Home > manager360 (Page 328)

บทเรียนการท่องเที่ยว กรณีศึกษาศรีลังกาสู่ไทย

เหตุระเบิดถล่มเมืองหลายจุดที่ศรีลังกาในช่วงเทศกาลอีสเตอร์เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา นอกจากจะสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิตของผู้คนจำนวนมากแล้ว ในอีกด้านหนึ่ง แรงระเบิดยังได้ทำลายและสร้างความเสียหายต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจของศรีลังกาที่พึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างหนักอีกด้วย ผลกระทบจากแรงระเบิดและเหตุวุ่นวายที่เกิดขึ้น ได้ฉุดให้การท่องเที่ยวของศรีลังกาตกอยู่ในภาวะชะงักงัน และถูกผลักให้หวนสู่ภาวะซบเซาไม่ต่างจากเมื่อครั้งที่ประเทศเกาะเล็กๆ ในมหาสมุทรอินเดียแห่งนี้ต้องเผชิญกับสงครามกลางเมืองที่ยาวนานกว่า 3 ทศวรรษอีกครั้ง ทั้งที่ก่อนหน้านี้ นิตยสารท่องเที่ยว Lonely Planet ได้ยกให้ศรีลังกาเป็นจุดหมายในการเดินทางท่องเที่ยวที่น่าสนใจและน่าท่องเที่ยวที่สุดในปี 2019 ด้วยเหตุปัจจัย 3 ประการ ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายทางวัฒนธรรมและศาสนาที่ผสมผสานกันในลักษณะของสังคมพหุวัฒนธรรม (multi-cultural society) ประกอบกับทรัพยากรธรรมชาติที่งดงามและเข้าถึงได้ไม่ยาก และนิสัยใจคอของประชาชนในพื้นถิ่นที่พร้อมให้การต้อนรับอาคันตุกะจากต่างแดน ข้อสังเกตของ Lonely Planet ดังกล่าวเกิดขึ้นจากฐานของข้อเท็จจริงที่ว่าภายหลังการสิ้นสุดสงครามกลางเมืองระหว่างรัฐบาลกับกองกำลังติดอาวุธชาวทมิฬที่ยืดเยื้อยาวนานมากว่า 3 ทศวรรษ ศรีลังกาได้เร่งฟื้นฟูระบบการคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะรถไฟอย่างขนานใหญ่ ซึ่งทำให้กิจกรรมทางการท่องเที่ยวเพิ่มปริมาณขึ้นด้วยอัตราเร่งควบคู่กับการเกิดขึ้นของโรงแรมที่พักที่เพิ่มจำนวนขึ้นตามไปด้วย การฟื้นคืนขึ้นมาของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวศรีลังกาในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สามารถประเมินได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้าสู่ศรีลังกาจากจำนวน 4.5 แสนคนในปี 2009 มาสู่ที่ระดับ 2.33 ล้านคนในปี 2018 และมีแนวโน้มเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ควบคู่กับยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของรัฐบาลศรีลังกาที่มุ่งหมายให้การท่องเที่ยวเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้ได้ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของศรีลังกามีมูลค่ารวม 4.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.4 แสนล้านบาท และมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ

Read More

นักศึกษาธรรมศาสตร์สุดเจ๋ง! คว้ารางวัลชนะเลิศ “ลอรีอัล แบรนด์สตอร์ม 2019” คิดค้นนวัตกรรมบำรุงผิวแห่งอนาคต ตอบโจทย์คนรักสุขภาพ

