วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 21, 2024
Home > New&Trend > จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มุ่งสร้าง Hub of Indie ต้อนรับวงอินดี้สุดเจ๋งกว่า 30 วง

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มุ่งสร้าง Hub of Indie ต้อนรับวงอินดี้สุดเจ๋งกว่า 30 วง

ปัจจุบันนี้ตลาดเพลงอินดี้ของเมืองไทยได้เปิดกว้างและพัฒนามากขึ้น มีศิลปินอินดี้เกิดขึ้นใหม่ทุกวัน รวมถึงมีแนวเพลงหลากหลายน่าสนใจเป็นสีสันให้แก่วงการดนตรี และยังสามารถสนับสนุนอุตสาหกรรมดนตรีให้เติบโตยิ่งขึ้น ที่สำคัญยังเป็นการเพิ่มทางเลือกที่ดีสำหรับคอเพลงอินดี้ในการเลือกฟังเพลงในสไตล์ที่ตนเองชื่นชอบ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จึงไม่มองข้าม พร้อม Re-Positioning สนามหลวงมิวสิก ให้เป็น Hub of Indie ที่จะเปิดรับ และสนับสนุนศิลปินอินดี้ทุกแนวเพลง ไม่ปิดกั้นหรือจำกัดรูปแบบของแนวดนตรี ศิลปินจะได้รับอิสระในการคิด การสร้างสรรค์ผลงานต่างๆที่สามารถคงเอกลักษณ์ของตนเองเอาไว้ได้ ทั้งนี้สนามหลวงมิวสิกยังสามารถทำงานกับศิลปินอินดี้ได้ “ทุกรูปแบบ” พร้อมทั้งมีเครื่องมือ ในการเผยแพร่, ทำการตลาด แบบครบ 360 องศา เพื่อเป็นการสนับสนุนความดังของศิลปินให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นและยังช่วยให้เกิดรายได้เพิ่มให้กับศิลปินอีกหนึ่งช่องทาง

นายภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายธุรกิจ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เราเล็งเห็นถึงการให้โอกาสเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ถึงแม้วันนี้ศิลปินอินดี้จะมีช่องทางเป็นของตนเอง แต่ช่องทางการสนับสนุนของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่และสนามหลวงมิวสิก ร่วมกับองค์ประกอบอื่นๆนั้นน่าจะมีประสิทธิภาพในการช่วยเผยแพร่ได้มากยิ่งขึ้น ดังนั้นเราจึงให้สนามหลวงมิวสิกได้เปิดรับศิลปินอินดี้ที่ยังมองหาโอกาสในการแสดงความสามารถทางดนตรีด้วยการทำงานใน Artist Model ที่มีหลากหลายรูปแบบดังนี้

1. ศิลปินอินดี้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ สามารถผลิต สร้างสรรค์เพลงและมิวสิควิดีโอ ได้ด้วยตนเอง โดยมอบให้สนามหลวงมิวสิกช่วยบริหารจัดการสิทธิ์ทั้งหมด

2. ศิลปินอินดี้และสนามหลวงมิวสิกร่วมกันผลิต สร้างสรรค์เพลงและมิวสิควิดีโอ โดยเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ร่วมกัน

3. ศิลปินอินดี้เป็นศิลปินในสังกัดสนามหลวงมิวสิกอย่างเต็มรูปแบบ

4. ศิลปินอินดี้หรือกลุ่มคนดนตรีที่ผลิต สร้างสรรค์เพลงเอง เข้ามาร่วมเป็นพันธมิตร โดยเป็นความร่วมมือระหว่างสนามหลวงมิวสิกและ Music Community นั้นๆ

