Home > Cover Story (Page 158)

“ล่ำซำ” ยึดธุรกิจประกัน เส้นทาง 80 ปีจาก “กวางอันหลง”

 เส้นทางธุรกิจประกันภัยของกลุ่ม “ล่ำซำ” ใช้เวลากว่า 80 ปี ต่อสู้ในสงครามการแข่งขันจนยึดกุมส่วนแบ่งติดอันดับ “ท็อปไฟว์” ทั้งตลาดประกันชีวิตและประกันวินาศภัย กลายเป็นอาณาจักรธุรกิจที่ยิ่งใหญ่อีกสายหนึ่งของตระกูล เม็ดเงินในตลาดมากกว่า 7 แสนล้านบาท  ต้องถือว่ากิจการประกันภัยของกลุ่มล่ำซำเกิดขึ้นพร้อมๆ กับกิจการธนาคารพาณิชย์และเป็นธุรกิจที่ฝังรากลึกตั้งแต่ต้นตระกูล แม้ล่ำซำรุ่นที่ 1 อึ้งเมี่ยวเหงี่ยน ตัดสินใจเดินทางจากตำบลส่งเค้าโป๊ อำเภอบ้วยกุ้ย จังหวัดเกี่ยเอ้งจิวฮู้ มลฑลกวางตุ้ง เข้าสู่ประเทศไทย โดยเริ่มทำมาหากินในร้านขายเหล้าของ “จิวเพ็กโก”     แต่อึ้งเมี่ยวเหงี่ยน ศึกษาหาความรู้เปลี่ยนฐานะเป็นเถ้าแก่ เปิดร้านขายไม้ซุง ติดลำน้ำเจ้าพระยาแถวจักรวรรดิ สัมพันธวงศ์ ชื่อร้าน “ก้วงโกหลง” และทำสัมปทานป่าไม้แถวจังหวัดนครสวรรค์กับแพร่ ขยายการค้าทั้งในและต่างประเทศ เติบโตรุดหน้า ต่อมา อึ้งยุกหลง ล่ำซำ บุตรชาย เข้ามาดูแลรับผิดชอบธุรกิจของตระกูล ขยายกิจการโรงสีและรับซื้อข้าว รวมถึงสินค้าเกษตรตัวอื่นๆ ส่งขายต่างประเทศ  ปี 2475 อึ้งยุกหลงก่อตั้งบริษัทกวางอันหลงประกันภัย และธนาคารก้วงโกหลง โดยกิจการประกันภัยทำหน้าที่ดูแลและป้องกันวินาศภัยของการขนส่งสินค้า ส่วนธนาคารเป็นเพียงร้านแลกเปลี่ยนเงินตรา แต่ต่อมาธนาคารต้องปิดตัว ผลพวงจากนโยบายของคณะราษฎร ส่วนกิจการประกันภัยมีการขยายธุรกิจต่อเนื่องและเปลี่ยนชื่อเป็น “ล่ำซำประกันภัย” ขณะที่จุลินทร์

Read More

ครัวสร้างชาติ ครัวไทยสู่โลก แบบ คสช.

 นโยบายสาธารณะจำนวนมาก ที่เคยถูกปรามาสว่าเป็นเพียงนโยบายขายฝัน หรือประชานิยม และเป็นมรดกของรัฐบาลในชุดก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นนโยบาย ครัวไทยสู่ครัวโลก (Kitchen of the World) รวมถึงการวาดหวังจะเป็นศูนย์กลางแฟชั่น ศูนย์กลางการบิน ฯลฯ ซึ่งเคยกำหนดให้เเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะการเพิ่มศักยภาพสร้างรายได้เข้าประเทศมหาศาล แม้เวลาจะล่วงเลยผ่านมากว่าหนึ่งทศวรรษ และเปลี่ยนพ้นผ่านความเป็นไปมาหลายรัฐบาลจนถึงรัฐบาลยุคสมัยแห่ง คสช. ซึ่งประกาศท่าทีที่พร้อมสนับสนุนให้มีนโยบายกระตุ้นอุตสาหกรรมอาหารไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกอาหารไทยที่ยังคงให้การส่งเสริมนโยบาย “ครัวไทยสู่ครัวโลก” เพราะเป็นหนึ่งในเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย รัฐบาลชุด คสช. วางมาตรการที่จะเข้ามาสานต่อโครงการเพื่อให้อาหารไทยเป็นที่รู้จักในในเวทีโลกมากขึ้น ภายใต้แผนยุทธศาสตร์สำคัญ 4 ประการ คือ 1. การสร้างนวัตกรรมและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน 2. การพัฒนาระบบข้อมูลสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารที่ล้ำสมัย เข้าถึงได้ง่ายและตอบสนองทันต่อเหตุการณ์ 3. การพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการผลิตตลอดห่วงโซ่อาหารสู่สากล และ 4. การพัฒนาสมรรถนะสถาบันเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ โดยมีแผนดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง  ขณะที่เพ็ชร ชินบุตร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม คาดการณ์แนวโน้มการส่งออกอาหารไทยปีนี้ว่ามีมูลค่า 1.08 ล้านล้านบาท ขยายตัว 6.9% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยปีนี้สถาบันเร่งผลักดันโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทยให้เป็นครัวอาหารคุณภาพของโลก โครงการเสริมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่อุตสาหกรรมอาหารของไทย และโครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล

