เรากำลังมาถึงจุดที่ไม่อาจแก้ไขวิกฤตการภาวะโลกร้อนได้อีกแล้ว…
ปัญหาสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมที่กำลังดำเนินอยู่บนความท้าทาย กับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้โลกของเราเผชิญกับเหตุการณ์ไม่คาดคิด แสดงให้เห็นชัดว่าหากเราไม่ทำอะไรเลย เราจะไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ดังเดิมและการรักษาโลกของเราก็อาจจะสายเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องความมั่นคงทางอาหารที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับปัญหาขยะอาหาร
ในแต่ละปีเราต้องสูญเสียอาหารดีๆที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อการบริโภคของมนุษย์ไปมากถึง 931 ล้านตันทั่วโลก ซึ่งเป็นการสูญเสียทรัพยากรไปโดยเปล่าประโยชน์ ในขณะที่ยังมีคนกว่า 1 พันล้านคนไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างเพียงพอ
ในประเทศไทยตามการศึกษาโดยกรมควบคุมมลพิษ 64% ของขยะมูลฝอยเป็นขยะอาหาร ซึ่งเท่ากับว่าประเทศของเรามีขยะอาหารมากถึง 17.5 ล้านตันต่อปี! ซึ่งขยะอาหารบางส่วนเป็นอาหารที่เราไม่อาจได้เห็นตามท้องตลาด ดังเช่น อาหารที่ผลิตขึ้นมาแล้วแต่ไปไม่ถึงมือผู้บริโภคด้วยเหตุผลบางประการจึงทำให้ถูกทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ตามยังคงมีธุรกิจอีกมากมายที่ไม่ได้มีจัดการอาหารส่วนเกิน และขยะอาหารอย่างจริงจัง ในขณะที่ยังมีประชากรจำนวนมากขึ้นที่จัดอยู่ภายใต้เส้นความยากจน และประชากรกว่า 6.5 ล้านคนในประเทศยังคงขาดแคลนอาหาร อีกทั้งประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองภาคธุรกิจที่มีความประสงค์บริจาคอาหารส่วนเกินให้กับชุมชนที่เดือดร้อนจึงทำให้การขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ยังไม่เพียงพอ
เราจะมาค้นหาคำตอบ และหาแนวทางเพื่อบรรลุเป้าหมายความยั่งยืน (SDGs) ไปด้วยกันภายในปี 2030
ตามที่องค์การสหประชาชาติได้เรียกร้องให้ทั่วโลกมีการดำเนินการแก้ไขปัญหาในทันทีในงาน ZERO Summit 2021 งานสัมมนา (ออนไลน์) ครั้งแรกที่ขับเคลื่อนเรื่องการแก้ไขปัญหาขยะอาหารเพื่อสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืนจัดโดย มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (เอส โอ เอส) มูลนิธิกู้ภัยอาหารแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 29 กันยายน 2564 เวลา 13:00 – 18:30 โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. ในการเป็น ‘พันธมิตรการจัดงานอย่างยั่งยืน’ อีกด้วย
งานสัมมนานี้เราจะมีการนำเสนอ 3 กิจกรรมการพูดคุย ซึ่งเป็นการแบ่งปันความรู้จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในอุตสาหกรรมอาหาร ภาคธุรกิจ และภาครัฐบาลที่มีอิทธิผลในการผลักดันนโยบายของประเทศ เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับเรา เพื่ออนาคตที่ดีกว่าของประเทศไทยในด้านสิ่งแวดล้อม และลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงอาหารของประชาชน
*หมายเหตุ: งานสัมมนานี้จะดำเนินเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด*
หัวข้อที่ 1: การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบเพื่อลดขยะอาหาร