สำหรับ Artist Model ทุกรูปแบบนั้นทางสนามหลวงมิวสิกจะเป็นผู้ดูแลบริหารจัดการสิทธิ์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการเผยแพร่, การประชาสัมพันธ์, การส่งเพลงให้เข้าไปอยู่ในทุกดิจิทัลแพลตฟอร์ม เช่น YouTube (ยูทูบ), JOOX (จู๊กซ์), Spotify (สปอติฟาย), Apple Music (แอปเปิ้ล มิวสิค), iTunes (ไอทูนส์) เพื่อสนับสนุนศิลปินอินดี้, เพลง, ข่าวสารให้ถูกกระจายไปถึงแฟนเพลงและเป็นที่รู้จักในวงกว้างยิ่งขึ้น ทั้งนี้ยังรวมถึงการค้าในรูปแบบของ Physical (ฟิซิคอล), การทำเพลงรวมฮิต, Merchandise (เมอร์ชั่นไดซ์), การแสดงสด, เพลงประกอบภาพยนตร์, เพลงประกอบโฆษณา, เพลงประกอบรายการโทรทัศน์ อีกด้วย

กลยุทธ์ของสนามหลวงมิวสิก ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลักๆ ดังนี้

1. สนามปล่อยของ คือพื้นที่ของศิลปินอินดี้ทุกแนวดนตรีที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างอิสระ ด้วยรูปแบบของ Artist Model ที่หลากหลาย และได้รับการสนับสนุนในทุกช่องทางของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่และสนามหลวงมิวสิก อย่างเต็มที่

2. สนามโชว์ของ คือเวทีการแสดงความสามารถทางดนตรีของศิลปินอินดี้บนพื้นที่ที่จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่และสนามหลวงมิวสิก ได้จัดเตรียมเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็น บิ๊ก เมาท์เท่น มิวสิค เฟสติวัล, วอท เดอะ เฟส มิวสิค เฟสติวัล, สนามหลวงมิวสิก เพลย์ไทม์ รวมถึงกิจกรรมอื่นๆของพันธมิตรทางดนตรี เช่น The Knack Market (เดอะ แน็ค มาร์เก็ต) ของThe Jam Factory (เดอะแจมแฟคตอรี่), De Commune (เดอ คอมมูน) และ You2Play (ยูทูเพลย์)

3. สนามลองของ คือพื้นที่ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่และสนามหลวงมิวสิก ที่ได้จัดเตรียมเอาไว้ให้กับศิลปินในสังกัดฯ ประกอบไปด้วย อพาร์ตเมนต์คุณป้า, โลโมโซนิค และ ทาบัสโก้ โดยทั้ง 3 ศิลปินยังคงสามารถสร้างสรรค์เพลงที่เป็นเอกลักษณ์ได้อิสระอย่างเต็มที่

ความสำเร็จของสนามหลวงมิวสิก

ความสำเร็จที่ 1 กับ 6 เดือนที่ผ่านมาที่สนามหลวงมิวสิกเปิดรับศิลปินอินดี้ทุกแนวดนตรีได้มากกว่า 30 วง อาทิ Ariy Shibuya (อารีย์ ชิบูย่า), Benz Beantown (เบนซ์ บีนทาวน์), Blues Tape (บลูส์เทป), Casinotone (คาสิโนโทน), Clockwork Motionless (คล็อกเวิร์ค โมชั่นเลส) เป็นต้น

ความสำเร็จที่ 2 กับเพลงที่เข้าไปติดอันดับชาร์ตเพลงต่างๆ ซึ่งเกิดจากการผลักดันอย่างเต็มที่จาก จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่และสนามหลวงมิวสิก ไม่ว่าจะเป็น Top 50 Indie ของ JOOX, Artist Super Room, Best of The Week และ Top Thai Chart ของ Apple Music, Top 10 Indie Chart ของ Cat Radio, อาทิ เพลงน้ำตาท่วมจอ TABASCO (ทาบัสโก้) ที่ติดอันดับ 1 ของ Top 50 Indie ของ JOOX รวมถึง เพลงอื่นๆ เช่น เพลงปล่อย ของ Clockwork Motionless (คล็อกเวิร์ค โมชั่นเลส), เพลงก่อน ของ Supersub (ซูเปอร์ซับ), เพลงดวงจันทร์สีดำและดาวเหนือ ของ YOUNG MAN AND THE SEA (ยังแมนแอนด์เดอะซี), เพลงคนสุดท้าย ของ The Pisatband (เดอะ ปีศาจ แบนด์), เพลงชีพจร ของ Poomjit (ภูมิจิต)