Read More

2558 ปีทองธุรกิจอาหาร? ทุกแนวรบพร้อมแข่งเดือด

 ปี 2558 หรือปีแพะนี้ ถือได้ว่าเป็นปีที่ท้าทายสำหรับธุรกิจอาหารในประเทศไทย ท่ามกลางกระแสการแข่งขันอย่างรุนแรงของผู้ประกอบการน้อยใหญ่ ทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่พาเหรดเข้ามาในสมรภูมิอาหาร ในขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่ามูลค่าของร้านอาหารในปีนี้จะมีมูลค่าตลาดประมาณ 267,000-275,000 ล้านบาท เติบโตอยู่ในอัตราร้อยละ 2.9-5.9 จากในปี 2557 และหากครอบคลุมถึงเชนร้านอาหารและร้านอาหารทั่วไป น่าจะมีมูลค่าตลาดอยู่ในระดับ375,000-385,000 ล้านบาท เติบโตอยู่ในสัดส่วนร้อยละ 4.0-6.8 นับว่าส่งผลให้การแข่งขันในธุรกิจร้านอาหารเป็นไปอย่างรุนแรงขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่ากลยุทธ์การขยายสาขาของเชนร้านอาหารในปี 2558 จะเปลี่ยนแปลงไปจากปี 2557 กล่าวคือจากการให้ความสำคัญกับการขยายสาขาจำนวนมากในทำเลที่ตั้งที่เป็นห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ และคอมมูนิตี้มอลล์ต่างๆ เพื่อให้แบรนด์ร้านอาหารมีความโดดเด่น และสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างครอบคลุมได้มากกว่าคู่แข่งขันมาสู่การให้ความสำคัญกับการคัดเลือกทำเลที่ตั้งที่จะขยายสาขามากขึ้น เพื่อให้สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้อย่างเฉพาะเจาะจง      อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการนำเสนอรูปแบบอาหารที่แปลกใหม่และสอดคล้องกับรูปแบบการรับประทานอาหารนอกบ้านของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายอีกด้วย ไม่ว่าจะด้านรสชาติอาหาร ความแตกต่างและความหลากหลายของอาหาร การตกแต่งร้าน การให้บริการนอกเหนือจากการจัดโปรโมชั่น การรับส่วนลดได้ ล้วนเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกร้านอาหารไม่น้อยไปกว่าปัจจัยด้านราคาอย่างเดียว ในขณะที่ธุรกิจร้านอาหารถ้าจะแบ่งคร่าวๆ โดยทั่วๆ ไป อาจแบ่งได้ 4 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้คือ (1) ร้านอาหารต่างชาติ เช่น ร้านอาหารญี่ปุ่น อาทิ เซนหรือฟูจิ ร้านอาหารอิตาเลียน (2)

