วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 21, 2024
Home > PR News > ดีอีเอส ดึงศักยภาพ ทีโอที พร้อมจับมือ กทม. นำสายสื่อสารลงใต้ดินกลางกรุง

ดีอีเอส ดึงศักยภาพ ทีโอที พร้อมจับมือ กทม. นำสายสื่อสารลงใต้ดินกลางกรุง

รมว.ดศ. พร้อม กสทช. ดึงศักยภาพ ทีโอที ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมจับมือ กทม. นำร่อง นำสายสื่อสารลงใต้ดินกลางกรุง

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส), นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. พล.ต.ท.โสภณ พิสุทธิวงษ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, นายมรกต เธียรมนตรี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานพัฒนาองค์กร และรักษาการแทนรองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน บมจ.ทีโอที พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวง ดีอีเอส กสทช. กทม. และทีโอที ร่วมกันแถลงข่าวการนำสายสื่อสารลงใต้ดิน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในเส้นทางที่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ไม่มีการรื้อถอนเสาไฟฟ้าและไม่มีสภาพบังคับ ตลอดแนวถนนอโศกมนตรี ตั้งแต่ถนนสุขุมวิทถึงถนนเพชรบุรี

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า กระทรวงดีอีเอสมีนโยบายที่จะจัดระเบียบความเรียบร้อยของสายสื่อสารที่พาดอยู่บนเสาไฟฟ้า ทั้งนี้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและทัศนียภาพภูมิทัศน์ที่สวยงามของกรุงเทพมหานคร และที่สำคัญเพื่อความปลอดภัยของประชาชนและนักท่องเที่ยวที่สัญจรในบริเวณดังกล่าว โดยการดำเนินโครงการนี้ กระทรวงดีอีเอสได้หารือร่วมกับ กสทช. เพื่อดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จเห็นผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ขณะเดียวกันก็ได้มีการประสานงานกับกรุงเทพมหานครอย่างใกล้ชิดที่จะร่วมกันดำเนินการให้สำเร็จ ซึ่งทุกฝ่ายให้พ้องร่วมกันว่า บมจ.ทีโอที ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดของกระทรวงดีอีเอสมีประสบการณ์และมีความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและดิจิทัล (Telecom & Digital Infrastructure) ไม่ว่าจะเป็นเสาโทรคมนาคม สายสื่อสารโทรคมนาคมและท่อร้อยสายใต้ดิน ซึ่ง ทีโอที สามารถนำศักยภาพที่มีอยู่นี้มาตอบสนองการดำเนินโครงการนี้ได้ทันที เนื่องจาก ทีโอทีมีการวางท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินในแนวถนนหลักครอบคลุมพื้นที่ทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวมระยะทางกว่า 2,000 กิโลเมตร และยังสามารถให้ผู้ประกอบการด้านสื่อสารโทรคมนาคมและดิจิทัลทุกรายมาใช้ท่อร้อยสายใต้ดินของ ทีโอที ได้ทันที โดยไม่ต้องขุด เจาะ หรือก่อสร้างเปิดหน้างานเพิ่มเติมอีก และในอนาคตทาง กระทรวงดีอีเอสจะได้ขยายผลการดำเนินการในลักษณะนี้ในเส้นทางอื่นของกรุงเทพมหานครต่อไป

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่าการนำสายสื่อสารลงใต้ดินเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของ กสทช. ที่ต้องการให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมทุกรายนำสายสื่อสารลงใต้ดินทั้งหมด เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและเพื่อความปลอดภัยของประชาชน ทั้งนี้ กสทช. ได้ มีการหารือร่วมกันกับกระทรวงดีอีเอส อย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่ง บมจ.ทีโอที มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมอยู่แล้วก็ถือเป็นโครงการที่ดีและมีประโยชน์ต่อประเทศชาติและสังคมโดยรวม

พล.ต.ท.โสภณ พิสุทธิวงษ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า โครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดินในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร สอดคล้องกับนโยบายการจัดระเบียบความเรียบร้อยด้านภูมิทัศน์ของ กทม. ซึ่งการดำเนินโครงการนี้ ร่วมกับ กระทรวงดีอีเอส กสทช. นั้น กรุงเทพมหานคร พร้อมที่จะร่วมสนับสนุนโครงการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในกรุงเทพมหานครและพร้อมที่จะร่วมเป็นพันธมิตรในการดำเนินโครงการ ในลักษณะนี้กับทาง บมจ.ทีโอทีต่อไปในอนาคต

นายมรกต เธียรมนตรี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานพัฒนาองค์กร และรักษาการแทนรองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน บมจ.ทีโอที กล่าวเพิ่มเติมว่า การนำสายสื่อสารลงใต้ดิน ในพื้นที่แนวถนนอโศกมนตรีตั้งแต่แนวถนนสุขุมวิทถึงถนนเพชรบุรี โดยที่ไม่มีการรื้อถอนเสาไฟฟ้านั้น ทีโอที ต้องขอขอบคุณ กระทรวงดีอีเอส กสทช. และกรุงเทพมหานคร ที่ได้มอบความไว้วางใจให้กับ ทีโอที ในการดำเนินโครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดินในครั้งนี้ ทีโอทีมีความพร้อม ที่จะดำเนินการได้ทันที เนื่องจาก ทีโอทีมีท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดิน ตลอดแนวถนนอโศกมนตรีอยู่เดิมแล้ว โดยมีการวางท่อร้อยสายใต้ดินทั้งสองฝั่งถนนฝั่งละ 6 ท่อ ขนาด 3 นิ้ว เชื่อมโยงกับแนวท่อร้อยหลักบนผิวจราจร ซึ่งมีท่ออยู่ 12 ท่อ การนำสายสื่อสารลงใต้ดิน ทีโอทีพร้อมที่จะให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมและดิจิทัลทั้งภาครัฐและเอกชนได้ทันที ด้วยศักยภาพด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมและดิจิทัลของทีโอที

โดยเฉพาะบริการท่อร้อยสายใต้ดินที่สามารถให้บริการได้ครอบคลุมทั่วประเทศรวมระยะทางกว่า 3,900 กิโลเมตรจำนวน 11,700 duct-km.และ 35,100 subduct-km ทั่วประเทศ ทั้งนี้ ทีโอทีมีแผนที่จะนำสายสื่อสารของ ทีโอที ในพื้นที่กรุงเทพฯ ลงใต้ดินในระยะแรก จำนวน12 เส้นทาง ซึ่ง ทีโอที มีท่อร้อยสายใต้ดินอยู่แล้ว อาทิ ถนนรัชดาภิเษก ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ถนนพระราม 4 ถนนพหลโยธิน ถนนอิสรภาพ และ ถนนจรัญสนิทวงศ์ รวมระยะทาง 48.7 กิโลเมตร

ใส่ความเห็น