เรื่องราวความสำเร็จที่ยังไม่เคยเปิดเผยเกี่ยวกับความร่วมมือในการป้องกันการเกิดขยะอาหารระหว่าง SOS มูลนิธิที่กอบกู้อาหารส่วนเกินแห่งแรกในประเทศไทย และพันธมิตร จะถูกเปิดเผยให้ฟังที่นี่เป็นครั้งแรก สำหรับผู้เข้าร่วมทุกคนที่ต้องการทราบว่าเราป้องกันไม่ให้อาหารส่วนเกินกลายเป็นขยะอาหารในเชิงระบบได้อย่างไร เรามีความยินดีที่จะแบ่งปันวิสัยทัศน์ และแผนการสำหรับความร่วมมือในอนาคตกับผู้เข้าร่วมที่สนใจทุกคน
รายชื่อวิทยากร
1. คุณวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา – ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป
2. คุณปุณฑริกา สุสัณฐิตพงษ์ – รองผู้อำนวยการแผนกสื่อสารองค์กรและความยั่งยืน Lotus’s
3. คุณศิรภัสสร สกุลวิวรรธน์ – ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หน่วยงานความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF
4. คุณธรัฐ หุ่นจำลอง – ผู้ร่วมก่อตั้ง Wasteland
5. คุณกัญญ์วรา ธนโชติวรพงษ์ – ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง More Meat™
หัวข้อที่ 2: การสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อลดขยะอาหารไปด้วยกัน (แยกห้อง: ธุรกิจร้านอาหาร และโรงแรม/กลุ่มธุรกิจอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาหารโดยตรง)
คุณเคยสงสัยไหมว่าเราทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการลดขยะอาหารได้อย่างไร? การอภิปรายหัวข้อนี้จะทำให้คุณค้นพบคำตอบที่น่าทึ่งจากแนวทางการปฏิบัติที่น่าสนใจของวิทยากรของเรา ซึ่งมีประสบการณ์ในการสร้างกิจกรรมหรือโครงการเพื่อให้ผู้คนที่พวกเขาเกี่ยงข้องด้วยไม่ว่าจะเป็น พนักงาน หรือลูกค้าได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาขยะอาหารร่วมกันอย่างจริงจัง
2.1 แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมในกลุ่มธุรกิจร้านอาหารและโรงแรม
รายชื่อวิทยากร
1. คุณนิค บอยด์ (Nick Boyd) – ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการคลัสเตอร์ โรงแรม ฮิลตัน และดับเบิ้ล ทรี บาย ฮิลตัน สุขุมวิท
2. คุณทิพวรรณ นิธิเจษฎาวงศ์ – ผู้อำนวยการมิชลิน ไกด์ ประเทศไทย Michelin Guide Thailand
3. คุณแดเนียล บูเคอร์ (Daniel Bucher) – หุ้นส่วนผู้จัดการ Planet B Sustainability Agency
4. คุณหลุยส์ อัลบาน บาทาด ดูเปร (Louis-Alban Batard-Dupre) – ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ Yindii
2.2 แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมในกลุ่มธุรกิจอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาหารโดยตรง
รายชื่อวิทยากร
1. คุณพัชรา ทวีชัยวัฒนะ – รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานบริหารงานลูกค้า บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จํากัด (มหาชน)
2. คุณวิชารีย์ วิจิตรวาทการ – ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Kinnest Group และ theCOMMONS
3. คุณเกร็ก เทรลฟอล (Greg Threlfall) – ผู้อำนวยการฝ่ายเผยแพร่องค์ความรู้ Shrewsbury International School
4. คุณเกวลิณ อัทธายุ – หัวหน้าฝ่ายความยั่งยืน และความรับผิดชอบต่อสังคม (ระดับโลก) Agoda
หัวข้อเสวนา และเวิร์คช้อป 3 : มาร่วมกันสร้างระบบอาหารแห่งอนาคตไปด้วยกัน (แยกห้อง: ระดับนานาชาติ/ ระดับประเทศ)
