วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
Home > AEC > Indochina Vision > การเข้าถึงตลาดพม่าของสินค้าเวียดนาม

การเข้าถึงตลาดพม่าของสินค้าเวียดนาม

นอกจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้นขึ้นเรื่อยๆ เวียดนามกำลังวิเคราะห์อย่างจริงจังถึงการส่งสินค้าเพื่อเข้าไปตีตลาดอันกว้างใหญ่ในพม่า

เว็บไซต์หนังสือพิมพ์อุตสาหกรรมการค้า (เวียดนาม) รายงานว่าตั้งแต่ต้นปี 2555 จนถึงทุกวันนี้ ข่าวการปฏิรูปในพม่า ดึงดูดความสนใจของนักลงทุนจากทุกประเทศทั่วโลกมากที่สุด บวกกับการผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรของออสเตรเลีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา จึงเหมือนการเพิ่ม พลังดึงดูดให้แก่ตลาดนี้ นักลงทุนหลายราย กำลังรอคอยคว้าโอกาส “กระโดด” เข้าพม่า นักธุรกิจเวียดนามไม่ยอมหลุดจากแนวโน้มนี้

สินค้าเวียดนามได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น

ตามสถิติของสถานเอกอัครราชทูตเวียดนามประจำพม่า 2-3 ปีมานี้ แต่ละปี มีคณะธุรกิจเวียดนามไปพม่ากว่า 200 คณะ ซึ่งเป็นบรรดาคณะทางการอาศัยการสนับ สนุนช่วยเหลือของสถานเอกอัครราชทูตได้แนะนำคู่ค้า แต่ยังไม่รวมถึงคณะปลีกย่อยที่เดินทางไปด้วยตนเอง ดังนั้นเฉลี่ย 2-3 วัน จึงมีหนึ่งคณะที่เดินทางไปเพื่อพบปะติดต่อ การค้า

ฝ่าม ถิ โห่ง ทาญ รองอธิบดีกรมเอเชีย-แปซิฟิก กระทรวงอุตสาหกรรมการค้าเวียดนามเปิดเผยว่าตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ ระเบิดที่งานนิทรรศการนานาชาติแห่งหนึ่งเมื่อปี 2548 ประเทศนี้ก็ไม่อนุญาตให้องค์กรต่างประเทศจัดงานแสดงสินค้านานาชาติในพม่า

ตั้งแต่ปี 2553-2555 ทุกปี เวียดนามจะได้รับอนุญาตให้เปิดงานแนะนำสินค้าในพม่า ยิ่งกว่านั้น สินค้าเวียดนามได้รับการต้อนรับจากคนพม่าอย่างอบอุ่น

“งานแสดงสินค้ามีขึ้นในรอบ 7 วัน แต่ถึงวันที่ 4 ที่ 5 ธุรกิจเวียดนามต้องจำกัด การขายเพราะกลัวไม่มีสินค้าให้ดู แม้กระนั้น ผู้บริโภคชาวพม่ายังรอคอยสินค้าเวียดนาม” ทาญบอก

อย่างไรก็ดี ตลาดยังไม่เปิดทั่วไปและยังใหม่ ดังนั้นระดับการเข้าของสินค้า เวียดนามจึงยังไม่ลึก ดัชนีการแลกเปลี่ยนการค้าสองฝ่ายยังอยู่ที่ระดับไม่มากนัก

ปี 2554 ดัชนีการแลกเปลี่ยนการค้า ของ 2 ประเทศเพิ่งจะมีเพียง 167.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น เป็นดัชนีการส่งออก ของเวียดนามมูลค่า 82.50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การนำเข้ามูลค่า 84.80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

อย่างไรก็ดี เมื่อก้าวสู่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 ดัชนีการส่งออก-นำเข้าระหว่าง เวียดนาม-พม่าเติบโตขึ้นมาก เพิ่มขึ้น 70% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ดูจากข้อมูลการส่งออก-นำเข้าแสดง ให้เห็นว่าหลายปีที่ผ่านมาเวียดนามขาดดุล การค้าจากพม่าเสมอ แต่นี่เป็นการขาดดุล ทางบวก เนื่องจากบรรดาผลิตภัณฑ์นำเข้า จากพม่าของเวียดนามส่วนใหญ่เป็นแร่ธาตุ วัตถุดิบ และบรรดาวัตถุดิบที่จำเป็นสำหรับ การผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปสำหรับการบริโภคภายในประเทศและส่งออกไปยังประเทศที่สาม

พื้นที่เหลือเฟือสำหรับสินค้าเวียดนาม

ปัจจุบันความสามารถผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคในพม่าเพิ่งจะตอบสนองได้ ประมาณ 10% ของความต้องการภายในประเทศ ส่วนที่เหลือต้องนำเข้า ถึงแม้เวียดนามได้มีการส่งออกสินค้าจำนวนหนึ่ง ไปยังพม่า ปริมาณและคุณภาพยังต่ำครอง ตลาดเพียงประมาณ 1% ของสินค้าที่พม่านำเข้าจากประเทศอื่นๆ (ข้อมูลปี 2553)

นอกจากนั้นผลิตภัณฑ์จำนวนหนึ่งมีความต้องการมากที่สุด แต่ธุรกิจเวียดนาม ยังไม่ได้เข้าไป เช่น ยารักษาโรคและอุปกรณ์ สาธารณสุข ยางรถยนต์ชนิดต่างๆ มิเตอร์ไฟฟ้า อะไหล่ประเภทต่างๆ วัสดุก่อสร้าง ยาฆ่าแมลง เครื่องสำอาง ปุ๋ยชนิดต่างๆ เครื่องมือเกษตร-ป่าไม้ เป็นต้น

