Home > manager360 (Page 323)

Netflix รายงานข้อมูลไตรมาสแรกในปี 2562

Netflix รายงานรายได้และข้อมูลสำคัญประจำไตรมาสแรกปี 2562 ว่าทำรายได้ได้กว่า 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมีผู้ที่สมัครชำระค่าบริการทั่วโลกถึง 148 ล้านสมาชิก โดยในไตรมาสนี้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นมากเป็นประวัติการณ์ถึง 9.6 ล้านสมาชิก หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (เป็นสมาชิกในสหรัฐอเมริกา 1.74 ล้านสมาชิก และ 7.86 ล้านสมาชิกในประเทศอื่นๆ) · ข้อมูลที่น่าสนใจอื่นๆ ในไตรมาสนี้ประกอบด้วย ° เนื้อหาจากประเทศต่างๆ ได้รับความนิยมทั้งในประเทศเจ้าของเนื้อหาและในต่างประเทศ เช่น ซีรีส์เกาหลี Kingdom เป็นซีรีส์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดตั้งแต่ซีซันส์แรกในประเทศเกาหลีและยังเป็นซีรี่ส์ที่ถูกใจผู้ชมนับล้านนอกประเทศเกาหลีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชีย ° มีสมาชิกทั้งครัวเรือนจำนวนถึง 45 ล้านครอบครัวที่ชมซีรีส์เรื่อง Umbrella Academy ภายในสี่สัปดาห์แรกที่เปิดให้ชม ° ภาพยนตร์แอ็คชั่น Triple Frontier นำแสดงโดย เบน แอฟเฟล็ก มีผู้ชมถึง 52 ล้านครอบครัวในช่วงสี่สัปดาห์แรกที่นำออกฉาย ° The Highwaymen นำแสดงโดย เควิน คอสต์เนอร์ และ

Read More

David Malpass ตัวแปรในสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ

ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าโลกที่กำลังชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง การก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งประธานธนาคารโลก (World Bank) ของ David Malpass เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ดูจะเป็นจังหวะก้าวที่มีผู้คนให้ความสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นว่าด้วยบทบาทและทิศทางขององค์กรโลกบาลแห่งนี้จะดำเนินไปอย่างไร ในสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ ที่ยังยืดเยื้อยาวนานเช่นนี้ David Malpass ได้รับการเสนอชื่อจากรัฐบาลของ Donald Trump ให้ดำรงตำแหน่งประธานธนาคารโลกคนที่ 13 หลังจากที่ Jim Yong Kim ประธานธนาคารโลกคนก่อนหน้า ตัดสินใจก้าวลงจากตำแหน่งก่อนครบวาระ 5 ปีในปี 2022 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งติดตามมาด้วยเสียงวิพากษ์วิจารณ์และข้อกังวลใจในบทบาทของ David Malpass บนตำแหน่งประธานธนาคารโลกว่าจะทำให้องค์กรแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งในเครื่องมือของรัฐบาล Donald Trump ในการเปิดแนวรุกเพื่อกดดันจีน และลดทอนบทบาทการนำของธนาคารโลกว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ (Climate Change) และกรอบความร่วมมือเพื่อหนุนนำการพัฒนาพหุภาคีหรือไม่ ประเด็นแห่งข้อกังวลใจดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นบนสุญญากาศ หากแต่เกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา David Malpass ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ด้านกิจการระหว่างประเทศ (Under Secretary of the Treasury