ถึงเวลาแล้วที่ผู้นำธุรกิจด้านอาหารต้องผนึกกำลัง และวางรากฐานการสร้งระบบอาหารที่ยั่งยืนในอนาคตร่วมกันในประเทศไทย แต่เราจะทำได้อย่างไร และจะมีนโยบายจะสนับสนุนเราหรือไม่? นี่คือการเสวนาเชิงปฏิบัติการซึ่งวิทยากรรับเชิญมืออาชีพของเราแต่ละท่านจะมาแบ่งปันสุดยอดไอเดียกับผู้เข้าร่วมทั้งหมด และเพื่อร่วมกันระดมสมองในการกำหนดนโยบายในอนาคตเพื่อสนับสนุนการจัดการขยะอาหารในห่วงโซ่อุปทานอาหารของประเทศไทยร่วมกัน
กล่าวเปิดหัวข้อเสวนานี้โดย คุณมาริสา ปัณยาชีวะ – เจ้าหน้าที่ประสานความร่วมมือเพื่อการพัฒนา สำนักงานผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย องค์การสหประชาชาติในประเทศไทย
3.1 ร่วมสร้างระบบอาหารแห่งอนาคตด้วยกัน (ระดับนานาชาติ)
รายชื่อวิทยากร
1. คุณธันยพร กริชติทายาวุธ – ผู้อำนวยการสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย Global Compact Network Thailand
2. คุณแวร์เนอร์ คอสมันน์ (Werner Kossmann) – ผู้อำนวยการโครงการการจัดการของเสียแบบผสมผสานเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประเทศไทย
3. คุณภัทร์ ศาสตร์ขำ – ผู้จัดการอาวุโสส่วนงานพัฒนาอย่างยั่งยืนฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
3.2 ร่วมสร้างระบบอาหารแห่งอนาคตด้วยกัน (ระดับประเทศ)
รายชื่อวิทยากร
1. คุณเบญจมาศ โชติทอง – ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาโครงการและแผนงาน มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI)
2. คุณอนุดา ทวัฒ์สิน – นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ กองจัดการกากของเสีย และสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ
3. คุณกะรัตลักษณ์ เหลี่ยมเพชร – นักวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)
ตารางกิจกรรม
13.00 – 14.00: เปิดงาน SOS Zero Summit 2021
14.00 – 15.00: เสวนาหัวข้อที่ 1: การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบเพื่อลดขยะอาหาร
15.00 – 16.00: เสวนาหัวข้อที่ 2: การสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อลดขยะอาหารไปด้วยกัน (แยกห้อง: ธุรกิจร้านอาหาร และโรงแรม/กลุ่มธุรกิจอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาหารโดยตรง)
16.00 – 16.10: พัก
16.15 – 17.30: หัวข้อเสวนา และเวิร์คช้อป 3 : มาร่วมกันสร้างระบบอาหารแห่งอนาคตไปด้วยกัน (แยกห้อง: ระดับนานาชาติ/ ระดับประเทศ)
17.30 – 18.00: กิจกรรม ZERO Summit Pledge
18.00 – 18.30: ปิดงาน
18.30 เป็นต้นไป: ทำความรู้จัก และสร้างเครือข่ายกับผู้ร่วมงานท่านอื่นๆ (ออนไลน์)
ถึงเวลาแล้ว ที่เราจะต้องต่อสู้เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดขยะอาหาร และความขาดแคลนอาหารในประเทศไทย!
ซื้อบัตรเข้าร่วมเสวนาเพื่อมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงได้ที่ https://www.eventpop.me/e/11544/zero-summit
ตั๋วทุกใบที่ทุกท่านซื้อจะเป็นการสนับสนุนการทำงานของมูลนิธิฯในการจัดการอาหารส่วนเกินและโครงการครัวรักษ์อาหารที่ส่งต่อเป็นอาหารปรุงสุกให้แก่ชุมชน ซึ่งงานนี้จะทำให้เราสามารถระดมเงินเพื่อสนับสนุนอาหารให้แก่คนที่ต้องการได้มากถึง 22,100 มื้อจากการเข้าร่วมของทุกๆท่าน (ทุกๆ 5 บาทของราคาตั๋วจะเท่ากับ 1 มื้อ)
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงาน Zero Summit 2021
วัน และเวลา: 29 กันยายน 2564, 13.00-18.30
Website: https://www.scholarsofsustenance.org/zero-summit
เบอร์ติดต่อ: 088-308-9978 (กี้) 095-553-2795 (เอิร์ธ)
Email: [email protected]