Home > Life (Page 28)

10 ความเชื่อผิดๆ เรื่องลดความอ้วน

Column: Well – Being ลำพังการลดน้ำหนักตัวภายใต้สภาพแวดล้อมที่ดีที่สุดนั้นถือว่ายากแสนสาหัสอยู่แล้ว แต่จะยิ่งเป็นที่วุ่นวายใจมากขึ้นไปอีกเมื่อคุณได้รับคำแนะนำประเภท “ทำอย่างนี้” และ “ทำอย่างนั้น” จากคนรอบตัว ไม่ว่าคุณจะใช้วิธีสืบค้นทางอินเทอร์เน็ตหรือพูดคุยกับเพื่อนๆ ก็ยังถือว่ายากมากที่จะแยกแยะข้อเท็จจริงออกจากเรื่องคิดฝันเอาเอง เพราะการลดน้ำหนักขึ้นกับความต้องการและเป้าหมายของแต่ละคนอย่างแท้จริง ดังนั้น เพื่อให้การเริ่มต้นทำได้ง่ายขึ้นอีกหน่อย นิตยสาร Prevention ได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ความกระจ่างที่ถูกต้อง เป็นต้นว่า จริงๆ แล้ว อาหารเช้าเป็นอาหารมื้อสำคัญที่สุดของวันจริงหรือไม่ ต่อไปนี้เป็นความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการลดความอ้วนที่คุณควรเลิกเชื่อให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้! ความเชื่อที่ 1 : กินไขมันทำให้อ้วน เจสสิกา คอร์ดิง ผู้เขียนหนังสือ The Little Book of Game – Changers กล่าวว่า ข้อเท็จจริงที่ว่า ไขมันให้พลังงานต่อน้ำหนักหนึ่งกรัมสูงกว่าคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน อาจเป็นที่มาของความเชื่อผิดๆ ที่ว่า กินไขมันแล้วทำให้อ้วน แต่แท้จริงแล้ว ไขมันช่วยให้คุณอิ่มนานขึ้นมากกว่า ดร.คาโรลิน นิวเบอร์รี แพทย์โรคทางเดินอาหารยังอธิบายเพิ่มเติมว่า ถ้าคุณกินไขมันมากเกินความต้องการของร่างกาย คุณจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน “แต่ไขมันเป็นองค์ประกอบสำคัญของอาหารเพื่อสุขภาพ และการกินไขมันปริมาณที่สมควรเป็นสิ่งจำเป็นต่อการสร้างเซลล์ การรักษาความอบอุ่น และให้พลังงานแก่ร่างกาย” ความเชื่อที่