Read More

ปรับเป้าส่งออก ย้ำเศรษฐกิจไทยขาลง

ภาวะเศรษฐกิจไทยในปีหมู ซึ่งหลายฝ่ายเคยเชื่อและฝากความหวังไว้ว่าจะมีความสดใสเรืองรองกว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุที่เชื่อว่าภายหลังการเลือกตั้งจะได้เห็นความชัดเจนในเชิงนโยบาย และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ที่จะช่วยปลุกให้เศรษฐกิจไทยโดยรวมกลับมากระเตื้องขึ้นจากภาวะซบเซาที่ดำเนินมายาวนานได้บ้าง หากแต่ปัจจัยทางการเมืองว่าด้วยการเลือกตั้งดูจะไม่ได้ส่งผลในทางบวกต่อเศรษฐกิจไทยมากนัก มิหนำซ้ำข้อเท็จจริงทางเศรษฐกิจของไทยที่ถูกกดทับด้วยปัจจัยเสี่ยงรอบด้านทั้งภาวะชะลอตัวลงของเศรษฐกิจในระดับนานาชาติ ยิ่งทำให้เศรษฐกิจไทยที่พึ่งพิงการส่งออกในฐานะที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบเชิงลบไปโดยปริยาย เป้าหมายการส่งออกของไทยที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เคยตั้งเป้าไว้ว่าจะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 8 ในปี 2562 จากที่ในปี 2561 มีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ระดับ 252,486 ล้านเหรียญสหรัฐ กำลังถูกท้าทายอย่างหนักหน่วง เมื่อข้อเท็จจริงในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2562 ปรากฏว่ามูลค่าการส่งออกของไทยมีมูลค่าในระดับ 40,548 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นการขยายตัวในอัตราร้อยละ 0.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเท่านั้น ตัวเลขการส่งออกที่ไม่ค่อยโสภาดังกล่าวนี้ ในด้านหนึ่งอาจได้รับคำอรรถาธิบายว่าเป็นไปตามวงรอบปกติของการส่งออก ที่จะพบว่าตัวเลขส่งออกในช่วงไตรมาสแรกของแต่ละปีอาจจะไม่ดีนัก และจะกลับมาคึกคักในช่วงไตรมาส 2 และ 3 ก่อนที่จะอยู่ในภาวะชะลอตัวอีกครั้งในช่วงไตรมาส 4 จากที่ได้มีคำสั่งซื้อล่วงหน้าไปแล้ว คงเหลือเพียงการส่งมอบสินค้า กระนั้นก็ดี ความเคลื่อนไหวของสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย หรือสภาผู้ส่งออก ที่ได้ปรับลดคาดการณ์การส่งออกของไทยในปีนี้จากระดับร้อยละ 5 ลงเหลือร้อยละ 3 โดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ปรับคาดการณ์ส่งออกลงเหลือร้อยละ 3-5

Read More

ภาระหนี้ครัวเรือน ภัยร้ายเศรษฐกิจไทย

ความเป็นไปว่าด้วยภาระหนี้ครัวเรือนของไทยที่กำลังไต่ระดับเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) กำลังสะท้อนความเปราะบางทางเศรษฐกิจโดยรวมของชาติอย่างยากจะปฏิเสธ และเป็นเหตุให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแสดงความกังวลต่อสัญญาณลบที่มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ ข้อมูลตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเห็นได้จากแนวโน้มหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีที่ปรับตัวขึ้นจากร้อยละ 77.7 ในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2561 มาสู่ที่ระดับร้อยละ 77.8 เมื่อสิ้นสุดไตรมาสที่ 3 โดยอัตราหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีของไทยปรับสูงขึ้นเป็นร้อยละ 78.6 เมื่อสิ้นปี 2561 และมียอดคงค้าง 12.8 ล้านล้านบาท ขณะที่สถานการณ์ในปี 2562 คาดว่าหนี้ครัวเรือนมีโอกาสที่จะปรับสูงขึ้นไปสู่ระดับร้อยละ 79.5 อีกด้วย ภาระหนี้ครัวเรือนที่ปรับตัวขึ้นส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากภาระหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบัตรเครดิตและการขยายธุรกิจ ซึ่งในระยะนับจากนี้หนี้ครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก เมื่อพิจารณาจากสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากกรณีที่ภาครัฐส่งเสริมให้การกู้นอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้น ซึ่งถือเป็นกรณีที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดและต้องมีการศึกษารายละเอียดให้ชัดเจนว่าการเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนเป็นหนี้ที่สร้างมูลค่า มีสินทรัพย์ หรือใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคเท่านั้น เพราะอาจมีผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้ ประเด็นที่น่าสนใจของการเปลี่ยนหนี้จากนอกระบบเข้ามาในระบบอยู่ที่แม้สถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นจะเป็นผลมาจากการที่ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินเพื่อรับบริการทางการเงินและสินเชื่อซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดีต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวม เนื่องจากสามารถลดภาระดอกเบี้ยจากสินเชื่อนอกระบบที่มีการคิดอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าในระบบมาก โดยในปัจจุบันสินเชื่อในระบบคิดอัตราดอกเบี้ยในระดับร้อยละ 28 ต่อปีสำหรับการบริการสินเชื่อบุคคล และร้อยละ 36 ต่อปีสำหรับนาโนไฟแนนซ์ ขณะเดียวกันการเข้าถึงสินเชื่อในระบบที่สามารถทำได้สะดวกขึ้น จากการใช้ข้อมูลต่างๆ เข้ามาร่วมในการวิเคราะห์ให้สินเชื่อ นอกเหนือจากการใช้เพียงรายการเดินบัญชีของธนาคารเท่านั้น ยังเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า ผู้ขับจักรยานยนต์รับจ้าง และผู้ประกอบอาชีพอิสระมากขึ้น อย่างไรก็ดี ภายใต้สถานการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยของไทยอยู่ในอัตราที่ต่ำมาเป็นเวลานาน ได้กลายเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดการก่อหนี้ที่สูงขึ้น เพราะต้นทุนการกู้ต่ำ ขณะที่การออมก็ได้รับผลตอบแทนต่ำจึงไม่จูงใจให้เกิดการออม

