Home > On Globalization (Page 4)

ปี François Mitterrand

Column: From Paris เอ็มมานูเอล มาครง (Emmanuel Macron) เคยกล่าวระหว่างการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบแรกและรอบสองในปี 2017 ว่า แนวทางที่เขาต้องการบริหารฝรั่งเศสเป็นแนวทาง gaullo-mitterrandien กล่าวคือ แนวทางตามแบบประธานาธิบดีชาร์ลส์ เดอ โกล (Charles de Gaulle) และประธานาธิบดีฟรองซัวส์ มิตแตรองด์ (François Mitterrand) ด้วยเหตุนี้ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครงจึงอุทิศปี 2020 เป็นปีชาร์ลส์ เดอ โกล จัดงานรำลึกถึงชาร์ลส์ เดอ โกลในวาระต่างๆ กล่าวคือ วันที่ 18 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันครบรอบ 80 ปีที่นายพลชาร์ลส์ เดอ โกลประกาศตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นที่กรุงลอนดอน และเรียกร้องให้ชาวฝรั่งเศสลุกขึ้นต่อสู้พวกเยอรมันที่เข้าครอบครองประเทศ ชาวฝรั่งเศสหลายพันคนเดินทางไปสมทบกับนายพลเดอ โกล เพื่อก่อตั้งกองกำลังปลดแอกที่เรียกว่า Résistance อีกทั้งรำลึกถึงวันที่นายพลเดอ โกลประกาศแก่ชาวฝรั่งเศสว่า กรุงปารีสได้รับการปลดปล่อยแล้วในวันที่ 25 สิงหาคม

Read More

กฎหมายใหม่ “โควตาบังคับ” ในเยอรมนี เพื่อลดปัญหาความไม่เท่าเทียมในที่ทำงาน

Column: Women in Wonderland จากรายงาน Global Gender Gap Report ประจำปี 2020 ซึ่งจัดอันดับเรื่องความเท่าเทียมกันทางเพศใน 4 ด้าน คือ โอกาสและการมีส่วนร่วมในด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข และการเมือง จัดทำโดย World Economic Forum พบว่า 2 ประเทศที่ยังคงส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศมากที่สุดยังคงเป็นไอซ์แลนด์และนอร์เวย์ สำหรับเยอรมนีในปี 2020 อยู่ในอันดับที่ 10 ของโลก จาก 153 ประเทศ แม้ว่าในปี 2020 เยอรมนีจะอยู่ในอันดับที่ 10 ซึ่งเป็นอันดับที่ดีขึ้นถึง 4 ลำดับ เมื่อเทียบกับปี 2018 แต่หากเทียบการจัดอันดับในแต่ละด้านจะพบว่า ตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา อันดับของเยอรมนีลดลงทุกปี ซึ่งเรื่องนี้น่าจะเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้รัฐบาลของเยอรมนีเริ่มให้ความสำคัญกับปัญหาความเท่าเทียมกันทางเพศในสังคมมากขึ้น นาง Angela Merkel นายกรัฐมนตรีหญิง

Read More

นิทรรศการ Paris romantique 1815-1848

Column: From Paris Petit Palais เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับงานเอ็กซ์โปนานาชาติปี 1900 ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ Musée des beaux-arts de la Ville de Paris ขึ้นกับเมืองปารีส ในฤดูร้อนปี 2019 จัดนิทรรศการ Paris romantique 1815-1848 ปารีสโรแมนติก ระหว่างปี 1815-1848 อันช่วงที่นโปเลอง (Napoléon) หมดอำนาจจนถึงช่วงปฏิวัติปี 1848 Paris romantique 1815-1848 สะท้อนกรุงปารีสระหว่างปี 815-1848 ทั้งด้านสังคม ศิลปะ และความคิดอ่าน นิทรรศการนี้นำผลงานกว่า 600 ชิ้นมาแสดง มีทั้งภาพเขียน ประติมากรรม เครื่องเรือน objets d’art สะท้อนความเคลื่อนไหวด้านศิลปะ วัฒนธรรม และการเมืองในยุคนั้น เริ่มจากพระราชวังตุยเลอรีส์ (Tuileries) ซึ่งเป็นพระราชวังที่กษัตริย์หลุยส์ 18