ความสำเร็จที่ 3 กับเพลงที่ถูกเลือกไปเป็นเพลงประกอบรายการและเพลงประกอบซีรี่ส์มากมาย

ความสำเร็จที่ 4 กับยอดวิวใน YouTube (ยูทูบ) ของการรับชมมิวสิกวิดีโอของศิลปินอินดี้ผ่านช่องทาง GMM Grammy Official (จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ออฟฟิเชียล) ที่มีผู้ติดตามกว่า 12 ล้าน Subscribers (ซับสไครเบอร์) รวมถึงการรับชมผ่าน Sanamluang Music Official (สนามหลวงมิวสิก ออฟฟิเชียล) ที่มีผู้ติดตาม 950,000 Subscribers จึงทำให้มิวสิกวิดีโอมีโอกาสถูกฟังและรับชมมากยิ่งขึ้น ซึ่งการเติบโตของยอดวิวทั้งหมดนั้นมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึง 81.44% แถมยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการช่วยศิลปินสร้างรายได้เพิ่มเติมอีกด้วย

สนามหลวงมิวสิกไม่เคยปิดกั้นรูปแบบของแนวดนตรี ไม่ว่าจะเป็นดนตรีในแบบไหน ป็อป, ร็อค, แจ๊ส, ฟังก์, พังค์, สกา, ฮิปฮอป, เมทัล เพราะสนามหลวงมิวสิกคือสนามที่ให้ศิลปินมีอิสระในการสร้างสรรค์เพลง เรื่องความต้องการของแต่ละฝ่าย แลกเปลี่ยนความคิดกัน แนะนำ และปรับจูนกันจนได้ออกมาเป็นเพลง ที่ผ่านมามีศิลปินอยู่ 4 ประเภทที่เข้ามาอยู่ด้วยกันที่สนามหลวงมิวสิก ได้แก่

1. ศิลปินที่มาจากโครงการ Opening Act ของ Sanamluang Music Playtime (สนามหลวงมิวสิก เพลย์ไทม์)

2. ศิลปินที่เป็นศิลปินอยู่แล้ว คุ้นหน้าคุ้นตาและยังทำเพลงของตัวเองอยู่ตลอด เช่น YOUNG MAN AND THE SEA (ยังแมนแอนด์เดอะซี), ภูมิจิต, Supersub (ซูเปอร์ซับ), Zero Hero (ซีโร่ ฮีโร่), The Pisat band (เดอะ ปีศาจ แบนด์) และ Dajim (ดาจิม)

3. ศิลปินบางกลุ่มก็จะรวมตัวกันเป็นศิลปินอินดี้กลุ่มเล็กๆ ทำดนตรีของเขาอยู่แล้ว แต่ยังไม่มีช่องทางเผยแพร่ที่แข็งแรง โดยศิลปินกลุ่มนี้สามารถมาคุยกันเพื่อเป็นพันธมิตรในการผลักดันให้เพลงเป็นที่รู้จักในวงกว้างได้ โดยใช้ช่องทางการโปรโมทของแกรมมี่

4. กลุ่มสุดท้าย หรือเรียกว่า Walk in คือเดินมาหาเราหลังจากที่สังกัดฯ เริ่มปล่อยเพลงของศิลปินอินดี้ต่างๆออกไป หลังจากนั้นก็มีการพูดคุย และตกลงทำงานด้วยกัน เช่น Pretty Punks (พริตตี้ พงก์), Ariy Shibuya (อารีย์ ชิบูย่า) และ Cut The Crab (คัท เดอะ แครป)

ศิลปินอินดี้ที่ยังมองหาโอกาสในการสร้างสรรค์เพลงได้อย่างอิสระ แต่ยังไม่มีสนามในการปล่อยของ โชว์ของ ลองของ รวมถึงการสนับสนุนในช่องทางต่างๆ เพื่อนำผลงานไปเผยแพร่ให้แฟนเพลงได้ฟัง ได้รับชม สามารถติดต่อได้ที่ FB Page : Sanamluang Music

ใส่ความเห็น