Read More

โอกาสไทยที่เสียไป กับรัฐบาลใหม่ที่มาช้า

ความเปราะบางทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา ดูจะเพิ่มระดับความน่ากังวลและเต็มไปด้วยความไม่ชัดเจนแน่นอน โดยตลอด 2 สัปดาห์แห่งความคลุมเครือว่าด้วยผลการเลือกตั้งและวิธีการคิดคำนวณสัดส่วนสมาชิกแบบปาร์ตี้ลิสต์ที่แต่ละพรรคพึงมี ได้ฉุดให้ความพยายามในการจับขั้วทางการเมืองเพื่อเริ่มกระบวนการจัดตั้งรัฐบาลใหม่เป็นไปได้อย่างยากลำบากยิ่งขึ้น สถานการณ์ทางการเมืองที่เต็มไปด้วยความเลื่อนไหลคลุมเครือ นอกจากจะนำพาให้เกิดความกังวลใจในหมู่ประชาชนคนไทยที่ได้ออกไปใช้สิทธิออกเสียงตามกระบวนการประชาธิปไตยที่ห่างหายไปนานกว่า 8 ปีแล้ว ในอีกด้านหนึ่งกำลังสร้างความไม่มั่นใจให้กับนักลงทุนจากต่างประเทศ ที่มุ่งหมายที่จะเห็นประเทศไทยกลับเข้าสู่หนทางการเมืองแบบประชาธิปไตยพร้อมกับรัฐบาลชุดใหม่ที่มีเสถียรภาพและได้รับการยอมรับจากทั้งประชาชนในประเทศและสร้างความเชื่อมั่นในระดับนานาชาติอีกครั้ง แต่ความคาดหวังเช่นที่ว่านี้ นอกจากจะยังไม่เกิดขึ้นในห้วงเวลาที่ผ่านมาแล้ว สถานการณ์ในห้วงเวลานี้ ดูจะยิ่งผลักให้อยู่ไกลออกไปจากการจับต้องและรับรู้มากขึ้นไปอีก ซึ่งดูเหมือนว่าภายใต้กรอบเวลาที่หลายฝ่ายคาดการณ์ ความชัดเจนว่าด้วยรัฐบาลชุดใหม่จากผลของการเลือกตั้งจะเกิดมีขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน ซึ่งเท่ากับว่ารัฐบาลใหม่จะเกิดมีขึ้นได้เมื่อผ่านไตรมาสที่ 2 หรือเมื่อผ่านครึ่งปีไปแล้วเท่านั้น ความคลุมเครือในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของประเทศเท่านั้น หากแต่ยังดำเนินไปท่ามกลางข้อเท็จจริงที่ว่าพรรคการเมืองที่จะเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลในแต่ละขั้วการเมืองมีคะแนนเสียงใกล้เคียงกัน ซึ่งอาจส่งผลกับการพิจารณาอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่จะเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน และอาจนำไปสู่ปัญหาว่าด้วยเสถียรภาพของรัฐบาลในช่วงเวลาจากนี้ได้ไม่ยาก ประเด็นว่าด้วยเสถียรภาพของรัฐบาลชุดใหม่ ที่ได้รับการประเมินว่าอาจเป็นอุปสรรคต่อการพิจารณาออกกฎหมาย และผลักดันนโยบายทางเศรษฐกิจสังคม นอกจากจะสั่นคลอนความเชื่อมั่นของผู้คนแล้ว สิ่งสำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ มาตรการของรัฐบาลใหม่ที่อาจเป็นการสลับร่างจากผู้กุมอำนาจชุดเดิมจะดำเนินไปภายใต้มาตรการเฉพาะหน้าที่ได้เคยสัญญาไว้ในรูปของการแจกแถม แต่ไม่ได้เน้นเรื่องการปรับแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ทั้งในมิติของการลดความเหลื่อมล้ำ ลดการผูกขาด หรือแม้แต่การปฏิรูปภาษี ในขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวภายใต้กรอบที่ไม่ต่างจากเดิมที่ผ่านมา โดยที่สังคมด้านล่างได้รับอานิสงส์อย่างเบาบางเช่นเดิม ระยะเวลาที่ทอดยาวเนิ่นนานออกไปดังกล่าว ทำให้ความเป็นไปทางเศรษฐกิจของไทยดูจะต้องยอมรับสภาพชะงักงันไปตลอดทั้งปี 2562 โดยปริยาย และทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมใจกันปรับลดการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2562 ลงมา โดยระบุว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศหรือจีดีพีในปีหมูจะมีอัตราการเติบโตเหลือเพียงร้อยละ 3.8 จากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 4.0 ในช่วงก่อนหน้านี้ การปรับลดประมาณการดังกล่าว เกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่า แม้สถานการณ์ทางการเมืองจะยังมีความคลุมเครือในเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล

Read More

แฟมิลี่มาร์ท จัดเต็มแคมเปญ “Summer Splash” สนุกรับสงกรานต์

แฟมิลี่มาร์ท จัดเต็มแคมเปญ “Summer Splash” ชวนแวะเติมความสุข สนุกรับสงกรานต์ ท้าแดดแรง พร้อมลิ้มรสเมนูดอกไม้ คลายร้อน สุดเอ็กซ์คลูชีฟ เย็นฉ่ำรับหน้าร้อน แฟมิลี่มาร์ท จัดซัมเมอร์แคมเปญ วันหยุดสุดสนุกยกขบวนแก๊งค์เพื่อนเติมพลังความสดชื่น ลิ้มรสสุดเอ็กซ์คลูซีฟของหลากหลายเมนู เสน่ห์อาหารจากดอกไม้ร่วมสร้างสีสันบรรยากาศช่วงเทศกาลให้คึกคัก ตอกย้ำอุณหภูมิความฮอตด้วยโปรฯ แรงท้าแดดร้อน พร้อมมอบประสบการณ์คุ้มค่าทุกช่วงเวลาตลอดซัมเมอร์นี้ วันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ คาดว่าบรรยากาศการเล่นน้ำในหลายพื้นที่ยังคงคึกคัก และได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ด้วยพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่นิยมเดินทางกลับภูมิลำเนา หรือเดินทางไปพักผ่อนต่างจังหวัด เพื่อสัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ๆ ตามไลฟ์สไตล์ตนเอง อีกทั้งการจัดกิจกรรมอีเว้นท์ ซัมเมอร์แคมเปญ ก็เป็นอีกปัจจัยที่ช่วยสร้างบรรยากาศและกระตุ้นให้ประชาชนออกมาท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลนี้ นางสาวฤดี เอื้อจงประสิทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการตลาด บริษัท เซ็นทรัล แฟมิลี่มาร์ท จำกัด กล่าวว่า “เพื่อสร้างสีสันให้เทศกาลสงกรานต์ครึกครื้น ปีนี้เราจึงจัดแคมเปญสุดฮอต “Summer Splash” สาดสุขสนุกรับสงกรานต์ โดยเราเตรียมพร้อมทั้งกลุ่มสินค้าอาหารพร้อมทาน เครื่องดื่มเอ็กซ์คลูชีฟรสชาติใหม่ อีกทั้งความพร้อมของพนักงานสาขาที่คอยอำนวยความสะดวกตลอด 24 ชม. โดยเชื่อว่าสงกรานต์ปีนี้แฟมิลี่มาร์ทจะเป็นสถานีที่จะมอบมอบความสุข เติมพลังความสดชื่นให้กับลูกค้าก่อนเดินทางสู่จุดหมาย และสามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของลูกค้าตลอดช่วงหน้าร้อนได้” นอกจากนี้ยังรวบรวมหลากหลายเมนูใหม่สุดเอ็กซ์คลูซีฟที่พร้อมสร้างความสนุกและความแปลกใหม่ให้กับลูกค้า ด้วยอาหารจานเด็ดจากดอกไม้นานาชนิดที่รังสรรค์อย่างพิถีพิถัน ทั้งเมนูคาว