Read More

อย่า! … พูดประโยคนี้กับคนกำลังลดความอ้วน

Column: Well – Being ถ้าพูดถึงบทสนทนาเกี่ยวกับน้ำหนักตัว การออกกำลังกาย และอาหาร ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และเสี่ยงต่อความรู้สึกพอๆ กับการหลับตาเดินไต่เชือกที่อันตรายยิ่ง แค่พูดผิดเพียงประโยคเดียว อาจทำให้คุณถึงกับเสียหลักไปสู่ภาวะกระอักกระอ่วนใจและกลายเป็นการดูแคลนคู่สนทนาได้ แม้คำชมเชยที่เต็มไปด้วยความปรารถนาดีที่สุด หรือการตั้งคำถามที่ไม่ถูกกาลเทศะ ก็สามารถทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงอย่างรวดเร็ว เหนืออื่นใด สัมพันธภาพของเรากับสรีระของเราเป็นเรื่องซับซ้อน และผ่านการถักทอด้วยประสบการณ์ทั้งที่ดีและเลวมาแล้วมากมายเป็นเวลานานหลายปี คราวต่อไปถ้าคุณต้องพูดคุยกับใครสักคนที่อยู่ในระหว่างการลดน้ำหนักให้หลีกเลี่ยงคำพูดและคำถามที่จะนำเสนอต่อไปนี้ และทำตามคำแนะนำของนักจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งที่คุณจะพูดออกไปดังที่นำเสนอโดยนิตยสาร Prevention (1) “แค่กินให้น้อยลงและออกกำลังกายมากขึ้น” “ก่อนอื่นเลย ใครก็ตามที่กำลังพยายามลดน้ำหนักเคยได้ยินประโยคนี้มาแล้ว” ดร.จิม เคลเลอร์ นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและจิตวิทยาการลดความอ้วนอธิบาย แม้ว่าคุณจะมีเจตนาดี แต่คุณจำเป็นต้องวางตัวให้ดีอยู่เสมอ ไม่เคยเพียงแค่นั้น ประโยคนี้ดูเหมือนจะเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ง่ายเกินไป ซึ่งจริงๆ แล้วสำหรับคนอีกมากมายที่ต้องการลดน้ำหนัก ถือเป็นงานหินอย่างแท้จริง เคลเลอร์เพิ่มเติมว่า “แน่นอน การกินให้ดีและเคลื่อนไหวมากขึ้นล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการลดน้ำหนัก แต่ผู้ที่ควบคุมอาหารส่วนใหญ่ต่างประสบปัญหาหิวมากขึ้นและระบบเผาผลาญทำงานช้าลง” ควรพูดอย่างไร “ประการแรก ให้ยอมรับความยากของสิ่งที่คนที่คุณรักตั้งเป้าหมายในการลดน้ำหนัก” เคลเลอร์แนะนำ จากนั้นให้กำลังใจพวกเขา บอกพวกเขาว่าคุณภูมิใจในตัวพวกเขาที่ตัดสินใจเริ่มเดินบนเส้นทางนี้ (2) “ยังเหลือน้ำหนักอีกเท่าไรที่เธอต้องลดให้ได้” ดูเหมือนคำถามนี้จะไม่มีพิษสงอะไร เพราะเน้นไปที่ตัวเลขบนตาชั่งเป็นหลัก ซึ่งมักทำให้คนที่คุณรักรู้สึกเหมือนประสบความล้มเหลว “ความสำเร็จในตัวเลขบนตาชั่งไม่เพียงเป็นความสำเร็จของคนที่พยายามลดน้ำหนักใฝ่หา เราจึงไม่ต้องการให้เน้นที่เรื่องนี้เพียงอย่างเดียว” เคลเลอร์อธิบาย ถ้าคุณมีวิถีชีวิตที่แข็งแกร่ง คุณอาจรู้สึกดีขึ้นแม้ตัวเลขบนตาชั่งจะไม่กระดิก อย่างไรก็ตาม ถ้าตัวเลขบนตาชั่งคือบทสรุปสุดท้ายของคุณ คุณจะไม่รู้สึกดีใจกับความสำเร็จด้านอื่นๆ เลย ควรพูดอย่างไร

Read More

อ่านหนังสือก่อนนอนทำเงินได้มากกว่า

Column: Well – Being ถ้ากิจวัตรก่อนเข้านอนของคุณรวมถึงการอ่านหนังสือเล่มโปรดด้วย คุณกำลังทำสิ่งที่ดีเลิศ! คุณคงรู้ดีอยู่แล้วถึงข้อดีของการอ่านหนังสือก่อนนอน ซึ่งไม่เพียงให้ผลเชิงบวก แต่ดูเหมือนจะให้ผลที่น่าทึ่งอย่างไม่คาดคิดด้วย ทั้งนี้เป็นผลการสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้โดยเว็บไซต์ Sleep Junkie ซึ่งเปิดเผยการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 10,000 คน เกี่ยวกับพฤติกรรมและนิสัยก่อนเข้านอนว่า พวกเขาอ่านหรือไม่อ่านหนังสือก่อนนอน นิตยสาร Shape รายงานว่า ผู้เข้าร่วมการสำรวจที่มีนิสัยอ่านหนังสือก่อนนอนมีตั้งแต่สัปดาห์ละครั้งถึงทุกคืนโดยแยกแยะได้ดังนี้ ร้อยละ 11 ของผู้ถูกสำรวจอ่านหนังสือก่อนนอนสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ร้อยละ 12 อ่านสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ร้อยละ 7 อ่านสัปดาห์ละ 5 หรือ 6 ครั้ง และร้อยละ 8 อ่านทุกคืน ในจำนวนนี้อ่านคราวละ 2- 3 หน้า และเวลาอ่านเฉลี่ยอยู่ที่ 43 นาที ผลที่ได้ไม่โกหกแน่นอน ไม่ว่าพวกเขาจะอ่านหนังสือเพียงเดือนละ 3 ครั้งหรือทุกคืน ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดต่างยอมรับว่า พฤติกรรมนี้ทำให้ผ่อนคลาย ช่วยลดความเครียด