พม่าก็เป็นประเทศมีวัตถุดิบหลายอย่างด้วยปริมาณมากที่เวียดนามจะนำเข้า ประกอบด้วย วัตถุดิบแปรรูปสินค้า เกษตร ส่งออก หรือแปรรูปอาหารสัตว์ (ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ปลาป่น กระดูกป่น น้ำมันพืช เป็นต้น) วัตถุดิบสำหรับแปรรูปสินค้าใช้ในครัวเรือน และอุตสาหกรรม (ประกอบด้วยทรัพยากรแร่ธาตุชนิดต่างๆ) วัตถุดิบแปรรูปสินค้าส่งออก (ข้าว ยางพารา สัตว์น้ำ) เวียดนามอาจจะวิจัยและส่งเสริมการนำเข้าสินค้าเหล่านี้ที่มีอยู่ในพม่า เพราะราคาถูกกว่าจากประเทศอื่นๆ

อย่างไรก็ดี ตามข่าวจากกรมเอเชีย-แปซิฟิก ปัญหาการนำเข้าไม้ต้องมีมาตรการ เข้าถึงแหล่งที่เหมาะสม ปัจจุบันตลาดนี้เกือบทั้งหมดต่างควบคุมโดย “ผู้รับเหมา” อินเดียราคาจึงค่อนข้างสูง

เข้าตลาดยาก

ข้อเท็จจริงประการหนึ่งคือบรรดาสินค้าเกือบทุกอย่างในพม่าต้องผ่านการขอ ใบอนุญาตส่งออก-นำเข้า และธุรกิจภายใน ประเทศถูกผูกขาดทางการค้า บรรดาธุรกิจเวียดนามไม่ได้เข้าร่วมระบบจัดสรร แลกเปลี่ยนสินค้าในพม่า ดังนั้นการดำเนิน การค้าจึงเสียเวลามาก ขาดลักษณะเชิงรุกและสิ้นเปลือง

ยิ่งกว่านั้นระบบการเมืองและการจัด การเศรษฐกิจของพม่าตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ต้องเผชิญกับการปิดล้อมและมาตรการคว่ำบาตรจากภายนอก การรักษาความมั่นคงการเมืองภายใน การคงอยู่ค่อนข้างมากของฝ่ายอนุรักษนิยม ระบบเจ้านาย นโยบายปิดประตูยังไม่ปรับตัวให้เหมาะสมกับความต้องการพัฒนาและการบูรณาการ กฎหมายลงทุน การค้า จึงยังล้าหลังและไม่ยืดหยุ่น

การขนส่งสินค้าเพื่อส่งออกจากเวียดนามไปพม่ายังไม่ความสะดวก โครง สร้างพื้นฐานการคมนาคมของประเทศนี้ยังไม่พัฒนา วิธีการขนส่งที่สำคัญคือการใช้เรือ บรรทุก ดังนั้นจึงเสียเวลาขนส่งก่อผลกระทบ ต่อพลังการแข่งขันของสินค้าเวียดนาม

การชำระบัญชีก็ประสบความยุ่งยาก เนื่องจากระบบธนาคารและการชำระบัญชี ของพม่าอ่อนด้อยอย่างยิ่ง เหตุการณ์ล่าสุด BIDV เวียดนามพยายามเพื่อให้สามารถเปิด ธนาคารในพม่า เพื่อช่วยเหลือการชำระบัญชี ให้แก่ธุรกิจต่างๆ ไม่เพียงแค่นั้นข่าวเกี่ยวกับตลาดพม่าก็มีไม่มาก ระบบสื่อสาร ระหว่างประเทศในพม่ายังคงล้าหลัง การเข้าถึงโทรศัพท์ระหว่างประเทศ และอินเทอร์เน็ตยังไม่สะดวก

ด้านคู่ค้าพม่าจากข้อมูลของตัวแทน ของสมาคมนักลงทุนเวียดนามประจำพม่า ระบุว่า นักธุรกิจเวียดนามต้องวิจัยหาความ เข้าใจคู่ค้าอย่างละเอียด ถึงแม้เศรษฐกิจยังล้าหลัง แต่นักธุรกิจพม่ากลับสืบทอดวิธี การทำงานของคนอังกฤษตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นอาณานิคม คนพม่าทำงานเป็นระเบียบ อย่างยิ่ง ไม่มักง่าย

พวกเขาพิจารณาแผนการลงทุน ประกอบธุรกิจละเอียดที่สุด เพราะฉะนั้น นักธุรกิจเวียดนามต้องเตรียมการอย่างรอบ คอบ ระมัดระวังในการวางแผนประกอบการลงทุนของตนก่อนเข้าร่วมตลาดแห่งนี้

ถึงแม้ยังมีสิ่งกีดขวางหลายอย่างแต่สำหรับตลาดที่เริ่มเปิดและเต็มไปด้วยศักยภาพอย่างพม่า ถ้านักธุรกิจเวียดนาม “เร่งเท้า” ขึ้นอีกและกล้ามากขึ้นอีก เมื่อประเทศนี้เปิดกว้าง ประตูบูรณาการ สถานภาพของธุรกิจ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ของเวียดนามก็จะมั่นคงอย่างแน่นอน