Read More

ภาระหนักรัฐบาลใหม่ ผลักดันอนาคตเศรษฐกิจไทย

แม้ว่าการเลือกตั้งทั่วไป 2562 จะผ่านพ้นไปแล้ว และได้เห็นเค้าลางของผู้ชนะผู้แพ้ในสนามเลือกตั้งกันไปพอสมควร หากแต่ทิศทางการเมืองไทยและโฉมหน้ารัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศกลับตกอยู่ในภาวะคลุมเครือ และยากที่จะสรุปอย่างชัดเจนว่าจะดำเนินไปอย่างไร ซึ่งอาจเนิ่นนานไปตามกำหนดเวลาของการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่คาดว่าจะมีขึ้นอย่างเร็วที่สุดในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมไปแล้ว ความคาดหวังของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคธุรกิจเอกชนว่าด้วยความเชื่อมั่นและแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ภายหลังการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นความคาดหวังที่ผูกโยงอยู่กับทัศนะเชิงบวกและการกระตุ้นปลอบเร้า ด้วยหวังว่ารัฐบาลใหม่จะสามารถเร่งระดมปลุกปั้นเศรษฐกิจไทยให้กลับมาฟื้นคืนและแข็งแกร่งอีกครั้ง ดูจะอ่อนแรงลงไปอย่างช้าๆ เมื่อประเมินจากข้อเท็จจริงที่ว่า ความชัดเจนและระยะเวลาของการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่ทอดยาวออกไปกำลังก่อให้เกิด “ภาวะเสียโอกาสซ้ำซาก” ที่อาจฉุดให้เศรษฐกิจไทยต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันไปจนถึงสิ้นสุดไตรมาสที่ 2 และอาจต่อเนื่องไปสู่ไตรมาสที่ 3 ของปีเลยทีเดียว บรรยากาศแห่งความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ปกคลุมอยู่ในห้วงเวลาปัจจุบัน กลายเป็นปัจจัยที่พร้อมจะแช่แข็งเศรษฐกิจไทยไปโดยปริยาย แม้ว่าในการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนไทยก่อนหน้านี้จะพบว่าประชาชนในสัดส่วนมากถึงร้อยละ 63.64 แสดงความมั่นใจว่าภายหลังการเลือกตั้ง เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 32.27 ระบุว่าเศรษฐกิจไทยจะยังดำเนินอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่เหมือนเดิม โดยมีอีกร้อยละ 4.09 ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะแย่ลงกว่าที่เคยเป็นอยู่ในช่วงก่อนมีการเลือกตั้ง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนก่อนการเลือกตั้งดังกล่าวอยู่ที่ประชาชนส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 45.73 ประเมินว่าไม่มีพรรคการเมืองใดเลยที่มีนโยบายในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชนได้อย่างจริงจัง แม้ว่าจะมีประชาชนบางส่วนชื่นชอบแนวนโยบายเศรษฐกิจของแต่ละพรรคการเมืองในสัดส่วนที่ลดหลั่นกันไป ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนจำนวนไม่น้อยตระหนักว่าปัญหาเศรษฐกิจปากท้องของประชาชน ไม่ใช่ปัญหาที่จะแก้ไขได้โดยง่าย ขณะเดียวกันภายใต้สถานการณ์ที่ผลักให้รัฐบาลชุดใหม่มีแนวโน้มที่จะเป็นรัฐบาลผสมหลายพรรค การนำนโยบายเศรษฐกิจที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคนำเสนอในช่วงหาเสียงเลือกตั้งมาผนวกผสานเพื่อสร้างให้เป็นกรอบโครงนโยบายสาธารณะของรัฐบาล ดูจะเป็นสิ่งที่ห่างไกลจากข้อเท็จจริงที่ประชาชนจะคาดหวังได้ ความเป็นไปทางการเมืองที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้าว่าด้วยการช่วงชิงบทบาทนำในการเป็นแกนกลางในการจัดตั้งรัฐบาลที่กำลังดำเนินอยู่อย่างเข้มข้น ท่ามกลางการเจรจาต่อรองผลประโยชน์ทั้งในมิติของอำนาจและตำแหน่งแห่งที่ในคณะรัฐบาลที่กำลังจะเกิดมีขึ้นในอนาคต ยังเป็นการเน้นย้ำให้เห็นถึงความเปราะบางทางการเมืองของไทยที่ทำให้การผลักดันมาตรการทางเศรษฐกิจสังคมนับจากนี้ ถูกผูกโยงเข้ากับวิถีของการแบ่งปันผลประโยชน์ของผู้มีบทบาททางการเมืองแต่ละส่วน มากกว่าที่จะเกิดขึ้นจากการประสานข้อเด่น-ด้อยของนโยบายที่แต่ละฝ่ายมี มาสกัดและสังเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ในทางสาธารณะสำหรับประชาชนซึ่งเป็นผู้ออกเสียงลงคะแนนและเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของสังคมไทยอย่างแท้จริง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กลไกภาครัฐพยายามที่จะบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจไทยเติบโตขึ้น โดยล่าสุดได้นำเสนอตัวเลขทางเศรษฐกิจไทยรวมทั้งปี 2561 ว่าขยายตัวร้อยละ

