ความเป็นไปของการแพร่ระบาด COVID-19 นอกจากจะคุกคามความเป็นอยู่ของสาธารณชนในวงกว้างแล้ว ยังนำพามาซึ่งความกังวลใจต่อภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจทั้งในระดับประเทศและระดับโลกที่กำลังจะติดตามมาในอนาคตด้วย
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ครั้งนี้ ได้รับการประเมินว่าส่งผลกระทบอยู่ในระดับที่ใหญ่โตและกว้างขวางเกินกว่าวิกฤตการณ์ทางการเงินเมื่อปี 2551 หรือเมื่อครั้งที่เกิดเหตุการณ์วินาศกรรมเมื่อวันที่ 11 กันยายน ปี 2544 ซึ่งแม้นักวิเคราะห์บางสำนักจะพยายามประเมินสถานการณ์และมองโลกแง่ดีว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจครั้งนี้จะเป็นรูป V shape ที่เศรษฐกิจจะตกต่ำเป็นระยะเวลาสั้นๆ ก่อนจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว
หากแต่ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ทำให้ความเชื่อดังกล่าวอาจเป็นเพียงคำอธิษฐานเท่านั้น เนื่องจากประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในโลกหลายประเทศกำลังจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในไม่กี่เดือนข้างหน้า และมีแนวโน้มที่จะยืดเยื้อต่อเนื่องออกไปอีกอย่างน้อย 2 ไตรมาส ซึ่งหากเศรษฐกิจโลกไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย ก็จะต้องเผชิญกับภาวะไม่เติบโต หรือเติบโตต่ำอยู่ดี
ผลกระทบเศรษฐกิจโลกจากเหตุการแพร่ระบาดของ COVID-19 มีแนวโน้มที่จะเป็นรูป U shape ที่สะท้อนภาพการเผชิญกับภาวะตกต่ำเป็นระยะเวลาหนึ่ง ก่อนจะฟื้นตัว ขณะที่ประชาคมโลกสามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบแบบ L shape หรือภาวะที่เศรษฐกิจไม่ฟื้นตัวขึ้นเลยได้ ด้วยการตัดสินใจและกำหนดมาตรการรองรับที่ถูกต้องเหมาะสม
สถานการณ์การระบาดของไวรัส Covid-19 ที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ส่งผลให้เศรษฐกิจในปีนี้ชะลอตัวอย่างมาก ยอดขายของธุรกิจหายไป เช่นเดียวกับรายได้ของประชาชนรายย่อย ซึ่งทำให้หลายฝ่ายพยายามคาดการณ์ผลกระทบที่เกิดขึ้นเปรียบเทียบกับวิกฤตการเงินต้มยำกุ้งในปี 2540 ที่ตัวเลขเศรษฐกิจไทยหดตัวถึงร้อยละ 10.5 ในลักษณะของการสร้างตัวแบบผลกระทบและเปรียบเทียบปัจจัยทางเศรษฐกิจว่าเหตุการณ์ในปีนี้จะเหมือนหรือต่างจากปี 2540 อย่างไรอีกด้วย
ข้อน่าสังเกตที่น่าสนใจประการแรกก็คือ จุดเริ่มต้นของปัญหาทางเศรษฐกิจจากเหตุ
เศรษฐกิจโควิด-19ไวรัสโควิดไวรัสโคโรน่า Read More