกลุ่มความร่วมมือในภูมิภาคอื่นๆ ASEAN ที่พยายามชู “ความหลากหลายที่หลอมรวม” ก็อยู่ในสภาพที่ถูกตั้งคำถามให้ได้พิจารณาเช่นกัน แม้ ASEAN จะเกิดมีขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศอันเนื่องมาจากความแตกต่างในยุคสมัยแห่งสงครามเย็น หากแต่ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ASEAN ได้ปรับและขยับขึ้นมาเป็นแกนกลางของภูมิภาคในการดึงชาติมหาอำนาจ ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน หรือผู้แทนระดับสูงของ EU เข้ามาร่วมเป็นคู่สนทนา และทวีบทบาทสำคัญในการพัฒนาให้เป็นประชาคมที่พร้อมจะตอบรับกับบริบททางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อย่างมีนัยสำคัญ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากประการหนึ่งของ ASEAN ก็คือภายใต้ฐานทางเศรษฐกิจและสังคม ของประชาคมอาเซียน ที่มีประชากร 640 ล้านคนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ที่กำลังขยับไปสู่ระบบอุตสาหกรรม ทำให้ทุนขยายและกระจายไปอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ หากแต่ในยุคสมัยแห่งโลกดิจิทัลหรือที่ยุคแห่งการผลิตแบบ

Read More

EEC: ระเบียงเศรษฐกิจไทย บนความเป็นไปของยุทธศาสตร์จีน

ความพยายามของรัฐบาลไทยที่จะขับเคลื่อนพลังทางเศรษฐกิจผ่านโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor: EEC ซึ่งเป็นการต่อยอดการพัฒนาบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ดูจะมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นไปอีกขั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีความพยายามที่จะดึงนักธุรกิจฮ่องกงให้เข้ามามีส่วนในโครงการนี้ ผ่านความร่วมมือด้านยุทธศาสตร์ระหว่างไทย-ฮ่องกง-เซี่ยงไฮ้ เพื่อเชื่อมเศรษฐกิจไทยกับเศรษฐกิจจีนผ่านนโยบายยุทธศาสตร์ One Belt One Road ที่อาจนำไปสู่การจัดตั้งเขตการค้าเสรีทันสมัย หรือ Modern FTA ระหว่างฮ่องกงกับอาเซียน โดยมีไทยเป็นศูนย์กลาง ในการกระจายสินค้าของภูมิภาค ภายใต้แนวความคิดที่จะยกระดับภาคการผลิตและภาคบริการของไทยให้เข้าสู่ยุค 4.0 ดูเหมือนว่านโยบายที่ว่านี้จะสอดรับกับสถานะของฮ่องกงที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีขั้นสูง และถือเป็นเมืองที่มีพลังในการขับเคลื่อนด้านการค้าการลงทุนของจีนเข้ามาเป็นองค์ประกอบ โดยในปีที่ผ่านมาฮ่องกงมีมูลค่าขอรับส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) สูงถึง 1.4 หมื่นล้านบาท และเป็นการลงทุนเฉพาะในพื้นที่ EEC สูงถึง 1.1 หมื่นล้านบาท ขณะที่ในภาพรวมทั้งประเทศพบว่า ปีที่ผ่านมานักธุรกิจฮ่องกงเข้าลงทุนในไทยรวมกว่า 2 หมื่นล้านบาท คิดเป็นอันดับที่ 5 ของมูลค่าการลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศ และในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ฮ่องกงก็มีมูลค่าการลงทุนในไทยสูงเป็นอันดับ 2 รองจากญี่ปุ่นเท่านั้น วินเซนต์ โล ประธานองค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง หรือ Hong Kong