Read More

7 เทคนิครีเฟรชตัวเอง หลังงานเฉลิมฉลอง

หลายคนอาจจะมีความรู้สึกหดหู่ ซึมเศร้า และขี้เกียจ หลังจากได้หยุดเฉลิมฉลองปีใหม่หรือเทศกาลสำคัญๆ วันนี้ ผู้จัดการ 360 องศา มีเทคนิคดีๆ มานำเสนอ ซึ่งเป็นวิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณผู้อ่านได้รีเฟรชตัวเองให้พร้อมรับสิ่งดีๆ ใหม่ๆ ที่จะเข้ามาในชีวิต 1. กลับมาพักก่อนเริ่มงานอย่างน้อย 1 วัน หากคุณเดินทางไปพักผ่อนหรือเยี่ยมญาติที่ต่างจังหวัด การเดินทางไม่ว่าจะเป็นทางไหนย่อมสร้างความรู้สึกเหนื่อยให้คุณได้ทั้งนั้น เราแนะนำว่าคุณควรกลับมาก่อนจะเริ่มการทำงานหรือการเรียนอย่างน้อย 1 วัน เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนจริงๆ อาจให้วันนั้นเป็นวันแห่งการนอนขี้เกียจ หลังจากการเดินทางท่องเที่ยวหรือดื่มฉลองมาอย่างหนัก เพียงแค่ 1 วันที่คุณอนุญาตให้ร่างกายได้พักผ่อนจริงๆ จะทำให้ร่างกายคุณสดชื่นพร้อมที่จะลุยงานในศักราชต่อไปได้แล้ว 2. ออกกำลังกาย ถึงคุณจะได้หยุดพักผ่อน ท่องเที่ยว และสนุกกับกิจกรรมฉลองปีใหม่ แต่สิ่งที่ไม่ควรหยุดเลย คือ การออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายจะช่วยให้คุณเป็นคนที่สดชื่น มีชีวิตชีวาอยู่เสมอ และยิ่งถ้าคุณยังออกกำลังในช่วงวันหยุดยาว จะทำให้คุณรู้สึกกระปรี้กระเปร่า ข้อสำคัญคือไม่ต้องวิตกกังวลเรื่องน้ำหนักตัวหลังการบริโภคอย่างหนักในช่วงวันหยุดอีกด้วย 3. จัดห้องหรือจัดโต๊ะทำงานใหม่ นอกจากการเดินทางจะช่วยให้คุณได้เพิ่มพลังชีวิต ชาร์จแบต พักกายพักใจแล้ว การจัดโต๊ะทำงานใหม่ หรือการจัดห้องใหม่ จะช่วยให้คุณรู้สึกสดชื่นขึ้นได้อีกด้วย แยกสิ่งของที่ยังต้องใช้งานเป็นประจำ และของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ หรือของที่ใช้แล้ว จัดให้เป็นระเบียบจะช่วยให้ห้องหรือโต๊ะทำงานของคุณโล่ง ดูสบายตาขึ้น

Read More

ความโดดเดี่ยว-อันตรายยิ่งกว่าสูบบุหรี่วันละ 15 มวน!