Read More

สกอตแลนด์เป็นประเทศแรกในโลกที่ผู้หญิงใช้ผ้าอนามัยฟรี

Column: Women in Wonderland ผ้าอนามัย ของจำเป็นสำหรับสุขอนามัยของผู้หญิง แต่ละเดือนผู้หญิงจะมีประจำเดือนเฉลี่ย 6 วัน และใน 1 วันจะใช้ผ้าอนามัยประมาณ 6 แผ่น (เพื่อสุขอนามัยที่ดีควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 4 ชั่วโมง) คือค่าใช้จ่ายสำหรับผู้หญิงในแต่ละเดือน ผ้าอนามัยมีหลากหลายรูปแบบให้ผู้หญิงเลือกใช้ แน่นอนว่าราคาก็แตกต่างกันไป ดังนั้นหากผู้หญิงคนไหนต้องการใช้ผ้าอนามัยที่ซึมซับได้มากเป็นพิเศษ หรือบางเป็นพิเศษ หรือยาวกว่าปกติทั่วไป หรือมีคุณสมบัติเฉพาะ ที่ช่วยให้รู้สึกสบายเวลามีประจำเดือน ราคาก็ย่อมสูงขึ้นตามไปด้วย Period Poverty หรือสถานการณ์ที่ไม่สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือน การขาดการศึกษาเกี่ยวกับสุขอนามัยที่ดีระหว่างมีประจำเดือน การขาดแคลนห้องน้ำ อุปกรณ์ล้างมือ และการจัดการของเสีย ในปัจจุบันมีผู้หญิงและเด็กหญิงทั่วโลกประมาณ 2.3 พันล้านคนที่เผชิญปัญหา Period Poverty เด็กหญิง 1 ใน 10 คนในทวีปแอฟริกาจะขาดเรียนทุกครั้งที่มีประจำเดือน เพราะโรงเรียนไม่มีห้องน้ำสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ 50% ของนักเรียนหญิงในประเทศเคนยา ไม่มีผ้าอนามัยใช้ และในประเทศอินเดีย ผู้หญิงประมาณ 12% ไม่มีรายได้เพียงพอที่จะซื้อผ้าอนามัย องค์การ

Read More

Notre-Dame de Paris, De Victor Hugo à Eugène Viollet-le-Duc

Column: From Paris ไฟไหม้ใหญ่วิหาร Notre-Dame de Paris ในวันที่ 15 เมษายน 2019 สร้างความตกตะลึงและปวดร้าวแก่ชาวฝรั่งเศสและประชาชนทั่วโลก เหตุการณ์ครั้งนั้นสร้างความเสียหายแก่วิหารแห่งนี้อย่างมาก ลูกศร Flèche ซึ่งเป็นผลงานของ Viollet-le-Duc ไหม้ถล่มลงบนหลังคาวิหาร หลังจากนั้นเกิดการถกเถียงกันว่าจะสร้าง Flèche ตามรูปแบบเดิมหรือจะเปลี่ยนให้เข้ากับสมัย สถาปนิกหลายคนออกแบบให้ดู บางแบบสวยมหัศจรรย์ แต่ดูเหมือนไม่เข้ากับรูปแบบสถาปัตยกรรมของวิหาร จนในที่สุด ประธานาธิบดี Emmanuel Macron ได้ประกาศว่ายังคงรูปแบบเดิม ไฟไหม้ครั้งนั้นทำให้โบราณวัตถุในห้องใต้ดินของวิหาร Crypte archéologique ได้รับความเสียหายจากควันไฟ จนต้องมีการจัดระบบกันใหม่ Crypte archéologique ได้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้อีกตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2020 พร้อมกับจัดนิทรรศการ Notre-Dame de Paris, de Victor Hugo à Eugène Viollet-le-Duc เล่าความเป็นมาของวิหารจาก Victor