Read More

ชาวเกาะฝ่าวิกฤต ลุยตลาดโลก

 “การขาดแคลนวัตถุดิบหรือมะพร้าวเป็นปัญหาที่กังวลมากที่สุด ปัญหาด้านการเมืองนั้นไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เราก็ต้องส่งออก ผมไม่กังวล ผมกังวลเรื่องไม่มีวัตถุดิบในการผลิตมากกว่า” อภิศักดิ์ เทพผดุงพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทพผดุงพร จำกัด ผู้ผลิตกะทิชาวเกาะ กล่าวในวันแถลงผลประกอบการปี 2556  ปัญหาเรื่องการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตสินค้า ทำให้ในปี 2557 บริษัทฯ หันมาบริหารวัตถุดิบโดยนำเข้ามะพร้าวจากต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย และบริหารวัตถุดิบในประเทศโดยประเมินผลผลิตโดยรวมในแต่ละช่วงเวลา จากแปลงทดลองของบริษัทฯ รวมถึงการใช้กลไกราคารับซื้อวัตถุดิบในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด ทั้งในช่วงที่มะพร้าวมีปริมาณมากและช่วงขาดแคลน ทำให้ในปีต่อมาบริษัทมีวัตถุดิบคงคลังเพื่อผลิตสินค้าได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี จากการแถลงผลประกอบการปี 2557 บริษัทฯ มียอดขายรวมทั้งสิ้น 6,000 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2556 มียอดขาย 4,500 ล้านบาท นับเป็นยอดขายที่โตแบบก้าวกระโดด ด้วยอัตราการเติบโตทะลุเป้า 30% และเป็นยอดขายที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่ตั้งบริษัทฯ มา อีกทั้งเป็นการสร้างยอดขายที่สวนกระแสเศรษฐกิจโลกที่กำลังซบเซาอีกด้วย แม้ชาวเกาะจะสามารถขจัดปัญหาวัตถุดิบให้หมดไป แต่ปีนี้ชาวเกาะพบปัญหาใหม่ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา และกำลังซื้อยังไม่ฟื้นตัวดี ซึ่งอาจมีผลกระทบบ้างเล็กน้อยกับธุรกิจ แต่กระนั้นปัจจัยสำคัญหลักที่ส่งผลกระทบโดยตรง คือการแข็งค่าของเงินบาท   ขณะที่ยอดขายส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศ สัดส่วนการส่งออกต่างประเทศกับการจำหน่ายในไทย ในอัตราร้อยละ 80

Read More

แผน “ฮาบิโตะ” ดัน Sansiri Hub

 การแตกไลน์ธุรกิจคอมมูนิตี้มอลล์ “ฮาบิโตะ” ของ “แสนสิริ” เป้าหมายอาจไม่ใช่แค่การสร้างมูลค่าเพิ่มหรือกระจายความเสี่ยงด้านการลงทุน  แต่งานนี้วางแผนชุดใหญ่ภายใต้ยุทธศาสตร์การสร้างเมือง หลังจากซุ่มเงียบขยายอาณาจักรย่านรามอินทรา พัฒนาโครงการบ้านยึดฐานลูกค้าได้อย่างเหนียวแน่นและแตกไลน์ธุรกิจการศึกษา เปิด “โรงเรียนสาธิตพัฒนา” เติมเต็มความเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีอาณาเขตครอบคลุมเนื้อที่มากกว่า 700 ไร่ ปัจจุบัน โรงเรียนสาธิตพัฒนาถือเป็นโรงเรียนสาธิตเอกชนที่ได้รับการยอมรับในตลาดการศึกษา โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องการสร้างโรงเรียนที่ดีที่สุดให้เด็กด้วยระบบการเรียนการสอนแบบเดียวกับโรงเรียนสาธิตในสังกัดมหาวิทยาลัยรัฐ มีทีมอาจารย์จากโรงเรียนสาธิต รวมถึงคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้ามาพัฒนาหลักสูตรตามหลักสากล และที่สำคัญมีแนวคิดต้องการขยายโรงเรียนแห่งใหม่ด้วย   กรณีโรงเรียนสาธิตพัฒนาจึงถือเป็น “จิ๊กซอว์” ตัวหนึ่งที่สามารถต่อยอดแผนการสร้าง “เมืองแสนสิริ” ให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งในความจริงเป็นแนวคิดที่บริษัทอสังหาริมทรัพย์อีกหลายๆ แห่งต้องการแจ้งเกิด แต่ดูเหมือนยังไม่ประสบความสำเร็จ 100%  ขณะที่มององค์ประกอบต่างๆ ของ “แสนสิริ” หัวเรือใหญ่ ทั้งอภิชาติ จูตระกูล ในฐานะประธานอำนวยการ และเศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ สามารถอ่านเกมและจับกระแสไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ประสบความสำเร็จในการสร้างแบรนด์ กอบโกยรายได้ยอดขาย รวมถึงฉีกแนวสร้างบริการหลังการขายจนกลายเป็นกลยุทธ์การตลาดที่บริษัทอสังหาริมทรัพย์ค่ายอื่นๆ ต้องเดินตาม จุดแข็งอย่างโปรแกรมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่มีสีสัน ดูมีระดับและทันสมัย ภายใต้ชื่อ “Sansiri Family” ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนเปิดตัว “Sansiri Lounges”