Column: Well – Being ความโดดเดี่ยว เป็นอารมณ์ที่กวี นักเขียนนวนิยาย และนักประพันธ์เพลงล้วนประสบกันมาหลายศตวรรษแล้ว และพยายามถ่ายทอดออกมาในภาษาต่างๆ แต่นักวิจัยบางคนยืนยันว่าความโดดเดี่ยวเป็นอะไรที่มากกว่าความรู้สึก คือเป็นทั้งความหายนะ ความเจ็บป่วย หรือสภาวะที่ต้องได้รับการเยียวยาเหมือนโรคชนิดหนึ่ง และเป็นเหมือนโรคติดต่อที่รุนแรงขั้นถึงแก่ชีวิตได้ ในมุมมองด้านความจริง ผู้ที่ขาดการเชื่อมโยงกับสังคมจัดว่าอยู่ในภาวะอันตรายยิ่งกว่าการสูบบุหรี่ถึงวันละ 15 มวน และเป็นอันตรายต่อชีวิตมากกว่าโรคอ้วน ความรู้สึกอ้างว้างโดดเดี่ยวสามารถตีความเป็นความเจ็บป่วยทางกายได้ โดยเหตุที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ซึ่งไม่ได้หมายความเพียงว่า เรามีความสุขกับการอยู่ในสังคมเท่านั้น แต่หมายถึงเราจำเป็นต้องอยู่ในสังคมด้วย การแยกตัวจากสังคมทำร้ายมนุษย์ทั้งทางอารมณ์และจิตวิทยา ความเครียดที่เกิดจากความโดดเดี่ยว ทำให้เกิดการสูญเสียทางกายภาพ การเผชิญกับความโดดเดี่ยวเรื้อรัง (นานเกิน 2 สัปดาห์) จะเชื่อมโยงกับโรคความดันโลหิตสูง โรคซึมเศร้า โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองสาเหตุเพราะเกิดภาวะอักเสบสูงขึ้น หากอาการนี้มีมากเกินไป ย่อมมาพร้อมๆ กับโรคเรื้อรัง “ผู้คนพากันคิดว่า ความโดดเดี่ยวสัมพันธ์กับสุขภาวะทางอารมณ์ พวกเขาไม่ได้ตระหนักถึงผลกระทบอย่างลึกซึ้งที่ความโดดเดี่ยวมีผลต่อสุขภาพทางกาย” ศาสตราจารย์จูเลียนน์ ฮอลท์-ลุนสตัด แห่งสถาบันจิตวิทยาบริกแฮมกล่าว ทั้งยังเปิดเผยผลการวิจัยของเธอด้วยว่า คนเหงามีแนวโน้มเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเพิ่มขึ้นร้อยละ 26 แต่ถ้าเป็นผู้ไม่มีสังคมหรือมีน้อยมาก ความเสี่ยงจะเพิ่มเป็นร้อยละ 29 และเพิ่มเป็นร้อยละ 32 ในหมู่คนที่อาศัยตามลำพัง “เราจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ทางสังคมให้มากเหมือนกับที่เราใส่ใจในอาหาร