Read More

ความล้มเหลวด้านสาธารณสุขของซิมบับเว

Column: Women in wonderland ซิมบับเวเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ตอนใต้ของทวีปแอฟริกา ไม่มีทางออกสู่ทะเล ปัจจุบันมีประชากรประมาณ 16 ล้านคน 98% เป็นคนพื้นเมืองผิวดำ ส่วนใหญ่เป็นชาวโซนา ซิมบับเวตกเป็นประเทศในอาณานิคมของอังกฤษ ได้รับเอกราชเมื่อปี 2537 ชาวซิมบับเวมีรายได้ต่อหัวประมาณ 1,027 ดอลลาร์ต่อปี (ประมาณ 33,891 บาท) ปัญหาใหญ่ของซิมบับเวคือ เงินเฟ้อ เมื่อรัฐบาลภายใต้ Robert Mugabe ออกกฎหมายใหม่ในการจัดสรรที่ดิน โดยได้ยึดคืนที่ดินไร่นาจากคนผิวขาว รัฐบาลอ้างว่าชาวอังกฤษยึดครองที่ดินโดยมิชอบตั้งแต่สมัยที่ซิมบับเวยังเป็นอาณานิคม หลังจากนั้นรัฐบาลก็นำที่ดินเหล่านี้มาแจกให้คนผิวดำไว้ทำกิน แต่รัฐบาลไม่ได้ให้องค์ความรู้กับประชาชนในการนำที่ดินที่ได้รับมาใช้ทำกินให้เกิดประโยชน์ นำไปสู่วิกฤตเงินเฟ้อร้ายแรงในประวัติศาสตร์โลก อาจเรียกได้ว่ารุนแรงเป็นอันดับ 2 ของโลก เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในซิมบับเวนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนแบงก์ชาติของซิมบับเวต้องออกธนบัตรใบละ 1 แสนล้านดอลลาร์ ทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นถึง 200 ล้านเท่า ส่งผลให้จำนวนคนว่างงานเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 80% หลายคนตัดสินใจย้ายไปอยู่ประเทศอื่นเพื่อหางานทำ เช่น ประเทศแอฟริกาใต้ เป็นต้น วิกฤตเงินเฟ้อในซิมบับเวไม่เพียงคนส่วนใหญ่จะว่างงานเพิ่มขึ้น แต่ที่ได้รับผลกระทบมากไม่แพ้กันคือ ระบบสาธารณสุข ก่อนหน้าวิกฤตภาวะเงินเฟ้อ รัฐบาลของ

Read More

Rimbaud-Verlaine

Column: From Paris Panthéon เป็นอาคารสไตล์ neo-classique ในเขต 5 (5ème arrondissement) ของกรุงปารีส ในย่าน Quartier latin และอยู่บนเขา Sainte-Geneviève ในศตวรรษที่ 18 เป็นโบสถ์ แต่พอยุคปฏิวัติ ให้เป็นสถานที่เชิดชูบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส ยกเว้นทหารที่มีสถานที่ลักษณะเดียวกันนี้ที่ Hôtel des Invalides ใน Panthéon จึงมีโลงศพของบุคคลที่ทำคุณประโยชน์แก่ฝรั่งเศส ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ Pierre และ Marie Curie ผู้ร่างกฎบัตรสิทธิมนุษยชน René Cassin ผู้คิดอักษร Braille (บราย) สำหรับคนตาบอด Louis Braille นักการเมือง Jean Jaurès ผู้เข้าร่วมขบวนการปลดแอกฝรั่งเศสจากการยึดครองของเยอรมัน (Résistance) Jean Moulin นักเขียนดังได้เข้า Panthéon หลายคน