นักศึกษาธรรมศาสตร์สุดเจ๋ง! คิดค้นนวัตกรรมบำรุงผิวแห่งอนาคต ตอบโจทย์คนรักสุขภาพ คว้ารางวัลชนะเลิศ “ลอรีอัล แบรนด์สตอร์ม 2019” พร้อมแข่งระดับโลก ชิงโอกาสฝึกงานที่ฝรั่งเศส ณ Station F ฮับสตาร์ทอัพที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทีม THE THREE MUSKETEERS จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน “ลอรีอัล แบรนด์สตอร์ม 2019” ครั้งที่ 16 ในประเทศไทย นำเสนอกลยุทธ์และพัฒนาแผนการตลาดดิจิทัล ภายใต้โจทย์ “INVENT THE FUTURE SKINCARE EXPERIENCE FOR HEALTH-CONSCIOUS CONSUMERS” หรือ “การสร้างสรรค์ประสบการณ์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวแห่งอนาคต เพื่อผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพ” ให้กับแผนกผลิตภัณฑ์เวชสำอาง เน้นการเข้าถึงและสื่อสารโดยตรงกับผู้บริโภคที่รักสุขภาพ ผ่านการใช้นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขัน “ลอรีอัล แบรนด์สตอร์ม 2019” ระดับโลก ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในเดือน พฤษภาคม 2562

Read More

ไปรษณีย์ไทย ชวนพสกนิกรไทยร่วมบันทึกประวัติศาสตร์แห่งรัชสมัย ผ่านตราไปรษณียากรที่ระลึกชุด พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ในเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญยิ่งต่อพสกนิกรไทย กับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยมีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน จัดกิจกรรมเพื่อร่วมแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณโดยพร้อมเพรียงกัน ล่าสุด บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) ได้จัดสร้างตราไปรษณียากรที่ระลึกชุด “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” ที่มีความสวยงามสมพระเกียรติและทรงคุณค่า ที่พสกนิกรไทยควรเก็บสะสมยิ่ง โดย 3 เรื่องสำคัญที่พสกนิกรไทยต้องรู้เกี่ยวกับแสตมป์ประวัติศาสตร์แห่งรัชสมัยชุดนี้ ประกอบด้วย · บันทึกหน้าประวัติศาสตร์แห่งรัชสมัย การออกแบบตราไปรษณียากรครั้งประวัติศาสตร์นี้ ไปรษณีย์ไทย ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรเป็นที่เรียบร้อย โดยได้เชิญพระฉายาลักษณ์ ในฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารบกเต็มยศมาเป็นแบบตราไปรษณียากร ประกอบอักษรพระปรมาภิไธย ว.ป.ร. และภาพพระบรมมหาราชวังเป็นพื้นหลัง ซึ่งเป็นการออกแบบตามแนวทางเดียวกับเมื่อครั้งการจัดสร้างตราไปรษณียากรที่ระลึกบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เมื่อปีพุทธศักราช 2493 · สวยงามสมพระเกียรติด้วยเทคนิคขั้นสูงครั้งแรกของโลก ความพิเศษของตราไปรษณียากรประวัติศาสตร์ชุดนี้ คือ การใช้เทคนิคพิเศษพิมพ์ 5 สี คือ ฟ้า เหลือง แดง ดำ และขาว ลงบนฟอยล์กระจกเป็นครั้งแรกของไทยและของโลก ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษที่จะทำให้ภาพตราไปรษณียากรมีความสดใส เพิ่มความสวยงามแวววาวให้แก่ภาพบนดวงแสตมป์

Read More

ค่าใช้จ่ายเปิดเทอมใหม่ ภาระหนักครัวเรือนไทย?