Read More

IF มิติใหม่แห่งการไดเอต ยิ่งอด ยิ่งผอม

การไดเอตมีหลายรูปแบบ เชื่อว่าหลายคนอาจเคยลองไดเอตมาแล้วมากมาย ทั้งการงดอาหารเย็น เช่น ไม่รับประทานอาหารหลังหกโมง ไม่บริโภคแป้งหรือคาร์โบไฮเดรต และอีกหลากหลายวิธี ทว่าจะได้ผลหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความตั้งใจ และกิจกรรมของแต่ละคน วันนี้ ผู้จัดการ 360˚ จะชวนให้มาทำความรู้จักอีกหนึ่งรูปแบบการไดเอต ที่ผู้คนจำนวนไม่น้อยให้ความสนใจ เหล่าเทรนเนอร์การันตีว่า นี่เป็นการไดเอตที่มีประสิทธิภาพ และเห็นผล หากคุณปฏิบัติอย่างจริงจัง แม้จะไม่ต้องทำทุกวันก็ตาม คุณอาจเคยได้ยินคำว่า “กินแบบ IF” มาบ้าง ซึ่ง IF ที่ว่านี้ ย่อมาจากคำว่า Intermittent fasting หลายคนให้คำนิยามการกินแบบ IF ว่า “ยิ่งอดยิ่งผอม” จะเรียกแบบนี้ก็ไม่ผิดนัก เมื่อรูปแบบการกินของ Intermittent fasting คือการที่เราต้องแบ่งช่วงเวลาที่สามารถกินอาหารได้ และช่วงเวลาที่กินอาหารไม่ได้ หลายคนอาจสงสัยว่า การกินแบบปกติก็ไม่ต่างจากการกินแบบ IF เมื่อร่างกายมีช่วงเวลาที่พักผ่อน นอนหลับ ในเวลานี้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารเช่นกัน ความคิดเช่นนี้ก็ไม่ผิดเสียทีเดียว ทว่า การกินแบบ IF จะเพิ่มความยากเข้ามาอีกนิด เมื่อเราต้องเพิ่มจำนวนชั่วโมงในการงดอาหารมากขึ้น ก่อนอื่น ขออธิบายหลักการทำงานของร่างกายที่เกิดจากการกินแบบ IF

Read More

ฮอร์โมนไม่สมดุล-ตัวการน้ำหนักตัวพุ่ง

Well – Being เคยสงสัยไหมว่า คุณขยันออกกำลังกายเกือบทุกวัน พยายามกินอาหารมีประโยชน์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ตัวเลขน้ำหนักบนตาชั่งยังกระดิกเพิ่มขึ้นตลอดเวลา? น้ำหนักส่วนเกินบริเวณรอบเอวคุณน่าจะเป็นจุดที่กำจัดได้ยากที่สุด แต่ก่อนที่คุณจะตีโพยตีพายโทษตัวเองว่า ยังออกกำลังกายไม่มากพอ ให้ใจเย็นๆ แล้วคิดถึงปัจจัยต่อไปนี้ เมื่อมีอายุมากขึ้นการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนแม้เพียงเล็กน้อย ก็สามารถเป็นสาเหตุให้ไขมันในช่องท้องตื๊ออยู่กับคุณอย่างเหนียวแน่น ผลการวิจัยระบุว่า ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน มีระดับไขมันในช่องท้องต่ำกว่าผู้ไม่ได้ใช้ฮอร์โมนทดแทน แต่ก่อนที่คุณจะเซ้าซี้ให้หมอจ่ายฮอร์โมนทดแทนให้ นิตยสาร Prevention ให้คำแนะนำว่า ยังมีวิธีธรรมชาติที่ช่วยลดระดับไขมันได้ ได้แก่ ลดปริมาณการกินน้ำตาล เลิกกินอาหารแปรรูป หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์นมเนย แอลกอฮอล์ และกาเฟอีน เหล่านี้ล้วนช่วยให้คุณปรับระดับน้ำตาลในเลือดและฮอร์โมนอินซูลินได้ สัญญาณที่คุณจะโทษฮอร์โมนได้ว่าเป็นตัวการของการเพิ่มน้ำหนักตัวไม่หยุดหย่อนมีดังนี้ กินถูกต้อง แต่รอบเอวยังขยายออก ถ้าคุณเป็นคนหน้าท้องแบนราบมาทั้งชีวิต แต่จู่ๆ เจ้าห่วงยางก็ปรากฏขึ้นรอบเอวในชั่วข้ามคืน นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าคุณมีปัญหา “พุงหมาน้อย” (hormonal belly-การมีพุงช่วงล่างห้อย แต่พุงด้านบนไม่ป่อง) เข้าแล้ว “เมื่อเราอายุมากขึ้น ร่างกายสามารถเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินมากขึ้น จึงมีการสะสมไขมันแทนการเผาผลาญ” ดร.ซาร่า ก็อตต์ฟรีด ผู้เขียนหนังสือ The Hormone Cure และ The Hormone Reset Diet