Read More

“เกษตรแปลงใหญ่” ความท้าทายของการจัดการ

พระราชพิธีพืชมงคล-จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2560 ผ่านพ้นไปแล้ว เป็นประหนึ่งสัญญาณบอกกล่าวว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการเพาะปลูกครั้งใหม่ได้เริ่มขึ้นแล้ว และยังมีนัยความหมายที่ช่วยหล่อเลี้ยงขวัญและกำลังใจให้กับเหล่าเกษตรกรไทย ที่ดำรงอยู่ในบริบทของสังคมกสิกรรมมาอย่างเนิ่นนาน การเสี่ยงทายที่ติดตามมาด้วยคำทำนายพยากรณ์ของคณะพราหมณ์และโหรหลวง ไม่ว่าจะมีเนื้อหาและคาดหมายไปในทิศทางที่เด่นด้อยอย่างไร ในด้านหนึ่งก็เป็นไปด้วยความมุ่งหมายที่จะเตือนสติของผู้ประกอบการกสิกรรมและเกษตรกรทั้งหลาย ให้ตระหนักในข้อจำกัดทางธรรมชาติที่ปรับเปลี่ยนไปในแต่ละปี และแสวงหาหนทางที่จะข้ามพ้นปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้นไปให้ได้ กระนั้นก็ดี ความพิเศษของพิธีพืชมงคล-จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในปีนี้ อยู่ที่ความพยายามของภาครัฐที่ได้ประกาศและนำเสนอนโยบาย ควบคู่กับแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระหว่างปี 2560-2564 ที่มีเป้าหมายอยู่ที่การเร่งให้เกษตรกรทำเกษตรแปลงใหญ่ให้ได้ถึง 1.5 ล้านไร่ในอนาคต ยุทธศาสตร์ที่ว่านี้ ในด้านหนึ่งเป็นการต่อยอดความสำเร็จของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในช่วงปี 2559 ที่สามารถทำเกษตรแปลงใหญ่ได้ 153,800 ไร่ ในสินค้าเกษตรจำนวน 12 ประเภท มีการตั้งกลุ่มสหกรณ์ 122 กลุ่ม ตั้งวิสาหกิจชุมชน 393 กลุ่ม และพัฒนาเกษตรกรสู่การเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ หรือเกษตรกรสมัยใหม่ได้ 67,200 ราย โดยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่ทำเกษตรแปลงใหญ่ 4,217 ล้านบาท หลักคิดของการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแปลงใหญ่ ในด้านหนึ่งอยู่ที่การมุ่งปรับเปลี่ยนระบบการส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ขนาดใหญ่ เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรรายย่อย มาสู่การรวมกลุ่มที่สามารถใช้เครื่องมือ เครื่องจักรกลมาช่วยในการผลิต เข้าถึงเทคโนโลยีได้มากขึ้น

Read More

นิสัยรักการอ่าน: รากฐานการดำรงอยู่ของหนังสือเล่ม

ภาพบรรยากาศแห่งความสำเร็จเกินความคาดหมายของงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 45 เมื่อช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ดูเหมือนจะได้รับการขับเน้นต่อเนื่องด้วยการเปิดตัว “หอสมุดเมือง กรุงเทพมหานคร” ในช่วงปลายเดือนเมษายน และทำให้ผู้ประกอบการและผู้คนที่แวดล้อมในอุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะสำนักพิมพ์เริ่มเห็นประกายแห่งความหวังครั้งใหม่ที่พร้อมจะรอโอกาสให้กลับมาเจิดจรัสอีกครั้ง ก่อนหน้านี้ อุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ได้รับการปรามาสว่าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่กำลังอัสดง ด้วยเหตุของการมาถึงของเทคโนโลยี และประพฤติกรรมในการรับข่าวสารข้อมูลที่เปลี่ยนไป ที่อาจทำให้สื่อสิ่งพิมพ์และหนังสือเล่มกระดาษ อาจต้องล้มหายไปจากสารบบ และถูกแทนที่ด้วยสื่อดิจิทัลที่ดูจะเอื้อให้กับการเสพรับแบบฉาบฉวยไม่เกิน 8 บรรทัด ที่เป็นประหนึ่งภาพสะท้อนวิถีแห่งการอ่านของสังคมไทยได้เป็นอย่างดี ภายใต้แนวความคิด “อ่าน อ่าน และอ่าน” ที่สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) พยายามกระตุ้นเร้าผู้บริโภคให้เห็นความสำคัญของการอ่าน ที่เป็นธีมหลักของงาน “สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 45 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 15” (45th National Book Fair and 15th Bangkok International Book Fair 2017) ดูเหมือนจะเป็นการสื่อสารที่ตรงประเด็นสำหรับสภาพทั่วไปของการอ่านในสังคมไทยได้เป็นอย่างดี นอกจากกิจกรรมประจำปีครั้งสำคัญในปีนี้ จะมีสำนักพิมพ์ไทยเข้าร่วมงานกว่า 430 แห่ง และได้รับเกียรติจาก “ประเทศฟินแลนด์” เข้าร่วมงานในฐานะ ประเทศรับเชิญเกียรติยศ