ภายใต้สถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไร้ข้อสรุปว่าด้วยการเกิดมีขึ้นของรัฐบาลชุดใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งจนถึงขณะปัจจุบันคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ได้วางกรอบงบประมาณจัดการเลือกตั้งไว้สูงถึง 5,800 ล้านบาท ยังไม่สามารถดำเนินการประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการได้ และกลายเป็นประหนึ่งกับดักหลุมพรางที่ทำให้องคาพยพของสังคมด้านอื่นต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันของหล่มปลักไปด้วยโดยปริยาย ก่อนหน้านี้นักธุรกิจและบรรดาผู้สันทัดกรณีทางเศรษฐกิจต่างโหมประโคมความมั่นใจว่าภายหลังการเลือกตั้งซึ่งควรจะติดตามมาด้วยความชัดเจนของการจับขั้วทางการเมืองและการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ภายหลังยุคสมัยของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เศรษฐกิจไทยน่าจะกระเตื้องขึ้นได้พร้อมกับความมั่นใจของผู้ประกอบการลงทุนต่างชาติ หากแต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในปัจจุบันคือ เศรษฐกิจไทยกำลังถอยหลังอย่างที่ไม่รู้ว่าจะไปสิ้นสุดที่ใด ทัศนะเช่นว่านี้ย่อมไม่ใช่คำกล่าวหาที่เลื่อนลอย หากแต่เป็นข้อเท็จจริงที่ผู้ควบคุมกลไกอำนาจรัฐในห้วงปัจจุบันตระหนักและพยายามประคับประคองสถานการณ์ด้วยหวังว่าหากมีโอกาสกลับมามีบทบาทอีกครั้งจะสามารถเอ่ยอ้างต่อยอดผลงานที่เป็นประหนึ่งฟองครีมที่อยู่บนผืนหน้าเค้กที่ประดับประดาด้วยสิ่งเล็กน้อยที่ทำให้ความขมขื่นของสังคมกลายเป็นความหอมหวานที่เคลือบแฝงด้วยภัยร้ายในระยะยาว ความพยายามที่จะนำเสนอมาตรการพยุงเศรษฐกิจรอบใหม่ในช่วงรอยต่อของรัฐบาล คสช. กับรัฐบาลชุดใหม่ที่ยังมองไม่เห็นว่าจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร ที่ดำเนินผ่านมาตรการภาษีว่าด้วยการหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่อาศัย เพื่อกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รวมไปถึงการควมคุมราคาสินค้า หรือแม้กระทั่งการแจกคูปองการท่องเที่ยว ภายใต้แนวคิดที่ว่ามาตรการเหล่านี้จะช่วยรักษาโมเมนตัมทางเศรษฐกิจให้ไม่ชะลอตัวลงมากไปกว่าที่เป็นอยู่ มาตรการที่ฝ่ายควบคุมกลไกอำนาจอยู่ในปัจจุบันเชื่อว่าจะรักษาการเติบโตของเศรษฐกิจไว้ได้ในระดับที่เรียกว่า “ไฮอิมแพ็กต์” แต่ไม่ถึงกับต้องใช้ยาแรงนี้ เน้นไปที่มาตรการที่เกี่ยวข้องกับด้านการบริโภค การกระตุ้นการท่องเที่ยว การลงทุน ด้านอสังหาริมทรัพย์ และการใช้จ่ายของประชาชนที่ยากจน เกิดขึ้นควบคู่กับปัจจัยเศรษฐกิจโลกที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพิ่งปรับลดประมาณการขยายตัว มีผลกระทบต่อการส่งออกของไทย ซึ่งทำให้ต้องออกมาตรการมาพยุงในช่วงรอยต่อในครั้งนี้ ในขณะเดียวกันก็เร่งผลักดันกฎหมายสรรพากรที่จะช่วยให้จัดเก็บภาษีค้าขายออนไลน์ให้ได้มากขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับรัฐ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาสแรกกับไตรมาส 2 ปีนี้จะเติบโตเพียงร้อยละ 3 ซึ่งทำให้รัฐจำเป็นต้องพยุงการเติบโตไว้ หากปล่อยให้ชะลอลงมาก เวลาจะดึงขึ้นต้องใช้ทรัพยากรมาก และนำมาสู่มาตรการเบื้องต้น ทั้งมาตรการด้านการบริโภค เงินอุดหนุนให้ท่องเที่ยวเมืองรอง และการให้หักลดหย่อนภาษีกรณีค่าใช้จ่ายจากการท่องเที่ยวทั่วประเทศ ขณะที่มาตรการด้านการใช้จ่ายของประชาชน จะมีมาตรการด้านภาษีเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายสำหรับซื้อเสื้อผ้า เครื่องใช้