Read More

“แสนสิริ” ปักหมุด รุกสร้างเมืองใหม่

 ค่าย “แสนสิริ” ประกาศแผนรุกธุรกิจบ้านเดี่ยวครั้งใหญ่ แม้เหตุผลข้อหนึ่งเพื่อกระจายความเสี่ยงจากตลาดคอนโดมิเนียม ที่เจอทั้งพิษความล่าช้าของ EIA และภาวะโอเวอร์ซัปพลายจนต้องพับบางโครงการในต่างจังหวัด  แต่มากยิ่งกว่านั้น การฟื้นตัวของตลาดบ้านเดี่ยวอย่างมีนัยสำคัญ กำลังจุดประกายแผนสร้างอาณาจักรแห่งใหม่ย่านกรุงเทพกรีฑา หลังจากประสบความสำเร็จยึดครองตลาดที่อยู่อาศัยย่านรามอินทรา เนื้อที่กว่า 700 ไร่มาแล้ว  ที่สำคัญ ที่ดินผืนดังกล่าวอยู่ในมือของแสนสิริร่วม 320 ไร่ โดยซื้อจากกลุ่มบางกอกแลนด์ และเป็นแปลงที่ดินที่อยู่ชิดติดกับโครงการถนนตัดใหม่ “ศรีนครินทร์-ร่มเกล้า” 6 ช่องการจราจร ระยะทาง 16 กิโลเมตร ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 3 ปีข้างหน้า เนื่องจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) กำหนดเป็นโครงการเร่งด่วน หลังถูกชะลอมานานเกือบ 10 ปี ไม่มีปัญหาการเวนคืน เพราะจ่ายชดเชยกรรมสิทธิ์ครบหมดแล้ว  ขณะเดียวกัน บริษัทสำรวจวิจัยข้อมูลอสังหาริมทรัพย์หลายแห่งต่างฟันธงว่า ถนนเส้นนี้จะเพิ่มศักยภาพโซนตะวันออกของกรุงเทพฯ เปิดการเดินทางทั้งจากถนนรามอินทรา ถนนเกษตรฯ-นวมินทร์ ถนนรามคำแหง ถนนศรีนครินทร์ ถนนบางนา-ตราด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันราคาที่ดินถีบตัวสูงขึ้น จากที่ตาบอดราคาไม่ถึง 10,000 บาทต่อตารางวา ขยับขึ้นเป็นเกือบ 60,000-70,000 บาทต่อตารางวา  ประเมินกันว่าหากเปิดใช้เส้นทาง

Read More

คอนโดเศรษฐีแข่งเดือด เปิดสงครามชิงทำเลทอง

 ตลาดคอนโดมิเนียมในยุคหนี้ครัวเรือนพุ่งสูงกดดันให้ค่ายอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ย้ายแนวรบขึ้นไปเจาะตลาดไฮเอนด์ จับกลุ่มเศรษฐีกำลังซื้อสูง ทั้งระดับลักชัวรี่และซูเปอร์ลักชัวรี่ ซึ่งเชื่อว่าปี 2558 จะมีอัตราเติบโตสูงสุดและมีรายการทุบสถิติราคาขายอย่างต่อเนื่อง ทะลุจากตารางเมตรละ 300,000 บาท แตะ 400,000 บาท และในอนาคตมีแนวโน้มพุ่งทะยานไปถึง 600,000 บาท เช่นเดียวกับคอนโดมิเนียมใจกลางมหานครชั้นนำในต่างประเทศ ทำเลทองชนิดที่เรียกว่า ทุกตารางนิ้วถูกกลุ่มทุนไล่ฮุบ โดยเฉพาะเส้นสุขุมวิท ซึ่งมีอัตราการขายสูงถึง 85% นำหน้าย่านสีลมและสาทร ที่มีอัตราการขาย 78% หรือแม้กระทั่งคอนโดมิเนียมริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่กำลังบูม ยังมีอัตราการขายเฉลี่ยเพียง 67%  กฤษณ์ ณรงค์เดช ประธานบริษัท เคพีเอ็น กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า ตลาดที่อยู่อาศัยระดับบนย่านใจกลางเมืองยังคงมีดีมานด์สูง แม้ช่วงที่ผ่านมาระบบเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนทางการเมือง แต่ลูกค้ากลุ่มดังกล่าวเป็นเรียลดีมานด์ มีความต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงและเพื่อการลงทุนระยะยาว โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมใกล้แนวรถไฟฟ้าระดับซูเปอร์ลักชัวรี่ย่านสุขุมวิทเป็นตลาดที่มีช่องทางเติบโตสูงและมีซัปพลายไม่มาก จากปีก่อนมีโครงการอยู่ระหว่างก่อสร้างรวม 28,000 ยูนิต ปัจจุบันเหลือขายเพียง 6,000 ยูนิตเท่านั้น แน่นอนว่า นั่นคือเหตุผลสำคัญที่เคพีเอ็น กรุ๊ป ตัดสินใจลงทุนโครงการคอนโดมิเนียมระดับซูเปอร์ลักชัวรี่ทันทีที่คว้าที่ดินผืนสุดท้ายในซอยสุขุมวิท 39 เพราะจุดที่ตั้งอยู่ห่างจากบีทีเอส สถานีพร้อมพงษ์