Read More

จาก พ.ร.บ. ควบคุมสื่อ สู่การปรับตัวครั้งใหญ่

ภูมิทัศน์ในแวดวงสื่อสารมวลชนกำลังได้รับแรงสั่นสะเทือนครั้งใหม่ เมื่อกลไกรัฐพยายามอย่างแข็งขันที่จะผ่าน พ.ร.บ. การคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ....ที่มีนัยของการ ควบคุม มากกว่าการคุ้มครองและส่งเสริม ตามชื่อเรียกของ พ.ร.บ. จนเป็นเหตุให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ถูกเรียกขานในนาม พ.ร.บ. ควบคุมสื่อ พร้อมกับได้รับการวิพากษ์ว่าเป็นร่างกฎหมายที่ตั้งอยู่บนฐานความคิดของ พ.ร.บ. การพิมพ์ พ.ศ.2484 และประกาศของคณะปฏิวัติของกลุ่มเผด็จการทหารที่สืบทอดเป็นมรดกทางความคิดต่อเนื่องออกมาอีกหลายฉบับในเวลาต่อๆ มา ประหนึ่งเป็นความพยายามของผู้มีและยึดกุมอำนาจรัฐที่เติบโตผ่านยุคสมัยอนาล็อก ที่กำลังต้องดำเนินชีวิตอยู่กับโลกดิจิทัลสมัยใหม่ เพื่อรักษาสถานภาพดั้งเดิมไว้ให้นานที่สุดเท่าที่โอกาสแห่งอำนาจจะอำนวยให้ได้ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากก็คือ กลไกทางกฎหมายที่คอยกำกับและควบคุมสื่อในเงื้อมมือของรัฐไทยในปัจจุบัน ดูจะมีจำนวนมากเพียงพออยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 รวมถึงมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 และฉบับที่ 103/2557 ที่ให้อำนาจเบ็ดเสร็จแก่ กสทช. ในการพิจารณาออกมาตรการทางปกครองและลงโทษสถานีวิทยุและโทรทัศน์เป็นจำนวนมาก แต่นั่นอาจไม่ใช่เงื่อนไขหลักที่ทำให้สื่อต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่ในห้วงเวลาปัจจุบัน เท่ากับการที่ต้องเผชิญหน้ากับการแข่งขันและความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านช่องทางในการสื่อสาร รวมถึงข้อจำกัดด้านรายได้จากเม็ดเงินโฆษณาที่หดหาย ทั้งในบริบทของสื่อสิ่งพิมพ์ที่นำไปสู่ปรากฏการณ์การปิดตัวลงของนิตยสารหลายฉบับในช่วงก่อนหน้านี้ ขณะที่สื่อสิ่งพิมพ์รายวันกำลังดิ้นรนไปสู่การจัดวางคอนเทนต์ในแพลตฟอร์มใหม่ ส่วนสมรภูมิทีวีก็มีการปรับเปลี่ยนขนานใหญ่หลังจากการมาถึงของทีวีดิจิทัล และการแทรกตัวเข้ามาของอุปกรณ์ดิจิทัลสมัยใหม่ ที่เปิดโอกาสให้สามารถชมคลิปย้อนหลังได้อย่างหลากหลาย จนสื่อโทรทัศน์กำลังจะกลายเป็นเพียงของประดับบ้านที่ไม่มีใครสนใจ การปรับตัวของสื่อโทรทัศน์ในห้วงเวลาปัจจุบัน ทำให้หลายช่องต้องพยายามจัดเตรียมคอนเทนต์ ให้มีความหลากหลายและขยับปรับเวลาของแต่ละช่วงให้สั้นลง พร้อมที่จะขยายต่อในช่องทางสื่ออื่นๆ ในลักษณะของคลิปรายการย้อนหลัง ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสื่อสารกับผู้ชมและแหล่งรายได้ใหม่บนแพลตฟอร์มที่เปลี่ยนไป ความเป็นไปในมิติที่ว่านี้ ช่อง

Read More

เกาหลีเหนือ จากความไม่แคร์ สู่ภัยคุกคาม

หากจะมีผู้นำประเทศรายใดที่มีสไตล์และภาพลักษณ์เป็นที่น่าจดจำอย่างโดดเด่น เชื่อแน่ว่า คิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือคนปัจจุบัน จะถูกจัดให้เป็นหนึ่งในผู้นำที่ผู้คนกล่าวขวัญถึงมากที่สุดรายหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดอาจไม่ใช่เพราะความสามารถในการบริหาร หรือทักษะด้านใดๆ ที่สื่อแสดงให้ได้เห็นเป็นประจักษ์ หากแต่เป็นผลมาจากความไม่แคร์ หรือไยไพต่อความเป็นไปของโลกต่างหากที่ทำให้ผู้นำรายนี้มีความน่าสนใจอย่างพิเศษ ความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลีในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็บังเกิดขึ้นจากผลของความไม่สนใจความเป็นไปในระดับนานาชาติ และเป็นความท้าทายที่สุ่มเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดเป็นชนวนสงครามครั้งใหม่ ที่อาจไม่ได้จำกัดพื้นที่ความเสียหายอยู่ในวงแคบๆ เท่านั้น ความเป็นไปของสังคมเกาหลีเหนือนับตั้งแต่ยุคของ คิม อิลซุง (15 เมษายน พ.ศ. 2455–8 กรกฎาคม พ.ศ. 2537) ซึ่งก้าวขึ้นเป็นผู้นำเกาหลีเหนือบนตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่เมื่อเริ่มก่อตั้งประเทศในปี 2491 และก้าวสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกในปี 2515 นอกจากจะดำเนินไปบนหนทางของความยากลำบากผ่านทั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามเกาหลี และยุคสมัยแห่งสงครามเย็น ยังประกอบส่วนด้วยลัทธิบูชาบุคคล (cult of personality) ที่ทำให้เมื่อคิม อิลซุง ถึงแก่อสัญกรรม จะได้รับการสถาปนาและมอบสมญานามให้เป็นประธานาธิบดีตลอดกาล (Eternal President) การขึ้นสู่อำนาจของคิม จองอิล (16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2484–17 ธันวาคม พ.ศ.2554) สืบต่อจาก คิม

Read More