Read More

สกว.จับมืออุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือกระตุ้นการวิจัยสู่สตาร์ทอัพ

สกว.จับมืออุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือกระตุ้นการวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ หวังต่อยอดสู่สตาร์ทอัพ ทุ่มงบวิจัยต่อยอดรวม 10 ทุน ด้านผู้บริหาร มช. ย้ำนักวิจัยมีบทบาทสำคัญในการร่วมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับสังคมและยกระดับมหาวิทยาลัยเคียงบ่าเคียงไหล่นานาประเทศ ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมงานสัมมนากระตุ้นการวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ภายใต้โครงการ “การแปลงงานวิจัยและยกระดับสู่การใช้ประโยชน์” และการศึกษาการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จากงานวิจัยพื้นฐานภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจาก สกว. และเยี่ยมชมการดำเนินงานของอุทยานฯ และโรงงานต้นแบบ-บริษัทสตาร์ทอัพภายใต้การผลักดันของอุทยานฯ ผู้อำนวยการ สกว. กล่าวระหว่างการบรรยายโครงสร้างและระบบวิจัยใหม่ ว่าอยากให้ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะผู้บริหารและนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีช่วยกันจัดทำแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยแลลำนวัตกรรมของประเทศ โดยใช้กลไกสนับสนุนทุนวิจัย งบประมาณ และการติดตามประเมินผล เป็นตัวขับเคลื่อนงานวิจัยภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ดีแบบมีส่วนร่วมผ่านกองทุนในระดับหน่วยงานในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในประเทศ สำหรับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นั้นน่าจะทำการวิจัยด้านปฏิกิริยานิวเคลียร์เป็นอย่างมาก เพราะเป็นแหล่งพลังงานที่น่าลงทุน ขณะที่ รศ. ดร.สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศบนฐานนวัตกรรมในยุคประเทศไทย 4.0 บทบาทของนักวิจัยในมหาวิทยาลัยจะทวีความสำคัญมากขึ้น เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่านอกจากการสอนและทำวิจัยแล้วยังต้องสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับสังคมด้วย มิฉะนั้นจะถูกดิสรัป ถ้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไม่ก้าวสู่มหาวิทยาลัยวิจัยก็จะไปไม่รอด เราจึงต้องยกระดับมหาวิทยาลัยให้เคียงบ่าเคียงไหล่ประเทศต่าง ๆ ที่พัฒนาไปไกลแล้ว เช่น