Read More

NEDA เชื่อมเศรษฐกิจเพื่อนบ้าน ผ่านระบบราชการไทย

 ความเป็นองค์การมหาชนของ สพพ. (สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน) หรือ NEDA หน่วยงานที่มีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและด้านวิชาการแก่ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อส่งเสริมให้ประเทศเพื่อนบ้านเกิดการพัฒนาจนสามารถก้าวเดินไปสู่หมุดหมายที่สำคัญพร้อมๆ กัน ที่ผ่านมา NEDA ให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและด้านวิชาการต่อประเทศเพื่อนบ้านหลายต่อหลายโครงการ ถึงกระนั้นก็ยังไม่อาจสร้างภาพลักษณ์เทียบเท่าหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ไม่แตกต่างกันอย่าง ADB (Asian Development Bank) หรือ JICA (Japan International Cooperation Agency) ต่อสายตาคนภายนอกได้  กระทั่งปีนี้รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มอบหมายงานสำคัญให้ NEDA ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายหลักด้านการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วน สังเกตได้จากการลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ลงนามไปเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2557 หลัง คสช. เข้ามาควบคุมสถานการณ์ทางการเมืองได้ไม่นาน  และเมื่อวันที่ 19 มกราคม ที่ผ่านมา ได้กำหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และล่าสุดยังแสดงวิสัยทัศน์ไกลออกไปตามแนวระเบียงเศรษฐกิจ ด้วยความพยายามใหม่ที่จะปลุกปั้นเขตเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มอีก 36 ตำบล ใน 10 อำเภอ ของ 5 จังหวัดชายขอบ ทั้งนี้ศักราชใหม่ของ NEDA ที่มีโครงการเกิดใหม่และโครงการที่ยังต้องการการสานต่อหลายโครงการ

Read More

Make a Change Agenda กับการมาของ เนวิน สินสิริ

 การมาถึงของเนวิน สินสิริ ในช่วงการเปลี่ยนผ่านอำนาจการปกครองของรัฐบาล แม้ไม่อาจเรียกความมั่นใจให้หน่วยงานภาครัฐกึ่งเอกชนอย่างสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือ สพพ. ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังได้ แต่ประสบการณ์การทำงานร่วมกับธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย หรือ ADB (Asian Development Bank) ที่มีชั่วโมงบินมากกว่า 20 ปี อาจช่วยให้ผู้ปฏิบัติภายใต้ระบบงานแบบราชการมั่นใจขึ้นได้บ้าง  กระนั้นปัญหาแรกที่ผู้อำนวยการคนใหม่ของ NEDA ต้องเจอน่าจะเป็นเรื่องการปรับตัวให้เข้ากับระบบการทำงานใหม่ จากที่เคยชินกับความเป็นสากลที่ได้รับมาจาก ADB แต่ต้องมาทำงานในระบบราชการกับองค์การมหาชนอย่าง NEDA  งานของ NEDA ดูจะเป็นงานที่ท้าทายความสามารถของเนวินไม่น้อย อีกทั้งยังเป็นงานที่ต้องใช้พลวัตทางใจพอสมควรเพราะหน่วยงานอย่าง NEDA ที่ดูจากเปลือกนอกแม้จะมีความเป็นเอกชนอยู่ แต่ก็ไม่ได้เป็นเอกเทศที่จะหลุดพ้นจากการแทรกแซงทางการเมืองภายในได้ ซึ่งไม่ว่าหน่วยงานราชการไหนก็คงต้องประสบปัญหาหรือได้รับผลกระทบทางการเมืองอยู่บ้าง และการถูกแทรกแซงในรูปแบบนี้เองที่จะเป็นตัวการสำคัญที่ฉุดความก้าวหน้าขององค์กร ความก้าวหน้าในหน้าที่การงานเมื่อครั้งยังอยู่ที่ ADB ของเนวินนั้น หลายคนคงจะแปลกใจอยู่บ้างถึงสาเหตุของการตัดสินใจเข้ามาร่วมงานกับ NEDA “ถึงเวลาต้องกลับบ้าน” ประโยคที่ทำให้อดีตนายธนาคารตัดสินใจกลับมาใช้ความชำนาญในบ้านเกิดเมืองนอน งานใหม่ที่มาพร้อมกับความท้าทาย ช่วงเวลาสำคัญที่เนวิน สินสิริ เข้ามารับหน้าที่ในการบริหารองค์การมหาชน คือช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนขั้วอำนาจทางการเมืองจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ สู่การยึดอำนาจของ คสช. ช่วงเวลาที่ใครหลายคนอาจคิดได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ยากจะทำงาน หากแต่นโยบายที่สำคัญของรัฐบาลนี้กลับเป็นเรื่องของการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวตะเข็บชายแดน  นับเป็นปีแรกของการทำงานที่ต้องเจอกับบททดสอบในทันทีเมื่อมีการบ้านเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่มีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจากรัฐบาลออกมา แน่นอนว่าผู้อำนวยการ NEDA ต้องกล้าพอที่จะ Make a