Read More

บี.กริม เพาเวอร์ ‘BGRIM’ อนุมัติจ่ายเงินปันผล ประจำปี 2561

ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน บี.กริม และ นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM พร้อมด้วยคณะกรรมการบริษัทฯ เข้าร่วมประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2562 ณ ห้องฉัตรา บอลรูม โรงแรมสยามเคมปินสกี้ กรุงเทพฯ โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลประจำปี 2561 ให้แก่ผู้ถือหุ้น ในอัตราหุ้นละ 32 สตางค์ คิดเป็นมูลค่าเงินรวมทั้งสิ้น 834 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทได้มีการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับผลการดำเนินงานครึ่งแรกของปี 2561 แล้วในอัตราหุ้นละ 15 สตางค์ เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2561 โดยบริษัทจะจ่ายเงินปันผลส่วนที่เหลือสำหรับผลการดำเนินงานครึ่งหลังของปี 2561 อีก ในอัตราหุ้นละ 17 สตางค์ ซึ่งมีกำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 10 พฤษภาคม

Read More

ทรี ๓ แซงชัวรี่ ปั้นแบรนด์ “เทรล แอนด์ เทล” คอมมูนิตี้ของคนเมืองและสัตว์เลี้ยงครบวงจรแห่งแรกในไทย

ชาณา เหตระกูล กรรมการบริหาร บริษัท ทรี ๓ แซงชัวรี่ จำกัด ในฐานะเจ้าของโครงการ  “เทรล แอนด์ เทล” เพ็ท-เฟรนด์ลี่ คอมมูนิตี้ (TRAIL and TAIL Pet-Friendly Community) เปิดเผยว่า ได้ใช้งบประมาณ 50 ล้านบาท ในการลงทุนรีโนเวทบ้านเก่าที่เป็นของบรรพบุรุษในซอยสุขุมวิท 39 และพัฒนาพื้นที่โดยรอบกว่า 4 ไร่ ให้เป็นคอมมูนิตี้รูปแบบใหม่สำหรับคนและสัตว์เลี้ยงที่ครบวงจรที่สุดแห่งแรกในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนและสัตว์เลี้ยงให้มีความสุขแบบยั่งยืน มีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง ด้วยการบริการแบบมืออาชีพจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง พร้อมตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนเมืองย่านสุขุมวิทที่มองหาความเรียบง่ายแบบพิถีพิถันและการใช้ชีวิต โดยมุ่งเน้นความสุขแบบองค์รวม พร้อมให้ความสะดวกสบายด้วยพื้นที่จอดรถภายในโครงการได้กว่า 40 คัน จากข้อมูลกรมปศุสัตว์ที่ประเมินว่าในปี 2561ประเทศไทยมีจำนวนประชากรสัตว์เลี้ยงเพิ่มเป็น 13.7 ล้านตัว โดยแบ่งเป็นสุนัขร้อยละ 61 แมวร้อยละ 24 และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ อีก ร้อยละ 15 ส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมของคนยุคใหม่ที่เปลี่ยนไป มีจำนวนคนโสดและคนอายุยืนมากขึ้น

Read More

Netflix รายงานข้อมูลไตรมาสแรกในปี 2562

Netflix รายงานรายได้และข้อมูลสำคัญประจำไตรมาสแรกปี 2562 ว่าทำรายได้ได้กว่า 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมีผู้ที่สมัครชำระค่าบริการทั่วโลกถึง 148 ล้านสมาชิก โดยในไตรมาสนี้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นมากเป็นประวัติการณ์ถึง 9.6 ล้านสมาชิก หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (เป็นสมาชิกในสหรัฐอเมริกา 1.74 ล้านสมาชิก และ 7.86 ล้านสมาชิกในประเทศอื่นๆ) · ข้อมูลที่น่าสนใจอื่นๆ ในไตรมาสนี้ประกอบด้วย ° เนื้อหาจากประเทศต่างๆ ได้รับความนิยมทั้งในประเทศเจ้าของเนื้อหาและในต่างประเทศ เช่น ซีรีส์เกาหลี Kingdom เป็นซีรีส์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดตั้งแต่ซีซันส์แรกในประเทศเกาหลีและยังเป็นซีรี่ส์ที่ถูกใจผู้ชมนับล้านนอกประเทศเกาหลีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชีย ° มีสมาชิกทั้งครัวเรือนจำนวนถึง 45 ล้านครอบครัวที่ชมซีรีส์เรื่อง Umbrella Academy ภายในสี่สัปดาห์แรกที่เปิดให้ชม ° ภาพยนตร์แอ็คชั่น Triple Frontier นำแสดงโดย เบน แอฟเฟล็ก มีผู้ชมถึง 52 ล้านครอบครัวในช่วงสี่สัปดาห์แรกที่นำออกฉาย ° The Highwaymen นำแสดงโดย เควิน คอสต์เนอร์ และ

