” . ตลอดระยะเวลา 40 ปี ที่ผ่านมา กลุ่มบริษัท แพรนด้า ได้ประสบผลสำเร็จอย่างมหาศาล ในแวดวงจิวเวลรี่ เราสามารถผลิตจิวเวลรี่ ระดับสูงได้ในปริมาณมากโดยยังคงคุณภาพไม่เปลี่ยนแปลง โดยในอดีตกว่าจะได้มา ซึ่งผลิตภัณฑ์ทีมีคุณภาพระดับนี้ จะต้องอาศัยช่างฝีใทยระดับสูง ประดิษฐ์ขึ้นด้วยมือทีละชิ้นเท่านั้น “ เป็นคำกล่าวของ ปรีดา เตียสุวรรณ์ ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัทแพรนด้า กับการก้าวขึ้นสู่ปีที่ 40 ของบริษัท พร้อมการเปิดตัวโลโก้และแท็กไลน์ใหม่
“ The Arcgutectyre or Craftmanship “ แทกไลน์ใหม่ ที่วางคู่กับโลโก้ใหม่ โดยสะท้อนให้เห็นถึง หลักการดำเนินธุรกิจ และพื้นฐานของกลุ่มบริษัทแพรนด้า ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง มาตลอด 4
ทศวรรษ และได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำด้านจิวเวลรี่ ด้วยกำลังการผลิต กว่า 10 ล้านชิ้นต่อปี โดยจากแรงงานไทย 5 ล้านชิ้น เวียดนาม 4 ล้านชิ้น และอินโดนีเซีย 2 ล้านชิ้น โดยโรงงานแต่ละประเทศจะผลิตชิ้นงานตามความยากไม่เหมือนกัน โดยชิ้นงานที่มีความยากที่สุด จะผลิตโดยช่างฝีมือคนไทย และตามด้วยเวียดนาม และ สินค้าชิ้นงานธรรมดา จะผลิตที่ อินโดนีเซีย โดย แพรนด้า มีแผน ที่จะผลิตโดยเน้น เป็นแฟชั่น จิวเวอร์ลี่ มากขึ้น เพื่อรับตามกระแสนิยม
ในขณะเดียวกัน แพรนด้า ได้ทุ่มงบลงทุน ประมาณ 300 ล้านบาท เพื่อสร้างสำนักงานแห่ง ใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพการเป็นผู้นำทางด้านการออกแบบ โดยมุ่งทางด้านงานวิจัยและพัฒนาสินค้า R& D โดย สำนักงานแห่งใหม่นี้ จะเปิดใช้ในต้นปีหน้า โดยแพรนด้า หวังจะให้เป็นศูนย์อัญมณีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ในขณะเดียวกัน แพรนด้า ได้เคลมว่า ศูนย์แห่งใหม่นี้ อาจจะใหญ่ที่สุด ในโลก เลยทีเดียว
แม้ ช่วงหกเดือน ที่ผ่านมา จะ เป็นช่วงที่หนักที่สุดของแพรนด้า จากผลกระทบ วิกฤตเศรษฐกิจ กลุ่มประเทศยุโรป และจากปัจจัยการแข็งตัวของค่าเงินบาท ทำให้ครึ่งปีแรกทำรายได้ 1,750 ล้านบาท ลดลง 5.99% พลาดจากเป้าหมายจากเดิมที่คาดว่าจะเติบโต 5% แต่ทั้งนี้ ในครึ่งปีหลัง แพรนด้าฯ คาดว่าแนวโน้ม รายได้จะสูงกว่าครึ่งปีแรก จากแนวโน้มการสั่งซื้อที่เข้ามา
แพรนด้า คาดว่า อีก 3 ปี การบริโภคเครื่องประดับจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง ทั้งฝั่งอเมริกา ยุโรป และรวมทั้ง เอเชีย ทั้งนี้ ปีหน้า ก็อาจจะเริ่มเคลื่อนไหวบ้างแล้ว ทั้งนี้ บริษัท จะสามารถขยาย
ตลาดต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยมุ่งหวังให้ แบรนด์แพรนด้า มีสัดส่วนตลาดต่างประเทศมากถึง 50% ทั้งนี้ ในปัจจุบัน สัดส่วนรายได้อยู่ที่ อเมริกา 35 % ยุโรป 30 % และ เอเชีย 35%
ในขณะเดียวกัน จากประสบการณ์และความชำนาญที่สั่งสมมากว่า 40 ปี ได้ตอกย้ำจุดยืนในฐานะผู้ผลิตจิวเวลรี่ คุณภาพสูงระดับโลก โดย สินค้าได้กระจายไปยังฐานลูกค้าทั่วโลก จากบริษัทฯ ที่จัดจำหน่ายเอง หรือตัวแทนจำหน่าย โดยการขยายตลาดไปยังภูมิภาคทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน และในแถบเอเชีย ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น จีน เวียดนาม อินเดีย และไทย
ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้ารายได้ ตามแผนระยะ 5 ปี ( ปี 2556-2560 ) ไว้ที่ 7,000 ล้านบาท ในขณะ
ปัจุจุบัน มียอดการขาย ที่ 4,000 ล้านบาท โดย บริษัทฯ พร้อมจะทุ่มงบการทำการตลาด ประมาณ 500 ล้านบาท โดยโฟกัสไปที่ประเทศ อินเดีย เวียดนาม และ อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่กำลังเป็นตลาดใหม่และมีกำลังในการซื้อสูง โดยเฉพาะ ในอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศ ที่คนมีความต้องการทองมาก ไม่ว่าจะคนรวยหรือ คนจน ซึ่งจะซื้อทองเก็บไว้เป็นเครื่องประดับ และมีการบริโภคอย่างจริงจัง ทั้งนี้ แพรนด้า อาจจะไปตั้งบริษัท จัดจำหน่าย หรือ Joint Venture โดยนำสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ไปบุกตลาดเหล่านี้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ที่มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ คงไม่มีการลงทุน เนื่องจากเป็นประเทศที่มีประชากรน้อย
สำหรับ ส่วนตลาดสหรัฐและยุโรปก็ยังเป็นตลาดสำคัญที่จะเติบโตจากสินค้า OEM ซึ่งแบรนด์หลักของ PRANDA ได้แก่ พรีม่า โกลด์, พรีม่า ไดมอน และ MERII
“ จุดแข็งของเรา คือ ฝีมือเราดี เราสามารถตอบโจทย์ ลูกค้าทั่วโลกในเชิงปริมาณได้ เราเป็นปรมาจารย์ แห่งการผลิตจิวเวลรี่ ชั้นสูงในปริมาณมาก หรือ Mass Craftsmanship และหัวใจของธุรกิจเราก็คือ การผลิตจิวเวลรี่ ที่สวยงามทำจากหัวใจของเราอย่างที่เห็นในโลโก้ใหม่ของแพรนด้าในตอนนี้ “ ปรีดา กล่าวสรุป
อัญมณีและเครื่องประดับ สินค้าที่สะท้อนให้เห็นถึงความสวยงาม และความมั่นคั่ง ของผู้ครอบครอง อุตสาหกรรมอัญมณี เป็นอุตสาหกรรม ส่งออกที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก จากมูลค่า ตลาดประมาณ 120, 000 ล้านบาท และถือได้ว่า และเป็นอุตสาหกรรม ที่อยู่ในอันดับต้นๆ ที่มีการว่าจ้างแรงงานสุงสุด