Read More

วิถีแห่งลุ่มน้ำโขง แสงแดด สายหมอก และยาเส้น

 ก่อนจะถึง AEC ระยะทางเกือบหนึ่งพันกิโลเมตรที่แม่น้ำโขงไหลผ่านพรมแดนไทย-ลาว จากสามเหลี่ยมทองคำ จ.เชียงราย สู่สามเหลี่ยมมรกต จ.อุบลราชธานี นอกจากจะทำหน้าที่ขีดกั้นเส้นแบ่งพรมแดนแล้ว ยังหล่อเลี้ยงและหล่อหลอมผสานความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรมของผู้คนทั้งสองฝั่งมาช้านาน ในช่วงฤดูหนาว อากาศที่เย็นยะเยือกอาจจะทำให้ใครหลายคนไม่ยอมลุกขึ้นจากเตียงนอนอันอบอุ่น แต่เกษตรกรชาวไร่ยาสูบบ้านปากมาง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ที่อาศัยตลิ่งริมน้ำโขงเป็นที่เพาะปลูกมานานนับร้อยปี อาจจะใช้ชีวิตแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง “ช่วงนี้จะได้นอนก็แค่วันละ2-3 ชั่วโมง บางวันก็ไม่ได้นอน เพราะยา (ใบยาสูบ) จะสุกเกินไป เดี๋ยวซอยไม่ทัน” ตุ้ม สาวชาวนาที่มาเป็นสะใภ้ชาวไร่ยาสูบได้ 16 ปี เล่าให้ฟังถึงวิถีประจำวันชาวไร่ยา ฤดูการเก็บเกี่ยวใบยาสูบจะเริ่มช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่แดดลงจัด ชาวไร่ยาจะเริ่มเก็บใบยาที่แก่และโดนแดดเต็มที่ ตอนประมาณบ่ายสามโมงถึงสี่โมงเย็น ขึ้นอยู่กับจำนวนใบยา จากนั้นจะนำมาบ่มด้วยผ้ายางไว้สักสองสามวันขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ วิถีชีวิตของชาวไร่ยาสูบขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศเป็นอย่างมาก หากแดดไม่ดี แม้ใบยาจะแก่ก็ยังไม่สามารถเก็บได้ ก่อนหน้านี้สอง-สามอาทิตย์ เกิดฝนหลงฤดู ทำให้กระบวนการเก็บใบยาของชาวไร่ที่นี่ต้องชะงักไป ไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ เพราะจะทำให้ใบยาเสียหาย กระบวนการเก็บเกี่ยวใบยาเริ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อบ่มใบยาจนได้ที่แล้ว พวกเขาจะเริ่มงานเวลาประมาณ 02.00 น ต้องฝ่าความหนาวและไอหมอก มานั่งซอยใบยาที่บ่มได้ที่ ให้เป็นเส้นๆ ก่อนที่จะนำไปตากบน “แตะยา” ซึ่งเป็นไม้ไผ่สานขัดแตะ กว้างประมาณ 80

Read More