Read More

อาหารที่ทำให้ผมหนา & แข็งแรง

Column: Well Being “รากผมจัดว่าเป็นเซลล์ที่ทำงานแข็งขันที่สุด และมีอัตราการผลัดเซลล์สูงสุดชนิดหนึ่งของร่างกาย” นพ. อลัน เจ. บาวแมน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการฟื้นฟูเส้นผมและศัลยแพทย์การปลูกผมแห่งบาวแมน เมดิคอล กรุ๊ป รัฐฟลอริดา อธิบาย “การจำกัดอาหารหรือกินโปรตีน แร่ธาตุ กรดไขมันจำเป็น และวิตามินไม่เพียงพอ สามารถนำไปสู่ปัญหาโครงสร้างเส้นผมผิดปกติ รวมถึงปัญหาการสร้างเส้นผม การมีสีผมเปลี่ยนแปลง และภาวะผมร่วงได้ ถ้าคุณขาดโปรตีนซึ่งเป็นสารอาหารจำเป็นขั้นพื้นฐาน ร่างกายของคุณจะไม่สามารถผลิตเส้นผมที่แข็งแรงได้” ร่างกายผลิตเส้นผมอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดช่วงอายุระหว่าง 15-30 ปี จากนั้นจะผลิตเส้นผมช้าลงหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงหลังอายุ 40 ปีขึ้นไป จึงจำเป็นต้องคิดถึงเมนูอาหารซึ่งอุดมด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างเส้นผมมากที่สุด ได้แก่ โปรตีน เหล็ก วิตามิน เอ, ซี, ดี และอี วิตามินบีรวม กรดไขมันโอเมก้า-3 และ 6 สังกะสี เซลีเนียม และแมกนีเซียม นพ. ซัลวาทอเร เจ. ดิ แกรนดิ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนังแนะนำว่า ถ้าคุณเปลี่ยนมากินอาหารที่ช่วยสร้างเส้นผมเต็มที่แล้วแต่ยังไม่ได้ผล

Read More

การออกกำลังกาย ในผู้ป่วยโรคหัวใจ

ใครว่า “ผู้ป่วยโรคหัวใจ” ออกกำลังกายไม่ได้ เรามักจะเคยได้ยินคนทั่วไปให้คำแนะนำแก่ผู้ที่มีอาการความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ หรือผู้ป่วยโรคหัวใจว่า ไม่ควร ไม่เหมาะที่จะออกกำลังกาย แต่แท้จริงแล้ว ผู้ป่วยโรคหัวใจสามารถออกกำลังกายได้ ข้อมูลจากสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ เปิดเผยว่า การออกกำลังกายมีความจำเป็นอย่างมาก สำหรับทุกคนหรือแม้แต่ผู้ป่วยโรคหัวใจ เพราะการออกกำลังกายจะช่วยกล้ามเนื้อหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายมากขึ้น สิ่งที่ควรทำก่อนออกกำลังกาย ผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อประเมินสภาพร่างกายและความพร้อม ทั้งเรื่องของอัตราการเต้นของหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างออกกำลังกาย ความหนักของการออกกำลังกาย รวมไปถึงประเภทและชนิดของกีฬาที่ควรเล่น ไม่ไหว อย่าฝืน ผู้ป่วยต้องรู้จักประมาณตน เช็กอาการเบื้องต้นของตัวเองได้ เช่น ชีพจร อาการหอบ ความเหนื่อยที่ร่างกายแสดงออกมา หรือปริมาณเหงื่อ อาการเจ็บหน้าอก หน้ามืด คลื่นไส้ หากเกิดอาการเหล่านี้ ควรหยุดและปรึกษาแพทย์ ตั้งเป้าหมายระยะสั้นๆ ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อครั้ง สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง เช่น การเดิน แอโรบิก หรือเวทเบาๆ เพื่อทำให้ร่างกายเริ่มปรับและคุ้นชิน หากละเลยจากการออกกำลังกายไปเป็นเวลานาน เมื่อกลับมาเริ่มต้นใหม่ หัวใจจะทำงานหนักขึ้น ดังนั้น ควรออกกำลังกายให้สม่ำเสมอจะส่งผลดีต่อสภาพร่างกายมากขึ้น หัวใจทำงานได้ดีขึ้น หาเพื่อนออกกำลังกาย ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ยังต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ จำเป็นที่จะต้องออกกำลังกายโดยมีบัดดี้