Read More

David Malpass ตัวแปรในสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ

ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าโลกที่กำลังชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง การก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งประธานธนาคารโลก (World Bank) ของ David Malpass เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ดูจะเป็นจังหวะก้าวที่มีผู้คนให้ความสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นว่าด้วยบทบาทและทิศทางขององค์กรโลกบาลแห่งนี้จะดำเนินไปอย่างไร ในสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ ที่ยังยืดเยื้อยาวนานเช่นนี้ David Malpass ได้รับการเสนอชื่อจากรัฐบาลของ Donald Trump ให้ดำรงตำแหน่งประธานธนาคารโลกคนที่ 13 หลังจากที่ Jim Yong Kim ประธานธนาคารโลกคนก่อนหน้า ตัดสินใจก้าวลงจากตำแหน่งก่อนครบวาระ 5 ปีในปี 2022 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งติดตามมาด้วยเสียงวิพากษ์วิจารณ์และข้อกังวลใจในบทบาทของ David Malpass บนตำแหน่งประธานธนาคารโลกว่าจะทำให้องค์กรแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งในเครื่องมือของรัฐบาล Donald Trump ในการเปิดแนวรุกเพื่อกดดันจีน และลดทอนบทบาทการนำของธนาคารโลกว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ (Climate Change) และกรอบความร่วมมือเพื่อหนุนนำการพัฒนาพหุภาคีหรือไม่ ประเด็นแห่งข้อกังวลใจดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นบนสุญญากาศ หากแต่เกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา David Malpass ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ด้านกิจการระหว่างประเทศ (Under Secretary of the Treasury

Read More

ปรับเป้าส่งออก ย้ำเศรษฐกิจไทยขาลง

ภาวะเศรษฐกิจไทยในปีหมู ซึ่งหลายฝ่ายเคยเชื่อและฝากความหวังไว้ว่าจะมีความสดใสเรืองรองกว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุที่เชื่อว่าภายหลังการเลือกตั้งจะได้เห็นความชัดเจนในเชิงนโยบาย และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ที่จะช่วยปลุกให้เศรษฐกิจไทยโดยรวมกลับมากระเตื้องขึ้นจากภาวะซบเซาที่ดำเนินมายาวนานได้บ้าง หากแต่ปัจจัยทางการเมืองว่าด้วยการเลือกตั้งดูจะไม่ได้ส่งผลในทางบวกต่อเศรษฐกิจไทยมากนัก มิหนำซ้ำข้อเท็จจริงทางเศรษฐกิจของไทยที่ถูกกดทับด้วยปัจจัยเสี่ยงรอบด้านทั้งภาวะชะลอตัวลงของเศรษฐกิจในระดับนานาชาติ ยิ่งทำให้เศรษฐกิจไทยที่พึ่งพิงการส่งออกในฐานะที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบเชิงลบไปโดยปริยาย เป้าหมายการส่งออกของไทยที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เคยตั้งเป้าไว้ว่าจะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 8 ในปี 2562 จากที่ในปี 2561 มีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ระดับ 252,486 ล้านเหรียญสหรัฐ กำลังถูกท้าทายอย่างหนักหน่วง เมื่อข้อเท็จจริงในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2562 ปรากฏว่ามูลค่าการส่งออกของไทยมีมูลค่าในระดับ 40,548 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นการขยายตัวในอัตราร้อยละ 0.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเท่านั้น ตัวเลขการส่งออกที่ไม่ค่อยโสภาดังกล่าวนี้ ในด้านหนึ่งอาจได้รับคำอรรถาธิบายว่าเป็นไปตามวงรอบปกติของการส่งออก ที่จะพบว่าตัวเลขส่งออกในช่วงไตรมาสแรกของแต่ละปีอาจจะไม่ดีนัก และจะกลับมาคึกคักในช่วงไตรมาส 2 และ 3 ก่อนที่จะอยู่ในภาวะชะลอตัวอีกครั้งในช่วงไตรมาส 4 จากที่ได้มีคำสั่งซื้อล่วงหน้าไปแล้ว คงเหลือเพียงการส่งมอบสินค้า กระนั้นก็ดี ความเคลื่อนไหวของสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย หรือสภาผู้ส่งออก ที่ได้ปรับลดคาดการณ์การส่งออกของไทยในปีนี้จากระดับร้อยละ 5 ลงเหลือร้อยละ 3 โดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ปรับคาดการณ์ส่งออกลงเหลือร้อยละ 3-5