Read More

เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ฉุดไทยไปไม่พ้นภาวะชะงักงัน

แม้ว่าดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงต้นปี 2562 จะมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้น จากเหตุปัจจัยว่าด้วยกำหนดการเลือกตั้งที่คาดว่าได้สร้างความตื่นตัวทางเศรษฐกิจกว่า 5 หมื่นล้านบาทมาช่วยหนุน ควบคู่กับปริมาณนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เริ่มทยอยกลับมาสร้างสีสันให้กับการท่องเที่ยวไทยอีกครั้ง หากแต่ภายใต้สถานการณ์ความชะลอตัวทางเศรษฐกิจระดับนานาชาติที่ดำเนินต่อเนื่องจากเหตุของข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา รวมถึงกรณีว่าด้วยการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร หรือ BREXIT ที่ยังคงยืดเยื้อหาข้อสรุปที่พึงประสงค์ระหว่างกันไม่ได้ ได้กลายเป็นปัจจัยกดทับให้เศรษฐกิจไทยยังอยู่ในภาวะชะงักงันต่อเนื่องออกไปอีก ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ข้อพิพาทระหว่างจีน-สหรัฐอเมริกามีความผ่อนคลายลงจากการประกาศขยายเวลาการเก็บภาษีสินค้าจากจีนจากอัตราเดิมร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 25 ออกไปอีก 90 วันนับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2562 ซึ่งถือเป็นการประวิงเวลาให้ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมเจรจาเพื่อแสวงหาทางออกกันอีกครั้ง ซึ่งทำให้สงครามการค้าที่หลายฝ่ายกังวลใจยังไม่ขยายวงและบานปลายมากไปกว่าที่ผ่านมา แต่ความเคลื่อนไหวจากฝั่งฟากยุโรปกลับส่งสัญญาณเตือนถึงปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น โดยการประชุมธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้ระบุถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ปรับลดอัตราเร่งลงมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่แน่นอนที่ยังคงดำเนินต่อไปจากเหตุปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ ภัยคุกคามจากนโยบายกีดกันทางการค้า และความเปราะบางในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ล้วนส่งแรงกระทบต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจยูโรโซน ถ้อยแถลงของธนาคารกลางยุโรป ดำเนินไปท่ามกลางการอ่อนค่าลงของเงินยูโรจนมาสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 21 เดือนในช่วงต้นเดือนมีนาคม ในขณะที่สมาชิก 19 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรร่วมกันในกลุ่มประเทศยูโรโซน เผชิญแรงกดดันที่เพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2561 เมื่อเศรษฐกิจของอิตาลีประสบปัญหาจากประเด็นทางการเมืองภายใน และการเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ โดยอัตราขยายตัวของจีดีพีลดลงติดต่อกัน 2 ไตรมาส ขณะที่การถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (BREXIT) ของสหราชอาณาจักร ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนในหลายๆ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกันกับอียูโดยตรง โดยความวิตกกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่แน่นอนและไม่อาจคาดการณ์ได้

Read More

เทสโก้ โลตัส เดินหน้าขยายโครงการรับซื้อตรงจากเกษตรกรครอบคลุมทุกภูมิภาค พลิกวิสาหกิจชุมชนบ้านนาคูฯ อยุธยา ส่งผักขายทั่วภาคกลาง

เทสโก้ โลตัส ผนึกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขยายโครงการรับซื้อผักตรงจากเกษตรกร จับมือวิสาหกิจชุมชนบ้านนาคูร่วมใจพัฒนา อ.ผักไห่ จ.อยุธยา ส่งผักคุณภาพดี ปลอดภัย เฉลี่ย 30 ตันต่อเดือนส่งขายในร้านเทสโก้ โลตัส 22 สาขาทั่วภาคกลาง นางสาว จิราภรณ์ เลาหะรัตนะวิบูลย์ หัวหน้าส่วนงานอาหารสด เทสโก้ โลตัส กล่าวว่า “เทสโก้ โลตัส เริ่มดำเนินโครงการรับซื้อผลิตผลทางการเกษตรโดยตรงจากเกษตรกรโดยไม่ผ่านคนกลาง มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 โดยเพิ่มปริมาณที่รับซื้อทุกปี โดยในปี พ.ศ. 2561 เทสโก้ โลตัส รับซื้อผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ โดยตรงจากเกษตรกร ในปริมาณ 240,000 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 20% นำมาซึ่งรายได้ที่เป็นธรรมและยั่งยืนให้กับเกษตรกรไทยทั่วประเทศ นอกจากเป็นช่องทางจำหน่ายผลผลิตแล้ว เทสโก้ โลตัส ยังทำงานอย่างใกล้ชิดกับเกษตรกรและหน่วยงานภาครัฐในการยกระดับมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าเกษตร มีการวางแผนการเพาะปลูกและการรับซื้อล่วงหน้าตามนโยบายการตลาดนำการผลิตของรัฐบาล รวมไปถึงการสนับสนุนโอกาสในการส่งออกสินค้าเกษตรภายในเครือข่ายกลุ่มเทสโก้อีกด้วย” จากความสำเร็จของโครงการรับซื้อผลิตผลตรงจากเกษตรกร ในภูมิภาคต่างๆ อาทิ

Read More