Read More

7 สาเหตุทำให้คันไร้ผื่น

Column: Well-being ถ้าคุณรู้สึกคันผิวหนัง ดร.เมแกน ฟีลี แพทย์ผิวหนังผู้ผ่านการรับรองแห่งรัฐนิวเจอร์ซีย์ และอาจารย์คลินิกประจำแผนกผิวหนัง โรงพยาบาลเมาต์ ไซนาย แห่งนิวยอร์กซิตี้ อธิบายว่า เมื่อมีผื่นขึ้นด้วยจะช่วยคุณระบุอาการได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับผิวหนัง เช่น ถ้ามีตุ่มแดง สันนิษฐานว่าอาจเพราะยุงกัด หรือผิวเห่อแดงเยิ้ม อาจเพราะถูกไม้เลื้อยมีพิษ แต่ถ้าคันไร้ผื่นล่ะ บางครั้งกลายเป็นความท้าทายด้านการวินิจฉัยโรคได้ เพราะเหตุผลที่จะอธิบายอาการคันอย่างรุนแรงนั้นกว้างขวางและซับซ้อน มูลเหตุของอาการคันผิวหนังอาจมีตั้งแต่เพราะผิวแห้งไปจนถึงปัญหาสุขภาพที่หลากหลาย นิตยสาร Prevention จึงแจกแจงเหตุผลที่อธิบายว่า ทำไมคุณจึงเกิดอาการคันผิวหนังไร้ผื่น รวมทั้งวิธีหยุดอาการคันดังนี้ 1. ผิวแห้ง ดร.อลิกซ์ เจ.ชาร์ลส์ แพทย์ผิวหนังผู้ผ่านการรับรองกล่าวว่า “เหตุผลอันดับแรกที่อธิบายว่า ทำไมจึงมีอาการคันคือ “ผิวแห้ง” ภาวะผิวแห้งยิ่งย่ำแย่ลงเพราะสาเหตุจากผิวหนังลอกเพราะถูกแดดเผา สภาพภูมิอากาศ ความชื้นลดลง การใช้สบู่มากเกินไป (ซึ่งทำให้ผิวหนังสูญเสียน้ำมันตามธรรมชาติ) สารคลอรีนในสระว่ายน้ำ การถูกน้ำเป็นเวลานาน และอายุที่มากขึ้น (เพราะผิวหนังเริ่มบางลง) โดยเหตุที่ผิวแห้งมีหลากหลายสาเหตุ จึงแนะนำให้คิดว่า คุณสัมผัสอะไรบ่อยมากเป็นพิเศษ ให้ลดการสัมผัสกับปัจจัยที่ดึงความชื้นออกจากผิวหนัง ก็จะหยุดอาการคันได้ จากนั้นเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวหนังด้วยโลชั่นมอยเจอไรเซอร์ 2. แมลงกัดต่อย การถูกยุงกัดมักทำให้เราเกิดตุ่มแดงที่ง่ายต่อการระบุ แต่มีแมลงอีกหลายชนิดที่เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่ง ดร.ชาร์ลส์ระบุว่า อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการคันไร้ผื่นได้ เช่น

Read More