Read More

การทดสอบความบริสุทธิ์ของผู้หญิง

Column: Women in Wonderland องค์การสหประชาชาติกล่าวถึงการตรวจเยื่อพรหมจารีเพื่อดูความบริสุทธิ์นั้น ทำการตรวจได้ 2 วิธีด้วยกัน คือ (1) ตรวจช่องคลอดโดยสูตินรีเวช โดยดูการฉีกขาดของเยื่อพรหมจารี และ (2) การตรวจโดยใช้ “สองนิ้ว” สอดเข้าไปในช่องคลอด เพื่อดูว่าเยื่อพรหมจารีขาดไปหรือยัง และผนังช่องคลอดยังคงมีความคับแคบหรือหลวมเพียงใด หากหลวมก็อาจสันนิษฐานว่าเคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน ซึ่งทั้งสองวิธีนี้ไม่สามารถยืนยันด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ได้ เพราะการฉีกขาดของเยื่อพรหมจารีมีโอกาสเกิดขึ้นได้จากการทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ได้มีเพียงแค่การมีเพศสัมพันธ์ องค์การสหประชาชาติเปิดเผยว่าความเชื่อเรื่องนี้ยังมีการทดสอบอยู่ประมาณ 20 ประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่จะอยู่ในแอฟริกาเหนือและแอฟริกาใต้ อย่างแอฟริกาใต้ ซิมบับเว และลิเบีย เป็นต้น ในเอเชียและตะวันออกกลางอย่างอินเดีย อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ ศรีลังกา อิหร่าน อิรัก และอินโดนีเซีย เป็นต้น และเวลานี้ก็มีในประเทศในยุโรปและอเมริกาเหนือ อย่างฝรั่งเศส บราซิล สหราชอาณาจักร สเปน สวีเดน แคนาดา และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น เพราะมีผู้อพยพย้ายถิ่นเข้าไปอยู่จำนวนมาก แต่ก็ยังยึดกับประเพณีและความเชื่อเดิม ในการตรวจนั้นผู้หญิงจะถูกบังคับจากพ่อแม่ หรือคนที่จะเป็นสามี หรืออาจจะเป็นนายจ้าง

Read More

การเมืองเรื่อง Tiffany’s

Column: From Paris เศรษฐกิจทั่วโลกประสบปัญหาอยู่แล้วก่อนที่ Covid-19 จะระบาด ยิ่งเมื่อประเทศต่างๆ ต้องล็อกดาวน์ ปัญหายิ่งซับซ้อนขึ้นไปอีก แต่เดิมก็แก้ยากอยู่แล้ว บัดนี้ยิ่งลำบากขึ้นไปอีก จะว่าผู้บริหารไม่เก่ง ก็คงไม่เก่งทั่วโลกนั่นแหละ ไม่เห็นประเทศไหนจะเลอเลิศกว่าใคร Tiffany’s เป็นห้างเพชรของสหรัฐอเมริกา มาโด่งดังมากจากภาพยนตร์เรื่อง Breakfast at Tiffany’s ซึ่งนำแสดงโดย Audrey Hepburn และ George Peppard ภาพ Audrey Hepburn ในเดรสสีดำ สวมแว่นตาดำ ยืนหน้าวินโดว์ของบูติก Tiffany’s เป็นภาพที่คู่ไปกับห้างเพชรแห่งนี้ Tiffany’s ประสบปัญหาเมื่อภาวะเศรษฐกิจไม่ดี กำลังซื้อถดถอย มาเป็นข่าวดังเมื่อเดือนกันยายน 2019 เมื่อ LVMH กลุ่มธุรกิจสินค้าหรูของฝรั่งเศส ที่มี Bernard Arnault เป็นประธาน ส่งคนไปทาบทามซื้อกิจการของ Tiffany’s ด้วยเงินจำนวน 14.5 พันล้านดอลลาร์ (หุ้นละ 120

Read More

ผลกระทบจาก COVID-19 ต่อชีวิตผู้หญิงอินเดีย

Column: Women in wonderland การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เป็นเวลามากกว่า 10 เดือนแล้ว และสถานการณ์ในหลายประเทศก็ยังคงมีการแพร่ระบาดสูง หรือบางประเทศที่เริ่มควบคุมการแพร่ระบาดได้ดีระดับหนึ่ง อย่างนิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ก็เริ่มกลับมาแพร่ระบาดอีกตามเมืองใหญ่ๆ และยังไม่มีประเทศไหนที่ประสบความสำเร็จในการผลิตวัคซีนออกมาใช้ได้ กระทรวงสาธารณสุขอินเดียรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 คนแรกของประเทศเมื่อ 3 มีนาคม 2020 และจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนพบผู้ติดเชื้อไวรัสมากกว่า 100 คน เมื่อ 27 มีนาคม 2020 และ 500 คน เมื่อ 4 เมษายน 2020 สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในอินเดียเริ่มแย่ลงเรื่อยๆ วันที่ 17 กรกฎาคม 2020 จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสมากกว่า 1 ล้านคน ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง มีการยืนยันว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสเพิ่มขึ้นกว่า 32,000 คน

Read More