วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 21, 2024
Home > New&Trend > CPAC BIM ผลักดันนวัตกรรมก่อสร้างหนุนวงการแพทย์ ตอบโจทย์ลดการแพร่เชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่

CPAC BIM ผลักดันนวัตกรรมก่อสร้างหนุนวงการแพทย์ ตอบโจทย์ลดการแพร่เชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่

CPAC BIM ผลักดันนวัตกรรมก่อสร้างหนุนวงการแพทย์ ชูโซลูชั่นห้องแยกและควบคุมเชื้อ ตอบโจทย์ลดการแพร่เชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่

การระบาดระลอกใหม่ของไวรัสโควิด-19 กำลังสร้างความกังวลให้กับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะตัวเลขจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าครั้งแรก การแก้ปัญหาแบบทันสถานการณ์เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ทั้งภาครัฐและวงการแพทย์ต้องเร่งแก้ ไม่เว้นแม้แต่ภาคเอกชนที่พร้อมสนับสนุนและสร้างนวัตกรรมมาช่วยรับมือ ทำให้ CPAC ผู้นำด้านโซลูชั่นการก่อสร้าง ได้นำเทคโนโลยี Digital Construction พร้อมบูรณาการองค์ความรู้ทางการแพทย์ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ พัฒนาเป็น Medical Solution by CPAC BIM โซลูชั่นห้องแยกและควบคุมโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เพื่อตอบโจทย์ในการป้องกันการแพร่ระบาดครั้งนี้

วีรกร สายเทพ CPAC BIM Director บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด (CPAC) เปิดเผยว่า จากองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการก่อสร้างที่สั่งสมมาเป็นเวลานาน CPAC BIM ได้พัฒนาต่อยอดสู่การแก้ไขปัญหาด้าน Medical Solution เพื่อช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ในสถานการณ์ที่เร่งด่วน ซึ่งปัญหานี้ต้องลงมือทำทันที เราจึงนำเอาศักยภาพของเราที่มีในหลายด้านมาต่อยอดช่วยเหลือบุคลากรทางแพทย์หรือหน่วยงานสาธารณสุข ภายใต้เงื่อนไขการทำงาน Speed with Good Enough Quality Medical Solution by CPAC BIM จึงเป็นการออกแบบ สร้างและปรับปรุงห้องแยกและควบคุมเชื้อเพื่อใช้ในทางการแพทย์ โดยมีจุดเด่นคือการนำ Digital และ Construction Technology เข้ามาช่วยในการวางแผน และ กระบวนการก่อสร้าง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับแพทย์และผู้ใช้งานห้องด้านความปลอดภัยและยังสามารถสร้างได้รวดเร็ว ควบคุมงบประมาณได้

โดยปัจจุบันเราพัฒนาห้องแยกและควบคุมโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ 2 รูปแบบด้วยกันคือ คลินิกแยกโรคติดเชื้อแบบสำเร็จรูปพร้อมติดตั้ง (Acute Respiration Infection Outdoor Clinic, ARI Outdoor Clinic) ภายในมีการแบ่งพื้นที่อย่างเป็นสัดส่วนทั้งการคัดกรองตรวจเชื้อ และเก็บเชื้อ ซึ่งแยกเส้นทางระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยออกจากกัน เพื่อความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ ผสานด้วยการนำเทคโนโลยีระบายอากาศความดันลบและความดันบวกมาใช้ เป็นการป้องกันไม่ให้อากาศที่มีเชื้อโรคไหลเวียนเข้ามาในพื้นที่ เพื่อมิให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปสู่บุคลากรและผู้ป่วยคนอื่นๆ ในโรงพยาบาล และห้องแยกโรคติดเชื้อความดันลบ (Airborne Infectious Isolation Room, AIIR) แบบสำเร็จรูปแบบพร้อมติดตั้ง โดยหลักการทำงานจะใช้เทคโนโลยีความดันลบเพื่อควบคุมไม่ให้เชื้อโรคภายนอกเข้ามาให้ห้อง และหากมีเชื้อโรคภายในห้อง ระบบกรองอากาศจะฆ่าเชื้อโรคก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก ตลอดจนจำกัดบริเวณการไหลเวียนของเชื้อโรคได้ จึงมั่นใจว่าห้องบุคลากรทางการแพทย์จะปลอดภัย ไม่ติดเชื้อ อากาศที่ปล่อยออกไปไม่มีเชื้อโรคและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการแล้วเสร็จที่โรงพยาบาลสระบุรีและโรงพยาบาลวชิรพยาบาล

“การระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบันยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราจึงรอช้าไม่ได้ที่จะปล่อยให้เกิดการแพร่ระบาดไปมากกว่านี้ โดยความเชี่ยวชาญของ CPAC BIM เราสามารถนำนวัตกรรมที่มีอยู่ต่อยอดจนสามารถสร้างคลินิกแยกโรคติดเชื้อแบบสำเร็จรูปพร้อมติดตั้งและห้องแยกโรคติดเชื้อความดับลบแบบสำเร็จรูปได้ เชื่อว่า 2 นวัตกรรมที่ CPAC BIM คิดค้น จะทำให้เกิดประโยชน์ด้านการแพทย์อย่างมหาศาล เนื่องจากตอบโจทย์ความรวดเร็วในการก่อสร้างให้ถ้วงทันกับจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น และที่สำคัญได้มาตรฐานที่บุคคลากรแพทย์สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย นี่เป็นเป้าหมายสำคัญที่เราตั้งใจพัฒนานวัตกรรมนี้ขึ้นมา” วีรกร สายเทพ กล่าว

สำหรับเทคโนโลยี BIM ที่นำมาใช้ในการวางแผนและควบคุมการก่อสร้างทั้ง 2 นวัตกรรม ในด้านการออกแบบจะทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการก่อสร้างเห็นภาพจริงและเข้าใจตรงกัน ทั้งแบบห้องและฟังก์ชั่นการใช้งาน จึงสามารถตรวจสอบความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นได้ก่อน เป็นการลดขยะจากการก่อสร้างที่ช่วยควบคุมงบประมาณและระยะเวลาทำงานได้ทันตามกำหนด ส่วนด้านความปลอดภัยของห้องมั่นใจด้วย Computational Fluid Dynamic (CFD) Program ที่จำลองพลศาสตร์การไหลของอากาศ ทำให้สามารถออกแบบระบบได้ถูกต้องแม่นยำและวางผังภายในห้องได้ เหมาะสมกับผู้ใช้งาน ซึ่งมาพร้อมกับระบบ Negative Pressure ระบบระบายอากาศที่ควบคุมการไหลเวียนอากาศที่ทรงประสิทธิภาพ ซึ่งจำกัดบริเวณการแพร่ของเชื้อโรคได้

นอกจากนี้ยังมีระบบกรองและฆ่าเชื้อก่อนปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศด้วยหลอด UVC และไส้กรอง HEPA และที่ขาดไม่ได้คือเทคโนโลยีการก่อสร้าง CPAC BIM ที่ใช้วัสดุผนังฉนวนแบบสำเร็จรูป Clip Lock ที่ติดตั้งง่าย รวดเร็ว แข็งแรง ดูแลรักษาความสะอาดได้ง่าย เป็นวัสดุที่ไม่สะสมเชื้อโรค นำมาผสานกับ Medical Technology กลุ่ม Ventilation System สำหรับห้องแยกและควบคุมเชื้อโดยเฉพาะ ซึ่งได้รับการรับรองและทดลองใช้แล้วในวงการแพทย์ว่ามีประสิทธิภาพใช้งานได้จริง

ผศ.นพ. อนุแสง จิตสมเกษม รองคณบดี คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัย นวมินทราธิราช เปิดเผยว่า ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 เช่นนี้ การป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ไม่ให้ได้รับเชื้อและแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นในโรงพยาบาล ถือเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นเร่งด่วนในการยับยั้งการแพร่ระบาด โดยทางโรงพยาบาลได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน ได้แก่ พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต และ CPAC BIM ที่ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและนำความเชี่ยวชาญมาพัฒนานวัตกรรม ห้องแยกโรคติดเชื้อความดันลบ (Airborne Infection Isolation Room– AIIR) ในแบบ Modified Version ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมที่คิดค้นโดยคนไทย ตอบโจทย์ทั้งในเรื่องเวลาที่จำกัด งบประมาณที่ไม่สูงมาก รวมทั้งเป็นไปตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขและกรมการแพทย์

การออกแบบของห้อง AIIR นี้ จุดเด่นอยู่ที่ ผนังห้องแบบ Sandvic Panel เป็นผนังแบบ Compact รวมถึงฝาเพดาน ซึ่งเป็นนวัตกรรม Smart Structure ที่สามารถเช็ดทำความสะอาดได้ ไม่สะสมเชื้อโรคระบบดูดอากาศ ผ่านเครื่องกรองที่ควบคุมการไหลเวียนอากาศอย่างมีประสิทธิภาพและฆ่าเชื้อก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก ซึ่งรวมถึงห้องน้ำผู้ป่วยด้วย

“โควิด-19 เสมือนสึนามิของการแพร่ระบาดเชื้อ หมอมองว่าทำอย่างไรให้รวดเร็วทันสถานการณ์ การสร้างห้องแยกโรคติดเชื้อความดันลบ ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งเรารอไม่ได้ แต่สำหรับแบบ Modified Version ที่ CPAC BIM ได้นำเสนอกับโรงพยาบาล มีความเป็นไปได้ ตอบโจทย์ความรวดเร็ว ตอบโจทย์งบประมาณ และตรงตามมาตรฐานของ Negative Pressure Room” ผศ.นพ. อนุแสง จิตสมเกษม กล่าวทิ้งท้าย

ต้นแบบห้องแยกโรคติดเชื้อความดันลบ

ต้นแบบห้องแยกโรคติดเชื้อความดันลบ

วีรกร สายเทพ CPAC BIM Director บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด (CPAC)

ใส่ความเห็น