Read More

ภาระหนี้ครัวเรือน ภัยร้ายเศรษฐกิจไทย

ความเป็นไปว่าด้วยภาระหนี้ครัวเรือนของไทยที่กำลังไต่ระดับเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) กำลังสะท้อนความเปราะบางทางเศรษฐกิจโดยรวมของชาติอย่างยากจะปฏิเสธ และเป็นเหตุให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแสดงความกังวลต่อสัญญาณลบที่มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ ข้อมูลตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเห็นได้จากแนวโน้มหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีที่ปรับตัวขึ้นจากร้อยละ 77.7 ในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2561 มาสู่ที่ระดับร้อยละ 77.8 เมื่อสิ้นสุดไตรมาสที่ 3 โดยอัตราหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีของไทยปรับสูงขึ้นเป็นร้อยละ 78.6 เมื่อสิ้นปี 2561 และมียอดคงค้าง 12.8 ล้านล้านบาท ขณะที่สถานการณ์ในปี 2562 คาดว่าหนี้ครัวเรือนมีโอกาสที่จะปรับสูงขึ้นไปสู่ระดับร้อยละ 79.5 อีกด้วย ภาระหนี้ครัวเรือนที่ปรับตัวขึ้นส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากภาระหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบัตรเครดิตและการขยายธุรกิจ ซึ่งในระยะนับจากนี้หนี้ครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก เมื่อพิจารณาจากสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากกรณีที่ภาครัฐส่งเสริมให้การกู้นอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้น ซึ่งถือเป็นกรณีที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดและต้องมีการศึกษารายละเอียดให้ชัดเจนว่าการเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนเป็นหนี้ที่สร้างมูลค่า มีสินทรัพย์ หรือใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคเท่านั้น เพราะอาจมีผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้ ประเด็นที่น่าสนใจของการเปลี่ยนหนี้จากนอกระบบเข้ามาในระบบอยู่ที่แม้สถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นจะเป็นผลมาจากการที่ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินเพื่อรับบริการทางการเงินและสินเชื่อซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดีต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวม เนื่องจากสามารถลดภาระดอกเบี้ยจากสินเชื่อนอกระบบที่มีการคิดอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าในระบบมาก โดยในปัจจุบันสินเชื่อในระบบคิดอัตราดอกเบี้ยในระดับร้อยละ 28 ต่อปีสำหรับการบริการสินเชื่อบุคคล และร้อยละ 36 ต่อปีสำหรับนาโนไฟแนนซ์ ขณะเดียวกันการเข้าถึงสินเชื่อในระบบที่สามารถทำได้สะดวกขึ้น จากการใช้ข้อมูลต่างๆ เข้ามาร่วมในการวิเคราะห์ให้สินเชื่อ นอกเหนือจากการใช้เพียงรายการเดินบัญชีของธนาคารเท่านั้น ยังเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า ผู้ขับจักรยานยนต์รับจ้าง และผู้ประกอบอาชีพอิสระมากขึ้น อย่างไรก็ดี ภายใต้สถานการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยของไทยอยู่ในอัตราที่ต่ำมาเป็นเวลานาน ได้กลายเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดการก่อหนี้ที่สูงขึ้น เพราะต้นทุนการกู้ต่ำ ขณะที่การออมก็ได้รับผลตอบแทนต่ำจึงไม่จูงใจให้เกิดการออม

Read More